ข้ามไปเนื้อหา

ข้อเสื่อม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคข้อเสื่อม
(osteoarthritis)
ชื่ออื่นข้อเสื่อม, โรคข้อ, ข้อกระดูกอ่อนเสื่อม, ข้ออักเสบเหตุเสื่อม, โรคข้อเหตุเสื่อม
ภาพมือคนชราซึ่งแสดงปุ่มกระดูกโตที่กล่าวถึงในคำอธิบายภาพ
การเกิดปุ่มกระดูกโตที่ข้อนิ้วกลาง (เรียกว่า Bouchard's nodes) และที่ข้อปลายสุดของนิ้ว (เรียกว่า Heberden's nodes) เป็นลักษณะทั่วไปของโรคข้อนิ้วมือเสื่อม
การออกเสียง
สาขาวิชาวิทยารูมาติก, ออร์โทพีดิกส์
อาการปวดข้อ ข้อติด ข้อบวม เคลื่อนไหวข้อได้จำกัด[1]
การตั้งต้นเป็นปี [1]
สาเหตุโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ข้อเกิดบาดเจ็บมาก่อน พัฒนาการของข้อหรือแขนขาที่ผิดปกติ ปัจจัยทางพันธุกรรม[1][2]
ปัจจัยเสี่ยงน้ำหนักเกิน ขายาวไม่เท่ากัน อาชีพที่ใช้ข้อมาก[1][2]
วิธีวินิจฉัยขึ้นอยู่กับอาการโดยอาจอาศัยการตรวจเช็คอื่น [1]
ความชุก237 ล้านรายทั่วโลก / 3.3% (2015)[3]

โรคข้อเสื่อม[4] หรือ ข้อเสื่อม[5] (อังกฤษ: Osteoarthritis, OA) เป็นโรคข้อเสื่อมชนิดหนึ่งที่เกิดจากการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนและกระดูกใต้กระดูกอ่อนของข้อต่อ[6][7] เชื่อว่าเป็นเหตุความพิการอันดับสี่ทั่วโลก มีผลต่อผู้ใหญ่ ⅐ คนในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว[8] อาการที่พบบ่อยที่สุดคือปวดข้อและข้อติด[1] ปกติอาการจะค่อย ๆ แย่ลงในช่วงหลายปี[1] อาการอื่น ๆ อาจรวมถึงข้อบวมและเคลื่อนไหวข้อได้จำกัด โดยเมื่อเกิดที่หลัง ก็อาจทำให้แขนขาอ่อนแรงหรือชาด้วย[1] ข้อต่อที่เป็นบ่อยที่สุดก็คือข้อสองข้อที่ปลายนิ้วมือและข้อที่ฐานนิ้วหัวแม่มือ ข้อเข่าและข้อสะโพก และข้อต่อคอและหลังส่วนล่าง[1] ซึ่งรบกวนการทำอาชีพและกิจกรรมในชีวิตประจำวัน[1] ต่างกับโรคข้ออักเสบชนิดอื่น ๆ โรคนี้มีผลที่ข้อต่อเท่านั้น คือไม่มีผลต่ออวัยวะภายใน[1]

เหตุของโรครวมถึงการบาดเจ็บของข้อในอดีต พัฒนาการผิดปกติของข้อหรือแขนขา และปัจจัยทางพันธุกรรม[1][2] ความเสี่ยงจะสูงขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน มีขายาวไม่เท่ากัน หรือมีอาชีพที่ใช้ข้อต่อมาก[1][2][9] เชื่อว่าโรคเกิดจากความเครียดทางกลต่อข้อต่อ บวกกับกระบวนการอักเสบในระดับต่ำ[10] เกิดเมื่อเสียกระดูกอ่อนไปแล้วมีผลต่อกระดูกข้างใต้กระดูกอ่อน[1] เมื่อเจ็บก็จะทำให้ออกกำลังกายได้ยาก จึงอาจเสียกล้ามเนื้อไปด้วย[2][11] การวินิจฉัยมักขึ้นอยู่กับอาการ โดยการถ่ายภาพทางแพทย์และการทดสอบอื่น ๆ อาจใช้เพื่อยืนยันหรือคัดแยกปัญหาอื่น [1] โรคนี้จะไม่เหมือนกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เพราะไม่ได้ทำให้ข้อร้อนหรือแดง[1]

การรักษารวมถึงการออกกำลังกาย การลดใช้ข้อต่อ เช่น ให้พักผ่อนหรือใช้ไม้เท้า การมีกลุ่มสนับสนุน และยาแก้ปวด[1][12] การลดน้ำหนักอาจช่วยได้สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน[1] ยาแก้ปวดอาจรวมถึงพาราเซตามอล ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) เช่น นาพรอกเซนหรือไอบูโพรเฟน[1] ไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มโอปิออยด์ในระยะยาวเนื่องจากขาดข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ และเสี่ยงต่อการเสพติดและผลข้างเคียงอื่น [1][12] การผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่ออาจเป็นทางเลือกหากยังคงพิการแม้จะได้รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้ว[2] ข้อต่อเทียมมักใช้งานได้นาน 10–15 ปี[13]

โรคข้อเสื่อมเป็นโรคข้ออักเสบซึ่งพบบ่อยที่สุด ส่งผลกระทบต่อประชากรโลกประมาณ 237 ล้านคนหรือ 3.3% ณ ปี 2015[3][14] โรคนี้พบได้บ่อยขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น[1] ในผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี ผู้ชายประมาณ 10% และผู้หญิง 18% จะมีโรค[2] โรคข้อเสื่อมเป็นสาเหตุประมาณ 2% ของจำนวนปีที่มีชีวิตอยู่กับความพิการ (YLDs)[14]

อาการ

[แก้]
โรคข้อเสื่อมมักเกิดที่มือ (ที่ปลายนิ้วมือและนิ้วหัวแม่มือ) คอ หลังส่วนล่าง เข่า และสะโพก

อาการหลักคือเจ็บปวด ทำให้พิการและข้อติด มักเจ็บปวดมากขึ้นเมื่อมีกิจกรรมต่อเนื่องเป็นเวลานานและบรรเทาลงเมื่อพักผ่อน อาการข้อติดพบได้บ่อยที่สุดในตอนเช้า และมักจะคงอยู่น้อยกว่า 30 นาทีหลังจากเริ่มทำกิจกรรมประจำวัน แต่อาจกลับมาเป็นอีกหลังจากช่วงที่ไม่มีกิจกรรม โรคข้อเสื่อมสามารถก่อเสียงดังกรอบแกรบเมื่อขยับข้อต่อที่เป็นปัญหา โดยเฉพาะข้อต่อไหล่และเข่า คนไข้อาจบ่นว่าข้อต่อล็อกหรือไม่เสถียร อาการเหล่านี้จะมีผลต่อชีวิตประจำวันเนื่องจากข้อปวดและติด[15] บางคนรายงานว่าปวดเพิ่มขึ้นเมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิที่เย็น ความชื้นสูง หรือความกดอากาศที่ลดลง แต่การศึกษาต่าง ๆ ก็ได้ผลที่ไม่สอดคล้องกัน[16]

โรคข้อเสื่อมมักมีผลต่อมือ เท้า กระดูกสันหลัง และข้อต่อที่รับน้ำหนักมาก เช่น สะโพกและเข่า แม้ว่าในทางทฤษฎีแล้ว ข้อต่อใด ๆ ก็สามารถเกิดโรคได้ เมื่อโรคลุกลามมากขึ้น รูปแบบการเคลื่อนไหว (เช่น การเดิน) ก็มักจะได้ผลกระทบ[1] โรคข้อเสื่อมเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะน้ำซึมซ่าน (joint effusion) ในข้อเข่า[17]

ในข้อต่อที่เล็กกว่า เช่น ที่นิ้วมือ การขยายตัวของกระดูกแข็งที่เรียกว่า Heberden's nodes (ที่ข้อปลายนิ้ว) หรือ Bouchard's nodes (ที่ข้อกลางนิ้ว) ก็อาจเกิดขึ้น แม้ว่าอาจจะไม่เจ็บ แต่ก็จำกัดการเคลื่อนไหวของนิ้วมืออย่างสำคัญ โรคข้อนิ้วเท้าเสื่อมอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตาปลา (bunion เป็นก้อนที่นิ้วเท้า) ทำให้มันแดงหรือบวม[18]

เหตุ

[แก้]

เชื่อว่า ความเครียดทางกลก่อความเสียหายที่ข้อต่อ แล้วร่างกายซ่อมแซมได้ไม่พอ เป็นสาเหตุหลักของโรคข้อเสื่อม[19] แหล่งความเครียดอาจรวมการจัดเรียงกระดูกผิดปกติทั้งแบบแต่กำเนิดหรือเพราะโรค, การบาดเจ็บ, น้ำหนักตัวมากเกินไป, กล้ามเนื้อที่รองรับข้อต่อไม่แข็งแรง และความบกพร่องของเส้นประสาทส่วนปลายซึ่งทำให้เคลื่อนไหวอย่างฉับพลันหรือไม่ประสานกัน[19] อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายรวมถึงการวิ่งเมื่อไม่บาดเจ็บ ไม่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม[20][21] การหักข้อนิ้ว (ให้เกิดเสียงดัง) ก็ไม่พบว่ามีบทบาทให้เกิดโรคนี้[22] ความเสี่ยงโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุ

โรคข้อเสื่อมปฐมภูมิ

[แก้]

การเกิดโรคข้อเสื่อมมีสหสัมพันธ์กับประวัติการบาดเจ็บของข้อและโรคอ้วน โดยเฉพาะข้อเข่า[23] ระดับฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนไปอาจมีบทบาท เพราะพบโรคในหญิงวัยหมดประจำเดือนมากกว่าชายอายุรุ่นเดียวกัน[1][24]

เหตุอาชีพ

[แก้]

พบว่ามีความเสี่ยงเกิดโรคข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อมเพิ่มขึ้นสำหรับคนที่ทำงานยกของ งานที่ใช้แรงกายมาก ต้องเดินในที่ทำงาน และมีงานที่ต้องปีน (เช่น ขึ้นหรือปีนบันได)[9] สำหรับโรคข้อสะโพกเสื่อมโดยเฉพาะ พบว่าหากทำงานโดยต้องก้มหรือบิดตัว ก็จะเสี่ยงโรคเพิ่มขึ้น[9] สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อมโดยเฉพาะ พบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนที่ทำงานในท่าคุกเข่าหรือนั่งยอง ๆ ต้องยกของหนักร่วมกับท่าคุกเข่าหรือนั่งยอง ๆ และทำงานในท่ายืน[9] หญิงและชายเสี่ยงโรคข้อเสื่อมเหตุอาชีพคล้าย ๆ กัน[9]

โรคข้อเสื่อมทุติยภูมิ

[แก้]
ภาพเอกซเรย์ข้อเท้าด้านข้าง เป็นโรคข้อเท้าเสื่อมทุติยภูมิ
ด้านข้าง (lateral)
ภาพเอกซเรย์ข้อเท้าด้านหน้า เป็นโรคข้อเท้าเสื่อมทุติยภูมิ
ด้านหน้า
โรคข้อเท้าเสื่อมชนิดทุติยภูมิ (เนื่องจากกระดูกหักเก่า) ในหญิงอายุ 82 ปี

โรคข้อเสื่อมชนิดนี้เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ แต่พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นเหมือนกับโรคข้อเสื่อมชนิดปฐมภูมิ รวมทั้ง

พยาธิสรีรวิทยา

[แก้]
ภาพข้อสะโพกที่ปกติ
ข้อสะโพกปกติ
ภาพแสดงโรคข้อสะโพกเสื่อม
โรคข้อสะโพกเสื่อม[36] ทำให้ช่องว่างข้อต่อแคบลง ทำให้กระดูกอ่อนเสื่อมแล้วเปิดกระดูกภายใต้

แม้โรคข้อเสื่อมอาจทำให้สูญเสียกระดูกอ่อนอย่างชัดเจนและทำให้เนื้อเยื่อข้อชนิดอื่น ๆ เสียรูปทรง แต่จริง ๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีอันละเอียดอ่อนที่เกิดขึ้นในระยะแรก ๆ ของโรคแล้ว ปริมาณน้ำในกระดูกอ่อนปกติจะสมดุลโดยอาศัยแรงอัดที่ขับน้ำออก และอาศัยแรงดันอุทกสถิต (hydrostatic pressure) กับแรงดันออสโมซิสที่ดึงน้ำเข้า[37][38] เส้นใยคอลลาเจนจะเป็นตัวสร้างแรงอัด ในขณะที่ปรากฏการณ์กิบส์-ดอนนันและโปรตีน proteoglycan ของกระดูกอ่อนเป็นตัวสร้างแรงดันออสโมซิสซึ่งมักจะดึงน้ำเข้า[38]

ในช่วงเริ่มต้นของโรค เมทริกซ์ของคอลลาเจนจะเริ่มไม่เป็นระเบียบมากขึ้น โดยปริมาณของ proteoglycan ก็จะลดลงในกระดูกอ่อน การเสื่อมสลายของเส้นใยคอลลาเจนมีผลเพิ่มปริมาณน้ำโดยสุทธิ[39][40][41][42][43] ซึ่งเกิดขึ้นแม้จะเสีย proteoglycan ไปโดยรวมและดังนั้นจึงเสียแรงดันออสโมซิสที่ดึงน้ำเข้าด้วย[40][44] น้ำเพิ่มขึ้นโดยสุทธิเพราะการเสียคอลลาเจนมีผลแรงกว่า[38][44]

โครงสร้างอื่น ๆ ในข้อต่อก็อาจได้รับผลกระทบด้วย[45] เอ็นยึดจะหนาตัวขึ้นและกลายเป็นพังผืด และหมอนรองเข่าอาจเสียหายและสึกหรอไป[46] โดยหมอนรองเข่าอาจหมดไปโดยสิ้นเชิงเมื่อต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อ กระดูกงอกใหม่ที่เรียกว่า ปุ่มงอก (osteophyte) อาจเกิดขึ้นที่ริมข้อต่อ อาจเป็นเพื่อพยายามปรับปรุงความเข้ากันได้ของกระดูกอ่อนผิวข้อต่อเมื่อไม่มีหมอนรองเข่า ปริมาตรกระดูกใต้กระดูกอ่อน (subchondral bone) จะเพิ่มขึ้นโดยมีแร่ธาตุน้อยลง (hypomineralization)[47] การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้อาจก่อปัญหาให้เข่าทำงานได้ไม่ดี อาการปวดในโรคข้อเสื่อมสัมพันธ์กับเยื่อบุข้อ (synovium) ที่หนาตัวขึ้น[48] และกับรอยโรคที่กระดูกใต้กระดูกอ่อน[49]

การวินิจฉัย

[แก้]
การตรวจไขข้อ[50][51]
ชนิด WBC (ต่อ mm3) % นิวโทรฟิล ความเหนียว สี
ปกติ <200 0 สูง ใส
โรคข้อเสื่อม <5000 <25 สูง เหลืองใส
บาดเจ็บ <10,000 <50 ไม่แน่นอน มีเลือด
อักเสบ 2,000–50,000 50–80 ต่ำ เหลืองขุ่น
ข้ออักเสบติดเชื้อ >50,000 >75 ต่ำ เหลืองขุ่น
หนองในแท้ ~10,000 60 ต่ำ เหลืองขุ่น
วัณโรค ~20,000 70 ต่ำ เหลืองขุ่น
อักเสบรวม ข้ออักเสบ, โรคเกาต์, ข้ออักเสบรูมาตอยด์, ไข้รูมาติก

การวินิจฉัยที่ค่อนข้างแน่นอนจะอาศัยประวัติคนไข้และการตรวจของแพทย์[52][53] โดยภาพเอกซเรย์อาจยืนยันการวินิจฉัยได้ การเปลี่ยนแปลงที่พบในภาพเอกซเรย์รวมทั้งช่องว่างข้อต่อแคบลง, ภาวะกระดูกแข็งตัวใต้กระดูกอ่อน (sclerosis การสร้างกระดูกเพิ่มขึ้นรอบ ๆ ข้อต่อ), การเกิดถุงน้ำใต้กระดูกอ่อน และการเกิดกระดูกงอก[54] แต่ภาพเอกซเรย์ธรรมดาก็อาจไม่สัมพันธ์กับสิ่งที่พบในการตรวจร่างกายหรือระดับความเจ็บปวด[55]

ในปี 1990 โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาหลายศูนย์ วิทยาลัยโรคข้ออเมริกัน (ACR) ได้พัฒนาเกณฑ์สำหรับวินิจฉัยโรคข้อมือเสื่อมโดยอิงการขยายตัวของเนื้อเยื่อแข็ง (เช่นกระดูก) และการบวมของข้อต่อบางข้อ[56] เกณฑ์เหล่านี้มีความไวร้อยละ 92 และความจำเพาะร้อยละ 98 สำหรับโรคข้อมือเสื่อมเมื่อเทียบกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และกลุ่มโรคข้ออักเสบคือ spondyloarthropathy[57]

การจำแนกประเภท

[แก้]

มีระบบการจำแนกประเภทหลายระบบที่ใช้ระบุระดับโรคข้อเสื่อม

  • มาตรวัด WOMAC เป็นแบบคำถามมาตรฐานที่ใช้สอบความเจ็บปวด การติด และข้อจำกัดในการใช้งาน[58]
  • ระบบการให้คะแนน Kellgren-Lawrence grading scale สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งใช้ลักษณะที่เห็นจากภาพเอกซ์เรย์เท่านั้น
  • การจำแนกแบบ Tönnis classification สำหรับโรคข้อสะโพกเสื่อม ซึ่งใช้เฉพาะลักษณะที่เห็นจากภาพถ่ายเอกซ์เรย์เช่นกัน[59]
ภาพเอกซเรย์โรคข้อนิ้วมือเสื่อมแบบกร่อน (erosive) มีการขยายภาพเข้าไปที่ข้อสองข้อซึ่งมีลักษณะ "ปีกนางนวล" ที่เป็นลักษณะเฉพาะ

ทั้งโรคข้อเสื่อมแบบเกิดปุ่มที่ข้อหลายข้อ (generalized nodal osteoarthritis) และโรคข้อเสื่อมแบบสึกกร่อน (EOA) เป็นกลุ่มย่อยของโรคข้อเสื่อมปฐมภูมิ EOA เป็นรูปแบบที่พบน้อยกว่ามาก มีการอักเสบที่รุนแรงกว่า มักมีผลต่อข้อปลายนิ้วมือ และมีลักษณะเฉพาะคือเห็นเป็นข้อสึกกร่อนในภาพเอกซเรย์[60]

การจัดการ

[แก้]
ตัวอย่างการออกกำลังกายที่แนะนำสำหรับโรคข้อเสื่อม รวมการออกกำลังให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การออกกำลังแบบแอโรบิก และการยืดตัวเพื่อเพิ่ม/รักษาช่วงการเคลื่อนไหวของร่างกาย

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (เช่น การลดน้ำหนักและการออกกำลังกาย) และยาแก้ปวดเป็นวิธีการรักษาหลัก แนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอลเป็นตัวเลือกแรก โดยใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์เป็นตัวเสริมหากบรรเทาความปวดได้ไม่เพียงพอ[61][62] ยังไม่พบยาที่สามารถเปลี่ยนการดำเนินโรคจนถึงปี 2018[63] ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนักอาจช่วยบรรเทาอาการข้อสะโพกเสื่อมได้[64] คำแนะนำรวมการเปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง 1) โรคอ้วนและการมีน้ำหนักเกิน 2) กิจกรรมทางกาย 3) อาหาร 4) โรคที่เกิดร่วม 5) ปัจจัยทางชีวกลศาสตร์ 6) ปัจจัยด้านอาชีพ[65]

การจัดการโรคมักสำเร็จได้ยากเพราะการให้ความสำคัญที่แตกต่างกัน บวกกับการสื่อสารที่ไม่ดีระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย เป้าหมายการรักษาที่ทำได้จริงอาจได้โดยการทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับโรค การรับฟังความกังวลของผู้ป่วยอย่างตั้งใจ การเลี่ยงใช้ศัพท์แพทย์ที่เข้าใจยาก และการปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วย[66][67]

การออกกำลังกาย

[แก้]

การลดน้ำหนักและการออกกำลังกายได้ผลในระยะยาวและเป็นวิธีที่แนะนำสำหรับโรคข้อเสื่อม[68] เป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สุด เทียบกับการรักษาระยะสั้นซึ่งมักเสี่ยงก่อผลลบในระยะยาว[69]

การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูงสามารถเพิ่มความเสี่ยงการบาดเจ็บที่ข้อ ในขณะที่การออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำหรือปานกลาง เช่น การเดินหรือว่ายน้ำ ปลอดภัยกว่าสำหรับโรคข้อเสื่อม[68] การศึกษาหนึ่งชี้ว่าระดับแคลเซียมในเลือดที่เพิ่มขึ้นมีผลบวกต่อโรคข้อเสื่อม การได้แคลเซียมจากอาหารอย่างเพียงพอและการออกกำลังกายแบบรับน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอสามารถเพิ่มระดับแคลเซียมและช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อมในประชากรทั่วไป อนึ่ง ยังมีปัจจัยป้องกันอย่างอ่อน ๆ จากไลโพโปรตีนหนาแน่นต่ำ (LDL) แต่ก็ไม่แนะนำเพราะการเพิ่ม LDL เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยเกิดเป็นโรคร่วม[70]

การออกกำลังกายระดับปานกลางอาจช่วยบรรเทาความปวดและเพิ่มการใช้งานได้สำหรับโรคข้อเสื่อมที่หัวเข่าและสะโพก[71][72][73] โดยควรทำอย่างน้อยสามครั้งต่อสัปดาห์ ควรอยู่ในการดูแลของผู้ชำนาญการ ควรมุ่งเน้นไปที่รูปแบบการออกกำลังกายชนิดที่เป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับโรคข้อเสื่อมประเภทนั้น [74]

ในขณะที่หลักฐานบางอย่างสนับสนุนการบำบัดทางกายภาพบางรูปแบบ หลักฐานสำหรับโปรแกรมแบบผสมผสานก็ยังมีจำกัด[75] การให้คำแนะนำที่ชัดเจน การทำให้การออกกำลังกายสนุก และการให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับความสำคัญของการออกกำลังกาย อาจก่อประโยชน์มากขึ้นโดยคนไข้ร่วมมือมากขึ้น[73] หลักฐานบางอย่างชี้ว่าการบำบัดด้วยการออกกำลังกายภายใต้การดูแลอาจช่วยเพิ่มการปฏิบัติตาม[76] อย่างไรก็ตาม สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม การออกกำลังกายภายใต้การดูแลมีผลลัพธ์ที่ดีสุด[74]

การรักษาทางกาย

[แก้]

การนวดไม่มีหลักฐานเพียงพอเพื่อระบุประสิทธิผล[77] การรักษาโดยใช้มืออื่น ๆ (manual therapy เช่น chiropractice) มีหลักฐานที่ไม่ชัดเจน[78] การปริทัศน์เป็นระบบในปี 2015 ระบุว่าการบำบัดในน้ำ (aquatic therapy) มีความปลอดภัย มีประสิทธิผล และสามารถเป็นการบำบัดเสริมสำหรับโรคข้อเข่าเสื่อมได้[79]

มีการแนะนำให้ฝึกใช้งาน ฝึกเดิน และฝึกทรงตัว เพื่อแก้ไขความบกพร่องในการรับรู้ตำแหน่งของร่างกาย การทรงตัว และความแข็งแรงในผู้ที่มีโรคข้อเสื่อมที่ขาและเท้า เพราะความบกพร่องเหล่านี้ทำให้ล้มบ่อยขึ้น[80][81] สำหรับโรคข้อมือเสื่อม การออกกำลังกายอาจให้ประโยชน์เล็กน้อยในการปรับปรุงการทำงานของมือ ลดอาการปวด และบรรเทาอาการข้อนิ้วติด[82]

มีหลักฐานคุณภาพต่ำว่า กล้ามเนื้อเหยียดเข่าที่อ่อนแอเพิ่มโอกาสการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม ดังนั้น การสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าอาจช่วยป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมได้[83]

แผ่นรองส้นเท้าด้านข้าง (lateral wedge) และแผ่นรองส้นเท้าธรรมดาดูเหมือนจะไม่มีประโยชน์ในโรคข้อเข่าเสื่อม[84][85][86] แม้อุปกรณ์พยุงเข่าอาจช่วยได้[87] แต่นี่ก็ถูกโต้แย้งเช่นกัน[86] เพื่อจัดการความเจ็บปวด ความร้อนสามารถบรรเทาอาการแข็งเกร็ง ความเย็นสามารถบรรเทาอาการกล้ามเนื้อกระตุกและความเจ็บปวด[88] ในโรคข้อสะโพกและข้อเข่าเสื่อม การออกกำลังกายในน้ำอาจช่วยลดความเจ็บปวดและความพิการ และเพิ่มคุณภาพชีวิตในระยะสั้น[89] นอกจากนี้ โปรแกรมออกกำลังกายเพื่อบำบัด เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิกและการเดิน ช่วยลดความเจ็บปวดและปรับปรุงการทำงานของร่างกายได้นานถึง 6 เดือนหลังจากสิ้นสุดโปรแกรมสำหรับผู้ที่มีโรคข้อเข่าเสื่อม[90] ในการศึกษาที่ทำ 2 ปี ทีมวิจัยพบว่าทุก ๆ 1,000 ก้าวที่เพิ่มต่อวัน ข้อจำกัดการใช้งานจะลดลง 16% ในโรคข้อเข่าเสื่อม[91] การบำบัดด้วยน้ำ (hydrotherapy) อาจมีประโยชน์เพื่อจัดการความเจ็บปวด ความพิการ และคุณภาพชีวิตที่รายงานโดยคนไข้โรคข้อเสื่อม[92]

การบำบัดด้วยความเย็นร้อน

[แก้]

การทบทวนของคอเคลนปี 2003 ของการศึกษา 7 ชิ้นระหว่างปี 1969–1999 พบว่าการนวดด้วยน้ำแข็งมีประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญในการปรับปรุงช่วงการเคลื่อนไหวและการทำงาน แต่อาจไม่บรรเทาอาการปวด[93] ถุงน้ำแข็งอาจช่วลดอาการบวมได้ แต่ถุงน้ำร้อนไม่ได้ผลกับการบวม[93] การบำบัดด้วยความร้อนสามารถเพิ่มการไหลเวียนของเลือด จึงช่วยลดความเจ็บปวดและอาการติด แต่เสี่ยงต่อการอักเสบและการบวมน้ำ[93]

ยา

[แก้]
การรักษาที่แนะนำตามปัจจัยเสี่ยง
ความเสี่ยงปัญหาทางเดินอาหาร ความเสี่ยงโรคระบบหัวใจหลอดเลือด ทางเลือก
ต่ำ ต่ำ NSAID หรือพาราเซตามอล[94]
ปานกลาง ต่ำ พาราเซตามอล หรือ NSAID ขนาดน้อยบวกกับยาลดกรด[94]
ต่ำ ปานกลาง พาราเซตามอล หรือแอสไพรินขนาดน้อยบวกกับยาลดกรด[94]
ปานกลาง ปานกลาง พาราเซตามอล แอสไพริน และยาลดกรด ทั้งหมดมีขนาดน้อย ให้คอยตรวจดูว่าปวดท้องหรืออุจจาระดำหรือไม่[94]

ทางปาก

[แก้]

ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เป็นยาอันดับแรกสำหรับโรคข้อเสื่อม[61][95] การบรรเทาความปวดจะไม่ต่างกันตามขนาดยา[62] อย่างไรก็ตาม งานทบทวนปี 2015 พบว่าพาราเซตามอลมีประโยชน์เพียงเล็กน้อยในระยะสั้น โดยมีข้อกังวลเกี่ยวกับค่าวัดการทำงานของตับ[96] สำหรับอาการระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง พาราเซตามอลมีประสิทธิผลคล้ายกับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น นาพรอกเซน แต่สำหรับอาการที่รุนแรง NSAIDs อาจมีประสิทธิผลมากกว่า[61] แต่ NSAIDs ก็มีผลข้างเคียงมากกว่า เช่น อาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้[61]

NSAIDs อีกกลุ่มหนึ่ง คือ สารยับยั้ง COX-2 แบบเจาะจง (เช่น ซีลีคอกซิบ) มีประสิทธิผลเท่ากับ NSAIDs แบบไม่เจาะจง โดยมีอัตราผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารต่ำกว่า แต่มีอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่า เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด[97] และยังมีราคาแพงกว่า NSAIDs แบบไม่เจาะจงอีกด้วย[98] ประโยชน์และความเสี่ยงจะต่างกันในแต่ละบุคคลซึ่งต้องพิจารณาเมื่อเลือกการรักษา[99] การวิจัยที่ไม่มีอคติเพื่อเปรียบเทียบ NSAIDs กับตัวยับยั้ง COX-2 แบบเจาะจง ก็ควรมีเพิ่มขึ้นด้วย[100] NSAIDs ที่ใช้ทามีประสิทธิผลสำหรับคนจำนวนน้อย[101] สารยับยั้ง COX-2 แบบเจาะจงชนิด โรฟีคอกซิบ ถูกถอนออกจากตลาดในปี 2004 เนื่องจากสัมพันธ์กับการเกิดปัญหาหัวใจและหลอดเลือดเมื่อใช้ในระยะยาว[102]

การให้ความรู้มีประโยชน์ในการบริหารตนเองสำหรับโรคข้อเสื่อม และสามารถให้วิธีการรับมือที่นำไปสู่การบรรเทาอาการปวดได้มากกว่าประมาณ 20% เมื่อเทียบกับการใช้ NSAIDs เพียงอย่างเดียว[64]

ถ้าไม่สามารถบรรเทาอาการปวดได้พอหลังจาก 2 สัปดาห์ ควรประเมินขนาดยาและยาแก้ปวดที่ใช้ใหม่[103] ยากลุ่มโอปิออยด์ที่รับประทาน รวมทั้งชนิดฤทธิ์อ่อนเช่น ทรามาดอล และฤทธิ์แรง ก็มักใช้ด้วยเหมือนกัน แต่ความเหมาะสมก็ไม่ชัดเจน ดังนั้น จึงมักแนะนำให้ใช้ต่อเมื่อยาอันดับแรกใช้ไม่ได้หรือหรือมีข้อห้ามใช้[12][104] เพราะประโยชน์มีน้อยและมีความเสี่ยงผลข้างเคียงที่ค่อนข้างสูง[105][106] ทรามาดอลไม่น่าจะช่วยปรับปรุงอาการปวดหรือการทำงานของข้อ และน่าจะเพิ่มอัตราการเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์[106] ไม่แนะนำให้ใช้สเตอรอยด์ชนิดรับประทานในการรักษาโรคข้อเสื่อม[95]

การกินยาปฏิชีวนะ ดอกซีไซคลีน เพื่อรักษาโรคข้อเสื่อมไม่ทำให้ดีขึ้นทางคลินิกในด้านการใช้งานหรืออาการปวดข้อ[107] เพราะแม้ประโยชน์เล็กน้อยที่อาจมีเพื่อแก้ไขการแคบลงของช่องข้อก็ยังไม่ชัดเจน และประโยชน์ใด ๆ ก็ไม่คุ้มค่ากับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากผลข้างเคียง[107]

การวิเคราะห์อภิมานในปี 2018 พบว่าการให้กินคอลลาเจนเพื่อรักษาโรคข้อเสื่อมช่วยลดอาการติด แต่ไม่ช่วยปรับปรุงอาการปวดและข้อจำกัดในการใช้งาน[108]

ยาทาภายนอก

[แก้]

มียาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) หลายชนิดที่สามารถใช้ทาภายนอกได้ รวมถึงไดโคลฟีแนค การทบทวนแบบคลอเคลนปี 2016 สรุปว่า มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือพอสมควรเฉพาะสำหรับการใช้ไดโคลฟีแนคและคีโตโพรเฟนแบบทาในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีที่มีอาการปวดข้อเข่า[101] ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์แบบแผ่นแปะผิวหนังไม่ได้แนะนำโดยทั่วไปเพื่อรักษาโรคข้อเสื่อม[105] การใช้แคปไซซินทาเพื่อรักษาโรคข้อเสื่อมยังเป็นเรื่องยังไม่ยุติ เพราะการทบทวนบางงานพบว่ามีประโยชน์[109][110] ในขณะที่งานอื่น ๆ ไม่พบ[111]

การฉีดยาเข้าข้อต่อ

[แก้]
การฉีดยาเข้าข้อโดยใช้อัลตราซาวด์นำทางที่ข้อสะโพก (ultrasound-guided hip joint injection) ในภาพมีเครื่องหมายบนผิวที่ใช้ระบุจุดซึ่งเหมาะสมที่สุดเพื่อแทงเข็ม[112]

แนะนำให้ใช้ยาแก้ปวด ให้ฉีดคอร์ติโซนเข้าข้อ และให้พิจารณาใช้กรดไฮยาลูรอนิกบวกกับพลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้นเพื่อบรรเทาอาการปวดในผู้ที่มีโรคข้อเข่าเสื่อม[113]

การฉีดยาเข้าข้อเฉพาะที่อาจมีประสิทธิผลและปลอดภัยมากกว่าในด้านชีวปริมาณออกฤทธิ์ ลดการกระจายยาทั่วร่างกาย และลดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์[114] มียาฉีดเข้าข้อเพื่อรักษาตามอาการดังต่อไปนี้[115]

สเตอรอยด์
[แก้]

การฉีดกลูโคคอร์ติคอยด์ (เช่น ไฮโดรคอร์ติโซน) เข้าข้อช่วยบรรเทาอาการปวดในระยะสั้นที่อาจคงอยู่ได้ตั้งแต่ไม่กี่สัปดาห์จนถึงไม่กี่เดือน[116] การทบทวนของคอเคลนปี 2015 พบว่าการฉีดคอร์ติโคสเตอรอยด์เข้าข้อเข่าไม่ได้เพิ่มคุณภาพชีวิตและไม่มีผลต่อช่องว่างของข้อเข่า ผลทางคลินิกที่ได้ 1–6 สัปดาห์หลังการฉีดไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนเพราะคุณภาพการศึกษาไม่ดี[117] การศึกษาอีกชิ้นในปี 2015 รายงานผลลบของการฉีดคอร์ติโคสเตอรอยด์เข้าในข้อต่อในขนาดมากขึ้น[118] และการทดลองในปี 2017 แสดงว่า กระดูกอ่อนจะบางลงเมื่อฉีดคอร์ติโคสเตอรอยด์ triamcinolone เข้าข้อทุก 12 สัปดาห์เป็นเวลา 2 ปีเมื่อเทียบกับยาหลอก[119] การศึกษาในปี 2018 พบว่าการฉีด triamcinolone เข้าข้อ สัมพันธ์กับการเพิ่มความดันในลูกตา[120]

กรดไฮยาลูรอนิก
[แก้]

การฉีดกรดไฮยาลูโรนิกไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับยาหลอกสำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม[121][122] แต่กลับเพิ่มความเสี่ยงการปวดมากขึ้น[121] สำหรับโรคข้อเท้าเสื่อม หลักฐานยังไม่ชัดเจน[123]

สารกัมมันตรังสี

[แก้]

มีการฉีดสารกัมมันตรังสีที่ปล่อยอนุภาคเบตา (radiosynoviorthesis) เฉพาะที่เพื่อรักษาภาวะข้อต่ออักเสบ[124]

พลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้น
[แก้]

การฉีดพลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP) มีประสิทธิผลยังไม่ชัดเจน มีการเสนอว่า การฉีดดังกล่าวช่วยปรับปรุงการใช้งานแต่ไม่ช่วยลดอาการปวด และสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น[125][126] การทบทวนของคอเคลนปี 2014 เกี่ยวกับ PRP พบว่าหลักฐานยังไม่เพียงพอ[127]

การผ่าตัด

[แก้]

การเชื่อมกระดูก

[แก้]

การเชื่อมกระดูก (arthrodesis) เป็นทางเลือกสำหรับโรคข้อเสื่อมบางประเภท ตัวอย่างเช่น ในโรคข้อเท้าเสื่อม การเชื่อมข้อเท้าถือเป็นการรักษามาตรฐาน (gold standard) สำหรับโรคระยะสุดท้าย[128] เป็นการแลกการเคลื่อนไหวได้ของเท้ากับการบรรเทาความเจ็บปวด

การเปลี่ยนข้อ

[แก้]

หากอาการโรคข้อเสื่อมมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญและรักษาแบบอนุรักษนิยมไม่ได้ อาจแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนข้อหรือเพื่อปรับผิวกระดูกข้อ หลักฐานสนับสนุนการเปลี่ยนข้อสำหรับทั้งเข่าและสะโพก เนื่องจากมีประสิทธิผลทางคลินิก[129][130] และคุ้มค่า[131][132] ผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าทั้งหมดมีคะแนนคุณภาพชีวิตตามแบบสอบถาม SF-12 ดีขึ้น และรู้สึกดีขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ผ่าตัด และอาจมีประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในแง่ของความเจ็บปวดและการใช้งาน[133][134] ประโยชน์เหล่านี้อาจจำกัดเวลาเนื่องจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ, โรคร่วม และความเจ็บปวดในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย[135]

สำหรับคนไข้โรคข้อไหล่เสื่อมผู้ไม่ตอบสนองต่อยา ทางเลือกการผ่าตัดรวมการเปลี่ยนข้อไหล่บางส่วน (hemiarthroplasty) และการเปลี่ยนข้อไหล่ทั้งหมด (shoulder arthroplasty)[136]

การปลูกถ่ายข้อต่อเป็นการเปลี่ยนเนื้อเยื่อที่เป็นโรคด้วยเนื้อเยื่อใหม่ ซึ่งอาจมาจากตัวเอง (autograft) หรือจากผู้บริจาค (allograft)[137] ผู้ที่เข้ารับการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนผิวข้อจากผู้อื่น (osteochondral allograft) ไม่ต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เพราะเนื้อเยื่อกระดูกและกระดูกอ่อนมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่จำกัด[138] การย้ายกระดูกอ่อนข้อต่อจากบริเวณที่ไม่รับน้ำหนักไปยังบริเวณที่เสียหาย (osteochondral autograft transfer system) อาจทำได้แม้จะยังศึกษาอยู่[139] ถ้าส่วนกระดูกอ่อนที่หายไปเป็นเฉพาะจุด การปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อนจากตัวเอง (autologous chondrocyte implantation) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง[140]

การเปลี่ยนข้อไหล่

[แก้]

สำหรับผู้ที่เป็นโรคข้อไหล่เสื่อม การเปลี่ยนข้อไหล่ทั้งหมดบางครั้งจะแนะนำเพื่อปรับปรุงอาการปวดและการใช้งาน[141] คาดว่าความต้องการการรักษาแบบนี้จะเพิ่มขึ้น 750% ภายในปี 2030[141] มีตัวเลือกต่าง ๆ สำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อไหล่ อย่างไรก็ตาม ยังขาดหลักฐานเป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่มีคุณภาพสูง เพื่อกำหนดว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อไหล่แบบใดมีประสิทธิภาพมากที่สุดในสถานการณ์ต่าง ๆ มีความเสี่ยงอะไรบ้างในแต่ละวิธี หรือเปรียบเทียบกับตัวเลือกการรักษาอื่น ๆ ได้ดีแค่ไหน[141][142] มีหลักฐานคุณภาพต่ำบ้างที่ชี้ว่า เมื่อเปรียบเทียบการผ่าตัดเปลี่ยนข้อไหล่ทั้งหมดกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อไหล่บางส่วน ไม่พบประโยชน์ทางคลินิกที่สำคัญในระยะสั้น[142] ยังไม่ชัดเจนว่าความเสี่ยงอันตรายแตกต่างกันหรือไม่ระหว่างการผ่าตัดทั้งสองแบบ[142]

การผ่าตัดอื่น 

[แก้]

การตัดกระดูก (osteotomy) อาจมีประโยชน์สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม แต่ก็ยังไม่ได้ศึกษาเป็นอย่างดีและยังไม่ชัดเจนว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาแบบไม่ผ่าตัดหรือการผ่าตัดประเภทอื่น ๆ หรือไม่[143][144] ส่วนการผ่าตัดส่องกล้อง (arthroscopic surgery) จะไม่แนะนำเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากไม่ได้ปรับปรุงผลลัพธ์สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม[145][146] และอาจเกิดอันตราย[147] ยังไม่ชัดเจนว่าการผ่าตัดมีประโยชน์สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อมระดับเล็กน้อยจนถึงปานกลางหรือไม่[144]

การรักษาที่ไม่ได้การยืนยัน

[แก้]

กลูโคซามีนและคอนดรอยติน

[แก้]

ประสิทธิภาพของกลูโคซามีนยังเป็นเรื่องยังไม่ยุติ[148] งานทบทวนพบว่ามีผลเท่ากับ[149][150] หรือดีกว่ายาหลอกเล็กน้อย[151][152] กลูโคซามีนซัลเฟตและกลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์อาจต่างกัน คือกลูโคซามีนซัลเฟตมีประโยชน์แต่กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ไม่มี[153] หลักฐานที่แสดงว่ากลูโคซามีนซัลเฟตมีผลต่อการดำเนินโรคข้อเสื่อมยังไม่ชัดเจนและหากมี ผลก็อาจจะเพียงเล็กน้อย[154] สมาคมวิจัยโรคข้อเสื่อมนานาชาติ (OARSI) แนะนำให้หยุดใช้กลูโคซามีนหากไม่ได้ผลหลังจากหกเดือน[155] และสถาบันแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการดูแลแห่งสหราชอาณาจักร (NICE) ไม่แนะนำให้ใช้อีกต่อไป[11]

แม้จะระบุประสิทธิผลได้ยาก กลูโคซามีนก็ยังคงเป็นทางเลือกการรักษา[156] สมาคมยุโรปเพื่อการศึกษาด้านคลินิกและเศรษฐกิจของโรคกระดูกพรุนและโรคข้อเสื่อม (ESCEO) แนะนำให้ใช้กลูโคซามีนซัลเฟตและคอนดรอยตินซัลเฟตสำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม[157] การใช้รักษาโรคข้อเสื่อมปกติจะปลอดภัย[156][158]

การทบทวนของคอเคลนปี 2015 เกี่ยวกับการทดลองทางคลินิกของคอนดรอยตินพบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพต่ำ แต่มีหลักฐานบ้างว่ามีผลลดความเจ็บปวดระยะสั้นและมีผลข้างเคียงน้อย แต่ก็ดูจะไม่ช่วยปรับปรุงหรือคงสภาพข้อที่เป็นปัญหา[159]

อาหารเสริม

[แก้]

ไขมันที่ไม่กลายเป็นสบู่ (unsaponifiable, ASU) ที่ได้มาจากน้ำมันอะโวคาโดและน้ำมันถั่วเหลือง[160] มีการจำหน่ายเป็นอาหารเสริมในยี่ห้อต่าง [161] โดยเป็นยาที่แพทย์ต้องสั่งในประเทศฝรั่งเศส[162] การทบทวนของคอเคลนปี 2014 พบว่าในขณะที่ ASU อาจช่วยบรรเทาอาการปวดในระยะสั้นสำหรับผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อมบางราย แต่ดูเหมือนจะไม่ช่วยปรับปรุงหรือคงสภาพข้อที่เป็นโรค[160] การทบทวนกล่าวถึงการทดลองทางคลินิกคุณภาพสูงเป็นเวลาสองปีที่เปรียบเทียบ ASU กับคอนดรอยตินซึ่งมีประสิทธิผลที่ไม่ชัดเจนสำหรับโรคข้อเสื่อม โดยไม่พบความแตกต่างระหว่างสารทั้งสอง[160] การทบทวนยังพบว่ามีหลักฐานไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของ ASU[160]

การศึกษาคุณภาพสูงบางชิ้นเกี่ยวกับพืชกำยาน Boswellia serrata พบว่า ช่วยปรับปรุงอาการปวดและการใช้งานอย่างสม่ำเสมอแต่มีผลเพียงเล็กน้อย[160] ส่วนเคอร์คูมิน[163] phytodolor[109] และ s-adenosyl methionine (SAMe)[109][77] อาจมีประสิทธิภาพช่วยลดความปวด การทบทวนของคอเคลนปี 2009 แนะนำไม่ให้ใช้ SAMe เป็นประจำ เนื่องจากยังไม่มีการวิจัยทางคลินิกคุณภาพสูงเพียงพอที่จะพิสูจน์ผล[164] การทบทวนปี 2021 พบว่า สำหรับโรคข้อเสื่อม ไฮดรอกซีคลอโรควิน (HCQ) ไม่มีผลลดอาการปวดและปรับปรุงการใช้งานที่มือหรือเข่า โดยแนะนำไม่ให้ใช้ HCQ นอกเหนือจากข้อบ่งชี้[165] ไม่มีหลักฐานสำหรับการใช้โคลชิซีนในการรักษาอาการปวดของโรคข้ออักเสบที่มือหรือเข่า[166]

มีหลักฐานจำกัดที่สนับสนุนการใช้กรดไฮยาลูรอนิก[167], methylsulfonylmethane[109], ผลวิสามัญของกุหลาบ (rose hip)[109] แคปไซซิน[109] และวิตามินดี[109][168]

การฝังเข็มและการรักษาอื่น 

[แก้]

แม้าการฝังเข็มจะช่วยบรรเทาอาการปวด แต่ก็ได้เพียงแล็กน้อยโดยอาจไม่มีนัยสำคัญ[169] การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมที่รอการรักษา (waiting list–controlled trial) สำหรับโรคข้อเสื่อมที่แขนขาแสดงประโยชน์ที่เกี่ยวข้องทางคลินิกของการฝังเข็ม แต่ก็อาจเกิดจากผลแบบยาหลอก[170][171] การฝังเข็มดูเหมือนจะไม่ให้ประโยชน์ในระยะยาว[172]

เทคนิคการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เช่น TENS ได้ใช้มาเป็นเวลายี่สิบปีแล้วเพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ลดความเจ็บปวดหรือความพิการได้[173] การทบทวนของคอเคลนเกี่ยวกับการบำบัดด้วยเลเซอร์กำลังต่ำพบหลักฐานที่ไม่ชัดเจนว่ามีประโยชน์[174] ในขณะที่งานทบทวนอีกชิ้นหนึ่งพบว่าสามารถบรรเทาอาการปวดในระยะสั้นสำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม[175]

จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อกำหนดว่าการบำบัดด้วยน้ำแร่ (balnotherapy การแช่น้ำแร่หรือการรักษาด้วยสปา) สำหรับโรคข้อเสื่อม ปรับปรุงคุณภาพชีวิตหรือการใช้ชีวิตประจำวันได้หรือไม่[176] การใช้น้ำแข็งหรือถุงน้ำแข็งอาจเป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม[177] การวางถุงน้ำร้อนบนข้อต่อไม่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์[177]

มีหลักฐานคุณภาพต่ำที่แสดงว่าการบำบัดด้วยอัลตราซาวด์ (therapeutic ultrasound) อาจมีประโยชน์สำหรับผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันและกำหนดระดับและนัยสำคัญของประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นนี้[178]

พบว่า การบำบัดด้วยอัลตราซาวด์นั้นปลอดภัย และช่วยลดอาการปวดและปรับปรุงการใช้งานสำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม ในขณะที่การบำบัดด้วยอัลตราซาวด์ร่วมกับยาทา (phonophoresis) ไม่ได้ทำให้ใช้งานได้ดีขึ้น แต่อาจบรรเทาอาการปวดได้มากกว่าอัลตราซาวด์ธรรมดาที่ไม่ใช้ยา[179]

การใช้อัลตราซาวด์แบบต่อเนื่องและแบบพัลส์ (โดยเฉพาะ 1 MHz, 2.5 W/cm2, 15 นาที/ครั้ง, 3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยเป็นโปรแกรมรักษา 8 สัปดาห์) อาจมีประสิทธิภาพในการปรับปรุงการใช้งานและอาการปวดของผู้ป่วย[180]

มีหลักฐานอ่อน ๆ ที่ชี้ว่า การรักษาด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าอาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้ปานกลาง แต่ต้องมีงานวิจัยเพิ่มเติมและยังไม่ทราบว่าปรับปรุงคุณภาพชีวิตหรือการใช้งานได้หรือไม่[181]

การฉีดสารหล่อลื่นข้อ (คือกรดไฮยาลูรอนิก) สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อมอาจมีผลดีต่ออาการปวดและการใช้งานในช่วง 5–13 สัปดาห์หลังการฉีด[182]

ระบาดวิทยา

[แก้]
จำนวนปีที่สูญเสีย (DALYs) เนื่องจากความพิการจากโรคข้อเสื่อมต่อประชากร 100,000 คนในปี 2004[183]

ทั่วโลก ณ ปี 2010 มีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมประมาณ 250 ล้านคน (3.6% ของประชากร)[184][185] มีผู้ป่วยโรคข้อสะโพกเสื่อมในอัตรา 0.85%[184] ณ ปี 2004 โรคข้อเสื่อมทั่วโลกก่อความพิการระดับปานกลางจนถึงรุนแรงกับคน 43.4 ล้านคน[186] โรคข้อเข่าเสื่อมและข้อสะโพกเสื่อมรวมกันก่อความพิการทั่วโลกเป็นอันดับที่ 11 จากภาวะโรค 291 อย่างที่ประเมิน[184]

ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (MENA)

[แก้]

ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ จากปี 1990–2019 ความชุกของผู้ป่วยโรคข้อสะโพกเสื่อมเพิ่มขึ้น 3 เท่าในช่วงสามทศวรรษรวมเป็น 1.28 ล้านราย[187] โรคข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น 2.88 เท่าจาก 6.16 ล้านรายเป็น 17.75 ล้านราย[188] โรคข้อมือเสื่อมเพิ่มขึ้น 2.7 เท่าจาก 1.6 ล้านรายเป็น 4.3 ล้านราย[189]

สหรัฐอเมริกา

[แก้]

ณ ปี 2012 มีคนไข้โรคข้อเสื่อม 52.5 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา ประมาณ 50% มีอายุ 65 ปีขึ้นไป[190] คาดว่า 80% ของประชากรจะตรวจพบทางรังสีวิทยาได้ว่ามีโรคเมื่อถึงอายุ 65 ปี แม้ว่าเพียง 60% (เป็น 48% ของประชากร) ของคนเหล่านี้จะมีอาการ[191] คาดว่า จะมีผู้ใหญ่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม 78 ล้านคน (26%) เมื่อถึงปี 2040[190] ในปี 2011 มีการเข้าโรงพยาบาลเพราะโรคข้อเสื่อมประมาณ 964,000 ครั้ง คิดเป็นอัตรา 31 ครั้งต่อประชากร 10,000 คน[192] โดยมีค่าใช้จ่ายรวม 14,800 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 450,000 ล้านบาท) คิดเป็น 15,400 ดอลลาร์ต่อครั้ง (ประมาณ 470,000 บาท) จึงเป็นภาวะที่มีค่าใช้จ่ายสูงเป็นอันดับสองสำหรับผู้เข้า รพ. ในปี 2001 เป็นภาวะที่มีค่าใช้จ่ายสูงเป็นอันดับสองที่เรียกเก็บจาก Medicare และประกันเอกชน[193][194]

ยุโรป

[แก้]

ในยุโรป คนไข้โรคข้อเสื่อมเพิ่มขึ้นจาก 27.9 ล้านคนในปี 1990 เป็น 50.8 ล้านคนในปี 2019 โรคข้อมือเสื่อมเป็นชนิดที่พบบ่อยเป็นอันดับสอง มีผลต่อคนประมาณ 12.5 ล้านคน ในปี 2019 โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นสาเหตุอันดับที่ 18 ของจำนวนปีที่มีชีวิตอยู่กับความพิการ (YLDs) ในยุโรป คิดเป็น 1.28% ของทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 1.12% ในปี 1990[195]

อินเดีย

[แก้]

ในอินเดีย คนไข้โรคข้อเสื่อมเพิ่มขึ้นจาก 23.46 ล้านคนในปี 1990 เป็น 62.35 ล้านคนในปี 2019 โดยพบโรคข้อเข่าเสื่อมมากที่สุด ตามด้วยโรคข้อมือเสื่อม ในปี 2019 โรคข้อเสื่อมเป็นสาเหตุอันดับที่ 20 ของจำนวนปีที่มีชีวิตอยู่กับความพิการ (YLDs) ในอินเดีย คิดเป็น 1.48% ของทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 1.25%[196]

ประวัติ

[แก้]

ศัพท์

[แก้]

คำว่า osteoarthritis มาจากคำอุปสรรค "osteo-" (มาจากคำกรีกโบราณ: ὀστέον หรือ ostéon แปลว่า 'กระดูก') รวมกับคำว่า "arthritis" ซึ่งมาจาก ἀρθρῖτῐς (arthrîtis) แปลว่า 'ของหรือในข้อ' ซึ่งมาจากรากศัพท์ว่า arthr- (จาก ἄρθρον หรือ árthron แปลว่า 'ข้อ, แขนขา') และ -itis (จาก -ῖτις หรือ -îtis แปลว่า 'เกี่ยวข้องกับ') โดยคำต่อท้ายหลังนี้มักเชื่อมโยงกับการอักเสบ[197] ดังนั้น คำต่อท้ายจึงอาจทำให้เข้าใจผิดได้ เนื่องจากการอักเสบไม่ใช่ลักษณะเด่นของโรค แพทย์บางท่านจึงเรียกภาวะนี้ว่า osteoarthrosis เพื่อแสดงว่าร่างกายไม่ได้ตอบสนองด้วยการอักเสบ[198] คำต่อท้าย -osis (จาก -ωσις หรือ -ōsis แปลว่า 'สภาวะ เงื่อนไข หรือการกระทำที่ผิดปกติ') หมายถึงพยาธิสภาพของโรคเอง

ในสัตว์อื่น ๆ

[แก้]

โรคข้อเสื่อมพบในสัตว์หลายชนิดทั่วโลก รวมถึงสัตว์ทะเลและแม้แต่ในซากดึกดำบรรพ์ เช่น แมว สัตว์ฟันแทะหลายชนิด วัว กวาง กระต่าย แกะ อูฐ ช้าง ควาย หมาป่า สิงโต ล่อ หมู เสือ จิงโจ้ โลมา พะยูน และม้า[199]

มีรายงานว่าพบโรคในไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ชนิด Allosaurus fragilis[200]

งานวิจัย

[แก้]

การรักษา

[แก้]

การใช้ยาที่สามารถเปลี่ยนการดำเนินโรคตามธรรมชาติโดยหยุดการเปลี่ยนโครงสร้างข้อและบรรเทาอาการเรียกว่า การรักษาที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค (disease-modifying treatment)[63] การรักษาที่อยู่ในระหว่างการศึกษารวมทั้ง

  • ยา strontium ranelate อาจช่วยลดการเสื่อมในโรคข้อเสื่อมและปรับปรุงผลลัพธ์ให้ดีขึ้น[201][202]
  • ยีนบำบัดโดยถ่ายโอนยีนที่มีเป้าหมายที่กระบวนการของโรค ไม่ใช่ที่อาการ[203] ยีนบำบัดที่ใช้เซลล์เป็นตัวส่งยีนที่เป็นตัวบำบัด (cell-mediated gene therapy) ก็กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาด้วยเหมือนกัน[204][205] มีชนิดหนึ่งที่ได้รับการอนุมัติในประเทศเกาหลีใต้เพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมระดับปานกลาง แต่ต่อมาถูกเพิกถอนเนื่องจากการติดฉลากผิดและการรายงานเท็จเกี่ยวกับส่วนผสมที่ใช้[206][207] ยาดังกล่าวใช้ฉีดเข้าข้อโดยตรง[207]

เหตุ

[แก้]

นอกจากความพยายามค้นหายาที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคข้อเสื่อมแล้ว ยังมีหลักฐานใหม่ที่แสดงว่าจำเป็นต้องใช้วิธีการแบบองค์รวมเพื่อค้นหาสาเหตุของโรคข้อเสื่อม[208] งานศึกษาที่มหาวิทยาลัยตเว็นเตอพบว่า ความแออัดของโมเลกุลในเซลล์ที่กระตุ้นโดยออสโมลาริตี (osmolarity induced intracellular molecular crowding) อาจเป็นตัวขับเคลื่อนพยาธิสภาพของโรค[209]

สารส่อโรคเพื่อการวินิจฉัย

[แก้]

ในปี 2015 มีการตีพิมพ์แนวทางที่ระบุข้อกำหนดในการรวมสารส่อโรค (biomarker) ที่ละลายน้ำได้เข้าในการทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับโรคข้อเสื่อม[210] แต่จนถึงปี 2021 ก็ยังไม่มีสารส่อโรคที่ตรวจสอบความถูกต้องแล้วเพื่อตรวจหาโรคข้อเสื่อม[211][212]

การปริทัศน์เป็นระบบปี 2015 ซึ่งสำรวจหาโมเลกุลที่ใช้ประเมินความเสี่ยงของโรคข้อเสื่อมได้ พบตัวบ่งชี้ทางชีวเคมีของการสร้างและการสลายกระดูกกับกระดูกอ่อน 37 ชนิด ในงานวิจัย 25 งาน[213] หลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดคือ urinary C-terminal telopeptide of type II collagen (uCTX-II) โดยเป็นสารพยากรณ์การดำเนินของโรคข้อเข่าเสื่อม และระดับ serum cartilage oligomeric matrix protein (COMP) โดยเป็นสารพยากรณ์การเกิดทั้งโรคข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อม ส่วนงานทบทวนสารส่องโรคข้อสะโพกเสื่อมปี 2015 ก็พบความสัมพันธ์กับ uCTX-II ด้วย[214] ระดับ procollagen type II C-terminal propeptide (PIICP) สะท้อนถึงการสังเคราะห์คอลลาเจนชนิดที่ 2 ในร่างกาย และระดับ PIICP ในไขข้อใช้เป็นสารส่องโรคสำหรับโรคข้อเสื่อมระยะแรกได้[215]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 "Osteoarthritis". National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases. April 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-18. สืบค้นเมื่อ 2015-05-13.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Glyn-Jones, S; Palmer, AJ; Agricola, R; Price, AJ; Vincent, TL; Weinans, H; Carr, AJ (July 2015). "Osteoarthritis". Lancet. 386 (9991): 376–387. doi:10.1016/S0140-6736(14)60802-3. PMID 25748615. S2CID 208792655.
  3. 3.0 3.1 "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. October 2016. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
  4. แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยและรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม (PDF). สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ISBN 974-422-194-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-11-07. สืบค้นเมื่อ 2024-10-14.
  5. Osteoarthritis, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช., ข้อเสื่อม [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
  6. Arden, N; Blanco, F; Cooper, C; Guermazi, A; Hayashi, D; Hunter, D; Javaid, MK; Rannou, F; Roemer, FW; Reginster, JY (2015). Atlas of Osteoarthritis. Springer. p. 21. ISBN 978-1-910315-16-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  7. "A National Public Health Agenda for Osteoarthritis 2020" (PDF). U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2020-07-27.
  8. Hunter, DJ; Bierma-Zeinstra, S (April 2019). "Osteoarthritis". Lancet. 393 (10182): 1745–1759. doi:10.1016/S0140-6736(19)30417-9. PMID 31034380.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 Vingård, E; Englund, M; Järvholm, B; Svensson, O; Stenström, K; Brolund, A; Hall, C; Kedebring, T; Kirkeskov, L; Nordin, M (2016-09-01). Occupational Exposures and Osteoarthritis: A systematic review and assessment of medical, social and ethical aspects. SBU Assessments (Report). Graphic design by Anna Edling. Stockholm: Swedish Agency for Health Technology Assessment and Assessment of Social Services (SBU). p. 1. 253 (in Swedish). สืบค้นเมื่อ 2018-04-08.
  10. Berenbaum, F (January 2013). "Osteoarthritis as an inflammatory disease (osteoarthritis is not osteoarthrosis!)". Osteoarthritis and Cartilage. 21 (1): 16–21. doi:10.1016/j.joca.2012.11.012. PMID 23194896.
  11. 11.0 11.1 Conaghan, P (2014). "Osteoarthritis – Care and management in adults". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 2015-10-21.
  12. 12.0 12.1 12.2 McAlindon, TE; Bannuru, RR; Sullivan, MC; Arden, NK; Berenbaum, F; Bierma-Zeinstra, SM; Hawker, GA; Henrotin, Y; Hunter, DJ; Kawaguchi, H; Kwoh, K; Lohmander, S; Rannou, F; Roos, EM; Underwood, M (March 2014). "OARSI guidelines for the non-surgical management of knee osteoarthritis". Osteoarthritis and Cartilage. 22 (3): 363–388. doi:10.1016/j.joca.2014.01.003. PMID 24462672.
  13. Di Puccio, F; Mattei, L (January 2015). "Biotribology of artificial hip joints". World Journal of Orthopedics. 6 (1): 77–94. doi:10.5312/wjo.v6.i1.77. PMC 4303792. PMID 25621213.
  14. 14.0 14.1 March, L; Smith, EU; Hoy, DG; Cross, MJ; Sanchez-Riera, L; Blyth, F; Buchbinder, R; Vos, T; Woolf, AD (June 2014). "Burden of disability due to musculoskeletal (MSK) disorders". Best Practice & Research. Clinical Rheumatology. 28 (3): 353–366. doi:10.1016/j.berh.2014.08.002. PMID 25481420.
  15. Sinusas, K (January 2012). "Osteoarthritis: diagnosis and treatment". American Family Physician. 85 (1): 49–56. PMID 22230308.
  16. de Figueiredo, EC; Figueiredo, GC; Dantas, RT (December 2011). "Influence of meteorological elements on osteoarthritis pain: a review of the literature" [Influence of meteorological elements on osteoarthritis pain: a review of the literature]. Revista Brasileira de Reumatologia (ภาษาโปรตุเกส). 51 (6): 622–628. doi:10.1590/S0482-50042011000600008. PMID 22124595.
  17. "Swollen knee". Mayo Clinic. 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-20.
  18. "Bunions: Symptoms and causes". Mayo Clinic. 2016-11-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-21. สืบค้นเมื่อ 2017-04-20.
  19. 19.0 19.1 Brandt, KD; Dieppe, P; Radin, E (January 2009). "Etiopathogenesis of osteoarthritis". The Medical Clinics of North America. 93 (1): 1–24, xv. doi:10.1016/j.mcna.2008.08.009. PMID 19059018. S2CID 28990260.
  20. Bosomworth, NJ (September 2009). "Exercise and knee osteoarthritis: benefit or hazard?". Canadian Family Physician. 55 (9): 871–878. PMC 2743580. PMID 19752252.
  21. Timmins, KA; Leech, RD; Batt, ME; Edwards, KL (May 2017). "Running and Knee Osteoarthritis: A Systematic Review and Meta-analysis" (PDF). The American Journal of Sports Medicine. 45 (6): 1447–1457. doi:10.1177/0363546516657531. PMID 27519678. S2CID 21924096. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-03-30. สืบค้นเมื่อ 2023-07-15.
  22. Deweber, K; Olszewski, M; Ortolano, R (2011). "Knuckle cracking and hand osteoarthritis". Journal of the American Board of Family Medicine. 24 (2): 169–174. doi:10.3122/jabfm.2011.02.100156. PMID 21383216.
  23. Coggon, D; Reading, I; Croft, P; McLaren, M; Barrett, D; Cooper, C (May 2001). "Knee osteoarthritis and obesity". International Journal of Obesity and Related Metabolic Disorders. 25 (5): 622–627. doi:10.1038/sj.ijo.0801585. PMID 11360143.
  24. Tanamas, SK; Wijethilake, P; Wluka, AE; Davies-Tuck, ML; Urquhart, DM; Wang, Y; Cicuttini, FM (June 2011). "Sex hormones and structural changes in osteoarthritis: a systematic review". Maturitas. 69 (2): 141–156. doi:10.1016/j.maturitas.2011.03.019. PMID 21481553.
  25. Ranganath, LR; Jarvis, JC; Gallagher, JA (May 2013). "Recent advances in management of alkaptonuria (invited review; best practice article)". Journal of Clinical Pathology. 66 (5): 367–373. doi:10.1136/jclinpath-2012-200877. PMID 23486607. S2CID 24860734.
  26. "Birth Defects: Condition Information". www.nichd.nih.gov. September 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-12-08.
  27. "Congenital Disorders of Sexual Development". The Lecturio Medical Concept Library. สืบค้นเมื่อ 2021-08-22.
  28. King, KB; Rosenthal, AK (June 2015). "The adverse effects of diabetes on osteoarthritis: update on clinical evidence and molecular mechanisms". Osteoarthritis and Cartilage. 23 (6): 841–850. doi:10.1016/j.joca.2015.03.031. PMC 5530368. PMID 25837996.
  29. "Ehlers-Danlos Syndrome". The Lecturio Medical Concept Library. สืบค้นเมื่อ 2021-08-22.
  30. "Hereditary Hemochromatosis". The Lecturio Medical Concept Library. สืบค้นเมื่อ 2021-08-22.
  31. "Marfan Syndrome". The Lecturio Medical Concept Library. สืบค้นเมื่อ 2021-08-22.
  32. "Obesity". The Lecturio Medical Concept Library. สืบค้นเมื่อ 2021-08-22.
  33. "Arthritis, Infectious". NORD (National Organization for Rare Disorders). 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-21. สืบค้นเมื่อ 2017-07-19.
  34. Horowitz, DL; Katzap, E; Horowitz, S; Barilla-LaBarca, ML (September 2011). "Approach to septic arthritis". American Family Physician. 84 (6): 653–660. PMID 21916390.
  35. El-Sobky, T; Mahmoud, S (July 2021). "Acute osteoarticular infections in children are frequently forgotten multidiscipline emergencies: beyond the technical skills". EFORT Open Reviews. 6 (7): 584–592. doi:10.1302/2058-5241.6.200155. PMC 8335954. PMID 34377550.
  36. "Synovial Joints". OpenStax CNX. 2013-04-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-06. สืบค้นเมื่อ 2015-10-14.
  37. Sanchez-Adams, J; Leddy, HA; McNulty, AL; O'Conor, CJ; Guilak, F (October 2014). "The mechanobiology of articular cartilage: bearing the burden of osteoarthritis". Current Rheumatology Reports. 16 (10): 451. doi:10.1007/s11926-014-0451-6. PMC 4682660. PMID 25182679.
  38. 38.0 38.1 38.2 Maroudas, AI (April 1976). "Balance between swelling pressure and collagen tension in normal and degenerate cartilage". Nature. 260 (5554): 808–809. Bibcode:1976Natur.260..808M. doi:10.1038/260808a0. PMID 1264261. S2CID 4214459.
  39. Bollet, AJ; Nance, JL (July 1966). "Biochemical Findings in Normal and Osteoarthritic Articular Cartilage. II. Chondroitin Sulfate Concentration and Chain Length, Water, and Ash Content". The Journal of Clinical Investigation. 45 (7): 1170–1177. doi:10.1172/JCI105423. PMC 292789. PMID 16695915.
  40. 40.0 40.1 Brocklehurst, R; Bayliss, MT; Maroudas, A; Coysh, HL; Freeman, MA; Revell, PA; Ali, SY (January 1984). "The composition of normal and osteoarthritic articular cartilage from human knee joints. With special reference to unicompartmental replacement and osteotomy of the knee". The Journal of Bone and Joint Surgery. American Volume. 66 (1): 95–106. doi:10.2106/00004623-198466010-00013. PMID 6690447.
  41. Chou, MC; Tsai, PH; Huang, GS; Lee, HS; Lee, CH; Lin, MH; Lin, CY; Chung, HW (April 2009). "Correlation between the MR T2 value at 4.7 T and relative water content in articular cartilage in experimental osteoarthritis induced by ACL transection". Osteoarthritis and Cartilage. 17 (4): 441–447. doi:10.1016/j.joca.2008.09.009. PMID 18990590.
  42. Grushko, G; Schneiderman, R; Maroudas, A (1989). "Some biochemical and biophysical parameters for the study of the pathogenesis of osteoarthritis: a comparison between the processes of ageing and degeneration in human hip cartilage". Connective Tissue Research. 19 (2–4): 149–176. doi:10.3109/03008208909043895. PMID 2805680.
  43. Mankin, HJ; Thrasher, AZ (January 1975). "Water content and binding in normal and osteoarthritic human cartilage". The Journal of Bone and Joint Surgery. American Volume. 57 (1): 76–80. doi:10.2106/00004623-197557010-00013. PMID 1123375.
  44. 44.0 44.1 Venn, M; Maroudas, A (April 1977). "Chemical composition and swelling of normal and osteoarthrotic femoral head cartilage. I. Chemical composition". Annals of the Rheumatic Diseases. 36 (2): 121–129. doi:10.1136/ard.36.2.121. PMC 1006646. PMID 856064.
  45. Madry, H; Luyten, FP; Facchini, A (March 2012). "Biological aspects of early osteoarthritis". Knee Surgery, Sports Traumatology, Arthroscopy. 20 (3): 407–422. doi:10.1007/s00167-011-1705-8. PMID 22009557. S2CID 31367901.
  46. Englund, M; Roemer, FW; Hayashi, D; Crema, MD; Guermazi, A (May 2012). "Meniscus pathology, osteoarthritis and the treatment controversy". Nature Reviews. Rheumatology. 8 (7): 412–419. doi:10.1038/nrrheum.2012.69. PMID 22614907. S2CID 7725467.
  47. Li, G; Yin, J; Gao, J; Cheng, TS; Pavlos, NJ; Zhang, C; Zheng, MH (2013). "Subchondral bone in osteoarthritis: insight into risk factors and microstructural changes". Arthritis Research & Therapy. 15 (6): 223. doi:10.1186/ar4405. PMC 4061721. PMID 24321104.
  48. Hill, CL; Gale, DG; Chaisson, CE; Skinner, K; Kazis, L; Gale, ME; Felson, DT (June 2001). "Knee effusions, popliteal cysts, and synovial thickening: association with knee pain in osteoarthritis". The Journal of Rheumatology. 28 (6): 1330–1337. PMID 11409127.
  49. Felson, DT; Chaisson, CE; Hill, CL; Totterman, SM; Gale, ME; Skinner, KM; Kazis, L; Gale, DR (April 2001). "The association of bone marrow lesions with pain in knee osteoarthritis". Annals of Internal Medicine. 134 (7): 541–549. doi:10.7326/0003-4819-134-7-200104030-00007. PMID 11281736. S2CID 53091266.
  50. Flynn, JA; Choi, MJ; Wooster, DL (2013). Oxford American Handbook of Clinical Medicine (ภาษาอังกฤษ). US: OUP. p. 400. ISBN 978-0-19-991494-4.
  51. Seidman, AJ; Limaiem, F (2019). "Synovial Fluid Analysis". StatPearls. StatPearls Publishing. PMID 30725799. สืบค้นเมื่อ 2019-12-19.
  52. Zhang, W; Doherty, M; Peat, G; Bierma-Zeinstra, MA; Arden, NK; Bresnihan, B; Herrero-Beaumont, G; Kirschner, S; Leeb, BF; Lohmander, LS; Mazières, B; Pavelka, K; Punzi, L; So, AK; Tuncer, T; Watt, I; Bijlsma, JW (March 2010). "EULAR evidence-based recommendations for the diagnosis of knee osteoarthritis". Annals of the Rheumatic Diseases. 69 (3): 483–489. doi:10.1136/ard.2009.113100. PMID 19762361. S2CID 12319076.
  53. Bierma-Zeinstra, SM; Oster, JD; Bernsen, RM; Verhaar, JA; Ginai, AZ; Bohnen, AM (August 2002). "Joint space narrowing and relationship with symptoms and signs in adults consulting for hip pain in primary care". The Journal of Rheumatology. 29 (8): 1713–1718. PMID 12180735.
  54. (OA): Joint Disorders 04-034e.Osteoarthritis (OA): Joint Disorders ที่ The Merck Manual of Diagnosis and Therapy Professional Edition
  55. Phillips, CR; Brasington, RD (2010). "Osteoarthritis treatment update: Are NSAIDs still in the picture?". Journal of Musculoskeletal Medicine. 27 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-12. สืบค้นเมื่อ 2010-02-09.
  56. Kalunian, KC (2013). "Patient information: Osteoarthritis symptoms and diagnosis (Beyond the Basics)". UpToDate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-22. สืบค้นเมื่อ 2013-02-15.
  57. Altman, R; Alarcón, G; Appelrouth, D; Bloch, D; Borenstein, D; Brandt, K; Brown, C; Cooke, TD; Daniel, W; Gray, R (November 1990). "The American College of Rheumatology criteria for the classification and reporting of osteoarthritis of the hand". Arthritis and Rheumatism. 33 (11): 1601–1610. doi:10.1002/art.1780331101. PMID 2242058.
  58. Quintana, JM; Escobar, A; Arostegui, I; Bilbao, A; Azkarate, J; Goenaga, JI; Arenaza, JC (January 2006). "Health-related quality of life and appropriateness of knee or hip joint replacement". Archives of Internal Medicine. 166 (2): 220–226. doi:10.1001/archinte.166.2.220. PMID 16432092.
  59. "Tönnis Classification of Osteoarthritis by Radiographic Changes". Society of Preventive Hip Surgery. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2016-12-13.
  60. Punzi, L; Ramonda, R; Sfriso, P (October 2004). "Erosive osteoarthritis". Best Practice & Research. Clinical Rheumatology. 18 (5): 739–758. doi:10.1016/j.berh.2004.05.010. hdl:11577/2449059. PMID 15454130.
  61. 61.0 61.1 61.2 61.3 Flood, J (March 2010). "The role of acetaminophen in the treatment of osteoarthritis". The American Journal of Managed Care. 16 (Suppl Management): S48–S54. PMID 20297877. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-22. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  62. 62.0 62.1 Leopoldino, AO; Machado, GC; Ferreira, PH; Pinheiro, MB; Day, R; McLachlan, AJ; Hunter, DJ; Ferreira, ML (February 2019). "Paracetamol versus placebo for knee and hip osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2 (2): CD013273. doi:10.1002/14651858.cd013273. PMC 6388567. PMID 30801133.
  63. 63.0 63.1 Oo, WM; Yu, SP; Daniel, MS; Hunter, DJ (December 2018). "Disease-modifying drugs in osteoarthritis: current understanding and future therapeutics". Expert Opinion on Emerging Drugs. 23 (4): 331–347. doi:10.1080/14728214.2018.1547706. PMID 30415584. S2CID 53284022.
  64. 64.0 64.1 Cibulka, MT; White, DM; Woehrle, J; Harris-Hayes, M; Enseki, K; Fagerson, TL; Slover, J; Godges, JJ (April 2009). "Hip pain and mobility deficits--hip osteoarthritis: clinical practice guidelines linked to the international classification of functioning, disability, and health from the orthopaedic section of the American Physical Therapy Association". The Journal of Orthopaedic and Sports Physical Therapy. 39 (4): A1-25. doi:10.2519/jospt.2009.0301. PMC 3963282. PMID 19352008.
  65. Georgiev, T; Angelov, AK (July 2019). "Modifiable risk factors in knee osteoarthritis: treatment implications". Rheumatology International. 39 (7): 1145–1157. doi:10.1007/s00296-019-04290-z. PMID 30911813. S2CID 85493753.
  66. "How to improve discussions about osteoarthritis in primary care". NIHR Evidence (ภาษาอังกฤษ). 2022-06-23. doi:10.3310/nihrevidence_51244. S2CID 251782088.
  67. Vennik, J; Hughes, S; Smith, KA; Misurya, P; Bostock, J; Howick, J; Mallen, C; Little, P; Ratnapalan, M; Lyness, E; Dambha-Miller, H; Morrison, L; Leydon, G; Everitt, H; Bishop, FL (July 2022). "Patient and practitioner priorities and concerns about primary healthcare interactions for osteoarthritis: A meta-ethnography". Patient Education and Counseling. 105 (7): 1865–1877. doi:10.1016/j.pec.2022.01.009. PMID 35125208. S2CID 246314113.
  68. 68.0 68.1 Hunter, DJ; Eckstein, F (2009). "Exercise and osteoarthritis". Journal of Anatomy. 214 (2): 197–207. doi:10.1111/j.1469-7580.2008.01013.x. PMC 2667877. PMID 19207981.
  69. Charlesworth, J; Fitzpatrick, J; Orchard, J (2019). "Osteoarthritis- a systematic review of long-term safety implications for osteoarthritis of the knee". BMC Musculoskeletal Disorders. 20 (1): 151. doi:10.1186/s12891-019-2525-0. PMC 6454763. PMID 30961569.
  70. Ho, J; Mak, CC; Sharma, V; To, K; Khan, W (October 2022). "Mendelian Randomization Studies of Lifestyle-Related Risk Factors for Osteoarthritis: A PRISMA Review and Meta-Analysis". International Journal of Molecular Sciences. 23 (19): 11906. doi:10.3390/ijms231911906. PMC 9570129. PMID 36233208.
  71. Hagen, KB; Dagfinrud, H; Moe, RH; Østerås, N; Kjeken, I; Grotle, M; Smedslund, G (December 2012). "Exercise therapy for bone and muscle health: an overview of systematic reviews". BMC Medicine. 10: 167. doi:10.1186/1741-7015-10-167. PMC 3568719. PMID 23253613.
  72. Fransen, M; McConnell, S; Hernandez-Molina, G; Reichenbach, S (April 2014). "Exercise for osteoarthritis of the hip". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2014 (4): CD007912. doi:10.1002/14651858.CD007912.pub2. PMC 10898220. PMID 24756895.
  73. 73.0 73.1 Hurley, M; Dickson, K; Hallett, R; Grant, R; Hauari, H; Walsh, N; Stansfield, C; Oliver, S (April 2018). "Exercise interventions and patient beliefs for people with hip, knee or hip and knee osteoarthritis: a mixed methods review". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 4 (4): CD010842. doi:10.1002/14651858.CD010842.pub2. PMC 6494515. PMID 29664187.
  74. 74.0 74.1 Juhl, C; Christensen, R; Roos, EM; Zhang, W; Lund, H (March 2014). "Impact of exercise type and dose on pain and disability in knee osteoarthritis: a systematic review and meta-regression analysis of randomized controlled trials". Arthritis & Rheumatology. 66 (3): 622–636. doi:10.1002/art.38290. PMID 24574223. S2CID 24620456.
  75. Wang, SY; Olson-Kellogg, B; Shamliyan, TA; Choi, JY; Ramakrishnan, R; Kane, RL (November 2012). "Physical therapy interventions for knee pain secondary to osteoarthritis: a systematic review". Annals of Internal Medicine. 157 (9): 632–644. doi:10.7326/0003-4819-157-9-201211060-00007. PMID 23128863. S2CID 17423569.
  76. Jordan, JL; Holden, MA; Mason, EE; Foster, NE (January 2010). "Interventions to improve adherence to exercise for chronic musculoskeletal pain in adults". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2010 (1): CD005956. doi:10.1002/14651858.cd005956.pub2. PMC 6769154. PMID 20091582.
  77. 77.0 77.1 Nahin, RL; Boineau, R; Khalsa, PS; Stussman, BJ; Weber, WJ (September 2016). "Evidence-Based Evaluation of Complementary Health Approaches for Pain Management in the United States". Mayo Clinic Proceedings. 91 (9): 1292–1306. doi:10.1016/j.mayocp.2016.06.007. PMC 5032142. PMID 27594189.
  78. French, HP; Brennan, A; White, B; Cusack, T (April 2011). "Manual therapy for osteoarthritis of the hip or knee - a systematic review". Manual Therapy. 16 (2): 109–117. doi:10.1016/j.math.2010.10.011. PMID 21146444.
  79. Lu, M; Su, Y; Zhang, Y; Zhang, Z; Wang, W; He, Z; Liu, F; Li, Y; Liu, C; Wang, Y; Sheng, L; Zhan, Z; Wang, X; Zheng, N (August 2015). "Effectiveness of aquatic exercise for treatment of knee osteoarthritis: Systematic review and meta-analysis". Zeitschrift für Rheumatologie. 74 (6): 543–552. doi:10.1007/s00393-014-1559-9. PMID 25691109. S2CID 19135129.
  80. Sturnieks, DL; Tiedemann, A; Chapman, K; Munro, B; Murray, SM; Lord, SR (November 2004). "Physiological risk factors for falls in older people with lower limb arthritis". The Journal of Rheumatology. 31 (11): 2272–2279. PMID 15517643.
  81. Barbour, KE; Stevens, JA; Helmick, CG; Luo, YH; Murphy, LB; Hootman, JM; Theis, K; Anderson, LA; Baker, NA; Sugerman, DE (May 2014). "Falls and fall injuries among adults with arthritis--United States, 2012". MMWR. Morbidity and Mortality Weekly Report. 63 (17): 379–383. PMC 4584889. PMID 24785984.
  82. Østerås, N; Kjeken, I; Smedslund, G; Moe, RH; Slatkowsky-Christensen, B; Uhlig, T; Hagen, KB (January 2017). "Exercise for hand osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 1 (1): CD010388. doi:10.1002/14651858.CD010388.pub2. PMC 6464796. PMID 28141914.
  83. Øiestad, BE; Juhl, CB; Culvenor, AG; Berg, B; Thorlund, JB (March 2022). "Knee extensor muscle weakness is a risk factor for the development of knee osteoarthritis: an updated systematic review and meta-analysis including 46 819 men and women". British Journal of Sports Medicine. 56 (6): 349–355. doi:10.1136/bjsports-2021-104861. PMID 34916210.
  84. Penny, P; Geere, J; Smith, TO (October 2013). "A systematic review investigating the efficacy of laterally wedged insoles for medial knee osteoarthritis". Rheumatology International. 33 (10): 2529–2538. doi:10.1007/s00296-013-2760-x. PMID 23612781. S2CID 20664287.
  85. Parkes, MJ; Maricar, N; Lunt, M; LaValley, MP; Jones, RK; Segal, NA; Takahashi-Narita, K; Felson, DT (August 2013). "Lateral wedge insoles as a conservative treatment for pain in patients with medial knee osteoarthritis: a meta-analysis". JAMA. 310 (7): 722–730. doi:10.1001/jama.2013.243229. PMC 4458141. PMID 23989797.
  86. 86.0 86.1 Duivenvoorden, T; Brouwer, RW; van Raaij, TM; Verhagen, AP; Verhaar, JA; Bierma-Zeinstra, SM (March 2015). "Braces and orthoses for treating osteoarthritis of the knee". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2015 (3): CD004020. doi:10.1002/14651858.CD004020.pub3. PMC 7173742. PMID 25773267. S2CID 35262399.
  87. Page, CJ; Hinman, RS; Bennell, KL (May 2011). "Physiotherapy management of knee osteoarthritis". International Journal of Rheumatic Diseases. 14 (2): 145–151. doi:10.1111/j.1756-185X.2011.01612.x. PMID 21518313. S2CID 41951368.
  88. "Osteoarthritis Lifestyle and home remedies". Mayo Clinic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-25.
  89. Bartels, EM; Juhl, CB; Christensen, R; Hagen, KB; Danneskiold-Samsøe, B; Dagfinrud, H; Lund, H (March 2016). "Aquatic exercise for the treatment of knee and hip osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2016 (3): CD005523. doi:10.1002/14651858.CD005523.pub3. hdl:11250/2481966. PMC 9942938. PMID 27007113.
  90. Fransen, M; McConnell, S; Harmer, AR; Van der Esch, M; Simic, M; Bennell, KL (January 2015). "Exercise for osteoarthritis of the knee". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 1 (1): CD004376. doi:10.1002/14651858.CD004376.pub3. PMC 10094004. PMID 25569281. S2CID 205173688.
  91. White, DK; Tudor-Locke, C; Zhang, Y; Fielding, R; LaValley, M; Felson, DT; Gross, KD; Nevitt, MC; Lewis, CE; Torner, J; Neogi, T (September 2014). "Daily walking and the risk of incident functional limitation in knee osteoarthritis: an observational study". Arthritis Care & Research. 66 (9): 1328–1336. doi:10.1002/acr.22362. PMC 4146701. PMID 24923633.
  92. Bartels, EM; Juhl, CB; Christensen, R; Hagen, KB; Danneskiold-Samsøe, B; Dagfinrud, H; Lund, H (March 2016). "Aquatic exercise for the treatment of knee and hip osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2016 (3): CD005523. doi:10.1002/14651858.CD005523.pub3. PMC 9942938. PMID 27007113.
  93. 93.0 93.1 93.2 Brosseau, L; Yonge, KA; Tugwell, P (2003). "Thermotherapy for treatment of osteoarthritis". Cochrane Library#The_Cochrane Database of Systematic Reviews. 2003 (4): CD004522. doi:10.1002/14651858.CD004522. PMC 6669258. PMID 14584019.
  94. 94.0 94.1 94.2 94.3 "Pain Relief with NSAID Medications". Consumer Reports. January 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-21. สืบค้นเมื่อ 2019-08-06.
  95. 95.0 95.1 Zhang, W; Moskowitz, RW; Nuki, G; Abramson, S; Altman, RD; Arden, N; Bierma-Zeinstra, S; Brandt, KD; Croft, P; Doherty, M; Dougados, M; Hochberg, M; Hunter, DJ; Kwoh, K; Lohmander, LS; Tugwell, P (September 2007). "OARSI recommendations for the management of hip and knee osteoarthritis, part I: critical appraisal of existing treatment guidelines and systematic review of current research evidence". Osteoarthritis and Cartilage. 15 (9): 981–1000. doi:10.1016/j.joca.2007.06.014. PMID 17719803.
  96. Machado, GC; Maher, CG; Ferreira, PH; Pinheiro, MB; Lin, CW; Day, RO; McLachlan, AJ; Ferreira, ML (March 2015). "Efficacy and safety of paracetamol for spinal pain and osteoarthritis: systematic review and meta-analysis of randomised placebo controlled trials". BMJ. 350: h1225. doi:10.1136/bmj.h1225. PMC 4381278. PMID 25828856.
  97. Chen, YF; Jobanputra, P; Barton, P; Bryan, S; Fry-Smith, A; Harris, G; Taylor, RS (April 2008). "Cyclooxygenase-2 selective non-steroidal anti-inflammatory drugs (etodolac, meloxicam, celecoxib, rofecoxib, etoricoxib, valdecoxib and lumiracoxib) for osteoarthritis and rheumatoid arthritis: a systematic review and economic evaluation". Health Technology Assessment. 12 (11): 1–278, iii. doi:10.3310/hta12110. PMID 18405470.
  98. Wielage, RC; Myers, JA; Klein, RW; Happich, M (December 2013). "Cost-effectiveness analyses of osteoarthritis oral therapies: a systematic review". Applied Health Economics and Health Policy. 11 (6): 593–618. doi:10.1007/s40258-013-0061-x. PMID 24214160. S2CID 207482912.
  99. van Walsem, A; Pandhi, S; Nixon, RM; Guyot, P; Karabis, A; Moore, RA (March 2015). "Relative benefit-risk comparing diclofenac to other traditional non-steroidal anti-inflammatory drugs and cyclooxygenase-2 inhibitors in patients with osteoarthritis or rheumatoid arthritis: a network meta-analysis". Arthritis Research & Therapy. 17 (1): 66. doi:10.1186/s13075-015-0554-0 (inactive 2024-09-12). PMC 4411793. PMID 25879879.{{cite journal}}: CS1 maint: DOI inactive as of กันยายน 2024 (ลิงก์)
  100. Puljak, L; Marin, A; Vrdoljak, D; Markotic, F; Utrobicic, A; Tugwell, P (May 2017). "Celecoxib for osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 5 (5): CD009865. doi:10.1002/14651858.CD009865.pub2. PMC 6481745. PMID 28530031.
  101. 101.0 101.1 Derry, S; Conaghan, P; Da Silva, JA; Wiffen, PJ; Moore, RA (April 2016). "Topical NSAIDs for chronic musculoskeletal pain in adults". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 4 (4): CD007400. doi:10.1002/14651858.CD007400.pub3. PMC 6494263. PMID 27103611.
  102. Garner, SE; Fidan, DD; Frankish, R; Maxwell, L (January 2005). "Rofecoxib for osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2005 (1): CD005115. doi:10.1002/14651858.CD005115. PMC 8864971. PMID 15654705.
  103. Karabis, A; Nikolakopoulos, S; Pandhi, S; Papadimitropoulou, K; Nixon, R; Chaves, RL; Moore, RA (March 2016). "High correlation of VAS pain scores after 2 and 6 weeks of treatment with VAS pain scores at 12 weeks in randomised controlled trials in rheumatoid arthritis and osteoarthritis: meta-analysis and implications". Arthritis Research & Therapy. 18: 73. doi:10.1186/s13075-016-0972-7. PMC 4818534. PMID 27036633.
  104. Hochberg, MC; Altman, RD; April, KT; Benkhalti, M; Guyatt, G; McGowan, J; Towheed, T; Welch, V; Wells, G; Tugwell, P (April 2012). "American College of Rheumatology 2012 recommendations for the use of nonpharmacologic and pharmacologic therapies in osteoarthritis of the hand, hip, and knee". Arthritis Care & Research. 64 (4): 465–474. doi:10.1002/acr.21596. PMID 22563589. S2CID 11711160.
  105. 105.0 105.1 da Costa, BR; Nüesch, E; Kasteler, R; Husni, E; Welch, V; Rutjes, AW; Jüni, P (September 2014). "Oral or transdermal opioids for osteoarthritis of the knee or hip". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2014 (9): CD003115. doi:10.1002/14651858.CD003115.pub4. PMC 10993204. PMID 25229835. S2CID 205168274. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |pmc= (help)
  106. 106.0 106.1 K, Toupin April; Bisaillon, J; Welch, V; Maxwell, LJ; Jüni, P; Rutjes, AW; Husni, ME; Vincent, J; Hindi T, El; Wells, GA; Tugwell, P (May 2019). "Tramadol for osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 5 (5): CD005522. doi:10.1002/14651858.CD005522.pub3. PMC 6536297. PMID 31132298.
  107. 107.0 107.1 da Costa, BR; Nüesch, E; Reichenbach, S; Jüni, P; Rutjes, AW (November 2012). "Doxycycline for osteoarthritis of the knee or hip". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 11: CD007323. doi:10.1002/14651858.CD007323.pub3. PMID 23152242.
  108. García-Coronado, JM; Martínez-Olvera, L; Elizondo-Omaña, RE; Acosta-Olivo, CA; Vilchez-Cavazos, F; Simental-Mendía, LE; Simental-Mendía, M (March 2019). "Effect of collagen supplementation on osteoarthritis symptoms: a meta-analysis of randomized placebo-controlled trials". International Orthopaedics. 43 (3): 531–538. doi:10.1007/s00264-018-4211-5. PMID 30368550. S2CID 53080408.
  109. 109.0 109.1 109.2 109.3 109.4 109.5 109.6 De Silva, V; El-Metwally, A; Ernst, E; Lewith, G; Macfarlane, GJ (May 2011). "Evidence for the efficacy of complementary and alternative medicines in the management of osteoarthritis: a systematic review". Rheumatology. 50 (5): 911–920. doi:10.1093/rheumatology/keq379. PMID 21169345.
  110. Cameron, M; Gagnier, JJ; Little, CV; Parsons, TJ; Blümle, A; Chrubasik, S (November 2009). "Evidence of effectiveness of herbal medicinal products in the treatment of arthritis. Part I: Osteoarthritis". Phytotherapy Research. 23 (11): 1497–1515. doi:10.1002/ptr.3007. hdl:2027.42/64567. PMID 19856319. S2CID 43530618.
  111. Altman, R; Barkin, RL (March 2009). "Topical therapy for osteoarthritis: clinical and pharmacologic perspectives". Postgraduate Medicine. 121 (2): 139–147. doi:10.3810/pgm.2009.03.1986. PMID 19332972. S2CID 20975564.
  112. Yeap, PM; Robinson, P (December 2017). "Ultrasound Diagnostic and Therapeutic Injections of the Hip and Groin". Journal of the Belgian Society of Radiology. 101 (Suppl 2): 6. doi:10.5334/jbr-btr.1371. PMC 6251072. PMID 30498802.
    Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC-BY 4.0)
  113. Charlesworth, J; Fitzpatrick, J; Perera, NK; Orchard, J (April 2019). "Osteoarthritis- a systematic review of long-term safety implications for osteoarthritis of the knee". BMC Musculoskeletal Disorders. 20 (1): 151. doi:10.1186/s12891-019-2525-0. PMC 6454763. PMID 30961569.
  114. Oo, WM; Liu, X; Hunter, DJ (December 2019). "Pharmacodynamics, efficacy, safety and administration of intra-articular therapies for knee osteoarthritis". Expert Opinion on Drug Metabolism & Toxicology. 15 (12): 1021–1032. doi:10.1080/17425255.2019.1691997. PMID 31709838. S2CID 207946424.
  115. Kleinschmidt, AC; Singh, A; Hussain, S; Lovell, GA; Shee, AW (December 2022). "How Effective Are Non-Operative Intra-Articular Treatments for Bone Marrow Lesions in Knee Osteoarthritis in Adults? A Systematic Review of Controlled Clinical Trials". Pharmaceuticals. 15 (12): 1555. doi:10.3390/ph15121555. PMC 9787030. PMID 36559005.
  116. Arroll, B; Goodyear-Smith, F (April 2004). "Corticosteroid injections for osteoarthritis of the knee: meta-analysis". BMJ. 328 (7444): 869. doi:10.1136/bmj.38039.573970.7C. PMC 387479. PMID 15039276.
  117. Jüni, P; Hari, R; Rutjes, AW; Fischer, R; Silletta, MG; Reichenbach, S; da Costa, BR (October 2015). "Intra-articular corticosteroid for knee osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2015 (10): CD005328. doi:10.1002/14651858.CD005328.pub3. PMC 8884338. PMID 26490760.
  118. Wernecke, C; Braun, HJ; Dragoo, JL (May 2015). "The Effect of Intra-articular Corticosteroids on Articular Cartilage: A Systematic Review". Orthopaedic Journal of Sports Medicine. 3 (5): 2325967115581163. doi:10.1177/2325967115581163. PMC 4622344. PMID 26674652.
  119. McAlindon, TE; LaValley, MP; Harvey, WF; Price, LL; Driban, JB; Zhang, M; Ward, RJ (May 2017). "Effect of Intra-articular Triamcinolone vs Saline on Knee Cartilage Volume and Pain in Patients With Knee Osteoarthritis: A Randomized Clinical Trial". JAMA. 317 (19): 1967–1975. doi:10.1001/jama.2017.5283. PMC 5815012. PMID 28510679.
  120. Taliaferro, K; Crawford, A; Jabara, J; Lynch, J; Jung, E; Zvirbulis, R; Banka, T (July 2018). "Intraocular Pressure Increases After Intraarticular Knee Injection With Triamcinolone but Not Hyaluronic Acid". Clinical Orthopaedics and Related Research (Level-II therapeutic study). 476 (7): 1420–1425. doi:10.1007/s11999.0000000000000261. LCCN 53007647. OCLC 01554937. PMC 6437574. PMID 29533245.
  121. 121.0 121.1 Rutjes, AW; Jüni, P; da Costa, BR; Trelle, S; Nüesch, E; Reichenbach, S (August 2012). "Viscosupplementation for osteoarthritis of the knee: a systematic review and meta-analysis". Annals of Internal Medicine. 157 (3): 180–191. doi:10.7326/0003-4819-157-3-201208070-00473. PMID 22868835. S2CID 5660398.
  122. Jevsevar, D; Donnelly, P; Brown, GA; Cummins, DS (December 2015). "Viscosupplementation for Osteoarthritis of the Knee: A Systematic Review of the Evidence". The Journal of Bone and Joint Surgery. American Volume. 97 (24): 2047–2060. doi:10.2106/jbjs.n.00743. PMID 26677239.
  123. Witteveen, AG; Hofstad, CJ; Kerkhoffs, GM (October 2015). "Hyaluronic acid and other conservative treatment options for osteoarthritis of the ankle". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2015 (10): CD010643. doi:10.1002/14651858.CD010643.pub2. PMC 9254328. PMID 26475434. It is unclear if there is a benefit or harm for HA as treatment for ankle OA
  124. Kampen, WU; Boddenberg-Pätzold, B; Fischer, M; Gabriel, M; Klett, R; Konijnenberg, M; Kresnik, E; Lellouche, H; Paycha, F; Terslev, L; Turkmen, C; van der Zant, F; Antunovic, L; Panagiotidis, E; Gnanasegaran, G; Kuwert, T; Van den Wyngaert, T (January 2022). "The EANM guideline for radiosynoviorthesis". European Journal of Nuclear Medicine and Molecular Imaging. 49 (2): 681–708. doi:10.1007/s00259-021-05541-7. PMC 8803784. PMID 34671820.
  125. Khoshbin, A; Leroux, T; Wasserstein, D; Marks, P; Theodoropoulos, J; Ogilvie-Harris, D; Gandhi, R; Takhar, K; Lum, G; Chahal, J (December 2013). "The efficacy of platelet-rich plasma in the treatment of symptomatic knee osteoarthritis: a systematic review with quantitative synthesis". Arthroscopy. 29 (12): 2037–2048. doi:10.1016/j.arthro.2013.09.006. PMID 24286802.
  126. Rodriguez-Merchan, EC (September 2013). "Intraarticular Injections of Platelet-rich Plasma (PRP) in the Management of Knee Osteoarthritis". The Archives of Bone and Joint Surgery. 1 (1): 5–8. PMC 4151401. PMID 25207275.
  127. Moraes, VY; Lenza, M; Tamaoki, MJ; Faloppa, F; Belloti, JC (April 2014). "Platelet-rich therapies for musculoskeletal soft tissue injuries". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2014 (4): CD010071. doi:10.1002/14651858.CD010071.pub3. PMC 6464921. PMID 24782334.
  128. Manke, E; N, Yeo Eng Meng; Rammelt, S (2020). "Ankle Arthrodesis - a Review of Current Techniques and Results". Acta Chirurgiae Orthopaedicae et Traumatologiae Cechoslovaca. 87 (4): 225–236. doi:10.55095/achot2020/035. PMID 32940217. S2CID 221770606.
  129. Santaguida, PL; Hawker, GA; Hudak, PL; Glazier, R; Mahomed, NN; Kreder, HJ; Coyte, PC; Wright, JG (December 2008). "Patient characteristics affecting the prognosis of total hip and knee joint arthroplasty: a systematic review". Canadian Journal of Surgery. Journal Canadien de Chirurgie. 51 (6): 428–436. PMC 2592576. PMID 19057730.
  130. Carr, AJ; Robertsson, O; Graves, S; Price, AJ; Arden, NK; Judge, A; Beard, DJ (April 2012). "Knee replacement". Lancet. 379 (9823): 1331–1340. doi:10.1016/S0140-6736(11)60752-6. PMID 22398175. S2CID 28484710.
  131. Jenkins, PJ; Clement, ND; Hamilton, DF; Gaston, P; Patton, JT; Howie, CR (January 2013). "Predicting the cost-effectiveness of total hip and knee replacement: a health economic analysis". The Bone & Joint Journal. 95-B (1): 115–121. doi:10.1302/0301-620X.95B1.29835. PMID 23307684.
  132. Daigle, ME; Weinstein, AM; Katz, JN; Losina, E (October 2012). "The cost-effectiveness of total joint arthroplasty: a systematic review of published literature". Best Practice & Research. Clinical Rheumatology. 26 (5): 649–658. doi:10.1016/j.berh.2012.07.013. PMC 3879923. PMID 23218429.
  133. Ferket, BS; Feldman, Z; Zhou, J; Oei, EH; Bierma-Zeinstra, SM; Mazumdar, M (March 2017). "Impact of total knee replacement practice: cost effectiveness analysis of data from the Osteoarthritis Initiative". BMJ. 356: j1131. doi:10.1136/bmj.j1131. PMC 6284324. PMID 28351833.
  134. Shan, L; Shan, B; Suzuki, A; Nouh, F; Saxena, A (January 2015). "Intermediate and long-term quality of life after total knee replacement: a systematic review and meta-analysis". The Journal of Bone and Joint Surgery. American Volume (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 97 (2): 156–168. doi:10.2106/JBJS.M.00372. PMID 25609443.
  135. Rat, AC; Guillemin, F; Osnowycz, G; Delagoutte, JP; Cuny, C; Mainard, D; Baumann, C (January 2010). "Total hip or knee replacement for osteoarthritis: mid- and long-term quality of life". Arthritis Care & Research. 62 (1): 54–62. doi:10.1002/acr.20014. PMID 20191491. S2CID 27864530.
  136. Singh, JA; Sperling, J; Buchbinder, R; McMaken, K (October 2010). "Surgery for shoulder osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews (10): CD008089. doi:10.1002/14651858.CD008089.pub2. PMID 20927773.
  137. "Osteochondral Autograft & Allograft". Washington University Orthopedics. สืบค้นเมื่อ 2020-01-26.
  138. Favinger, JL; Ha, AS; Brage, ME; Chew, FS (2015). "Osteoarticular transplantation: recognizing expected postsurgical appearances and complications". Radiographics. 35 (3): 780–792. doi:10.1148/rg.2015140070. PMID 25969934.
  139. Hunziker, EB; Lippuner, K; Keel, MJ; Shintani, N (March 2015). "An educational review of cartilage repair: precepts & practice--myths & misconceptions--progress & prospects". Osteoarthritis and Cartilage. 23 (3): 334–350. doi:10.1016/j.joca.2014.12.011. PMID 25534362.
  140. Mistry, H; Connock, M; Pink, J; Shyangdan, D; Clar, C; Royle, P; Court, R; Biant, LC; Metcalfe, A; Waugh, N (February 2017). "Autologous chondrocyte implantation in the knee: systematic review and economic evaluation". Health Technology Assessment. 21 (6): 1–294. doi:10.3310/hta21060. PMC 5346885. PMID 28244303.
  141. 141.0 141.1 141.2 Al Mana, L; Rajaratnam, K (November 2020). "Cochrane in CORR®: Shoulder Replacement Surgery For Osteoarthritis And Rotator Cuff Tear Arthropathy". Clinical Orthopaedics and Related Research. 478 (11): 2431–2433. doi:10.1097/CORR.0000000000001523. PMC 7571914. PMID 33055541.
  142. 142.0 142.1 142.2 Craig, RS; Goodier, H; Singh, JA; Hopewell, S; Rees, JL (April 2020). "Shoulder replacement surgery for osteoarthritis and rotator cuff tear arthropathy". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2020 (4): CD012879. doi:10.1002/14651858.CD012879.pub2. PMC 7173708. PMID 32315453.
  143. Brouwer, RW; Huizinga, MR; Duivenvoorden, T; van Raaij, TM; Verhagen, AP; Bierma-Zeinstra, SM; Verhaar, JA (December 2014). "Osteotomy for treating knee osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2014 (12): CD004019. doi:10.1002/14651858.CD004019.pub4. PMC 7173694. PMID 25503775.
  144. 144.0 144.1 Palmer, JS; Monk, AP; Hopewell, S; Bayliss, LE; Jackson, W; Beard, DJ; Price, AJ (July 2019). "Surgical interventions for symptomatic mild to moderate knee osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2019 (7): CD012128. doi:10.1002/14651858.CD012128.pub2. PMC 6639936. PMID 31322289.
  145. Nelson, AE; Allen, KD; Golightly, YM; Goode, AP; Jordan, JM (June 2014). "A systematic review of recommendations and guidelines for the management of osteoarthritis: The chronic osteoarthritis management initiative of the U.S. bone and joint initiative". Seminars in Arthritis and Rheumatism. 43 (6): 701–712. doi:10.1016/j.semarthrit.2013.11.012. PMID 24387819.
  146. Katz, JN; Brownlee, SA; Jones, MH (February 2014). "The role of arthroscopy in the management of knee osteoarthritis". Best Practice & Research. Clinical Rheumatology. 28 (1): 143–156. doi:10.1016/j.berh.2014.01.008. PMC 4010873. PMID 24792949.
  147. Thorlund, JB; Juhl, CB; Roos, EM; Lohmander, LS (June 2015). "Arthroscopic surgery for degenerative knee: systematic review and meta-analysis of benefits and harms". BMJ. 350: h2747. doi:10.1136/bmj.h2747. PMC 4469973. PMID 26080045.
  148. Burdett, N; McNeil, JD (September 2012). "Difficulties with assessing the benefit of glucosamine sulphate as a treatment for osteoarthritis". International Journal of Evidence-Based Healthcare. 10 (3): 222–226. doi:10.1111/j.1744-1609.2012.00279.x. PMID 22925619.
  149. Wandel, S; Jüni, P; Tendal, B; Nüesch, E; Villiger, PM; Welton, NJ; Reichenbach, S; Trelle, S (September 2010). "Effects of glucosamine, chondroitin, or placebo in patients with osteoarthritis of hip or knee: network meta-analysis". BMJ. 341: c4675. doi:10.1136/bmj.c4675. PMC 2941572. PMID 20847017.
  150. Wu, D; Huang, Y; Gu, Y; Fan, W (June 2013). "Efficacies of different preparations of glucosamine for the treatment of osteoarthritis: a meta-analysis of randomised, double-blind, placebo-controlled trials". International Journal of Clinical Practice. 67 (6): 585–594. doi:10.1111/ijcp.12115. PMID 23679910. S2CID 24251411.
  151. Chou, Roger; McDonagh, Marian S; Nakamoto, Erika; Griffin, Jessica (Oct 2011). Analgesics for Osteoarthritis: An Update of the 2006 Comparative Effectiveness Review (Report). Comparative Effectiveness Reviews. Vol. 38. Agency for Healthcare Research and Quality (AHRQ). PMID 22091473. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-10.
  152. Miller, KL; Clegg, DO (February 2011). "Glucosamine and chondroitin sulfate". Rheumatic Disease Clinics of North America. 37 (1): 103–118. doi:10.1016/j.rdc.2010.11.007. PMID 21220090. The best current evidence suggests that the effect of these supplements, alone or in combination, on OA pain, function, and radiographic change is marginal at best.
  153. Rovati, LC; Girolami, F; Persiani, S (June 2012). "Crystalline glucosamine sulfate in the management of knee osteoarthritis: efficacy, safety, and pharmacokinetic properties". Therapeutic Advances in Musculoskeletal Disease. 4 (3): 167–180. doi:10.1177/1759720X12437753. PMC 3400104. PMID 22850875.
  154. Gregory, PJ; Fellner, C (June 2014). "Dietary supplements as disease-modifying treatments in osteoarthritis: a critical appraisal". P & T. 39 (6): 436–452. PMC 4103717. PMID 25050057.
  155. Zhang, W; Moskowitz, RW; Nuki, G; Abramson, S; Altman, RD; Arden, N; Bierma-Zeinstra, S; Brandt, KD; Croft, P; Doherty, M; Dougados, M; Hochberg, M; Hunter, DJ; Kwoh, K; Lohmander, LS; Tugwell, P (February 2008). "OARSI recommendations for the management of hip and knee osteoarthritis, Part II: OARSI evidence-based, expert consensus guidelines". Osteoarthritis and Cartilage. 16 (2): 137–162. doi:10.1016/j.joca.2007.12.013. PMID 18279766.
  156. 156.0 156.1 Henrotin, Y; Mobasheri, A; Marty, M (January 2012). "Is there any scientific evidence for the use of glucosamine in the management of human osteoarthritis?". Arthritis Research & Therapy. 14 (1): 201. doi:10.1186/ar3657. PMC 3392795. PMID 22293240.
  157. Bruyère, O; Cooper, C; Pelletier, JP; Branco, J; Brandi M, Luisa; Guillemin, F; Hochberg, MC; Kanis, JA; Kvien, TK; Martel-Pelletier, J; Rizzoli, R; Silverman, S; Reginster, JY (December 2014). "An algorithm recommendation for the management of knee osteoarthritis in Europe and internationally: a report from a task force of the European Society for Clinical and Economic Aspects of Osteoporosis and Osteoarthritis (ESCEO)". Seminars in Arthritis and Rheumatism. 44 (3): 253–263. doi:10.1016/j.semarthrit.2014.05.014. hdl:10362/145650. PMID 24953861.
  158. Vangsness, CT; Spiker, W; Erickson, J (January 2009). "A review of evidence-based medicine for glucosamine and chondroitin sulfate use in knee osteoarthritis". Arthroscopy. 25 (1): 86–94. doi:10.1016/j.arthro.2008.07.020. PMID 19111223.
  159. Singh, JA; Noorbaloochi, S; MacDonald, R; Maxwell, LJ (January 2015). Singh, JA (บ.ก.). "Chondroitin for osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 1 (1): CD005614. doi:10.1002/14651858.CD005614.pub2. PMC 4881293. PMID 25629804.
  160. 160.0 160.1 160.2 160.3 160.4 Cameron, M; Chrubasik, S (May 2014). "Oral herbal therapies for treating osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2014 (5): CD002947. doi:10.1002/14651858.CD002947.pub2. PMC 4494689. PMID 24848732.
  161. Christiansen, BA; Bhatti, S; Goudarzi, R; Emami, S (January 2015). "Management of Osteoarthritis with Avocado/Soybean Unsaponifiables". Cartilage. 6 (1): 30–44. doi:10.1177/1947603514554992. PMC 4303902. PMID 25621100.
  162. "Piascledine" (PDF). Haute Autorité de santé. 2013-07-25. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-30.
  163. Wang, Z; Singh, A; Jones, G; Winzenberg, T; Ding, C; Chopra, A; Das, S; Danda, D; Laslett, L; Antony, B (January 2021). "Efficacy and Safety of Turmeric Extracts for the Treatment of Knee Osteoarthritis: a Systematic Review and Meta-analysis of Randomised Controlled Trials". Current Rheumatology Reports. 23 (2): 11. doi:10.1007/s11926-020-00975-8. PMID 33511486. S2CID 231724282.
  164. Rutjes, AW; Nüesch, E; Reichenbach, S; Jüni, P (October 2009). "S-Adenosylmethionine for osteoarthritis of the knee or hip". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2009 (4): CD007321. doi:10.1002/14651858.CD007321.pub2. PMC 7061276. PMID 19821403.
  165. Singh, A; Kotlo, A; Wang, Z; Dissanayaka, T; Das, S; Antony, B (January 2022). "Efficacy and safety of hydroxychloroquine in osteoarthritis: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials". The Korean Journal of Internal Medicine. 37 (1): 210–221. doi:10.3904/kjim.2020.605. PMC 8747931. PMID 33882635.
  166. Singh, A; Molina-Garcia, P; Hussain, S; Paul, A; Das, SK; Leung, YY; Hill, CL; Danda, D; Samuels, J; Antony, B (March 2023). "Efficacy and safety of colchicine for the treatment of osteoarthritis: a systematic review and meta-analysis of intervention trials". Clinical Rheumatology. 42 (3): 889–902. doi:10.1007/s10067-022-06402-w. PMC 9935673. PMID 36224305.
  167. Oe, M; Tashiro, T; Yoshida, H; Nishiyama, H; Masuda, Y; Maruyama, K; Koikeda, T; Maruya, R; Fukui, N (January 2016). "Oral hyaluronan relieves knee pain: a review". Nutrition Journal. 15: 11. doi:10.1186/s12937-016-0128-2. PMC 4729158. PMID 26818459.
  168. Hussain, S; Singh, A; Akhtar, M; Najmi, AK (September 2017). "Vitamin D supplementation for the management of knee osteoarthritis: a systematic review of randomized controlled trials". Rheumatology International. 37 (9): 1489–1498. doi:10.1007/s00296-017-3719-0. PMID 28421358. S2CID 23994681.
  169. Lin, X; Huang, K; Zhu, G; Huang, Z; Qin, A; Fan, S (September 2016). "The Effects of Acupuncture on Chronic Knee Pain Due to Osteoarthritis: A Meta-Analysis". The Journal of Bone and Joint Surgery. American Volume. 98 (18): 1578–1585. doi:10.2106/jbjs.15.00620. PMID 27655986.
  170. Manheimer, E; Cheng, K; Linde, K; Lao, L; Yoo, J; Wieland, S; van der Windt, DA; Berman, BM; Bouter, LM (January 2010). Manheimer, E (บ.ก.). "Acupuncture for peripheral joint osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2010 (1): CD001977. doi:10.1002/14651858.CD001977.pub2. PMC 3169099. PMID 20091527.
  171. Manheimer, E; Cheng, K; Wieland, LS; Shen, X; Lao, L; Guo, M; Berman, BM (May 2018). "Acupuncture for hip osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 5 (5): CD013010. doi:10.1002/14651858.CD013010. PMC 5984198. PMID 29729027.
  172. Wang, SM; Kain, ZN; White, PF (February 2008). "Acupuncture analgesia: II. Clinical considerations" (PDF). Anesthesia and Analgesia. 106 (2): 611–21, table of contents. doi:10.1213/ane.0b013e318160644d. PMID 18227323. S2CID 24912939. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-27.
  173. Rutjes, AW; Nüesch, E; Sterchi, R; Kalichman, L; Hendriks, E; Osiri, M; Brosseau, L; Reichenbach, S; Jüni, P (October 2009). Rutjes, AW (บ.ก.). "Transcutaneous electrostimulation for osteoarthritis of the knee". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2009 (4): CD002823. doi:10.1002/14651858.CD002823.pub2. PMC 7120411. PMID 19821296.
  174. Brosseau, L; Welch, V; Wells, G; DeBie, R; Gam, A; Harman, K; Morin, M; Shea, B; Tugwell, P (2004). Brosseau, L (บ.ก.). "Low level laser therapy (Classes I, II and III) for treating osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews (3): CD002046. doi:10.1002/14651858.CD002046.pub2. PMID 15266461. (Retracted. If this is intentional, please replace {{Retracted}} with {{Retracted|intentional=yes}}.)
  175. Bjordal, JM; Johnson, MI; Lopes-Martins, RA; Bogen, B; Chow, R; Ljunggren, AE (June 2007). "Short-term efficacy of physical interventions in osteoarthritic knee pain. A systematic review and meta-analysis of randomised placebo-controlled trials". BMC Musculoskeletal Disorders. 8 (1): 51. doi:10.1186/1471-2474-8-51. PMC 1931596. PMID 17587446.
  176. Verhagen, AP; Bierma-Zeinstra, SM; Boers, M; Cardoso, JR; Lambeck, J; de Bie, RA; de Vet, HC (October 2007). "Balneotherapy for osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews (4): CD006864. doi:10.1002/14651858.CD006864. PMID 17943920.
  177. 177.0 177.1 Brosseau, L; Yonge, KA; Robinson, V; Marchand, S; Judd, M; Wells, G; Tugwell, P (2003). "Thermotherapy for treatment of osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2003 (4): CD004522. doi:10.1002/14651858.CD004522. PMC 6669258. PMID 14584019.
  178. Rutjes, AW; Nüesch, E; Sterchi, R; Jüni, P (January 2010). "Therapeutic ultrasound for osteoarthritis of the knee or hip". The Cochrane Database of Systematic Reviews (1): CD003132. doi:10.1002/14651858.CD003132.pub2. PMID 20091539.
  179. Wu, Y; Zhu, S; Lv, Z; Kan, S; Wu, Q; Song, W; Ning, G; Feng, S (December 2019). "Effects of therapeutic ultrasound for knee osteoarthritis: a systematic review and meta-analysis". Clinical Rehabilitation. 33 (12): 1863–1875. doi:10.1177/0269215519866494. PMID 31382781. S2CID 199452082.
  180. Wallis, JA; Taylor, NF (December 2011). "Pre-operative interventions (non-surgical and non-pharmacological) for patients with hip or knee osteoarthritis awaiting joint replacement surgery--a systematic review and meta-analysis". Osteoarthritis and Cartilage. 19 (12): 1381–1395. doi:10.1016/j.joca.2011.09.001. PMID 21959097.
  181. Li, S; Yu, B; Zhou, D; He, C; Zhuo, Q; Hulme, JM (December 2013). "Electromagnetic fields for treating osteoarthritis". The Cochrane Database of Systematic Reviews (12): CD003523. doi:10.1002/14651858.CD003523.pub2. PMID 24338431.
  182. Bellamy, N; Campbell, J; Robinson, V; Gee, T; Bourne, R; Wells, G (April 2006). "Viscosupplementation for the treatment of osteoarthritis of the knee". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2006 (2): CD005321. doi:10.1002/14651858.cd005321.pub2. PMC 8884110. PMID 16625635.
  183. "WHO Disease and injury country estimates". World Health Organization. 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-11. สืบค้นเมื่อ 2009-11-11.
  184. 184.0 184.1 184.2 Cross, M; Smith, E; Hoy, D; Nolte, S; Ackerman, I; Fransen, M; Bridgett, L; Williams, S; Guillemin, F; Hill, CL; Laslett, LL; Jones, G; Cicuttini, F; Osborne, R; Vos, T; Buchbinder, R; Woolf, A; March, L (July 2014). "The global burden of hip and knee osteoarthritis: estimates from the global burden of disease 2010 study". Annals of the Rheumatic Diseases. 73 (7): 1323–1330. doi:10.1136/annrheumdis-2013-204763. PMID 24553908. S2CID 37565913.
  185. Vos, T; Flaxman, AD; Naghavi, M; Lozano, R; Michaud, C; Ezzati, M; และคณะ (December 2012). "Years lived with disability (YLDs) for 1160 sequelae of 289 diseases and injuries 1990-2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010". Lancet. 380 (9859): 2163–2196. doi:10.1016/S0140-6736(12)61729-2. PMC 6350784. PMID 23245607.
  186. "Table 9: Estimated prevalence of moderate and severe disability (millions) for leading disabling conditions by age, for high-income and low- and middle-income countries, 2004". The Global Burden of Disease: 2004 Update. Geneva: World Health Organization (WHO). 2008. p. 35. ISBN 978-92-4-156371-0.
  187. Hoveidaei, AH; Nakhostin-Ansari, A; Hosseini-Asl, SH; Khonji, MS; Razavi, SE; Darijani, SR; Citak, M (June 2023). "Increasing burden of hip osteoarthritis in the Middle East and North Africa (MENA): an epidemiological analysis from 1990 to 2019". Archives of Orthopaedic and Trauma Surgery. 143 (6): 3563–3573. doi:10.1007/s00402-022-04582-3. PMID 36038782. S2CID 251912479.
  188. Hoveidaei, AH; Nakhostin-Ansari, A; Chalian, M; Roshanshad, A; Khonji, MS; Mashhadiagha, A; Pooyan, A; Citak, M (April 2023). "Burden of knee osteoarthritis in the Middle East and North Africa (MENA): an epidemiological analysis from 1990 to 2019". Archives of Orthopaedic and Trauma Surgery. 143 (10): 6323–6333. doi:10.1007/s00402-023-04852-8. PMID 37005934. S2CID 257911199.
  189. Hoveidaei, AH; Nakhostin-Ansari, A; Chalian, M; Razavi, SE; Khonji, MS; Hosseini-Asl, SH; Darijani, SR; Pooyan, A; LaPorte, DM (March 2023). "Burden of Hand Osteoarthritis in the Middle East and North Africa (MENA): An Epidemiological Analysis From 1990 to 2019". The Journal of Hand Surgery. 48 (3): 245–256. doi:10.1016/j.jhsa.2022.11.016. PMID 36710229. S2CID 256385406.
  190. 190.0 190.1 "Arthritis-Related Statistics: Prevalence of Arthritis in the United States". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2016-11-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-29.
  191. Green, GA (2001). "Understanding NSAIDs: from aspirin to COX-2". Clinical Cornerstone. 3 (5): 50–60. doi:10.1016/S1098-3597(01)90069-9. PMID 11464731.
  192. Pfuntner A., Wier L.M., Stocks C. Most Frequent Conditions in U.S. Hospitals, 2011. HCUP Statistical Brief #162. September 2013. Agency for Healthcare Research and Quality, Rockville, Maryland. "Most Frequent Conditions in U.S. Hospitals, 2011 #162". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-02-09.
  193. Torio, CM; Andrews, RM (August 2013). "National Inpatient Hospital Costs: The Most Expensive Conditions by Payer, 2011". Rockville, Maryland: Agency for Healthcare Research and Quality. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-14.
  194. Pfuntner, A; Wier, LM; Steiner, C (December 2013). "Costs for Hospital Stays in the United States, 2011: Statistical Brief #168". Healthcare Cost and Utilization Project (HCUP) Statistical Briefs [Internet]. Rockville (MD): Agency for Healthcare Research and Quality (US) 2006 February. PMID 24455786.
  195. "PEMFs and knee osteoarthritis - almagia" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-11-08. สืบค้นเมื่อ 2023-08-18.
  196. Singh, A; Das, S; Chopra, A; Danda, D; Paul, BJ; March, L; Mathew, AJ; Shenoy, P; Gotay, C; Palmer, AJ; Antony, B (August 2022). "Burden of osteoarthritis in India and its states, 1990-2019: findings from the Global Burden of disease study 2019". Osteoarthritis and Cartilage. 30 (8): 1070–1078. doi:10.1016/j.joca.2022.05.004. PMID 35598766.
  197. Devaraj, TL (2011). "Chapter 41: Nature cure yoga for osteoarthritis". Nature Cure for Common Diseases. New Delhi: Arya Publication. p. 368. ISBN 978-81-89093-74-7.
  198. Tanchev, P (2017-04-17). "Osteoarthritis or Osteoarthrosis: Commentary on Misuse of Terms". Reconstructive Review. 7 (1). doi:10.15438/rr.7.1.178 (inactive 2024-07-09). ISSN 2331-2270.{{cite journal}}: CS1 maint: DOI inactive as of กรกฎาคม 2024 (ลิงก์)
  199. Nganvongpanit, K; Soponteerakul, R; Kaewkumpai, P; Punyapornwithaya, V; Buddhachat, K; Nomsiri, R; Kaewmong, P; Kittiwatanawong, K; Chawangwongsanukun, R; Angkawanish, T; Thitaram, C; Mahakkanukrauh, P (July 2017). "Osteoarthritis in two marine mammals and 22 land mammals: learning from skeletal remains". Journal of Anatomy. Wiley. 231 (1): 140–155. doi:10.1111/joa.12620. PMC 5472524. PMID 28542897.
  200. Molnar, RE (2001). "Theropod Paleopathology: A Literature Survey". ใน Tanke, DH; Carpenter, K; Skrepnick, MW (บ.ก.). Mesozoic Vertebrate Life. Indiana University Press. pp. 337–363. ISBN 978-0-253-33907-2.
  201. Civjan, N (2012). Chemical Biology: Approaches to Drug Discovery and Development to Targeting Disease. John Wiley & Sons. p. 313. ISBN 978-1-118-43767-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-31.
  202. Bruyère, O; Burlet, N; Delmas, PD; Rizzoli, R; Cooper, C; Reginster, JY (December 2008). "Evaluation of symptomatic slow-acting drugs in osteoarthritis using the GRADE system". BMC Musculoskeletal Disorders. 9: 165. doi:10.1186/1471-2474-9-165. PMC 2627841. PMID 19087296.
  203. Guincamp, C; Pap, T; Schedel, J; Pap, G; Moller-Ladner, U; Gay, RE; Gay, S (2000). "Gene therapy in osteoarthritis". Joint Bone Spine. 67 (6): 570–571. doi:10.1016/s1297-319x(00)00215-3. PMID 11195326.
  204. Lee, KH; Song, SU; Hwang, TS; Yi, Y; Oh, IS; Lee, JY; Choi, KB; Choi, MS; Kim, SJ (September 2001). "Regeneration of hyaline cartilage by cell-mediated gene therapy using transforming growth factor beta 1-producing fibroblasts". Human Gene Therapy. 12 (14): 1805–1813. doi:10.1089/104303401750476294. PMID 11560773. S2CID 24727257.
  205. Noh, MJ; Lee, KH (November 2015). "Orthopedic cellular therapy: An overview with focus on clinical trials". World Journal of Orthopedics. 6 (10): 754–761. doi:10.5312/wjo.v6.i10.754. PMC 4644862. PMID 26601056.
  206. "Seoul revokes license for gene therapy drug Invossa". Yonhap News Agency. 2019-05-28.
  207. 207.0 207.1 "Korea OKs first cell gene therapy 'Invossa'". The Korea Herald. 2017-07-12. สืบค้นเมื่อ 2017-11-23.
  208. Chu, CR; Andriacchi, TP (July 2015). "Dance between biology, mechanics, and structure: A systems-based approach to developing osteoarthritis prevention strategies". Journal of Orthopaedic Research. 33 (7): 939–947. doi:10.1002/jor.22817. PMC 5823013. PMID 25639920.
  209. Govindaraj, K; Meteling, M; van Rooij, J; Becker, M; Wijnen, AJ; Ramos, YF; van Meurs, J; Post, JN; Leijten, J (July 2024). "Osmolarity-Induced Altered Intracellular Molecular Crowding Drives Osteoarthritis Pathology". Advanced Science. 11 (11): e2306722. doi:10.1002/advs.202306722. PMC 10953583. PMID 38213111. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่า |pmc= (help)
  210. Kraus, VB; Blanco, FJ; Englund, M; Henrotin, Y; Lohmander, LS; Losina, E; Önnerfjord, P; Persiani, S (May 2015). "OARSI Clinical Trials Recommendations: Soluble biomarker assessments in clinical trials in osteoarthritis". Osteoarthritis and Cartilage. 23 (5): 686–697. doi:10.1016/j.joca.2015.03.002. PMC 4430113. PMID 25952342.
  211. Singh, A; Antony, B (2023). "Magnetic resonance imaging and biochemical markers of cartilage disease". Cartilage Tissue and Knee Joint Biomechanics (ภาษาอังกฤษ) (1st ed.). Elsevier. pp. Chapter 10. ISBN 978-0-323-90597-8.
  212. Antony, B; Singh, A (July 2021). "Imaging and Biochemical Markers for Osteoarthritis". Diagnostics. 11 (7): 1205. doi:10.3390/diagnostics11071205. PMC 8305947. PMID 34359288.
  213. Hosnijeh, FS; Runhaar, J; van Meurs, JB; Bierma-Zeinstra, SM (September 2015). "Biomarkers for osteoarthritis: Can they be used for risk assessment? A systematic review". Maturitas. 82 (1): 36–49. doi:10.1016/j.maturitas.2015.04.004. PMID 25963100.
  214. Nepple, JJ; Thomason, KM; An, TW; Harris-Hayes, M; Clohisy, JC (May 2015). "What is the utility of biomarkers for assessing the pathophysiology of hip osteoarthritis? A systematic review". Clinical Orthopaedics and Related Research. 473 (5): 1683–1701. doi:10.1007/s11999-015-4148-6. PMC 4385333. PMID 25623593.
  215. Nguyen, LT; Sharma, AR; Chakraborty, C; Saibaba, B; Ahn, ME; Lee, SS (March 2017). "Review of Prospects of Biological Fluid Biomarkers in Osteoarthritis". International Journal of Molecular Sciences. 18 (3): 601. doi:10.3390/ijms18030601. PMC 5372617. PMID 28287489.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก