ข้ามไปเนื้อหา

คณะรัฐศาสตร์ในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารรัฐกิจ การเมืองการปกครอง รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งการศึกษาวิชารัฐศาสตร์นั้น เป็นการศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการ กล่าวคือ ต้องอาศัยศาสตร์หลาย ๆ ศาสตร์เข้ามาประกอบการศึกษา อธิบายภาวะต่าง ๆ ทางสังคม ที่เกิดขึ้นได้

ประวัติ

[แก้]

การศึกษาในสาขารัฐศาสตร์นั้น เริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงจัดตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน" ขึ้น เพื่อฝึกหัดนักเรียนให้รับการศึกษาเพื่อเข้ารับราชการตามกระทรวงต่าง ๆ ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสถาปนา "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ขึ้น โดย "คณะรัฐประศาสนศาสตร์" เป็น 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของมหาวิทยาลัย หลังจากนั้น ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" และโอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และในที่สุดก็กลับมาจัดตั้งใหม่อีกครั้งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2491 หลังจากนั้น สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ก็ได้เปิดสอนในหลายมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้ (หมายเหตุ : นับเฉพาะหลักสูตรปริญญาตรี ข้อมูล ณ วันที่ 16 พ.ย. 2563)

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

[แก้]

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะรัฐศาสตร์ ในภาพรวมแล้วนั้นการเรียนการสอนรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยราชภัฎ การเรียนการสอนรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์มักเปิดในคณะรัฐศาสตร์ หรือคณะสังคมศาสตร์ หรือคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และจากภาพรวมแล้วมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครนคร และมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นมานาน จะมีการเรียนการสอนทั้งรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ ส่วนมหาวิทยาลัยในเขตภูมิภาค หรือมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งใหม่มักมีการเรียนการสอนแต่ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ปัจจุบัน ภายในการศึกษาด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์นั้น ได้มีการแยกสาขาวิชาที่ศึกษาให้หลากหลายและครอบคลุมยิ่งขึ้น จึงมีหลักสูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นภายในคณะรัฐศาสตร์ขึ้นเป็นอย่างมาก เช่น การบริหารงานยุติธรรม การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

มหาวิทยาลัยของรัฐ

[แก้]
มหาวิทยาลัย คณะ สาขาวิชารัฐศาสตร์, การปกครอง, การเมืองการปกครอง สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, การระหว่างประเทศ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บริหารรัฐกิจ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สาขาวิชาบริหารงานยุติธรรม สาขาวิชาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน ปีที่ก่อตั้งขึ้น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์ มี มี มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2491
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มี มี มี มี โดยแยกเป็นแผนกอิสระ (ภายใต้ความดูแลของ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) มี โดยแยกเป็นแผนกอิสระ (ภายใต้ความดูแลของ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์) มี โดยแยกเป็นแผนกอิสระ(ภายใต้การดูแลของ วิทยาลัยสหวิทยาการ) ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2492
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มี (หลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร) ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี มี มี พ.ศ. 2498
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มี มี มี มี (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์) ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2508
มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะรัฐศาสตร์ มี มี มี มี (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์) มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2516
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มี มี มี มี (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์) มี ไม่มี มี ไม่มี พ.ศ. 2518
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ คณะวิทยาการจัดการ ไม่มี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2519
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะรัฐศาสตร์ มี มี ไม่มี มี (ภาควิชาสังคมศาสตร์ สาขาสังคมวิทยา และมนุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่มี ไม่มี มี มี (แขนงวิชานโยบายสาธารณะ) พ.ศ. 2525
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชารัฐศาสตร์ มี มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2525
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ไม่มี ไม่มี มี (หลักสูตรปริญญาโท) ไม่มี มี (หลักสูตรปริญญาโท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2541
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชานวัตกรรมสังคม ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2556
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะสังคมศาสตร์ มี มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2542
มหาวิทยาลัยบูรพา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มี มี มี ไม่มี มี (หลักสูตรปริญญาโท) มี มี ไม่มี พ.ศ. 2545
มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสังคมศาสตร์ มี มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2546
มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี ไม่มี(มีเฉพาะวิทยาลัยนานาชาติ) มี มี มี(ในวิทยาลัยปกครองท้องถิ่น) ไม่มี มี(ในวิทยาลัยปกครองท้องถิ่น) ไม่มี พ.ศ. 2547
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มี มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี มี ไม่มี พ.ศ. 2547
มหาวิทยาลัยพะเยา คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ (จัดตั้งเป็นคณะ พ.ศ. 2557 ) มี (หลักสูตร ร.บ.เริ่มเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ ปีการศึกษา 2547 ม.นเรศวรวิทยาเขตสารสนเทศพะเยา และจัดตั้งเป็น ม.พะเยา พ.ศ. 2553) ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี มี พ.ศ. 2547
มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ ไม่มี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี มี ไม่มี พ.ศ. 2551
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะรัฐศาสตร์ มี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี มี ไม่มี พ.ศ. 2548
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตเชียงใหม่ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2548
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่เฉลิมพระเกียรติ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2548
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มี ไม่มี มี ไม่มี มี ไม่มี มี มี พ.ศ. 2549
มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี มี ไม่มี พ.ศ. 2549
มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะวิทยาการจัดการ ไม่มี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2551
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร สาขาวิชารัฐศาสตร์ มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2552
มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี มี ไม่มี พ.ศ. 2553
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มี มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2554
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คณะสังคมศาสตร์ มี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย คณะสังคมศาสตร์ มี ไม่มี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2543
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี มี ไม่มี
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2560
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คณะวิทยาการจัดการ ไม่มี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2555
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2557
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ ไม่มี ไม่มี มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี พ.ศ. 2559

มหาวิทยาลัยราชภัฏ

[แก้]

กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาพรวมมหาวิทยาลัยราชภัฎจะไม่มีความแตกต่างหลากหลายในการจัดการเรียนการสอน กล่าวคือมีเพียงแต่ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ที่เป็นสาขาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพียง 8 มหาวิทยาลัยเท่านั้นที่มีการเรียนการสอนรัฐศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎในภาคเหนือ 2 มหาวิทยาลัย ภาคอีสาน 3 มหาวิทยาลัย และภาคกลาง 3 มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัย คณะ หลักสูตรรัฐศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ

มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด วิทยาลัยนิติรัฐศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ คณะรัฐศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มี มี

มหาวิทยาลัยเอกชน

[แก้]

มหาวิทยาลัยเอกชน

มหาวิทยาลัย คณะ หลักสูตรรัฐศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี คณะรัฐศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น คณะรัฐศาสตร์ มี ไม่มี
มหาวิทยาลัยเกริก คณะรัฐศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ คณะรัฐศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยปทุมธานี คณะรัฐศาสตร์ มี ไม่มี
มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยาลัยรัฐกิจ มี มี(ในระดับปริญญาโท)
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาลัยการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ คณะศิลปศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยโยนก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น คณะบริหารรัฐกิจ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา คณะรัฐศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ไม่มี มี
วิทยาลัยทองสุข คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ไม่มี มี
มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา เพชรบูรณ์ คณะรัฐศาสตร์และการปกครองส่วนท้องถิ่น มี มี
มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มี มี
มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา นครศรีธรรมราช คณะรัฐศาสตร์ มี มี
วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง ไม่มี มี ไม่มี
มหาวิทยาลัยสยาม คณะรัฐศาสตร์ มี ไม่มี
วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ คณะรัฐศาสตร์ มี ไม่มี
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มี ไม่มี
วิทยาลัยเชียงราย คณะนิติศาสตร์ มี ไม่มี
สถาบันรัชต์ภาคย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มี ไม่มี
  • หมายเหตุ การนับในที่นี้ มี คือ มีวุฒิการศึกษาที่รับรองในหลักสูตรฯของแต่ละมหาวิทยาลัย แต่ในที่นี้ไม่ได้ลงรายละเอียดในวิชาต่าง ๆ ที่เปิดเรียนในหลักสูตร

สาขาต่าง ๆ ของวิชารัฐศาสตร์

[แก้]

ดู รัฐศาสตร์

สัญลักษณ์

[แก้]

ชาวรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ไทยจะมีสำนึกจารีตในการใช้สัญลักษณ์ สิงห์ หรือ ราชสีห์ เป็นสัญลักษณ์ของสาขาวิชา เนื่องจากความหมายที่ว่าสิงห์เป็น "ราชาแห่งสัตว์ป่า" รวมทั้ง ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ และกำลัง จึงถูกนำไปเปรียบเทียบกับผู้มีอำนาจ ซึ่งก็คือ นักปกครองแบบนักรัฐศาสตร์ และนักบริหารแบบนักรัฐประศาสตนศาสตร์ และการที่กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นกระทรวงที่ชาวรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ใฝ่ฝันที่จะเข้ารับราชการเป็นส่วนใหญ่ได้ใช้ตรารูปราชสีห์ เป็นสัญลักษณ์ประจำกระทรวงด้วย ดังนั้น จึงมีจารีตนำเอารูปสัญลักษณ์สิงห์ หรือ ราชสีห์ มาเป็นสัญลักษณ์ของสาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์[1]

หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ หรือ Philosophy Politics and Economics (PPE) เปิดสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แห่งเดียวของประเทศไทย เป็นหลักสูตรเก่าแก่ของ oxfords university ที่นำมาเปิดทำการเรียนการสอนที่ประเทศไทย โดยหลักสูตรนี้เปิดทำการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และศูนย์ลำปาง โดยเมื่อเรียนจบหลักสูตรนี้แล้ว กพ. รับรองให้วุฒิเทียบเท่ารัฐศาสตร์บัณฑิต

การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ

[แก้]

เป็นการจัดประชุมวิชาการระดับชาติของประเทศไทย ในสาขาวิชาด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ โดยมี คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้สนับสนุนหลักด้านงบประมาณและมาตรฐานวิชาการ โดยจะจัดร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ในประเทศไทยหรือองค์กรวิชาการในสาขาดังกล่าว

# ชื่อ/หัวข้อการประชุม วัน/เวลาการจัดประชุม สถานที่จัดการประชุม
1 การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ 8 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
2 รัฐศาสตร์ไทยกับศักยภาพในการจัดการกับความขัดแย้ง 5 - 7 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
3 การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ 29 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
4 ประเทศไทยกับการพัฒนาที่ไม่สิ้นสุด: บทบาทที่พึงเป็นของภาครัฐ 1 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ศูนย์การค้าและนิทรรศการนานาชาติ (BITEC) บางนา กรุงเทพ โดย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5 การเมืองการบริหารของไทยในยุคโลกาภิวัฒน์ 1 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ศูนย์การค้าและนิทรรศการนานาชาติ (BITEC) บางนา กรุงเทพ โดย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6 โลก รัฐ ท้องถิ่น ในศตวรรษที่ 21: การบริหารจัดการในยุคสังคมฐานความรู้ 7 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2548 โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ โดย คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7 เสรีภาพ อำนาจ จริยธรรมกับการเมืองไทย 27 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
8 เมืองไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน 13 - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ศูนย์การค้าและนิทรรศการนานาชาติ (BITEC) บางนา กรุงเทพ โดย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9 รัฐศาสตร์กับการพัฒนาประชาธิปไตยไทย 2 - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10 ความขัดแย้งและทางออกของการเมืองไทย 1 - 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย สมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้
11 "การเมือง" ของ "รัฐ" และ "ท้องถิ่น" ไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ 25 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
12 A SMALLER WORLD, BIGGER DIFFERENCES: รัฐศาสตร์ให้คำตอบอะไร? 8 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13 ประชาคมอาเซียน: ความจริง ความหวัง หรือความฝัน 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555 คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14 การสร้างประชาธิปไตยกับปัญหาความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองไทย 27 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
15 โลกาภิวัตน์ ภูมิภาคภิวัฒน์ ท้องถิ่นภิวัฒน์: นัยต่อสังคมไทย 5 - 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

กิจกรรมสานสัมพันธ์นิสิต-นักศึกษารัฐศาสตร์

[แก้]

สิงห์สัมพันธ์

เป็นกลุ่มกิจกรรมของนิสิตหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เรียกว่า สิงห์สัมพันธ์ โดยเมื่อครั้งเริ่มก่อตั้งเมื่อปีการศึกษา 2547 ได้ใช้ชื่อว่า 5 สิงห์ โดยการก่อตั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรักและความสามัคคีระหว่างนิสิตและนักศึกษาที่ศึกษาด้านรัฐศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ การประกวดแสตนด์เชียร์และผู้นำเชียร์ และเพื่อเสริมสร้าง-แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ โดยการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งก็จะมีการจัดกิจการการตอบปัญหาทางวิชาการและเสวนาวิชาการจากอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยอยู่เสมอ

สมาชิกของกลุ่ม 5 สิงห์ ประกอบด้วยองค์กรกิจกรรมนิสิตหรือนักศึกษาของ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สิงห์ดำ), คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สิงห์แดง), ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สิงห์เขียว), คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สิงห์ขาว) และ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สิงห์เงิน)

อย่างไรก็ตาม เมื่อปีการศึกษา 2552 ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (สิงห์คราม) ได้แสดงความจำนงขอเข้าร่วมกลุ่ม 5 สิงห์ และโดยมติของคณะกรรมการกลุ่ม 5 สิงห์ ซึ่งมาจากองค์กรนิสิตหรือนักศึกษาที่ทำหน้าที่บริหารกิจกรรมของคณะหรือภาควิชารัฐศาสตร์ของ 5 มหาวิทยาลัยก่อตั้งกลุ่ม จึงรับเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม 5 สิงห์และเปลี่ยนชื่อเป็น สิงห์สัมพันธ์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

และในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ประชุมสมาชิกสิงห์สัมพันธ์ได้รับรองให้ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (สิงห์แสด) เป็นสมาชิก ทำให้งานสิงห์สัมพันธ์ตั้งแต่ครั้งที่ 9 เป็นต้นไปจะมีสมาชิกเข้าร่วมทั้งหมด 7 สิงห์

ทั้งนี้ กลุ่มสิงห์สัมพันธ์ ได้มีความพยายามจัดตั้ง สมาพันธ์นิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ สนรท. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 แต่เนื่องจากยังไม่มีความพร้อมของแต่ละมหาวิทยาลัย องค์กรนี้จึงยังไม่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมและประกาศต่อสื่อมวลชน

กิจกรรมที่ดำเนินการ เช่น กิจกรรมวิชาการ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมแข่งขันกีฬา กิจกรรมแสตนเชียร์ และเชียร์ลีดเดอร์ และกิจกรรมงานราตรีชาวสิงห์ โดยเจ้าภาพครั้งที่ผ่านมา ได้แก่

  • ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปีการศึกษา 2547) -- ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ปีการศึกษา 2548) -- ณ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ องครักษ์
  • ครั้งที่ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปีการศึกษา 2549) -- ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ปีการศึกษา 2550) -- ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
  • ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ปีการศึกษา 2551) -- ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ปีการศึกษา 2552) -- ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
  • ครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปีการศึกษา 2553) -- ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต[2]
  • ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยบูรพา (ปีการศึกษา 2555) -- ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน[3]
  • ครั้งที่ 9 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปีการศึกษา 2557) -- ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ปีการศึกษา 2558) -- ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
  • ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ปีการศึกษา 2561) -- ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

หมายเหตุ : เนื่องจากปีการศึกษา 2554 ได้เกิดปัญหาอุทกภัยขึ้น จึงทำให้ต้องงดจัดงานสิงห์สัมพันธ์

เนื่องด้วยปีการศึกษา 2559 เหตุการณ์การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในหลวงรัชกาลที่9 ทางผู้จัดจึงงดจัดกิจกรรม

เนื่องด้วยปีการศึกษา 2560 เกิดการที่สโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2560 ขาดประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรม ทางผู้จัดจึงงดจัดกิจกรรม

ในปีการศึกษา 2561 เริ่มการจัดตั้ง สมาพันธ์นิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ สนรท. มหาวิทยาลัยริเริ่มจัดตั้งได้แก่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

วัตถุประสงค์ของสมาพันธ์นิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย

         1 เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตนักศึกษาจากทุกสถาบัน

         2 เป็นตัวกลางประสานงานกับบุคคลและองค์กรต่างๆ ในนามนิสิตนักศึกษา

         3 จัดกิจกรรมนอกหลักสูตร เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ความเป็นผู้นำ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้รักสามัคคี รู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย แก่นิสิตนักศึกษา

         4 เพื่อรักษาสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาพ และสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างนิสิตนักศึกษากับบุคคลหรือองค์กรภายนอก

         5 จัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาพันธ์นิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย และสถาบันผลิตนักรัฐศาสตร์และนักปกครองต่างๆ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "กำเนิดสิงห์เขียว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-08. สืบค้นเมื่อ 2006-08-21.
  2. Facebook สิงห์สัมพันธ์ ครั้งที่ 7
  3. Facebook สิงห์สัมพันธ์ ครั้งที่ 8

ดูเพิ่ม

[แก้]