ข้ามไปเนื้อหา

ข้ออักเสบติดเชื้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ข้ออักเสบเหตุติดเชื้อ)
ข้ออักเสบติดเชื้อ
(Septic arthritis)
ชื่ออื่นInfectious arthritis, joint infection
ภาพจากการส่องกล้องเข้าข้อต่อ แสดงให้เห็นผิวข้อต่อที่มีการอักเสบติดเชื้อ[1]
สาขาวิชาศัลยกรรมกระดูก
อาการข้ออักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน มักเป็นที่ตำแหน่งเดียว[2]
การตั้งต้นรวดเร็ว[2]
สาเหตุแบคทีเรีย, ไวรัส, เชื้อรา, ปรสิต[3]
ปัจจัยเสี่ยงการใส่ข้อเทียม, เคยเป็นข้ออักเสบ, เบาหวาน, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง[2]
วิธีวินิจฉัยการเจาะดูดน้ำจากข้อต่อ และส่งตรวจเพาะเชื้อ[2]
โรคอื่นที่คล้ายกันข้ออักเสบรูมาตอยด์, ข้ออักเสบปฏิกิริยา, ข้อเสื่อม, เกาต์[2][3]
การรักษายาปฏิชีวนะ, การผ่าตัด[2]
ยาแวนโคมัยซิน, เซฟไตรอะโซน, เซฟตาซิดีม[2]
พยากรณ์โรคอัตราตาย 15% เมื่อได้รับการรักษา, 66% หากไม่ได้รับการรักษา[2]
ความชุก5 per 100,000 per year[3]

ข้ออักเสบติดเชื้อ (อังกฤษ: septic arthritis, infectious arthritis) หรือ ข้ออักเสบแบบมีหนอง (อังกฤษ: suppurative arthritis) คือภาวะที่มีเชื้อก่อโรคเข้าไปอยู่ในข้อต่อแล้วทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่อ โดยทั่วไปแล้วจะทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่ข้อต่อที่อักเสบ ซึ่งมักเป็นที่ข้อต่อเพียงตำแหน่งเดียว และมีผลให้ไม่สามารถขยับข้อต่อที่อักเสบได้มากเท่าปกติ โรคมักเป็นขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมได้ ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ อาจพบเป็นหลายข้อต่อพร้อมกันได้แต่พบไม่บ่อย โดยมักพบในเด็กเล็กหรือทารกแรกเกิด[3][2][4] ทั้งนี้ผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยหัดเดินอาจมีอาการที่ไม่ชัดเจนและคล้ายคลึงกับอาการของโรคอื่นๆ ได้ ทั้งโรคที่เป็นโรคติดเชื้อและไม่ใช่โรคติดเชื้อ[4]

ข้ออักเสบติดเชื้อในผู้ป่วยเด็กมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแบบไม่จำเพาะเจาะจง และมักเป็นการติดเชื้อผ่านทางกระแสเลือดเข้าไปยังข้อต่อ โดยมักพบในเด็กที่ไม่มีโรคประจำตัว ช่องทางอื่นของการติดเชื้อคือการเกิดการบาดเจ็บต่อข้อต่อโดยตรง หรือเกิดฝีหนองบริเวณข้างเคียงแล้วลุกลามมายังข้อต่อ สาเหตุอื่นที่พบได้น้อยกว่าคือการติดเชื้อแบคทีเรียแบบจำเพาะบางชนิด เช่น เชื้อวัณโรค ไวรัส เชื้อรา และปรสิต[3] เด็กที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในลักษณะนี้ได้แก่ ทารกแรกเกิด โดยเฉพาะทารกเกิดก่อนกำหนด เด็กและวัยรุ่นที่มีโรคเลือด โรคกระดูกเจริญผิดเพี้ยนจากไต และภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ส่วนในผู้ใหญ่กลุ่มเสี่ยงจะเป็นคนที่ใส่ข้อเทียม คนที่เคยเป็นข้ออักเสบจากสาเหตุอื่นๆ มาก่อน เบาหวาน และคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง[2] การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากประวัติและการตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การเจาะน้ำในข้อต่อส่งตรวจ และการสร้างภาพทางการแพทย์ เช่น การอัลตราซาวด์ข้อต่อ[4]

ผู้ป่วยเด็กที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมหรือทันเวลาอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ การรักษาในช่วงแรกมักเป็นการให้ยาปฏิชีวนะ เช่น แวนโคมัยซิน เซฟไตรอะโซน หรือเซฟตาซิดีม[2] หากเป็นที่ข้อต่อขนาดใหญ่ (เช่น ข้อสะโพก ข้อไหล่) มักต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อระบายหนองออกจากข้อ[4][5][2] หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวกับข้อต่อได้ เช่น ข้อต่อถูกทำลายจนไม่สามารถฟื้นฟูได้ หรือมีข้อเคลื่อน เป็นต้น[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hagino, Tetsuo; Wako, Masanori; Ochiai, Satoshi (1 October 2011). "Arthroscopic washout of the ankle for septic arthritis in a three-month-old boy". Sports Medicine, Arthroscopy, Rehabilitation, Therapy & Technology. 3 (1): 21. doi:10.1186/1758-2555-3-21. PMC 3192658. PMID 21961455.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 Horowitz, DL; Katzap, E; Horowitz, S; Barilla-LaBarca, ML (15 September 2011). "Approach to septic arthritis". American Family Physician. 84 (6): 653–60. PMID 21916390.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Arthritis, Infectious". NORD (National Organization for Rare Disorders). 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2017. สืบค้นเมื่อ 19 July 2017.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 El-Sobky, T; Mahmoud, S (July 2021). "Acute osteoarticular infections in children are frequently forgotten multidiscipline emergencies: beyond the technical skills". EFORT Open Reviews. 6 (7): 584–592. doi:10.1302/2058-5241.6.200155. ISSN 2396-7544. PMC 8335954. PMID 34377550.
  5. Swarup, I; LaValva, S; Shah, R; Sankar, WN (February 2020). "Septic Arthritis of the Hip in Children: A Critical Analysis Review". JBJS Reviews. 8 (2): e0103. doi:10.2106/JBJS.RVW.19.00103. PMID 32224630. S2CID 214731307.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก