ข้ามไปเนื้อหา

กุลวุฒิ วิทิตศานต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กุลวุฒิ วิทิตศานต์
กุลวุฒิ ใน พ.ศ. 2567
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเล่นวิว
ฉายา: เทพสามเกม (Three-Game God)
ประเทศประเทศไทย
เกิด11 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 (23 ปี)
จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
ส่วนสูง177 cm (5.81 ft)
มือที่ถนัดขวา
ผู้ฝึกสอนภัททพล เงินศรีสุข[1]
ชายเดี่ยว
สถิติการแข่งขัน373 ชนะ, 133 แพ้
อันดับโลกสูงสุด3 (6 มิถุนายน 2023)
อันดับโลกปัจจุบัน4 (6 สิงหาคม 2024)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
แผนก/สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
ประจำการพ.ศ. 2563–ปัจจุบัน
ชั้นยศ สิบตำรวจโท
หน่วยกองบังคับการปราบปราม

สิบตำรวจโท กุลวุฒิ วิทิตศานต์ ชื่อเล่น วิว (เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2544) เป็นนักแบดมินตันชายชาวไทย[2] แชมป์โลกประเภทชายเดี่ยวคนปัจจุบัน จากการคว้าเหรียญทองในการแข่งขันแบดมินตันชิงแชมป์โลก 2023[3] เขายังคว้าแชมป์เยาวชนโลก 3 สมัยซ้อน ในปี 2017, 2018 และ 2019[4][5][6] และเป็นชาวไทยคนแรกที่คว้าเหรียญเงินแบดมินตันชาย จากโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 เขาได้รับฉายาว่า "เทพสามเกม" เนื่องจากสไตล์การเล่นที่มักจะยืดเยื้อไปจนถึงเกมที่สาม และสามารถคว้าชัยชนะได้ในที่สุด[7] ปัจจุบันสังกัดสโมสรโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด รับราชการในตำแหน่งผู้บังคับหมู่ ฝ่ายอำนวยการ กองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ[8]

กุลวุฒิสร้างประวัติศาสตร์กลายเป็นผู้เล่นประเภทชายเดี่ยวคนแรกที่คว้าแชมป์เยาวชนโลก 3 สมัยซ้อนเทียบเท่ากับรัชนก อินทนนท์ และเฉิน ชิงเฉินในประเภทหญิง[9] เขาคว้าเหรียญทองจากการแข่งขันแบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย ปี 2019 หลังจากก่อนหน้านี้เขาคว้าเหรียญเงินและเหรียญทองแดงในรายการเดียวกันมาแล้วในปี 2018 และ 2017 ตามลำดับ[10] กุลวุฒิเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2018 และเป็นส่วนหนึ่งของทีมโอเมกาที่คว้าเหรียญเงินในประเภททีมผสม[11] เขาคว้ารางวัล Eddy Choong Most Promising Player of the Year ประจำปี 2020/2021[12]

กุลวุฒิคว้าเหรียญเงินในการแข่งขันแบดมินตันชิงแชมป์โลกปี 2022 และในปีถัดมาสามารถคว้าเหรียญทองในการแข่งขันแบดมินตันชิงแชมป์โลกปี 2023 มาครองได้สำเร็จ[13] เขากลายเป็นนักแบดมินตันชาวไทยคนแรกที่คว้าแชมป์โลก ประเภทชายเดี่ยว[3] ก่อนหน้านั้น เขาคว้าเหรียญทองในซีเกมส์ 2021[14] เขาขึ้นถึงอันดับ 3 ของโลกในเดือนมิถุนายน 2566

ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส กุลวุฒิสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้วยการคว้าเหรียญเงินให้กับวงการแบดมินตันไทย ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกที่สามารถคว้าเหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในโอลิมปิกฤดูร้อนได้สำเร็จในการแข่งขันแบดมินตันประเภทชายเดี่ยว [15][16] โดยเอาชนะฉือ อฺวี่ฉี นักแบดมินตันอันดับหนึ่งของโลกจากประเทศจีนในการแข่งขันรอบก่อนรองชนะเลิศ ก่อนเอาชนะหลี่ซีเจี๋ย[17] นักแบดมินตันอันดับเจ็ดของโลกในการแข่งขันรอบรองชนะเลิศ อย่างไรก็ตาม ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศได้พ่ายให้กับวิคเตอร์ อัคเซลเซน นักแบดมินตันชาวเดนมาร์ก [18] ทำให้กุลวุฒิเป็นนักแบดมินตันไทยคนแรกที่คว้าเหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนได้สำเร็จ

ประวัติ

[แก้]

วัยเด็กและการเริ่มต้น

[แก้]

กุลวุฒิ วิทิตศานต์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 เป็นบุตรของณัฐวัชร และนัฎกนก วิทิตศานต์ มีน้องสาว 1 คน คือ สรัลรักษ์ ซึ่งเป็นนักกีฬาแบดมินตันเช่นกัน กุลวุฒิศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนปิยะพงษ์วิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสตรีวิทยา 2 (รุ่นที่ 40) และโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี เเละศึกษาต่อในแบบการศึกษานอกระบบโรงเรียน ปัจจุบันเป็นนักศึกษาปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

กุลวุฒิ เริ่มต้นเล่นแบดมินตันเมื่ออายุ 7 ปี โดยเริ่มต้นด้วยการตามบิดา ซึ่งเป็นผู้ฝึกสอนแบดมินตันไปที่สนามแบดมินตัน ในระยะแรกนั้น กุลวุฒิเริ่มต้นตีแบดมินตันเพื่อความสนุกสนาน และเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยเป็นโรคภูมิแพ้อากาศ ในระยะต่อมาจึงเริ่มการฝึกซ้อมอย่างจริงจังเพื่อลงแข่งขันระดับยุวชน และเยาวชนภายในประเทศ ในสังกัดชมรมแบดมินตันเสนานิคม ภายใต้การดูแลของไตรรงค์ ลิ่มสกุล และเมตไตรย์ อมาตยกุล[19]

ปี พ.ศ. 2552 กุลวุฒิลงแข่งขันในรุ่นอายุต่ำกว่า 9 ปี และเริ่มประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัลชนะเลิศอย่างสม่ำเสมอ ตลอดช่วง 3-4 ปีถัดมา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในนักกีฬารุ่นเยาวชนที่มีความโดดเด่น ประสบความสำเร็จอย่างสม่ำเสมอในรุ่นของตน

สู่ระดับเยาวชนนานาชาติ

[แก้]

ปี พ.ศ. 2557 เมื่ออายุได้ 13 ปี กุลวุฒิย้ายเข้าสังกัดโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด[20] และได้รับโอกาสลงแข่งขันในระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยในระดับชาตินั้น เขาลงแข่งขันรายการแบดมินตันเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในรุ่นอายุต่ำกว่า 14 ปีและได้รับรางวัลชนะเลิศ หลังจากนั้นกุลวุฒิได้รับรางวัลชนะเลิศในรายการเดียวกัน ในทุกปีการแข่งขัน คือ รุ่น 14 ปี ในปี พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2558 รุ่น 16 ปีในปี พ.ศ. 2559[21] และรุ่นใหญ่ที่สุด อายุต่ำกว่า 19 ปี ในปี พ.ศ. 2560[22]

สำหรับระดับนานาชาติ กุลวุฒิเข้าร่วมการแข่งขันรายการแบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2557 และได้รับรางวัลชนะเลิศ เช่นเดียวกับปี พ.ศ. 2559 และ 2560 ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในรุ่นอายุต่ำกว่า 17 ปี[23]

ในครึ่งปีหลังของปี พ.ศ. 2560 กุลวุฒิสามารถทำผลงานในระดับเยาวชนนานาชาติ อายุต่ำกว่า 19 ปีได้เป็นอย่างดี ได้รับรางวัลชนะเลิศในหลายรายการสำคัญ กระทั่งได้รางวัลชนะเลิศในรายการแบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก ประเภทชายเดี่ยว ด้วยวัยเพียง 16 ปี 5 เดือน นับเป็นแชมป์เยาวชนโลก ประเภทชายเดี่ยว คนแรกของประเทศไทย[24]

ในปี "พ.ศ. 2561" กุลวุฒิยังทำผลงานได้ดีต่อเนื่อง และคว้ารางวัลชนะเลิศในรายการแบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก ประเภทชายเดี่ยว ได้อีกครั้ง นับเป็นสมัยที่2 ติดต่อกัน

ความสำเร็จ

[แก้]

โอลิมปิก

[แก้]

ชายเดี่ยว

ปี สถานที่ คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2024 อาดิดาส อารีนา ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เดนมาร์ก วิคเตอร์ อเซลเซน 11–21, 11–21 เหรียญเงิน

บีดับเบิลยูเอฟ ชิงแชมป์โลก

[แก้]

ชายเดี่ยว

ปี สถานที่ คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2022 ศูนย์กีฬาในร่มโตเกียว โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เดนมาร์ก วิคเตอร์ อเซลเซน 5–21, 16–21 Silver เหรียญเงิน
2023 รอยัลอารีนา โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก ญี่ปุ่น โคได นาราโอกะ 19–21, 21–18, 21–7 Gold เหรียญทอง

ซีเกมส์

[แก้]

ชายเดี่ยว

ปี สถานที่ คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2021 สนามกีฬาในร่มจังหวัดบั๊กซาง จังหวัดบั๊กซาง ประเทศเวียดนาม สิงคโปร์ โลวห์ เคียน ยิว 21–13, 21–13 Gold เหรียญทอง

แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก

[แก้]

ชายเดี่ยว

ปี สถานที่ คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2017 อะมัง โรโก สปอร์ตฮอลล์ ยกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย Leong Jun Hao 17–21, 21–15, 21–9 Gold เหรียญทอง
2018 มาร์กแฮม แพนแอมเซนเตอร์ มาร์กแฮม ประเทศแคนาดา ญี่ปุ่น โคได นาราโอกะ 21–9, 21–11 Gold เหรียญทอง
2019 ศูนย์ยิมนาสติกคาซัน คาซัน ประเทศรัสเซีย ฝรั่งเศส Christo Popov 21–8, 21–11 Gold เหรียญทอง

แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย

[แก้]

ชายเดี่ยว

ปี สถานที่ คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2017 ศูนย์ฝึกกีฬาในร่มจายา รายา จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย Leong Jun Hao 21–19, 14–21, 21–23 เหรียญทองแดง
2018 ศูนย์ฝึกกีฬาในร่มจายา รายา จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย ลัคย่าห์ เซ็น 19–21, 18–21 Silver เหรียญเงิน
2019 ศูนย์กีฬาโอลิมปิกซูโจว ซูโจว ประเทศจีน จีน Liu Liang 21–14, 21–13 Gold เหรียญทอง

บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ (ชนะเลิศ 4, รองชนะเลิศ 5)

[แก้]

บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560 และดำเนินการในปี พ.ศ. 2561[25] เป็นการแข่งขันแบดมินตันชั้นยอด ซึ่งได้รับการอนุมัติโดยสหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF) ทั้งนี้ บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์แบ่งออกเป็นหกระดับ ได้แก่ เวิลด์ทัวร์ไฟนอลส์, ซูเปอร์ 1000, ซูเปอร์ 750, ซูเปอร์ 500, ซูเปอร์ 300 (ส่วนหนึ่งของเอชเอสบีซี เวิลด์ทัวร์) และบีดับเบิลยูเอฟ ทัวร์ซูเปอร์ 100[26]

ประเภทชายเดี่ยว

ปี การแข่งขัน ระดับ คู่แข่งขัน คะแนน ผลการแข่งขัน
2020 สเปนมาสเตอส์ ซูเปอร์ 300 เดนมาร์ก วิคเตอร์ อเซลเซน 16–21, 13–21 2 รองชนะเลิศ
2021 สวิสโอเพ่น ซูเปอร์ 300 เดนมาร์ก วิคเตอร์ อเซลเซน 16–21, 6–21 2 รองชนะเลิศ
2021 บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ ไฟนอลส์ เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์ เดนมาร์ก วิคเตอร์ อเซลเซน 12–21, 8–21 2 รองชนะเลิศ
2022 เยอรมัน โอเพ่น ซูเปอร์ 300 อินเดีย ลัคย่าห์ เซ็น 21–18, 21–15 1 ชนะเลิศ[27]
2023 อินเดีย โอเพ่น ซูเปอร์ 750 เดนมาร์ก วิคเตอร์ อเซลเซน 22–20, 10–21, 21–12 1 ชนะเลิศ
2023 ไทยแลนด์ โอเพ่น ซูเปอร์ 500 ฮ่องกง ลี เฉิค ยู 21-12, 21-10 1 ชนะเลิศ
2023 ยูเอสโอเพน ซูเปอร์ 300 จีน หลี่ ชื่อเฟิง 15–21, 18–21 2 รองชนะเลิศ
2024 เฟรนช์โอเพน ซูเปอร์ 750 จีน ฉือ ยู่ฉี 20–22, 19–21 2 รองชนะเลิศ
2024 โคเรียมาสเตอส์ ซูเปอร์ 300 จีน หวัง เจิ้งชิง 21–18, 21–18 1 ชนะเลิศ[28]

บีดับบลิวเอฟ อินเตอร์เนชันแนล แชลเลนจ์/ซีรีส์ : (ชนะเลิศ 5, รองชนะเลิศ 2)

[แก้]

ประเภทชายเดี่ยว

ปี สถานที่ คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2018 อินเดีย อินเตอร์เนชันแนล อินเดีย ลัคย่าห์ เซ็น 15–21, 10–21 2 รองชนะเลิศ
2018 เนปาล อินเตอร์เนชันแนล มาเลเซีย Teck Zhi Soo 20-22, 22-20, 21-9 1 ชนะเลิศ
2019 อิหร่าน ฟัจร์ อินเตอร์เนชันแนล จีน หลี่ ชื่อเฟิง 21-18, 21-17 1 ชนะเลิศ
2019 โปลิช โอเพ่น อินเดีย ลัคย่าห์ เซ็น 21-17, 21-14 1 ชนะเลิศ
2019 ฟินนิช โอเพ่น จีนไทเป Lin Chun-Yi 21-16, 18-21, 21-14 1 ชนะเลิศ
2019 สเปน อินเตอร์เนชันแนล อังกฤษ Toby Penty 21-14, 21-14 1 ชนะเลิศ
2019 มองโกเลีย อินเตอร์เนชันแนล ญี่ปุ่น โคได นาราโอกะ 21-9, 17-21, 21-23 2 รองชนะเลิศ
  รายการระดับ บีดับบลิวเอฟ อินเตอร์เนชันแนล แชลเลนจ์ (BWF International Challenge)
  รายการระดับ บีดับบลิวเอฟ อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ (BWF International Series)
  รายการระดับ บีดับบลิวเอฟ ฟิวเจอร์ ซีรีส์ (BWF Future Series tournament)

แบดมินตันเยาวชน อินเตอร์เนชันแนล (ชนะเลิศ 11, รองชนะเลิศ 2)

[แก้]

ประเภทชายเดี่ยว

ปี สถานที่ คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2017 บ้านทองหยอด จูเนียร์ อินเตอร์เนชันแนล มาเลเซีย Fong Hau Sim 21–14, 21–13 1 ชนะเลิศ
2017 จายา รายา จูเนียร์ อินเตอร์เนชันแนล อินโดนีเซีย Ikhsan Rumbay 21–17, 21–7 1 ชนะเลิศ
2017 อินเดีย จูเนียร์ อินเตอร์เนชันแนล อินเดีย B. M. Rahul Bharadwaj 21–16, 21–11 1 ชนะเลิศ
2017 สิงคโปร์ ยูธ อินเตอร์เนชันแนล สิงคโปร์ Joel Koh 21–13, 21–13 1 ชนะเลิศ
2018 ดัช จูเนียร์ อินเตอร์เนชันแนล จีน หลี่ ชื่อเฟิง 21–18, 21–14 1 ชนะเลิศ
2018 เยอรมัน จูเนียร์ อินเตอร์เนชันแนล จีน หลี่ ชื่อเฟิง 21–15, 21–11 1 ชนะเลิศ
2018 จายา รายา จูเนียร์ อินเตอร์เนชันแนล อินโดนีเซีย Ikhsan Rumbay 21–14, 21–9 1 ชนะเลิศ
2018 บ้านทองหยอด จูเนียร์ อินเตอร์เนชันแนล สิงคโปร์ Jason Teh 21–16, 21–15 1 ชนะเลิศ
2019 บ้านทองหยอด จูเนียร์ อินเตอร์เนชันแนล อินโดนีเซีย Bobby Setiabudi 21–16, 26–24 1 ชนะเลิศ

ประเภทชายคู่

ปี สถานที่ ร่วมกับ คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2015 ไวท์ ไนท์ส์ จูเนียร์ อินเตอร์เนชันแนล ไทย พชรพล นิพรรัมย์ รัสเซีย Rodion Alimov
รัสเซีย Pavel Kotsarenko
21–14, 21–23, 13–21 2 รองชนะเลิศ
2017 อินเดีย จูเนียร์ อินเตอร์เนชันแนล ไทย พชรพล นิพรรัมย์ อินโดนีเซีย Rehan Naufal Kusharjanto
อินโดนีเซีย Rinov Rivaldy
9–21, 13–21 2 รองชนะเลิศ

ประเภทคู่ผสม

ปี สถานที่ ร่วมกับ คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2018 บ้านทองหยอด จูเนียร์ อินเตอร์เนชันแนล ไทย พิทยาภรณ์ ไชยวรรณ ญี่ปุ่น Hiroki Midorikawa
ญี่ปุ่น Natsu Saito
23–21, 21–18 1 ชนะเลิศ
2019 บ้านทองหยอด จูเนียร์ อินเตอร์เนชันแนล ไทย พิทยาภรณ์ ไชยวรรณ จีน Di Zijian
จีน Li Yijing
21–11, 21–17 1 ชนะเลิศ
  รายการระดับ บีดับบลิวเอฟ จูเนียร์ อินเตอร์เนชันแนล กรังด์ปรีซ์ (BWF Junior International Grand Prix tournament)
  รายการระดับ บีดับบลิวเอฟ จูเนียร์ อินเตอร์เนชันแนล แชลเลนจ์ (BWF Junior International Challenge tournament)
  รายการระดับ บีดับบลิวเอฟ จูเนียร์ อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ (BWF Junior International Series tournament)
  รายการระดับ บีดับบลิวเอฟ จูเนียร์ ฟิวเจอร์ ซีรีส์ (BWF Junior Future Series tournament)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ดาวดังเมืองน้ำหอม : ภัททพล เงินศรีสุข เบื้องหลังคนสำคัญ
  2. "Players: Kunlavut Vitidsarn". Badminton World Federation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2023. สืบค้นเมื่อ 23 October 2017.
  3. 3.0 3.1 "Thai Kunlavut Vitidsarn and South Korean An Se-young make history at Badminton World Championships". The Straits Times. 28 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2024. สืบค้นเมื่อ 29 August 2023.
  4. Amsa-ngiam, Lerpong (22 October 2017). "Teen makes badminton history". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2019. สืบค้นเมื่อ 23 October 2017.
  5. Amsa-ngiam, Lerpong (19 November 2018). "Brilliant Kunlavut defends World Junior title". The Nation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2024. สืบค้นเมื่อ 17 May 2024.
  6. "Kunlavut reaches historic milestone". Bangkok Post. 14 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2024. สืบค้นเมื่อ 14 October 2019.
  7. ""วิว" โชว์ฟอร์ม "เทพ 3 เกม" แซงดับญี่ปุ่น ลิ่ว 8 คน ชนมือ 1 ของโลก ศึกขนไก่โอลิมปิกเกมส์". Dailynews. 2024-08-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-08-03.
  8. chawalwit_m (2024-08-05). "เป็นตำรวจที่ตีแบดได้! ทำความรู้จัก 'ส.ต.ท.กุลวุฒิ' ผู้เป็นทั้งตร.-นักกีฬา-ครูสอนแบดฯที่ใจดี". ch3plus.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. Morgan, Liam (13 October 2019). "Vitidsarn ready for step up to senior level after victory at BWF World Junior Championships". Inside the Games. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2023. สืบค้นเมื่อ 14 October 2019.
  10. "Kunlavut finally wins the elusive Badminton Asia junior title". Badminton Asia. 28 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2023. สืบค้นเมื่อ 5 October 2019.
  11. "Participants: Vitidsarn Kunlavut". Buenos Aires 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2018. สืบค้นเมื่อ 13 October 2018.
  12. "BWF Player of the Year Award Winners 2020/2021". Badminton World Federation. 3 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2021. สืบค้นเมื่อ 12 December 2021.
  13. "Badminton: Axelsen aims higher after claiming second badminton world title". The Straits Times. 28 August 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2022. สืบค้นเมื่อ 21 October 2022.
  14. "Rising Thai star Kunlavut stuns badminton world champion Loh in SEA Games final". Bangkok Post. 22 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2024. สืบค้นเมื่อ 24 April 2024.
  15. "Paris Olympic Results".
  16. Waiyahong, Nattanam (2024-08-05). "เจาะลึกเส้นทาง วิว-กุลวุฒิ ประวัติศาสตร์การคว้าเหรียญโอลิมปิกแบดมินตันครั้งแรกของไทย!". Vogue Thailand. สืบค้นเมื่อ 2024-08-06.
  17. "Badminton - Men's Singles Quarterfinal Match MS156".
  18. "Paris Olympic Athlete Profile".
  19. "กุลวุฒิ" เจ้าขนไก่ยช.โลก กร้าวขอป้องแชมป์อีก 2 สมัย
  20. "เปิดใจ 'วิว กุลวุฒิ' หนุ่มน้อยมหัศจรรย์แชมป์เยาวชนโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-18. สืบค้นเมื่อ 2017-12-12.
  21. "เจ้าจริง" เจ๋งจริง! ย้ำชัยผงาดแชมป์ขนไก่
  22. ""กุลวุฒิ" ล้ม" กานดิศ" ผงาดแชมป์เดี่ยว 19 ปีสมัยแรก "นันทน์กาญจน์- ภัทรสุดา" ซิวแชมป์ขนไก่ SCG จูเนียร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-27. สืบค้นเมื่อ 2017-12-12.
  23. ‘วิว-กุลวุฒิ’ สร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์ชายเดี่ยวแบดฯเยาวชนโลก
  24. "กุลวุฒิ" สร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์ขนไก่ยช.โลกคนแรกของไทย
  25. "BWF Launches New Events Structure". Badminton World Federation. 29 November 2017.
  26. "Action-Packed Season Ahead!". Badminton World Federation. 15 January 2018.
  27. รอมานาน! วิว กุลวุฒิ ปราบ ลัคยาห์ เซ็น คว้าแชมป์ขนไก่เยอรมัน โอเพ่น
  28. ""กุลวุฒิ" เช็กบิลขนไก่จีน 50 นาที คว้าแชมป์แรกปี 2024". mgronline. 10 November 2024.
  29. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒๓, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]