กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024
ปัญจกีฬาสมัยใหม่ ในโอลิมปิกครั้งที่ 33 | |
---|---|
สนาม | พระราชวังแวร์ซาย อารีน่าปารีสเหนือ (รอบจัดอันดับฟันดาบ) |
วันที่ | 8–11 สิงหาคม ค.ศ. 2024 |
จำนวนรายการ | 2 |
จำนวนนักกีฬา | 72 คน (ชาย 36 คน หญิง 36 คน) คน |
กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ ใน โอลิมปิกฤดูร้อน 2024 | ||
---|---|---|
รอบคัดเลือก | ||
รายการ | ||
ชาย | หญิง | |
กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 มีกำหนดจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 8-11 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ที่พระราชวังแวร์ซายและอารีน่าปารีสเหนือ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พระราชวังแวร์ซายจะเป็นสถานที่แข่งขันกีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ทุกรายการ ยกเว้นส่วนรอบจัดอันดับของฟันดาบ ซึ่งจะจัดขึ้นที่สนามอารีน่าปารีสเหนือ จะมีการแข่งขันที่งหมด 2 รายการ ได้แก่ รายการชายและรายการหญิง[1]
ปลายปี พ.ศ. 2564 หลังการแข่งขันโตเกียวเกมส์ ไอโอซีประกาศว่า ปัญจกีฬาสมัยใหม่อาจจะถูกถอดออกจากโปรแกรมโอลิมปิกหลังจากปี 2024 หลังจากถูกนำเสนอในทุกครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 นอกจากนี้ ปัญจกีฬาสมัยใหม่ยังได้รับการออกแบบและแนะนำโดย ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ผู้ก่อตั้งโอลิมปิกสมัยใหม่ ไอโอซีได้ตัดสินใจหลังจากเกิดการโต้เถียงจากการแข่งขันขี่ม้าที่โตเกียว ซึ่งเห็นว่าโค้ชคนหนึ่งทำร้ายร่างกายม้าตัวหนึ่งที่กำลังถูกใช้อยู่ สหภาพปัญจกีฬาสมัยใหม่นานาชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลกีฬาดังกล่าว ประกาศในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ว่าจะพิจารณายกเลิกส่วนการขี่ม้าและแทนที่ด้วยกีฬาอื่น ต่อมาไอโอซีได้ประกาศว่าจะพิจารณารวมปัญจกีฬาสมัยใหม่ในการแข่งขันในอนาคต[2]
การคัดเลือก
[แก้]นักกีฬา 72 คนในสองประเภทการแข่งขันมีสิทธิ์ผ่านเข้ารอบ โดยมีจำนวนสูงสุดสองคนต่อเพศจากแต่ละประเทศ วิธีการคัดเลือกยังคงเหมือนเดิมทั้งประเภทชายและหญิง
กำหนดการแข่งขัน
[แก้]รอบจัดอันดับ | รอบรองชนะเลิศ | รอบชิงชนะเลิศ | Medal event |
วันที่ | 8 สค | 9 สค | 10 สค | 11 สค | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
บุคคลชาย | FRR | RSJ | FBR | S | L-R | RSJ | FBR | S | L-R | ||||
บุคคลหญิง | FRR | RSJ | FBR | S | L-R | RSJ | FBR | S | L-R |
Key
- FRR = Fencing Ranking Round
- RSJ = Riding Show Jumping
- FBR = Fencing Bonus Round
- S = Swimming
- L-R = Laser-Run(Finishing position in this event determines medalists)
สรุปเหรียญรางวัล
[แก้]มีเหรียญรางวัลทั้งหมด 6 เหรียญ ได้รับโดย 6 NOC[3]
ตารางสรุปเหรียญรางวัล
[แก้]* เจ้าภาพ ( ฝรั่งเศส)
ลำดับที่ | NOC | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | ฮังการี | 1 | 0 | 0 | 1 |
อียิปต์ | 1 | 0 | 0 | 1 | |
3 | ฝรั่งเศส* | 0 | 1 | 0 | 1 |
ญี่ปุ่น | 0 | 1 | 0 | 1 | |
5 | เกาหลีใต้ | 0 | 0 | 1 | 1 |
อิตาลี | 0 | 0 | 1 | 1 | |
รวม (6 NOC) | 2 | 2 | 2 | 6 |
ผู้ที่ได้รับเหรียญรางวัล
[แก้]รายการ | เหรียญทอง | เหรียญเงิน | เหรียญทองแดง |
---|---|---|---|
บุคคลชาย |
Ahmed El-Gendy อียิปต์ |
Taishu Sato ญี่ปุ่น |
Giorgio Malan อิตาลี |
บุคคลหญิง |
Michelle Gulyás ฮังการี |
Élodie Clouvel ฝรั่งเศส |
Seong Seung-min เกาหลีใต้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Modern pentathlon". Paris2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-09. สืบค้นเมื่อ 2022-09-28.
- ↑ Lane, Barnaby. "Modern pentathlon tore itself apart and alienated its biggest stars to try to stay in the Olympics. It's probably getting kicked out anyway". Insider.
- ↑ "Medal standings" (PDF). www.olympics.com/. Paris Organising Committee for the 2024 Olympic and Paralympic Games. 11 August 2024. สืบค้นเมื่อ 2 September 2024.