ข้ออักเสบรูมาตอยด์
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) | |
---|---|
มือที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ระดับของการบวมและการเสียรูปนี้มักไม่เกิดขึ้นกับการรักษาในปัจจุบัน | |
สาขาวิชา | วิทยารูมาติก, วิทยาภูมิคุ้มกัน |
อาการ | บวม ร้อน และปวดตามข้อต่อ[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | โลหิตจาง, เยื่อหุ้มปอดอักเสบ, เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ[1] |
การตั้งต้น | วัยกลางคน[1] |
ระยะดำเนินโรค | ตลอดชีวิต[1] |
สาเหตุ | ไม่ทราบสาเหตุ[1] |
วิธีวินิจฉัย | วินิจฉัยจากอาการ การตรวจเอกซเรย์ การตรวจเลือด[1][2] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | โรคลูปัส โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน ไฟโบรมัยอัลเจีย[2] |
ยา | ยาระงับปวด, สเตียรอยด์, ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์, ยาต้านรูมาติกที่ปรับเปลี่ยนการดําเนินโรค[1] |
ความชุก | 0.5–1% (ผู้ใหญ่ในประเทศพัฒนาแล้ว)[3] |
การเสียชีวิต | 30,000 คน (ค.ศ. 2015)[4] |
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (อังกฤษ: rheumatoid arthritis, RA) เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อข้อต่อของร่างกายเป็นหลัก[1] ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดที่ข้อต่อ ร่วมกับอาการบวมและร้อน[1] อาการเจ็บปวดและตึงเหล่านี้มักเป็นมากขึ้นหากข้อต่อนั้นได้พัก[1] มักเป็นที่ข้อต่อของมือและข้อมือ และมักเป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง[1] นอกจากข้อต่อแล้วยังสามารถแสดงอาการที่ระบบอื่นของร่างกายได้อีก เช่น เม็ดเลือดแดงต่ำ ปอดอักเสบ หัวใจอักเสบ เป็นต้น[1] นอกจากนี้แล้วผู้ป่วยมักมีอาการไข้และอ่อนเพลียร่วมด้วย[1] อาการเหล่านี้มักค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน[2]
สาเหตุของโรคนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันทั้งด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม[1] กลไกที่ทำให้เกิดโรคเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าทำลายข้อต่อ[1] ทำให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มข้อต่อ และทำให้ปลอกหุ้มข้อต่อหนาตัวขึ้น[1] นอกจากนี้ยังมีผลต่อกระดูกและกระดูกอ่อนอีกด้วย[1] การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำได้โดยดูจากอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย[2] บางรายอาจต้องใช้การตรวจเอกซเรย์หรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยหรือเพื่อแยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออก[1] เช่น โรคลูปัส โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน ไฟโบรมัยอัลเจีย เป็นต้น[2]
การรักษามีเป้าหมายเพื่อลดความเจ็บปวด ลดการอักเสบ และเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของผู้ป่วย[5] เป้าหมายเหล่านี้ทำได้โดยการปรับสมดุลระหว่างการพักและการบริหารข้อต่อ การใช้อุปกรณ์ดามข้อต่อหรืออุปกรณ์ช่วยเหลืออื่น ๆ[1][6][7] มักต้องใช้ยาต่าง ๆ เช่น ยาแก้ปวด สเตียรอยด์ หรือยาแก้อักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ เพื่อบรรเทาอาการ[1] ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยาในกลุ่ม DMARD เช่นไฮดรอกซีคลอโรควิน หรือเมโทเทรกเซท เพื่อชะลอการดำเนินของโรค[1] และบางรายอาจต้องใช้ยา DMARDS แบบชีววัตถุหากใช้ยาอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล[8] แต่อาจมีผลข้างเคียงได้มากกว่า[9] การผ่าตัดจะทำในบางกรณีโดยอาจมีเป้าหมายได้หลายอย่าง เช่น เพื่อซ่อมแซมข้อต่อ เปลี่ยนข้อต่อ หรือเชื่อมข้อต่อเข้าด้วยกัน[1] การรักษาทางเลือกต่าง ๆ โดยรวมแล้วยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าใช้ได้ผล[10][11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 "Handout on Health: Rheumatoid Arthritis". National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases. August 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 30, 2015. สืบค้นเมื่อ July 2, 2015.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Majithia V, Geraci SA (November 2007). "Rheumatoid arthritis: diagnosis and management". The American Journal of Medicine. 120 (11): 936–9. doi:10.1016/j.amjmed.2007.04.005. PMID 17976416.
- ↑ Smolen JS, Aletaha D, McInnes IB (October 2016). "Rheumatoid arthritis" (PDF). Lancet. 388 (10055): 2023–2038. doi:10.1016/S0140-6736(16)30173-8. PMID 27156434. S2CID 37973054.
- ↑ Wang H, Naghavi M, Allen C, Barber RM, Bhutta ZA, Carter A, และคณะ (GBD 2015 Mortality and Causes of Death Collaborators) (October 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/S0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281.
- ↑ "Rheumatoid arthritis in adults: management: recommendations: Guidance and guidelines". NICE. December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-16.
- ↑ Rausch Osthoff AK, Juhl CB, Knittle K, Dagfinrud H, Hurkmans E, Braun J, และคณะ (2018-12-04). "Effects of exercise and physical activity promotion: meta-analysis informing the 2018 EULAR recommendations for physical activity in people with rheumatoid arthritis, spondyloarthritis and hip/knee osteoarthritis". RMD Open. 4 (2): e000713. doi:10.1136/rmdopen-2018-000713. PMC 6307596. PMID 30622734.
- ↑ Park Y, Chang M (January 2016). "Effects of rehabilitation for pain relief in patients with rheumatoid arthritis: a systematic review". Journal of Physical Therapy Science. 28 (1): 304–8. doi:10.1589/jpts.28.304. PMC 4756025. PMID 26957779.
- ↑ Singh JA, Saag KG, Bridges SL, Akl EA, Bannuru RR, Sullivan MC, Vaysbrot E, McNaughton C, Osani M, Shmerling RH, Curtis JR, Furst DE, Parks D, Kavanaugh A, O'Dell J, King C, Leong A, Matteson EL, Schousboe JT, Drevlow B, Ginsberg S, Grober J, St Clair EW, Tindall E, Miller AS, McAlindon T (January 2016). "2015 American College of Rheumatology Guideline for the Treatment of Rheumatoid Arthritis". Arthritis & Rheumatology. 68 (1): 1–26. doi:10.1002/art.39480. PMID 26545940. S2CID 42638848.
- ↑ Singh JA, Wells GA, Christensen R, Tanjong Ghogomu E, Maxwell L, Macdonald JK, Filippini G, Skoetz N, Francis D, Lopes LC, Guyatt GH, Schmitt J, La Mantia L, Weberschock T, Roos JF, Siebert H, Hershan S, Lunn MP, Tugwell P, Buchbinder R (February 2011). "Adverse effects of biologics: a network meta-analysis and Cochrane overview". The Cochrane Database of Systematic Reviews (2): CD008794. doi:10.1002/14651858.CD008794.pub2. PMC 7173749. PMID 21328309.
- ↑ Efthimiou P, Kukar M (March 2010). "Complementary and alternative medicine use in rheumatoid arthritis: proposed mechanism of action and efficacy of commonly used modalities". Rheumatology International. 30 (5): 571–86. doi:10.1007/s00296-009-1206-y. PMID 19876631. S2CID 21179821.
- ↑ "Rheumatoid Arthritis and Complementary Health Approaches". National Center for Complementary and Integrative Health. January 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 5, 2015. สืบค้นเมื่อ July 1, 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
- Rheumatoid arthritis ที่เว็บไซต์ Curlie
- "Rheumatoid Arthritis". MedlinePlus. U.S. National Library of Medicine.