ชนัญญา เตชจักรเสมา
บทความเชิงชีวประวัตินี้ มีแหล่งอ้างอิงอยู่แล้ว แต่ไม่น่าเชื่อถือ หรือต้องการเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์ความถูกต้อง โปรดช่วยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่ขาดไปและที่เชื่อถือได้ เนื้อหาอันเป็นประเด็นถกเถียง โดยเฉพาะที่เป็นเชิงหมิ่นประมาท ใส่ความ หรือว่าร้าย ซึ่งไม่มีแหล่งอ้างอิงโดยสิ้นเชิง หรือมี แต่เชื่อถือมิได้นั้น ให้นำออกทันที |
Point of View | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชนัญญาใน พ.ศ. 2562 | ||||||||||
ข้อมูลส่วนตัว | ||||||||||
เกิด | ชนัญญา เตชจักรเสมา 20 กรกฎาคม ค.ศ. - | |||||||||
สัญชาติ | ไทย | |||||||||
การศึกษา | โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อ.บ.) | |||||||||
อาชีพ | ||||||||||
เว็บไซต์ | pointofview.site | |||||||||
วลีติดปาก | เชื่อไหมว่าเรื่องมีสาระก็สนุกได้เหมือนกัน! | |||||||||
ข้อมูลยูทูบ | ||||||||||
นามแฝง |
| |||||||||
ช่อง | ||||||||||
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2554 — ปัจจุบัน | |||||||||
ประเภท | ||||||||||
จำนวนผู้ติดตาม | 3.24 ล้านผู้ติดตาม[1] (19 ตุลาคม พ.ศ. 2567) | |||||||||
จำนวนผู้เข้าชม | 496,246,039 ครั้ง[1] (12 กรกฎาคม พ.ศ. 2567) | |||||||||
ภาษาของเนื้อหา | ภาษาไทย | |||||||||
| ||||||||||
ข้อมูลเมื่อ: 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 |
ชนัญญา เตชจักรเสมา (เกิด 20 กรกฎาคม) ชื่อเล่น วิว เป็นคอนเทนท์ครีเอเตอร์ และ ยูทูบเบอร์แนวเล่าเรื่องจากช่อง Point of View และนักเขียนชาวไทย เธอทำวิดีโอทั่วไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 และเริ่มทำวิดีโอเล่าเรื่องสาระความรู้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 นอกจากนี้เป็นผู้แต่งหนังสือหลายเล่ม รวมถึงพ็อกเก็ตบุ๊กขายดี วรรณคดีไทยไดเจสต์ซึ่งเป็นหนังสือที่นำเสนอเรื่องราวของวรรณคดีไทยให้เข้าถึงได้ง่าย ด้วยภาษาสมัยใหม่[2][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
ปัจจุบันเธอยังนำเสนอเนื้อหาที่ทั้งสนุกและได้สาระให้กับผู้ชมผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้ง ยูทูบ เฟสบุ๊ก อินสตาแกรม และ ติ๊กต็อก[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
ประวัติการศึกษา
[แก้]ชนัญญาเกิดในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน เข้าเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) ชนัญญาให้สัมภาษณ์ว่าตนเป็นคนที่ชอบวรรณกรรมอย่างมากโดยอ่านทั้งวรรณกรรม วรรณคดี และประวัติศาสตร์ตั้งแต่เด็ก เมื่อเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) ด้วยความที่ต้องการเป็นนักเขียน ประกอบกับความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ตในสมัยนั้นที่มีเว็บไซต์นิยายออนไลน์จำนวนมาก จึงเริ่มเขียนงานลงในอินเทอร์เน็ตตั้งแต่นั้น ต่อมาในช่วงมัธยมศึกษาตอนปลายเธอเข้าเรียนในแผนกวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และในช่วงเวลานี้เองเพื่อนๆ ในโรงเรียนได้ขอร้องให้ชนัญญาช่วยสรุปเนื้อหาวิชาภาษาไทยและวรรณคดีอยู่เสมอเนื่องจากความสามารถด้านภาษาที่โดดเด่นในกลุ่มเพื่อนที่เรียนในแผนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์[3] ชนัญญาจึงรู้ตัวว่าชื่นชอบการเล่าเรื่องให้คนอื่นฟังตั้งแต่นั้น[ต้องการอ้างอิง]
ชนัญญาสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 44[4] แล้วศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิชาเอกภาษาไทยโครงการช้างเผือก (โครงการรับบุคคลผู้มีความสามารถพิเศษด้านภาษาและวรรณคดีไทยเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี) โดยได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2[5] ในขณะศึกษาระดับมหาวิทยาลัยด้วยความอยากเป็นนักเขียนชนัญญาจึงเริ่มส่งนิยายไปยังสำนักพิมพ์ต่าง ๆ แต่ไม่ได้รับการตีพิมพ์[ต้องการอ้างอิง]
ผลงานในวัยเยาว์
[แก้]ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ชนัญญาเคยเข้าร่วมการประกวดวาดภาพในเทศกาลศิลปะเด็กนานาชาติที่ประเทศญี่ปุ่นหลายครั้ง โดยครั้งแรกถือเป็น 1 ใน 4 เด็กไทยที่ได้รับรางวัลเหรียญทองยอดเยี่ยม นอกจากนี้เธอยังเคยเข้าประกวดวงโยทวาทิตชิงถ้วยพระราชทานในสมัยมัธยมอีกด้วย
การทำงาน
[แก้]ชนัญญาเริ่มทำงานพิเศษตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนจนถึงช่วงที่เป็นนิสิต เช่น พิสูจน์อักษร ออกแบบ เขียนบทความ ต่อมาชนัญญาใช้ทวิตเตอร์เป็นพื้นที่สรุปเนื้อหาวรรณกรรมเพื่อทบทวนเนื้อหาที่เรียนจนได้รับความนิยม แต่ด้วยข้อจำกัดของจำนวนอักขระในทวิตเตอร์ชนัญญาจึงตัดสินใจบันทึกวีดิทัศน์การเล่าสรุปวรรรณกรรมแล้วอัปโหลดบนยูทูบแทน โดยวรรณกรรมเรื่องแรกที่ชนัญญานำมาเล่า คือ ลิลิตพระลอ โดยมีผลตอบรับที่ดี ตนจึงเริ่มนำเรื่องราวต่าง ๆ มาเล่าและบันทึกเป็นวีดิทัศน์เพื่อเผยแพร่ทางยูทูบนับแต่นั้น[6] ชนัญญายังได้ให้สัมภาษณ์กับเดอะสแตนดาร์ดว่าตนเป็น "คนคันปาก" ชอบการเล่าเรื่องต่าง ๆ ที่ตนเองรู้ให้คนอื่นฟัง และการเป็นยูทูบเบอร์ของตนยังได้ส่งเสริมการศึกษาของตน[7]
หลังสำเร็จการศึกษา ชนัญญามีโอกาสร่วมงานในฐานะพนักงานประจำหลายแห่งแต่ไม่ได้ร่วมงานอย่างต่อเนื่อง เพราะเธอยังคงรับงานพิเศษ เขียนหนังสือและนำเสนอเนื้อหาผ่านโซเชียลมีเดียควบคู่ไปด้วย เช่น เอเจนซี่ที่ได้ดูแลเนื้อหาให้เว็บไซต์ข่าวของ ไมโครซอฟท์ ในฐานะนักเขียนเนื้อหาให้กับบิงนิวส์, ดีแทค ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่้ดูแลโซเชียลมีเดีย, เดอะคลาวด์ในฐานะกองบรรณาธิการสื่อสังคม[6] โดยยังคงนำเสนอเรื่องราวผ่านโซเชียลควบคู่ไปด้วยแต่ท้ายสุดชนัญญาตัดสินใจลาออกจากการทำงานประจำเพื่อให้เวลากับการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์อย่างเต็มที่ ชนัญญาให้สัมภาษณ์กับเดอะคลาวด์ภายหลังจากการลาออกว่าตนเป็นคนทำงานไม่เป็นเวลาและไม่เหมาะกับการทำงานประจำสำนักงานที่เป็นกิจวัตร [8]
ในปี พ.ศ. 2559 ชนัญญาได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ YouTube NextUp ซึ่งจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนการผลิตเนื้อหาบนยูทูบทั้งการอบรมเชิงปฏิบัติการและเงินสนับสนุน[3] ทำให้เธอตัดสินใจให้ความสำคัญกับการนำเสนอเรื่องราวผ่านโซเชียลมีเดียมากขึ้น
นอกจากนี้ ชนัญญายังเคยเป็นพิธีกรในรายการสังคม สนุกคิด ซึ่งเป็นรายการแนวเล่าเรื่องทางสังคมศาสตร์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอแอลทีวี[9] และเขียนหนังสือ "วรรณคดีไทยไดเจสต์" เล่าประเด็นที่น่าสนใจจากวรรณกรรมไทยด้วยสำนวนที่อ่านง่าย[3]
ข้อวิพากษ์วิจารณ์
[แก้]การใช้สื่อสังคม
[แก้]วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
ล่าแม่มด | Point of View |
เมื่อปี พ.ศ. 2555 ชนัญญาได้ทวีตข้อความโดยมีใจความถึงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ซึ่งตรงกับวันต่อต้านการระรานทางไซเบอร์ (วันศุกร์ที่ 3 ของเดือนมิถุนายน) ชนัญญาเผยแพร่วีดิทัศน์เล่าเรื่องการล่าแม่มดและต่อเนื่องถึงเรื่องการระรานทางไซเบอร์ ซึ่งมีเนื้อหาระบุว่าตนเคยไม่เข้าใจเรื่องการระรานทางไซเบอร์ แต่ปัจจุบันได้หยุดแล้วและเชิญชวนให้ผู้ชมหยุดได้อย่างเธอ ทำให้มีบุคคลในสังคมออนไลน์เผยแพร่ทวีตข้างต้นของชนัญญาอีกครั้ง และในคราวเดียวกันนั้นได้เผยแพร่ทวีตและโพสต์ของชนัญญาอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ตลอดจนความคิดเห็นทางการเมืองที่สุดโต่ง และมุมมองอคติรุนแรง ซึ่งหลายข้อความเกิดจากการตัดต่อ หรือตัดทอนข้อความ จนชนัญญาต้องออกมาชี้แจงว่าตนไม่มีเจตนาที่จะกระทำเช่นนั้น ไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว ได้ติดต่อบุคคลที่ถูกพาดพิงเพื่อขอโทษแล้ว และปฏิเสธข้อความที่เกี่ยวข้องกับ "มือปืนป๊อปคอร์น" ว่าเป็นการตัดต่อ[10] พร้อมทั้งได้เดินทางไปแจ้งความเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ[11] จากนั้นมีผู้ออกมาอธิบายว่าข้อความหลายข้อความดังกล่าวเกิดจาก โปรแกรม fake post generator ที่ตั้งใจทำขึ้นเพื่อทำให้เธอเสื่อมเสียชื่อเสียง[12]
รางวัล
[แก้]- Popular vote Thailand best blog awards 2018 [13][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
- Best storytelling Thailand Influencer Awards 2020 [14][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
- รางวัลสุดยอดสื่อส่งเสริมการเรียนรู้สร้างสรรค์แห่งปี ประจำปี 2565[ต้องการอ้างอิง]
- เวทีรางวัลเชิดชูเกียรติสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ 2565[ต้องการอ้างอิง]
- โล่รางวัลสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ 2565[ต้องการอ้างอิง]
- Finalist Best Influencer Performance on Social Media (Film & Literature) 10th Anniversary Thailand Zocial Awards[ต้องการอ้างอิง]
- Finalist Best Creator Performance on Social Media (Knowledge & Education) 11th Thailand Social Awards[ต้องการอ้างอิง]
ผลงาน
[แก้]หนังสือ
[แก้]ชนัญญามีผลงานการเขียนหนังสือและออกวางจำหน่าย ดังนี้[15]
งานเขียนเดี่ยว
[แก้]- ติวสอบภาษาไทยประถมศึกษาปีที่ ๑. พ.ศ. 2559, ISBN 978-616-236-665-9
- ติวสอบภาษาไทยประถมศึกษาปีที่ ๒. พ.ศ. 2559, ISBN 978-616-236-666-6
- ติวสอบภาษาไทยประถมศึกษาปีที่ ๓. พ.ศ. 2559, ISBN 978-616-236-667-3
- ติวสอบภาษาไทยประถมศึกษาปีที่ ๔. พ.ศ. 2559, ISBN 978-616-236-668-0
- ติวสอบภาษาไทยประถมศึกษาปีที่ ๕. พ.ศ. 2559, ISBN 978-616-236-669-7
- ติวสอบภาษาไทยประถมศึกษาปีที่ ๖. พ.ศ. 2558, ISBN 978-616-236-714-4
- เตรียมสอบ ภาษาไทย ม.ปลาย ฉบับสมบูรณ์. พ.ศ. 2559, ISBN 978-616-236-809-7
- 9 วิชาสามัญภาษาไทย. พ.ศ. 2559, ISBN 978-616-236-876-9
- สรุปสังคมและแนวข้อสอบสังคมศึกษา. พ.ศ. 2560, ISBN 978-616-236-980-3
- วรรณคดีไทยไดเจสต์. พ.ศ. 2560, ISBN 978-616-327-187-7
- วรรณคดีไทยไดเจสต์ (Limited edition). พ.ศ. 2562, ISBN 978-616-327-218-8[16]
- สีดาไดอารี. พ.ศ. 2559 (นิยายออนไลน์เผยแพร่บนเพจเฟซบุ๊กของชนัญญาและเว็บไซต์ Dek-D ปัจจุบันหยุดเขียนไปแล้ว)[17]
งานเขียนร่วม
[แก้]- มาริสาอายุ 27 ปี. พ.ศ. 2564, ISBN 978-616-93784-1-9 (เขียนร่วมกับจักรพันธ์ุ ขวัญมงคล, จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท, จิราภรณ์ วิหวา, ดุจดาว วัฒนปกรณ์, ตินกานต์, ธนชาติ ศิริภัทราชัย, ลูกแก้ว โชติรส, สุกัญญา สมไพบูลย์, องอาจ ชัยชาญชีพ, โอ๊ต มณเฑียร และ t_047 โดยจักรกฤต โยมพยอม เป็นบรรณาธิการ)[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "About @PointofView". YouTube.
- ↑ "วรรณคดีไทยไดเจสต์". อะบุ๊ก. 2017. สืบค้นเมื่อ 22 March 2024.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 https://www.blockdit.com/posts/611540b5c7c9830c8e6655ce
- ↑ https://cudaa.org/alumni_list/%E0%B8%99-%E0%B8%AA-%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%8A%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2-%E0%B8%A3%E0%B8%B8/
- ↑ https://cca.chula.ac.th/protocol/images/book/pdf/book_parinya/book-parinya55.pdf
- ↑ 6.0 6.1 https://www.brandbuffet.in.th/2019/02/interview-point-of-view/
- ↑ https://news.trueid.net/detail/5NaBEvYBvlqK
- ↑ https://readthecloud.co/point-of-view/
- ↑ https://www.thaipbs.or.th/program/SanookKid https://www.altv.tv/SanookKid
- ↑ https://www.sanook.com/news/7813854/ https://workpointtoday.com/point-of-view-apologizes/ https://www.matichon.co.th/politics/news_1552900/
- ↑ "เจ้าของเพจ Point of View ร้อง ปอท.เอาผิดแอดมินเพจดัง". komchadluek. 2019-11-20.
- ↑ "Facebook". www.facebook.com.
- ↑ https://www.facebook.com/blogger.cpall/
- ↑ https://www.thailandinfluencerawards.com/
- ↑ https://e-service.nlt.go.th/{{ISBN%7CReq/ListSearchPub?KeywordTypeKey=2&Keyword=%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2+%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%8A&{{ISBN%7CReqTypeKey=[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-06. สืบค้นเมื่อ 2024-01-06.
- ↑ https://www.facebook.com/pointoofview/posts/pfbid035z2tEAYontGRoveDPguXYiCsij5CSmdZm9AzC4MaaMrgqevYF2e77TC6378P2Lksl
- ↑ https://www.altv.tv/content/thaipbs-news/61528f10f3a5e8670b38a491