ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:ตำบลห้วยแร้ง

พิกัด: 12°20′07.1″N 102°30′42.8″E / 12.335306°N 102.511889°E / 12.335306; 102.511889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลห้วยแร้ง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Huai Raeng
ประเทศไทย
จังหวัดตราด
อำเภอเมืองตราด
พื้นที่
 • ทั้งหมด187.00 ตร.กม. (72.20 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด7,485 คน
 • ความหนาแน่น40.03 คน/ตร.กม. (103.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 23000
รหัสภูมิศาสตร์230108
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแร้ง
อบต.ห้วยแร้งตั้งอยู่ในจังหวัดตราด
อบต.ห้วยแร้ง
อบต.ห้วยแร้ง
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแร้ง
พิกัด: 12°20′07.1″N 102°30′42.8″E / 12.335306°N 102.511889°E / 12.335306; 102.511889
ประเทศ ไทย
จังหวัดตราด
อำเภอเมืองตราด
พื้นที่
 • ทั้งหมด187.00 ตร.กม. (72.20 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด7,485 คน
 • ความหนาแน่น40.03 คน/ตร.กม. (103.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06230115
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 12/3 หมู่ 1 ตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด 23000
เว็บไซต์huairang.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ห้วยแร้ง เป็นตำบลในอำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลห้วยแร้ง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลด่านชุมพล (อำเภอบ่อไร่) และตำบลวังตะเคียน (อำเภอเขาสมิง)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลท่ากุ่ม
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเนินทราย และตำบลวังกระแจะ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลทุ่งนนทรี และตำบลเขาสมิง (อำเภอเขาสมิง)

ประวัติ

[แก้]

ห้วยแร้ง เป็นตำบลของอำเภอบางพระ (อำเภอเมืองตราด) โดยคำว่า "ห้วยแร้ง" ในอดีตพื้นที่หมู่ 4 มีหนองน้ำซึ่งมีหินรูปนกแร้ง ซึ่งจะพบเห็นเมื่อช่วงฤดูแล้งที่มีน้ำตื้นเขิน ชาวบ้านเรียกว่า หนองห้วยแร้ง และในพื้นที่ก็มีนกแร้งมากินน้ำในบริเวณลำห้วยนั้น จึงมีคนตั้งชื่อพื้นที่บริเวณนี้ว่า ห้วยแร้ง[3]

ปี พ.ศ. 2479 ประชาชนหมู่ที่ 2 ของตำบลด่านชุมพล และหมู่ 7 ของตำบลเขาสมิง อำเภอเขาสมิง แจ้งแก่ทางราชการว่าประชาชนไปติดต่อราชการกับอำเภอเมืองตราด สะดวกกว่าไปติดต่อกับอำเภอเขาสมิง จึงได้โอนพื้นที่หมู่ 2 ของตำบลด่านชุมพล อำเภอเมืองตราด เข้ามาสมทบในการปกครองของตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมืองตราด[4]

ปี พ.ศ. 2550 นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ได้แบ่งพื้นที่หมู่ 5 บ้านปากพีด แยกตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ เป็น หมู่ 11 บ้านเขาตาโปน[5]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

ตำบลห้วยแร้งแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านเกาะขวาง
  • หมู่ที่ 2 บ้านคลองขุด
  • หมู่ที่ 3 บ้านจุฬามณี,บ้านบางปรง
  • หมู่ที่ 4 บ้านเนินยาง
  • หมู่ที่ 5 บ้านปากพีด
  • หมู่ที่ 6 บ้านฉางเกลือ
  • หมู่ที่ 7 บ้านแหลมตอง
  • หมู่ที่ 8 บ้านหนองใหญ่
  • หมู่ที่ 9 บ้านหินโค่ง
  • หมู่ที่ 10 บ้านคลองพีด
  • หมู่ที่ 11 บ้านเขาตาโปน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ตำบลห้วยแร้งเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลห้วยแร้ง ในปี พ.ศ. 2517[6] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลห้วยแร้งมี 10 หมู่บ้าน พื้นที่ 187.00 ตารางกิโลเมตร ประชากร 5,948 คน และ 1,601 ครัวเรือน[7] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลห้วยแร้งอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแร้ง[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 38 ง): 1–35. วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2542
  3. ประวัติตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด - องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแร้ง สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดตราด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 2858. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479
  5. "ประกาศจังหวัดตราด เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 120 (5 ง): 135–138. วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2546
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  7. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539