คนอีสาน
ฉลาด ส่งเสริม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ปี พ.ศ. 2549 ชาวจังหวัดอุบลราชธานี | |
ประชากรทั้งหมด | |
---|---|
14-22 ล้านคน[1] [2] (2547, ประมาณ) | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
ประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กรุงเทพและปริมณฑล) | ≈ 22,000,000[2] |
ประเทศลาว (ตามริมฝั่งแม่น้ำโขง) | ≈ 8,000[2] |
ภาษา | |
ลาวอีสาน, ไทย | |
ศาสนา | |
พุทธเถรวาท (ส่วนใหญ่), คริสต์โรมันคาทอลิก (ประมาณ 0.9%) | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ชาวไทกลุ่มอื่น ๆ เช่น ลาว, ไทยสยาม (ไทยภาคกลาง) |
คนอีสาน (ลาว: ຄົນອີສານ; พม่า: အီသန် လူမျိုး) หรือ ชาวอีสาน หรือ ชาวไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ชาวไทยภาคอีสาน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์-ภูมิภาคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ("อีสาน")[3] ที่มีประชากรประมาณ 22 ล้านคน[2][4] ชื่ออื่น ๆ ของกลุ่มชนนี้ได้แก่ ไท(ย)อีสาน,[2][5] ไท(ย)ลาว,[6] ลาวอีสาน[2][7] หรือ อีสานลาว โดยอยู่ในกลุ่มชนชาวไทเหมือนกับคนไทยภาคกลาง (ชาวสยาม) และชาวลาว
ในความหมายกว้าง ๆ ทุกคนที่มาจาก 20 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาจเรียกเป็น คนอีสาน ส่วนในความหมายแคบกว่า คำนี้สื่อเฉพาะผู้มีเชื้อชาติลาวที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาค หลังการก่อกบฏที่ล้มเหลวใน พ.ศ. 2369 ทำให้เกิดการบังคับถ่ายโอนประชากรผู้มีเชื้อชาติลาวจำนวนมากมายังภาคอีสาน หลังการแยกภาคอีสานออกจากอาณาจักรของลาวในอดีต การบูรณาการเข้ากับรัฐชาติไทยและนโยบาย"การแผลงเป็นไทย"ของรัฐบาล พวกเขาพัฒนาเอกลักษณ์ประจำภูมิภาคให้แตกต่างไปจากทั้งชาวลาวในประเทศลาวและชาวไทยในภาคกลางของประเทศไทย[3][8][9] การบูรณาการเอกลักษณ์นี้เข้ากับเอกลักษณ์ประจำชาติไทยเริ่มขึ้นประมาณ พ.ศ. 2443[10][11][12] แล้วเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นในช่วงสมัยฟาสซิสต์[13] ตลอดไปถึงช่วงสงครามเย็น[3] และยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าใน พ.ศ. 2554 ทางการไทยยอมรับอัตลักษณ์ลาวให้กับสหประชาชาติ[4][14] แม้แต่ในช่วงสูงสุดของสงครามเย็น ระดับการบูรณาการสิ่งนี้ยังคงอยู่ในระดับสูงมาก[3] โดยวัดจากการแสดงออกถึงความรู้สึกชาตินิยม[15] แม้แต่ปัจจุบัน ชาวอีสานเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ชาตินิยมที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีความชาตินิยมมากกว่าชาวไทยภาคกลาง[16][17] ด้วยเหตุนี้ ในช่วงสูงสุดของ 'สงครามสี' ในประเทศไทยในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 2000 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 2010 กลุ่มเสื้อแดงที่มีฐานหลักในภาคอีสาน จึงมิได้เรียกร้องให้มีการแบ่งแยกดินแดน แต่เรียกร้องให้นำประชาธิปไตยกลับมาผ่านการสนับสนุนพรรคเพื่อไทย[18]
ผู้อยู่อาศัยเกือบทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีสัญชาติไทย ถึงกระนั้นประชากรส่วนใหญ่ (ประมาณ 80%)[19] มีเชื้อชาติลาวและพูดสำเนียงหนึ่งของภาษาลาวตอนอยู่บ้าน (สำเนียงหลักของภาษาลาวสามภาษาที่พูดกันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยถูกสรุปเป็นภาษาอีสาน)[20] เพื่อหลีกเลี่ยงทัศนคติแบบเหมารวมและการรับรู้ที่เกี่ยวข้องกับคนที่พูดภาษาลาวแบบเสื่อมเสีย พวกเขาส่วนใหญ่จึงเรียกตนเองเป็น คนอีสาน[21][22]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ่านเพิ่ม
[แก้]- Asia Foundation (2019). Thailand's Inequality: Myths & Reality of Isan เก็บถาวร 2022-01-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Asia Foundation.
- David Brown (1994). "Internal colonialism and ethnic rebellion in Thailand". The State and Ethnic Politics in Southeast Asia. Routledge. pp. 109–142.
- The Isaan Record เก็บถาวร 2020-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (online magazine).
- Volker Grabowsky, บ.ก. (1995). "The Northeast (Isan)". Regions and National Integration in Thailand, 1892-1992. Harrassowitz Verlag. pp. 105–192.
- Charles F. Keyes (2014). Finding Their Voice: Northeastern Villagers and the Thai State. Silkworm Books.
- Duncan McCargo; Krisadawan Hongladarom (June 2004). "Contesting Isan-ness: Discourses of Politics and Identity in Northeast Thailand" (PDF). Asian Ethnicity. 5 (2): 219–234. doi:10.1080/1463136042000221898. S2CID 30108605.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ. (2547). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Hattaway, Paul (ed.) (2004), "Isan", Peoples of the Buddhist World, William Carey Library, p. 103
{{citation}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Keyes, Charles F. (2014). Finding their voice: Northeastern villagers and the Thai state. Chiang Mai: Silkworm. ISBN 978-616-215-074-6. OCLC 1127266412.
- ↑ 4.0 4.1 International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination; Reports submitted by States parties under article 9 of the Convention : Thailand (PDF) (ภาษาอังกฤษ และ ไทย). United Nations Committee on the Elimination of Racial Discrimination. 28 July 2011. pp. 3, 5, 95. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-09. สืบค้นเมื่อ 8 October 2016.
- ↑ McCargo, Duncan; Hongladarom, Krisadawan (2004). "Contesting Isan‐ness: discourses of politics and identity in Northeast Thailand". Asian Ethnicity. 5 (2): 219–234. doi:10.1080/1463136042000221898. ISSN 1463-1369. S2CID 30108605.
- ↑ Hayashi Yukio (2003). Practical Buddhism among the Thai-Lao. Kyoto University Press.
- ↑ Barbara A. West (2009). Encyclopedia of the Peoples of Asia and Oceania. Facts on File. p. 449. ISBN 978-1438119137.
- ↑ Hesse-Swain, Catherine (2011-01-01). Speaking in Thai, dreaming in Isan: Popular Thai television and emerging identities of Lao Isan youth living in northeast Thailand. Edith Cowan University, Edith Cowan University, Research Online, Perth, Western Australia, Perth, Western Australia. OCLC 1029867099.
- ↑ McCargo, Duncan; Hongladarom, Krisadawan (2004). "Contesting Isan‐ness: discourses of politics and identity in Northeast Thailand". Asian Ethnicity. 5 (2): 219–234. doi:10.1080/1463136042000221898. ISSN 1463-1369. S2CID 30108605.
- ↑ Iijima, Akiko (2018). "The invention of "Isan" history". Journal of the Siam Society. 106: 171–200.
- ↑ Streckfuss, David (1993). "The mixed colonial legacy in Siam: Origins of Thai racialist thought, 1890–1910". Autonomous Histories, Particular Truths: Essays in the Honor of John R. W. Smail. Madison, WI: Centre for Southeast Asian Studies. pp. 123–153.
- ↑ Breazeale, Kennon. (1975). The integration of the Lao States into the Thai Kingdom. Bodleian Library, Oxford University. OCLC 223634347.
- ↑ Strate, Shane, author. (2015). The lost territories : Thailand's history of national humiliation. ISBN 978-0-8248-6971-7. OCLC 986596797.
{{cite book}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Draper, John; Kamnuansilpa, Peerasit (2016-11-22). "The Thai Lao question: the reappearance of Thailand's ethnic Lao community and related policy questions". Asian Ethnicity. 19 (1): 81–105. doi:10.1080/14631369.2016.1258300. ISSN 1463-1369. S2CID 151587930.
- ↑ Suntaree Komin. (1991). Psychology of the Thai people : values and behavioral patterns. Research Center, National Institute of Development Administration (NIDA). ISBN 974-85744-8-2. OCLC 35221306.
- ↑ Ricks, Jacob I. (2019-06-01). "Proud to be Thai: The Puzzling Absence of Ethnicity-Based Political Cleavages in Northeastern Thailand". Pacific Affairs. 92 (2): 257–285. doi:10.5509/2019922257. ISSN 0030-851X.
- ↑ Ricks, Jacob (2020). "Integration despite Exclusion: Thai National Identity among Isan People". The Kyoto Review. 27.
- ↑ Alexander, Saowanee T. (2019). "Identity in Isan and the Return of the Redshirts in the 2019 Elections and Beyond". The Kyoto Review. 27.
- ↑ Grabowsky: The Isan up to its Integration into the Siamese State. In: Regions and National Integration in Thailand. 1995, S. 108.
- ↑ Draper, John (2016). "The Isan Culture Maintenance and Revitalisation Programme's multilingual signage attitude survey: Phase II". Journal of Multilingual and Multicultural Development. 37 (8): 832–848. doi:10.1080/01434632.2016.1142997. ISSN 0143-4632. S2CID 216112353.
- ↑ McCargo; Krisadawan (2004). "Contesting Isan-ness": 229–232.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Alexander, Saowanee T.; McCargo, Duncan (2014). "Diglossia and identity in Northeast Thailand: Linguistic, social, and political hierarchy" (PDF). Journal of Sociolinguistics. 18 (1): 60–86. doi:10.1111/josl.12064. ISSN 1360-6441.