ไทยเชื้อสายมลายู
นักเรียนชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดนราธิวาส | |
ประชากรทั้งหมด | |
3 ล้านคน[2] (2020, ประมาณ) | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
ประเทศไทย (ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้) ประเทศมาเลเซีย (รัฐกลันตัน, รัฐเกอดะฮ์, รัฐตรังกานู และรัฐปะลิส) | |
ภาษา | |
ไทย, ไทยถิ่นใต้, มลายูปัตตานี, มลายูเกอดะฮ์ และมลายูบางกอก | |
ศาสนา | |
ส่วนใหญ่ อิสลามนิกายซุนนี มัซฮับชาฟิอี | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ชาวมาเลเซียเชื้อสายมลายู (โดยเฉพาะชาวเกอดะฮ์ กลันตัน และตรังกานูเชื้อสายมลายู), พม่าเชื้อสายมลายู, มลายูอื่น ๆ |
ไทยเชื้อสายมลายู (มลายู: Orang Melayu Thai, อักษรยาวี: ملايو تاي, มลายูปัตตานี: ออแรฺนายู, จาวี หรือบังซอยาวี) หรือ ชาวปตานี (มลายู: Orang Patani, ออแรฺตานิง) มีชื่อเรียกทางการว่า 'ชาวไทยและมาเลเซียเชื้อสายมลายู'[3][4] เป็นคำเรียกพลเมืองชาติพันธุ์มลายูในประเทศไทย ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยที่มีจำนวนมากเป็นอันดับ 6 ของประเทศ และมีประชากรมลายูมากเป็นอันดับ 3 โดยเป็นรองแค่ประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย และชาวมลายูส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดนราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, สงขลา และสตูล นอกจากนี้ยังมีประชากรมุสลิมและผู้มีเชื้อสายมลายู[5][ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]ในเมืองภูเก็ต[6][7] จังหวัดตรัง และจังหวัดระนอง[8] และชุมชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพที่เป็นลูกหลานของผู้อพยพหรือผู้ถูกเนรเทศจากภาคใต้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา[9]
รายละเอียด
[แก้]ชาวมลายูปัตตานี เป็นกลุ่มชนขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่จำนวนมากในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นประชากรส่วนใหญ่ตั้งแต่จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา รวมไปถึงบางส่วนของจังหวัดสงขลา มีประชากร 3,359,000 คน หรือร้อยละ 3 ของประชากรทั้งประเทศ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับกลุ่มชาวมลายูทั่วไป ชาวมลายูปัตตานีเรียกตนเองว่า ออแรฺนายู (Orang Melayu; اورڠ ملايو) ซึ่งมีความหมายว่า คนมลายู และบางที่ก็เติมคำข้างหน้าด้วยเป็น กีตอออแรฺนายู (Kita Orang Melayu; كيت اورڠ ملايو) ซึ่งแปลว่า พวกเราคือมลายู และจะเรียกชาวมาเลเซียว่า ออแรฺมาเล (Orang Malay) เพราะพวกเขาแยกแยะ และมีจิตสำนึกได้ดีว่าเขาไม่ใช่คนมาเลเซีย และเรียกคนไทยว่า ออแรฺซีแย (Orang Siam; اورڠ سيام) ส่วนชาวมลายูปัตตานีที่ถูกกวาดต้อนไปอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จะถูกเรียกว่า ออแรฺนายูบาเกาะ (Orang Melayu Bangkok; اورڠ ملايو بڠكوق) ถือว่าเป็นชาวมลายู แต่ถูกกวาดต้อนไปกรุงเทพฯ และไม่ใช่ชาวออแรฺนายูอย่างเขา ชาวไทยเชื้อสายมลายูในกรุงเทพนั้นอาศัยอยู่กระจายตัวตั้งแต่สี่แยกบ้านแขก ในฝั่งธนบุรีเลยไปถึงเขตหนองจอก แต่คำคำนี้ยังรวมไปถึงคนมลายูรอบ ๆ ปริมณฑลด้วย อย่างที่จังหวัดปทุมธานี และนนทบุรี โดยที่จังหวัดปทุมธานีจะพบคนกลุ่มนี้ในเขตคลองประชาเก่ง คลองบางโพธิ์เหนือ และคลองหนึ่ง สถานที่ตั้งถิ่นฐานมีสุเหร่าเป็นแห่งแรกที่บ้านสวนพริกไทย ส่วนในนนทบุรีมีชนกลุ่มนี้ที่สามารถพูดภาษามลายูได้ที่ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ดที่ถูกกวาดต้อนมาจากจังหวัดปัตตานีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นเวลากว่า 200 ปีมาแล้ว ในอยุธยาเองก็มีชุมชนชาวไทยเชื้อสายมลายูอยู่ที่คลองตะเคียนใต้เกาะอยุธยา ซึ่งเข้ามาอาศัยนานแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา
ความโดดเด่นทางวัฒนธรรม
[แก้]สาเหตุของความไม่สงบในชายแดนภาคใต้โดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวมลายูในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา ส่วนหนึ่งมาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมกับชาวไทยและประสบการณ์ในอดีตที่เคยถูกบังคับดูดกลืนให้กลายเป็นคนไทยหลังอาณาจักรสุโขทัยผนวกอาณาจักรปัตตานี[10] ใน ค.ศ. 1816 ประเทศสยามแบ่งรัฐสุลต่านปัตตานีออกเป็น 7 จังหวัดตามนโยบายแบ่งแยกและปกครอง ถึงแม้ว่าจะมีกบฎอยู่บ้าง โดยทั่วไปนโยบายนี้ทำให้บ้านเมืองสงบสุขจนถึงต้นคริสต์ศตรรษที่ 20 ใน ค.ศ. 1901 กระทรวงมหาดไทยของสยามได้รวม 7 จังหวัดไปเป็นมณฑลปัตตานี ซึ่งทำให้เหลือ 4 จังหวัด ดังนี้: ปัตตานี, บังนารา, สายบุรี และยะลา รัฐเกอดะฮ์ถูกยกไปให้อังกฤษตามสนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452 ซึ่งทำให้อำเภอที่เคยอยู่ในรัฐเกอดะฮ์บางส่วนกลายเป็นจังหวัดสตูล[11] มุสลิมเชื้อสายมลายูในสตูลไม่ค่อยมีแนวคิดแบ่งแยกดินแดน ซึ่งน่าจะเป็นผลจากความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรสตูลต่อสยาม เมื่อเทียบกับการแบ่งแยกในรัฐสุลต่านปัตตานีอย่างรุนแรง สังคมมลายูที่มีความโน้มเอียงสนับสนุนไทยสามารถพบได้ในจังหวัดภูเก็ต, ระนอง และกรุงเทพ[12][13]
ความเป็นมลายู นั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญได้แก่ ภาษามลายู ศาสนาอิสลาม และวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่พูดภาษามลายูได้ เลือกวิถีวัฒนธรรมมลายู โดยเฉพาะต้องนับถือศาสนาอิสลามถือว่าเป็นชาวมลายู ถ้าสักแต่พูดภาษามลายู มีชีวิตในวิถีวัฒนธรรมมลายู แต่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ก็ไม่ถือว่าเป็นมลายู
อย่างไรก็ตามศาสนาอิสลามจะเกาะเกี่ยวกับความเป็นมลายูตลอด เมื่อใครเข้ารับศาสนาอิสลามหรือเข้าอิสลามก็จะเรียกว่าเข้ามลายู (มาโซะ มลายู หรือมะโซะยาวี) หรือ เป็นมลายูซึ่งประเด็นนี้น่าสนใจเพราะเขาจะเรียกว่า"เข้าไทย"(มาโซะ ซีแย) เมื่อมีใครเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธในทำนองเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ขณะเดียวกันชีวิตวัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษามลายูก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถึงกับมีคำกล่าวว่า “ฮีลัง บาฮาซา ฮีลัง บังซา” แปลเป็นไทยได้ว่า “ถ้าภาษา (มลายู) หาย ชาติ (หรือความเป็นมลายู) ก็จะหายด้วย” ดังนั้นเขาจึงต้องต่อสู้เพื่อปกป้องชาติหรือความเป็นมลายูของตัวเองไม่ให้สูญสลายหายไป รวมทั้งพยายามยืนหยัดที่จะใช้ภาษามลายูสืบไป
ชาวไทยเชื้อสายมลายูหลายคน ยังแต่งกายแบบมลายูให้เห็นอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะทางภาคใต้ ผู้ชายยังแต่งกายด้วยการนุ่งโสร่ง ผู้หญิงนุ่งผ้าปาเต๊ะ โพกศีรษะเหมือนชาวมุสลิมในประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันวัฒนธรรมการแต่งกายของมาเลเซียก็เข้ามา ทำให้ชาวมลายูแต่งตัวให้ทันสมัยมากขึ้น แต่ยังคงอัตลักษณ์ความเป็นมลายู และอิสลามอยู่อย่างมั่นคง
ภาษา
[แก้]ชาวมลายูในประเทศไทยส่วนใหญ่พูดภาษามลายูปัตตานี (บาซอยาวี/ตานี) อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าชาวไทยเชื้อสายมลายูทุกคนสามารถพูดภาษามลายูปัตตานีได้ เพราะชาวไทยเชื้อสายมลายูบางส่วนในจังหวัดสตูลและบริเวณใกล้เคียงพูดภาษามลายูสตูล ในขณะที่ชาวมลายูในกรุงเทพได้พัฒนาสำเนียงของตนเองไปเป็นภาษามลายูบางกอก ชาวกรุงเทพ สตูล และปัตตานีมีความใกล้ชิดกันและมีคำศัพท์ใกล้เคียงกัน แต่ไม่สามารถเข้าใจในบางคำ
กลุ่มเชื้อชาติมลายูส่วนใหญ่ในจังหวัดสตูล (และเป็นชนกลุ่มน้อยในจังหวัดพัทลุง[14][ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง][15][ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ][16] ตรัง, กระบี่, พังงา และสงขลา เช่นเดียวกันกับรัฐในประเทศมาเลเซีย เช่นรัฐเกอดะฮ์, รัฐเปรัก และรัฐปะลิส) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่าง ซึ่งโดยทั่วไปนับถือศาสนาอิสลาม แต่มีความเป็นไทย (กับอิทธิพลมลายูบางส่วน) และพูดภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีคำยืมภาษามลายูบางส่วน[17]
ระบบการเขียน
[แก้]นับตั้งแต่ศาสนาอิสลามเริ่มเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวมลายูใช้อักษรอาหรับดัดแปลงที่มีชื่อว่าอักษรยาวี ไม่เหมือนกับส่วนอื่นในโลกมลายู เช่นมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ที่มีผู้ใช้อักษรนี้ลดลงและใช้อักษรลาตินมากขึ้น ชาวมลายูในประเทศไทยยังคงใช้อักษรยาวีอยู่ต่อไป
ศาสนา
[แก้]ประชากรไทยเชื้อสายมลายูส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมมัซฮับชาฟิอี โดยมีศาสนาอิสลามเป็นองค์ประกอบสำคัญในอัตลักษณ์ความเป็นไทยเชื้อสายมลายู ใครก็ตามที่ออกจากศาสนานี้ โดยเฉพาะศาสนาพุทธนิกายเถรวาทจะถูกถือว่าเป็นชาวไทยทันที แม้ว่าตนจะมีเชื้อสายมลายูก็ตาม[ต้องการอ้างอิง]
กลุ่มชาวมลายูที่นับถือศาสนาพุทธจำนวนไม่น้อยอาศัยอยู่โดยทั่วไป[18] ส่วนอิทธิพลของพราหมณ์ และไสยศาสตร์ยังคงสืบทอดในบางท้องถิ่น[19][20] และหลงเหลือภูมินามในท้องที่ เช่น จาเฆาะบาลอ (คลองพระพุทธรูป) บาโงกือเต๊ะ (โคกกุฏิ) และ บูกิตสามิง (เขาพระ)[19][21] ปัจจุบันชาวมลายูที่เป็นพุทธผสมกลมกลืนไปกับชาวไทยพุทธในพื้นที่ไปแล้ว[22] บางส่วนก็มาจากการเปลี่ยนศาสนาไปนับถือศาสนาพุทธ[23] ดังกรณีชาวมลายูพุทธที่บ้านเชิงเขา จังหวัดนราธิวาส จะมีประเพณีบุญข้าวใหม่ โดยจะนำข้าวที่เพิ่งเก็บเกี่ยวไปให้ผู้อาวุโสชาวมลายูมุสลิมในหมู่บ้านดุอาอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพชนของตัวเอง[24][25] ขณะที่ชุมชนมุสลิมบางแห่งยังคงดำรงพิธีกรรมตามแบบศาสนาพราหมณ์ไปด้วย[19]
ชาวไทยเชื้อสายมลายูที่มีชื่อเสียง
[แก้]- กังสดาล พิพิธภักดี อดีตพระชายาในสมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
- สุรินทร์ พิศสุวรรณ
- แวมาฮาดี แวดาโอะ
- เจะอามิง โตะตาหยง
- วันมูหะมัดนอร์ มะทา
- สุลต่านสุลัยมาน
- ราชิด ไมดิน
- เมธี อรุณ
- นิกัลยา ดุลยา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Le Roux (1998), p. 245
- ↑ "Thailand: Ethnicity, Regionalism, and Language". lcweb2.loc.gov.
- ↑ International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination; Reports submitted by States parties under article 9 of the Convention: Thailand (PDF) (Report) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Committee on the Elimination of Racial Discrimination. 28 July 2011. pp. 3, 5 & 95. CERD/C/THA/1-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-09. สืบค้นเมื่อ 8 October 2016.
- ↑ แผนแม่บท การพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย(พ.ศ. 2558–2560) (PDF). Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security. 2015. pp. 1 & 29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-03-12. สืบค้นเมื่อ 2021-08-28.
- ↑ Institute of South East Asian Studies. The South East Asian Review, 1976. The Institute of South East Asian Studies. p. 167.
- ↑ "phuket1.xls". National Statistical Office (Thailand). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-08-28.
- ↑ "Descendants of the White-Blooded Lady". Phuket Heritage. Lestari Heritage Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-16.
- ↑ "ranong1.xls". National Statistical Office (Thailand). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 2021-08-28.
- ↑ Mohamed Taher. Encyclopaedic Survey of Islamic Culture. New Delhi: Anmol Publications. pp. 228–229. ISBN 81-261-0403-1.
- ↑ Carpenter, William M.; Wiencek, David G., บ.ก. (1996). Asian Security Handbook: An Assessment of Political-Security Issues in the Asia-Pacific Region. Armonk: M. E. Sharpe. pp. 240–6. ISBN 1-56324-813-1.
- ↑ Che Man (1990)
- ↑ Fraser, Thomas M. (1960). Rusembilan: A Malay Fishing Village in Southern Thailand. Cornell Studies in Anthropology, I. Ithaca: Cornell University Press. p. 88.
- ↑ Yegar (2002), pp. 79–80
- ↑ "Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain & Ireland". 16. 1834: 167.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Institute of South East Asian Studies (1976). The South East Asian Review. The Institute of South East Asian Studies. p. 15.
- ↑ Annandale, Nelson; Robinson, Herbert C. (1903). Fasciculi Malayenses: Anthropological and Zoological Results. New York: Longmans, Green & Co. for The University Press of Liverpool. p. 30.
- ↑ Kobkua Suwannathat-Pian (2000). "The Historical Development of Thai-Speaking Muslim Communities in Southern Thailand and Northern Malaysia". ใน Turton, Andrew (บ.ก.). Civility and Savagery: Social Identity in Tai States. Surrey: Curzon Press. pp. 162–175. ISBN 0-7007-1173-2.
- ↑ ดาริกา ธนะศักดิ์ศิริ (2555). รักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ (PDF). ปทุมธานี: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก. p. 11.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 มะอีซอ โซะมะตะ และคณะ (2549). "การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศวัฒนธรรม ในเขตเชิงเขาบูโด-สันการาคีรี กรณีศึกษาบริเวณบ้านตะโหนดอำเภอรือเสาะและอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ตามหามลายูพุทธใน 3 จังหวัดใต้". ฐานข้อมูลข่าวจังหวัดชายแดนภาคใต้. 9 กุมภาพันธ์ 2558. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ Najib Bin Ahmad (1 มีนาคม 2556). "ร่องรอยวัฒนธรรมฮินดู-พุทธในดินแดนปาตานี". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-26. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อัศโตรา ชาบัต (30 มีนาคม 2558). "ใครคือชาวมลายูพุทธศรีวิชัยและลังกาสุกะ?". ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ รายงานผลการศึกษา โครงการศึกษาและพัฒนาระบบการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในโครงการนำร่อง (ต่อเนื่อง) รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบและขยายสู่ชุมชนใหม่ พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ตำบลปะลุกาสาเมาะ จังหวัดนราธิวาส ปะนาเระ จังหวัดปัตตานี กรงปินัง จังหวัดยะลา (PDF). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2547. p. 20.
- ↑ รายงานผลการศึกษา โครงการศึกษาและพัฒนาระบบการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในโครงการนำร่อง (ต่อเนื่อง) รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบและขยายสู่ชุมชนใหม่ พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ตำบลปะลุกาสาเมาะ จังหวัดนราธิวาส ปะนาเระ จังหวัดปัตตานี กรงปินัง จังหวัดยะลา (PDF). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2547. p. 6.
- ↑ แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง (2552). ทักษะวัฒนธรรม (PDF). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. p. 109. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-08-31. สืบค้นเมื่อ 2015-05-17.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Streicher, Ruth (2020). UNEASY MILITARY ENCOUNTERS: the Imperial Politics of Counterinsurgency in Southern Thailand. SOUTHEAST ASIA PROGRAM.
- Che Man, W. K. (1990). Muslims Separatism: The Moros of Southern Philippines and the Malays of Southern Thailand. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-588924-X. OCLC 466390039.
- Che Man, W. K. (2003). "Democratization and National Integration: Malay Muslim Community in Southern Thailand". Intellectual Discourse. 11 (1): 1–26.
- Le Roux, Pierre (1998). "To Be or Not to Be…: The Cultural Identity of the Jawi (Thailand)" (PDF). Asian Folklore Studies. 57 (2): 223–255. doi:10.2307/1178753. JSTOR 1178753.
- Montesano, Michael John; Jory, Patrick, บ.ก. (2008). Thai South and Malay North: Ethnic Interactions on the Plural Peninsula. National University of Singapore Press. ISBN 978-9971-69-411-1.
- Yegar, Moshe (2002). Between Integration and Secession: The Muslim Communities of the Southern Philippines, Southern Thailand and Western Burma/Myanmar. Lanham: Lexington Books. Part Two: The Patani Muslims, pp. 73–181. ISBN 0-7391-0356-3.
- Aphornsuvan, Thanet (2004). Origins of Malay Muslim "Separatism" in Southern Thailand. Singapore: Asia Research Institute, National University of Singapore.