วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
ชื่อย่อ | วส.บร.มจร. / MCU.BR. |
---|---|
คติพจน์ | ปญฺา โลกสฺมิ ปชฺโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก |
ประเภท | วิทยาลัยสงฆ์ |
สถาปนา | พ.ศ.2542 |
ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ | พระศรีปริยัติธาดา (ทองสา ฐานิสฺสโร) ป.ธ.9 |
ที่ตั้ง | 281 หมู่ที่13 (เขากระโดง) ถนนบุรีรัมย์-ประโคนชัย ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000 เบอร์โทรศัพท์ 044637261 |
วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[1] ตั้งอยู่ที่ 281 หมู่ที่13 (เขากระโดง) ถนนบุรีรัมย์-ประโคนชัย ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000 เบอร์โทรศัพท์ 044637261 เป็นวิทยาลัยสงฆ์[2] ในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล ในการกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ประวัติความเป็นมา
[แก้]เมื่อปี พ.ศ. 2542 คณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้การนำของ พระราชปริยัตยาลังการ (วิชัย ฐิตาจาโร) เจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ในขณะนั้น) ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการขอขยายห้องเรียน หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ มาดำเนินการจัดการเรียนการสอน ณ วัดพระพุทธบาทเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อขยายการให้บริการทางการศึกษาแก่พระสังฆาธิการและพระภิกษุสามเณร ในระดับอุดมศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และส่งเสริมพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ในระดับท้องถิ่นให้มีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการทางพระพุทธศาสนาและศาสตร์แขนงอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม/แผนกบาลีที่มีอยู่แล้วเพื่อที่จะได้นำไปพัฒนาสังคมประเทศชาติและพระพุทธศาสนาต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อพัฒนาด้านศักยภาพและสนองความประสงค์ของคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์
- เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพของคณะสงฆ์และสังคม
- เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัย[3] วิชาการทางพระพุทธศาสนาในระดับสูงและเป็นสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาของคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์
- เพื่อให้บุคลากรในองค์กรท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา อันเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงแก่ผู้ต้องการโอกาสทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยความเห็นชอบของสภาวิชาการ และโดยอนุมัติของสภามหาวิทยาลัย ได้ขยายระดับการศึกษาสู่จังหวัดบุรีรัมย์ ตามหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (คณะพุทธศาสตร์) ณ วัดพระพุทธบาทเขากระโดง ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 เป็นต้นมา มีสถานภาพเป็นโครงการขยายห้องเรียน มีชื่อตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยว่า "โครงการขยายห้องเรียนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ วัดพระพุทธบาทเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์" โดยได้จัดการศึกษาเจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้รับอนุมัติจัดตั้งจากสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์[4] เมื่อคราวประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2543 ในวันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553 และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอนที่ 109 ง หน้า 329 ลำดับที่ 218 ลงวันที่ 19 เดือน กรกฎาคม 2553 ส่งผลให้ "วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์" [5][6] มีสถานภาพเป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามมาตรา 8 (8) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริมและให้บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุ สามเณร และคฤหัสถ์ รวมทั้งการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ทำเนียบผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
[แก้]ลำดับ | รูป | รายนาม / สมณศักดิ์ | ดำรงตำแหน่ง | ถึง |
1 | พระราชปริยัตยาลังการ (วิชัย ฐิตาจาโร) | พ.ศ.2543 | พ.ศ.2553 | |
2 | พระครูปริยัติภัทรคุณ (เสนอ สิริภทฺโท) | พ.ศ.2553 | พ.ศ.2558 | |
3 | พระศรีปริยัติธาดา (ทองสา ฐานิสฺสโร)[7] | พ.ศ. 2558 | ปัจจุบัน |
สาขาวิชาที่เปิดสอน
[แก้]- ประกาศนียบัตร
- ประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ (หลักสูตรพัฒนาศักยภาพพระสังฆาธิการ)
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
- สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาสังคมศึกษา
- สาขาวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
- พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา
- พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
ผู้มีคุณูปการต่อวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
[แก้]- พระพรหมวชิรโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์,อดีตผู้สนับสนุนโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่คณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์,อดีตผู้อุปถัมภ์การศึกษาโครงการขยายห้องเรียนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ วัดพระพุทธบาทเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์
- พระราชปริยัตยาลังการ (วิชัย ฐิตาจาโร) ผู้สถาปนาวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พระธรรมวชิรสุตาภรณ์ (สุพจน์ โชติญาโณ) ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาประจำวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พระสุนทรธรรมเมธี (สุเทพ อาสโภ) ผู้อุปถัมภ์การศึกษาวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พระมงคลสุตกิจ (บุญถิ่น ปุญฺญสิริ) ป.ธ.7 ผู้อุปถัมภ์การศึกษาวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พระครูสัจจานุรักษ์ (เที่ยง ปภงฺกโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเขากระโดง,อดีตเจ้าคณะตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์,อดีตผู้อุปถัมภ์การศึกษาโครงการขยายห้องเรียนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ วัดพระพุทธบาทเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.watprayoon.com/main.php?url=news_view&id=697&cat=B&table=news
- ↑ ""พระเมธีธรรมาจารย์" เผย "มจร" ประกาศใช้แผนพัฒนาระยะที่ ๑๓ แล้ว". TheBuddh.com. 2022-04-01.
- ↑ "ลงนาม "บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ" ร่วมกับ วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์". hs.bru.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-06. สืบค้นเมื่อ 2024-04-06.
- ↑ "mcubr". mcubr (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-03-07.
- ↑ ข้อกำหนดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง การจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ พุทธศักราช 2553 ตามหลักฐานที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนที่ 109 ง ประกาศเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หน้า 329 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/D/109/329.PDF
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-27. สืบค้นเมื่อ 2024-04-06.
- ↑ คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ 47/2567 เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ แต่งตั้งให้พระศรีปริยัติธาดา,ผศ.,ป.ธ.9 (ทองสา ฐานิสฺสโร) ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 (ลงนาม) พระพรหมวชิราธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย