ฉบับร่าง:พระศรีปริยัติธาดา (ทองสา ฐานิสฺสโร)
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ PanImage (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 2 เดือนก่อน (ล้างแคช) |
พระศรีปริยัติธาดา (ทองสา ฐานิสฺสโร) | |
---|---|
ชื่ออื่น | พระคุณท่าน ท่านเจ้าคุณพระมหาทองสา ป.ธ.9,ผศ. |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 พฤษภาคม พ.ศ.2508 (59 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | น.ธ.เอก ป.ธ.9 พธ.บ.(ศาสนา) ศษ.บ.(ประถมศึกษา) ศศ.ม.(สันสกฤต) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดโพธิ์ย่อย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ |
อุปสมบท | 5 พฤษภาคม พ.ศ.2530 |
พรรษา | 37 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ย่อย อำเภอลำปลายมาศ,รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ฝ่ายมหานิกาย,ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ |
.
พระศรีปริยัติธาดา (ทองสา ฐานิสฺสโร)[1] ป.ธ.9,ผศ. เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ย่อย อำเภอลำปลายมาศ,รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ฝ่ายมหานิกาย และมีตำแหน่งในสถาบันการศึกษาเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์[2] มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ประวัติ
[แก้]พระศรีปริยัติธาดา (ทองสา ฐานิสฺสโร/ชาติดำดี)
- ชาตภูมิ
พระศรีปริยัติธาดา (ทองสา ฐานิสฺสโร) นามเดิมชื่อ ทองสา นามสกุล ชาติดำดี เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 ปีมะเส็ง ภูมิลำเนาเดิม ณ บ้านเลขที่11 หมู่ที่8 บ้านยาง ตำบลบ้านยาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โยมบิดาชื่อ นายรอด ชาติดำดี โยมมารดาชื่อ นางจัน ชาติดำดี
เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2523 ณ วัดหนองจิก ตำบลบ้านยาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองตำบลหนองโดน) โดยมี พระครูนิวิฐธรรมาทร เป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2530 ณ พัทธสีมาอุโบสถวัดโพธิ์ย่อย ตำบลบ้านยาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี พระครูนิวิฐธรรมาทร เป็นพระอุปัชฌาย์ วัดหนองจิก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พระครูสิริปัญญาธร วัดเวฬุวนาราม ตำบลไทยสามัคคี อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูปิยธรรมทัศน์ วัดโพธิ์ย่อย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามจากพระอุปัชฌาย์ว่า ฐานิสฺสโร
วุฒิการศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2519 จบชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนบ้านยาง คุรุราษฏร์รังสรรค์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
- พ.ศ. 2530 เทียบประโยค ป.ธ.5 ได้ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
- พ.ศ. 2525 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษาวัดพายัพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
- พ.ศ. 2527 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค สำนักศาสนศึกษาวัดพายัพ พระอารามหลวง จังหวัดนครราชสีมา
- พ.ศ. 2530 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค สำนักเรียนวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2539 สอบไล่ได้ปริญญาบัตรเปรียญธรรม 9 ประโยค สำนักเรียนวัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2534 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) สาขาวิชาศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2537 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) สาขาประถมศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี
- พ.ศ. 2542 สำเร็จการศึกษาปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขาภาษาสันสกฤต มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร
การปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์
[แก้]- พ.ศ. 2545 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ย่อย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
- พ.ศ. 2545 ดำรงตำแหน่งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
- พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2551 ดำรงตำแหน่ง เป็นเจ้าคณะอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
- พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ รูปที่ 1[3][4]
งานด้านการศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์[5][6] มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2559 เป็นประธานฝ่ายศาสนศึกษา คณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์
- พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน อาจารย์ประจำ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2563 ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาการสอนภาษาไทย[7]
งานวิทยากร/งานบรรยาย,งานตรวจการคณะสงฆ์
[แก้]- พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ เป็นวิทยากรให้การอบรมพระภิกษุ ที่แต่งตั้งเป็นพระสังฆาธิการของคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์
- พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙เป็นวิทยากรให้การอบรมพระสังฆาธิการที่สอบคัดเลือกเป็นพระอุปัชฌาย์ระดับจังหวัด ของคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์
- พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ เป็นวิทยากรให้การบรรยายแก่พระสังฆาธิการของคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ ในการประชุมคณะสงฆ์ประจำปี
- พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ เป็นวิทยากรให้การบรรยายแก่พระนวกะของคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ในอำเภอต่าง ๆ ในเทศกาลพรรษา
- เป็นพระปริยัตินิเทศ ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ออกนิเทศการศึกษาการสอนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี
- ได้รับมอบหมายจากเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ให้เข้าร่วมประชุมผู้บริหารสำนักศาสนศึกษาระดับจังหวัดทั่วประเทศ
- เป็นวิทยากรผู้บรรยาย งานด้านศาสนศึกษาประจำคณะสงฆ์จังหวัด ในการประชุมพระสังฆาธิการทุกระดับ ในจังหวัดบุรีรัมย์
- เป็นกรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวง และตรวจข้อสอบบาลีสนามหลวงประโยค ป.ธ.๓ เป็นประจำทุกปี
- ได้รับมอบหมายจากเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ให้รับตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท
- ได้รับมอบหมายให้เป็นประธานฝ่ายศาสนศึกษา ของคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ และได้รับผิดชอบกำกับดูแลโครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งสำนักศาสนศึกษาแผนกธรรม และโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งสำนักศาสนศึกษาแผนกบาลี
- งานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙
- เป็นรองประธานพระธรรมทูตฝ่ายอำนวยการ ร่วมกำกับดูแลงานด้านการเผยแผ่ของคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์
- ได้รับมอบหมายให้ขับเคลื่อน กำกับ ติดตามประเมินผลโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ และเป็นวิทยากรบรรยาย ขับเคลื่อนการกรอกข้อมูลผู้สมัครร่วมโครงการรักษาศีล ๕ จังหวัดบุรีรัมย์ มีเปอร์เซ็นต์การสมัครเข้าร่วมโครงการอันดับ ๑ ของประเทศ
- เป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดบุรีรัมย์ แห่งที่ ๔๓ และจัดปฏิบัติธรรมประจำปี ทุกปี ในวันส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ต้อนรับปีใหม่วิถีพุทธ จัดสวดมนต์ข้ามปี มีประชาชนเข้าร่วมประมาณ ๑,๐๐๐ คน
- จัดปฏิบัติธรรมในเทศกาลพรรษา และให้พุทธศาสนิกชนในคุ้มวัดจำนวน ๖ หมู่บ้านมารักอุโบสถศีล มีอุบาสกอุบาสิกามารักษาอุโบสถศีล ประมาณ ๓๐๐ คน และไม่ต่ำกว่า ๑๙๐ คน ในวันอุโบสถปกติ
รางวัลเกียรติคุณ
[แก้]- ได้รับการประกาศให้เป็นวัดเข้าร่วมโครงการลานธรรมลานวิถีไทย (ลานบุญลานปัญญา) และเป็นสถานที่จัดโครงการเข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรมแก่สถานศึกษาในเขตบริการของวัด มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน ๕๐๐ คน
- ได้รับการประกาศวัดในโครงการวัดชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลัง บวร กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
- พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้รับโล่เกียรติคุณในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและสังคม ในการสนับสนุน “รายการอาสาตามหาคนดี” จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ.๒๕๕๙ ได้รับรางวัลโล่ชนะเลิศการประเมิน วัดสะอาดปลอดอบายมุขต้นแบบระดับจังหวัด ตามโครงการ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”
- พ.ศ.๒๕๕๙ เข้ารับโล่รางวัลในฐานะสำนักเรียนคณะจังหวัดที่ที่นักเรียนสอบนักธรรม ได้มากเป็นอันดับที่ ๕ และสอบได้ธรรมศึกษาได้มากอันดับที่ ๒ ของประเทศ ส่วนภูมิภาค
- พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมรางวัลเสาเสมาธรรมจักร สาขาส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์ ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานรางวัล
สมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 เข้ารับพระราชทานทรงตั้งปริญญาบัตรเปรียญธรรม 9 ประโยค และพัดยศสมณศักดิ์ ป.ธ.9 ผ้าไตรพระราชทาน มีนามทางวิชาการเปรียญธรรมที่ พระมหาทองสา ฐานิสฺสโร ป.ธ.9
ในการทรงตั้งเปรียญธรรม 9 ประโยค และเปรียญธรรม 6 ประโยค นั้น พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงตั้งเปรียญธรรม ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2552 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ในราชทินนามที่ พระศรีปริยัติธาดา[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ป.ป.ช. จัดกิจกรรมขับเคลื่อนบุรีรัมย์และสุรินทร์ ด้วยหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา". www.nacc.go.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ มติการประชุมครั้งที่ 4/2567 (24 เมษายน พ.ศ.2567) สำนักงานสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีมติอนุมัติแต่งตั้ง พระศรีปริยัติธาดา (ทองสา ฐานิสฺสโร) ป.ธ.๙,ผศ. เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
- ↑ https://www.mahathera.org/index.php?url=mati&id=3745
- ↑ มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 17/2551 มติที่ 338/2551 เรื่อง เสนอแต่งตั้ง พระมหาทองสา ฐานิสฺสโร วัดโพธิ์ย่อย จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ดำรงตำแหน่ง รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ได้มีลิขิต ที่ จญ.อ. ๖๒/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน แจ้งตามรายงานของพระเทพวิสุทธิเมธี เจ้าคณะภาค ๑๑ ว่า พระราชปริยัติกวี วัดกลาง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เป็นเหตุให้ ผู้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ว่างลง เจ้าคณะภาค ๑๑ จึงเสนอแต่งตั้ง พระมหาทองสา ฐานิสฺสโร อายุ ๔๓ พรรษา ๒๑ ป.ธ. ๙ วัดโพธิ์ย่อย ตำบลบ้านยาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ย่อย และเจ้าคณะอำเภอลำปลายมาศ ให้ดำรงตำแหน่ง รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ การเสนอแต่งตั้ง พระมหาทองสา ฐานิสฺสโร ให้ดำรงตำแหน่ง รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ดังกล่าว ได้ปฏิบัติตามข้อ ๖ ข้อ ๑๔ (๑) (๔) และข้อ ๑๖ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ โดยได้รับความเห็นชอบจากเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกแล้ว พร้อมกับมีบัญชาให้นำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดพิจารณา ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติอนุมัติ และให้ดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องรอรับรองรายงานการประชุม
- ↑ https://www.facebook.com/share/p/Dbk8vbJhA8VTcmtp/?mibextid=oFDknk
- ↑ คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ 47/2567 เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ แต่งตั้งให้พระศรีปริยัติธาดา,ผศ.,ป.ธ.9 (ทองสา ฐานิสฺสโร) ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 (ลงนาม) พระพรหมวชิราธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ↑ "มจร แต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ พระศรีปริยัติธาดา". mcubr.ac.th.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๗, ตอนที่ ๓ ข, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓, หน้า ๗