การระรานทางไซเบอร์
การระรานทางไซเบอร์[1] (อังกฤษ: Cyberbullying) เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือคุกคามผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยวิธีการซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยไตร่ตรองไว้แล้ว จาก U.S. Legal Definitions ให้คำนิยามว่า "การระรานทางไซเบอร์ อาจหมายถึงการประกาศข่าวลือหรือคำนินทาเกี่ยวกับบุคคลหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งก่อให้เกิดการรังเกียจแก่จิตใจต่อผู้อื่น หรืออาจหมายถึง คุกคามเหยื่อโดยเผยแพร่เนื้อหาที่ทำลายชื่อเสียงหรือทำให้เกิดความขายหน้า"[2]
เนื่องด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่พัฒนาขึ้น การระรานทางไซเบอร์ก็เพิ่มขึ้นตามกัน โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น[3] มีการรับรู้เรื่องราวนี้มากขึ้นจากกรณีการฆ่าตัวตายของไทเลอร์ เคลเมนติ[4]
วิธี
[แก้]คู่มือการให้ข้อมูลต่อสาธารณชน อาจารย์และผู้ปกครอง ให้ข้อมูลว่า "การระรานทางไซเบอร์เป็นการทำร้ายผู้อื่นโดยการส่งหรือการประกาศความเสียหายโดยใช้โทรศัพท์หรือทางอินเทอร์เน็ต" การวิจัย ตัวบทกฎหมาย และการศึกษาในด้านนี้ยังคงมีต่อไป นิยามโดยพื้นฐานและคู่มือเพื่อจะให้จำแนกและจัดการเกี่ยวกับการข่มเหงทางการสื่อสารด้านอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีการจำแนกออกมา
- การระรานทางไซเบอร์ เป็นพฤติกรรมซ้ำ ๆ ที่มีเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
- การระรานทางไซเบอร์ เป็นการก่อการโดยการรังควาน การเกาะติดชีวิตออนไลน์ผู้อื่น การหมิ่นประมาท (โดยการส่งหรือการประกาศคำนินทาและทำเรื่องลวงให้เกิดความเสียหายซ้ำแล้วซ้ำเล่า) การปลอมตัวเป็นผู้อื่น และการกีดกัน (โดยตั้งใจและหยาบคาย เพื่อแยกให้เหยื่อออกจากกลุ่ม)[5]
การระรานทางไซเบอร์อาจกระทำอย่างง่าย อย่างการส่งอีเมล ส่งข้อความเพื่อรังควาน จากใครบางคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ส่ง อาจเป็นการกระทำในสาธารณะ เช่น การข่มขู่ซ้ำ ๆ การให้ความเห็นทางเพศ การพูดคำหยาบ (เช่น ประทุษวาจา) หรือการหมิ่นประมาทด้วยข้อความอันเป็นเท็จ การรวมกลุ่มกันระรานเป้าหมายโดยการล้อเลียน การแฮ็ก หรือการทำเว็บไซต์ก่อกวน และการประกาศความเท็จว่าให้เป็นจริงโดยการทำลายชื่อเสียงหรือทำให้เกิดความขายหน้าต่อเหยื่อ[6]
การระรานทางไซเบอร์อาจมีการเปิดโปงข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ เช่น ชื่อจริง ที่อยู่ ที่ทำงาน โรงเรียน บนเว็บไซต์หรือฟอรัม หรืออาจปลอมตัว สร้างบัญชีปลอม เพื่อตอบความเห็นหรือแกล้งทำตัวเป็นเหยื่อเพื่อทำลายชื่อเสียงผู้นั้น ซึ่งทำให้ผู้ก่อการนิรนามนี้ยากต่อการหาคนทำผิด หรือลงโทษจากพฤติกรรมดังกล่าว ถึงแม้ว่าผู้ก่อการมักจะไม่แสดงตน แต่ก็ไม่เสมอไป การส่งข้อความและอีเมล์ระหว่างเพื่อนด้วยกันเพื่อทำร้ายกันก็เป็นการระรานทางไซเบอร์
การใช้แอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือและการเติบโตของสมาร์ตโฟนก่อให้เกิดรูปแบบที่ง่ายต่อการระรานทางไซเบอร์ คาดว่าการระรานทางไซเบอร์ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือมีขอบเขตที่กว้างขึ้น นอกจากนี้การใช้กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ต ผ่านเทคโนโลยีของสมาร์ตโฟน ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการระรานกัน และดูเหมือนว่าการระรานผ่านโทรศัพท์มือถือจะมากกว่าการระรานวิธีอื่น[7]
ในโซเชียลมีเดีย
[แก้]การระรานทางไซเบอร์ อาจเกิดขึ้นในโซเชียลมีเดียอย่าง เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ จากข้อมูลปี ค.ศ. 2008 ร้อยละ 93 ของวัยรุ่นอายุระหว่าง 12 ถึง 17 อยู่บนโลกออนไลน์ และวัยรุ่นใช้เวลาบนสื่อนี้มากกว่ากิจกรรมอื่น ๆ ไม่นับการนอนหลับ[8] สื่อสังคมออนไลน์นี้เสียงต่อการระรานผู้อื่นทางไซเบอร์ มีเด็ก 1 ล้านคนถูกรังควาน ข่มขู่ บนเฟซบุ๊กในปี 2008 ขณะที่มีร้อยละ 95 ของวัยรุ่นที่ใช้สังคมออนไลน์มีส่วนรู้ส่วนเห็น พฤติกรรมการระรานและร้อยละ 35 ระรานผู้อื่นเป็นประจำ และร้อยละ 55 เห็นคนระรานกันทางไซเบอร์เป็นประจำ[9] จากข้อมูลวิจัยของ พิวรีเสิร์ช มีเด็กวัยรุ่น 8 คนใน 10 คน ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาเอง รวมถึงสถานที่ ภาพ และข้อมูลติดต่อ[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มติของการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562
- ↑ "Cyber Bullying Law and Legal Definition". U.S. Legal Definitions.
- ↑ Smith, Peter K.; Mahdavi, Jess; Carvalho, Manuel; Fisher, Sonja; Russell, Shanette; Tippett, Neil (2008). "Cyberbullying: its nature and impact in secondary school pupils". The Journal of Child Psychology and Psychiatry. 49 (4): 376–385. doi:10.1111/j.1469-7610.2007.01846.x.
- ↑ "Legal Debate Swirls Over Charges in a Student's Suicide". New York Times.
- ↑ An Educator's Guide to Cyberbullying Brown Senate.gov, archived from the original on 10 April 2011
- ↑ "Defining a Cyberbully". The National Science Foundation. สืบค้นเมื่อ November 8, 2011.
- ↑ Görzig, Anke; Lara A. Frumkin (2013). "Cyberbullying experiences on-the-go: When social media can become distressing". Cyberpsychology: Journal of Psychosocial Research on Cyberspace. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-02. สืบค้นเมื่อ 2016-05-30.
- ↑ "Teen and Young Adult Internet Use". Pew Internet Project. สืบค้นเมื่อ 5 January 2015.
- ↑ "Cyberbullying Statistics". Internet Safety 101. สืบค้นเมื่อ 5 January 2015.
- ↑ "Teens, Social Media, and Privacy". สืบค้นเมื่อ 15 November 2015.