คณะรัฐศาสตร์ในประเทศไทย
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารรัฐกิจ การเมืองการปกครอง รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งการศึกษาวิชารัฐศาสตร์นั้น เป็นการศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการ กล่าวคือ ต้องอาศัยศาสตร์หลาย ๆ ศาสตร์เข้ามาประกอบการศึกษา อธิบายภาวะต่าง ๆ ทางสังคม ที่เกิดขึ้นได้
ประวัติ
[แก้]การศึกษาในสาขารัฐศาสตร์นั้น เริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงจัดตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน" ขึ้น เพื่อฝึกหัดนักเรียนให้รับการศึกษาเพื่อเข้ารับราชการตามกระทรวงต่าง ๆ ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสถาปนา "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ขึ้น โดย "คณะรัฐประศาสนศาสตร์" เป็น 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของมหาวิทยาลัย หลังจากนั้น ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" และโอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และในที่สุดก็กลับมาจัดตั้งใหม่อีกครั้งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2491 หลังจากนั้น สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ก็ได้เปิดสอนในหลายมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้ (หมายเหตุ : นับเฉพาะหลักสูตรปริญญาตรี ข้อมูล ณ วันที่ 16 พ.ย. 2563)
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
[แก้]มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะรัฐศาสตร์ ในภาพรวมแล้วนั้นการเรียนการสอนรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยราชภัฎ การเรียนการสอนรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์มักเปิดในคณะรัฐศาสตร์ หรือคณะสังคมศาสตร์ หรือคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และจากภาพรวมแล้วมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครนคร และมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นมานาน จะมีการเรียนการสอนทั้งรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ ส่วนมหาวิทยาลัยในเขตภูมิภาค หรือมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งใหม่มักมีการเรียนการสอนแต่ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ปัจจุบัน ภายในการศึกษาด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์นั้น ได้มีการแยกสาขาวิชาที่ศึกษาให้หลากหลายและครอบคลุมยิ่งขึ้น จึงมีหลักสูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นภายในคณะรัฐศาสตร์ขึ้นเป็นอย่างมาก เช่น การบริหารงานยุติธรรม การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
มหาวิทยาลัยของรัฐ
[แก้]มหาวิทยาลัย | คณะ | สาขาวิชารัฐศาสตร์, การปกครอง, การเมืองการปกครอง | สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, การระหว่างประเทศ | สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บริหารรัฐกิจ | สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา | สาขาวิชาบริหารงานยุติธรรม | สาขาวิชาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ | สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น | สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน | ปีที่ก่อตั้งขึ้น |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | คณะรัฐศาสตร์ | มี | มี | มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2491 |
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | คณะรัฐศาสตร์ | มี | มี | มี | มี โดยแยกเป็นแผนกอิสระ (ภายใต้ความดูแลของ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) | มี โดยแยกเป็นแผนกอิสระ (ภายใต้ความดูแลของ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์) | มี โดยแยกเป็นแผนกอิสระ(ภายใต้การดูแลของ วิทยาลัยสหวิทยาการ) | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2492 |
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ | มี (หลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร) | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี | มี | พ.ศ. 2498 |
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ | มี | มี | มี | มี (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์) | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2508 |
มหาวิทยาลัยรามคำแหง | คณะรัฐศาสตร์ | มี | มี | มี | มี (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์) | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2516 |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | คณะสังคมศาสตร์ | มี | มี | มี | มี (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์) | มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | พ.ศ. 2518 |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ | คณะวิทยาการจัดการ | ไม่มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2519 |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | คณะรัฐศาสตร์ | มี | มี | ไม่มี | มี (ภาควิชาสังคมศาสตร์ สาขาสังคมวิทยา และมนุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | ไม่มี | ไม่มี | มี | มี (แขนงวิชานโยบายสาธารณะ) | พ.ศ. 2525 |
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | สาขาวิชารัฐศาสตร์ | มี | มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2525 |
มหาวิทยาลัยมหิดล | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | ไม่มี | ไม่มี | มี (หลักสูตรปริญญาโท) | ไม่มี | มี (หลักสูตรปริญญาโท) | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2541 |
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | สำนักวิชานวัตกรรมสังคม | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2556 |
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | คณะสังคมศาสตร์ | มี | มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2542 |
มหาวิทยาลัยบูรพา | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | มี | มี | มี | ไม่มี | มี (หลักสูตรปริญญาโท) | มี | มี | ไม่มี | พ.ศ. 2545 |
มหาวิทยาลัยนเรศวร | คณะสังคมศาสตร์ | มี | มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2546 |
มหาวิทยาลัยขอนแก่น | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | ไม่มี(มีเฉพาะวิทยาลัยนานาชาติ) | มี | มี | มี(ในวิทยาลัยปกครองท้องถิ่น) | ไม่มี | มี(ในวิทยาลัยปกครองท้องถิ่น) | ไม่มี | พ.ศ. 2547 |
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | วิทยาลัยการเมืองการปกครอง | มี | มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | พ.ศ. 2547 |
มหาวิทยาลัยพะเยา | คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ (จัดตั้งเป็นคณะ พ.ศ. 2557 ) | มี (หลักสูตร ร.บ.เริ่มเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ ปีการศึกษา 2547 ม.นเรศวรวิทยาเขตสารสนเทศพะเยา และจัดตั้งเป็น ม.พะเยา พ.ศ. 2553) | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี | พ.ศ. 2547 |
มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย | คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ | ไม่มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | พ.ศ. 2551 |
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี | คณะรัฐศาสตร์ | มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | พ.ศ. 2548 |
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตเชียงใหม่ | วิทยาลัยบริหารศาสตร์ | มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2548 |
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่เฉลิมพระเกียรติ | สาขาวิชารัฐศาสตร์ | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2548 |
มหาวิทยาลัยทักษิณ | วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา | มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | มี | มี | พ.ศ. 2549 |
มหาวิทยาลัยทักษิณ | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | พ.ศ. 2549 |
มหาวิทยาลัยศิลปากร | คณะวิทยาการจัดการ | ไม่มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2551 |
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร | สาขาวิชารัฐศาสตร์ | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2552 |
มหาวิทยาลัยขอนแก่น | วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | พ.ศ. 2553 |
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | มี | มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2554 |
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว | คณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | คณะสังคมศาสตร์ | มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย | คณะสังคมศาสตร์ | มี | ไม่มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2543 |
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | |
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต | โรงเรียนกฎหมายและการเมือง | มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2560 |
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ | คณะวิทยาการจัดการ | ไม่มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2555 |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน | คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2557 |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร | คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ | ไม่มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | พ.ศ. 2559 |
มหาวิทยาลัยราชภัฏ
[แก้]กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาพรวมมหาวิทยาลัยราชภัฎจะไม่มีความแตกต่างหลากหลายในการจัดการเรียนการสอน กล่าวคือมีเพียงแต่ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ที่เป็นสาขาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพียง 8 มหาวิทยาลัยเท่านั้นที่มีการเรียนการสอนรัฐศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎในภาคเหนือ 2 มหาวิทยาลัย ภาคอีสาน 3 มหาวิทยาลัย และภาคกลาง 3 มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัย | คณะ | หลักสูตรรัฐศาสตร์ | หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ |
---|---|---|---|
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย | คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม | คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด | วิทยาลัยนิติรัฐศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ | คณะรัฐศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยเอกชน
[แก้]มหาวิทยาลัยเอกชน
มหาวิทยาลัย | คณะ | หลักสูตรรัฐศาสตร์ | หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ |
---|---|---|---|
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี | คณะรัฐศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น | คณะรัฐศาสตร์ | มี | ไม่มี |
มหาวิทยาลัยเกริก | คณะรัฐศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ | คณะรัฐศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยปทุมธานี | คณะรัฐศาสตร์ | มี | ไม่มี |
มหาวิทยาลัยรังสิต | วิทยาลัยรัฐกิจ | มี | มี(ในระดับปริญญาโท) |
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น | วิทยาลัยการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ | คณะศิลปศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยโยนก | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น | คณะบริหารรัฐกิจ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ | คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา | คณะรัฐศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | ไม่มี | มี |
วิทยาลัยทองสุข | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ | ไม่มี | มี |
มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา เพชรบูรณ์ | คณะรัฐศาสตร์และการปกครองส่วนท้องถิ่น | มี | มี |
มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | มี | มี |
มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา นครศรีธรรมราช | คณะรัฐศาสตร์ | มี | มี |
วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง | ไม่มี | มี | ไม่มี |
มหาวิทยาลัยสยาม | คณะรัฐศาสตร์ | มี | ไม่มี |
วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ | คณะรัฐศาสตร์ | มี | ไม่มี |
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต | คณะรัฐศาสตร์ | มี | ไม่มี |
วิทยาลัยเชียงราย | คณะนิติศาสตร์ | มี | ไม่มี |
สถาบันรัชต์ภาคย์ | คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ | มี | ไม่มี |
- หมายเหตุ การนับในที่นี้ มี คือ มีวุฒิการศึกษาที่รับรองในหลักสูตรฯของแต่ละมหาวิทยาลัย แต่ในที่นี้ไม่ได้ลงรายละเอียดในวิชาต่าง ๆ ที่เปิดเรียนในหลักสูตร
สาขาต่าง ๆ ของวิชารัฐศาสตร์
[แก้]ดู รัฐศาสตร์
สัญลักษณ์
[แก้]ชาวรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ไทยจะมีสำนึกจารีตในการใช้สัญลักษณ์ สิงห์ หรือ ราชสีห์ เป็นสัญลักษณ์ของสาขาวิชา เนื่องจากความหมายที่ว่าสิงห์เป็น "ราชาแห่งสัตว์ป่า" รวมทั้ง ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ และกำลัง จึงถูกนำไปเปรียบเทียบกับผู้มีอำนาจ ซึ่งก็คือ นักปกครองแบบนักรัฐศาสตร์ และนักบริหารแบบนักรัฐประศาสตนศาสตร์ และการที่กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นกระทรวงที่ชาวรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ใฝ่ฝันที่จะเข้ารับราชการเป็นส่วนใหญ่ได้ใช้ตรารูปราชสีห์ เป็นสัญลักษณ์ประจำกระทรวงด้วย ดังนั้น จึงมีจารีตนำเอารูปสัญลักษณ์สิงห์ หรือ ราชสีห์ มาเป็นสัญลักษณ์ของสาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์[1]
หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ หรือ Philosophy Politics and Economics (PPE) เปิดสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แห่งเดียวของประเทศไทย เป็นหลักสูตรเก่าแก่ของ oxfords university ที่นำมาเปิดทำการเรียนการสอนที่ประเทศไทย โดยหลักสูตรนี้เปิดทำการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และศูนย์ลำปาง โดยเมื่อเรียนจบหลักสูตรนี้แล้ว กพ. รับรองให้วุฒิเทียบเท่ารัฐศาสตร์บัณฑิต
การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ
[แก้]เป็นการจัดประชุมวิชาการระดับชาติของประเทศไทย ในสาขาวิชาด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ โดยมี คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้สนับสนุนหลักด้านงบประมาณและมาตรฐานวิชาการ โดยจะจัดร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ในประเทศไทยหรือองค์กรวิชาการในสาขาดังกล่าว
# | ชื่อ/หัวข้อการประชุม | วัน/เวลาการจัดประชุม | สถานที่จัดการประชุม |
---|---|---|---|
1 | การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ | 8 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2543 | ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ |
2 | รัฐศาสตร์ไทยกับศักยภาพในการจัดการกับความขัดแย้ง | 5 - 7 ธันวาคม พ.ศ. 2544 | ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ |
3 | การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ | 29 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
4 | ประเทศไทยกับการพัฒนาที่ไม่สิ้นสุด: บทบาทที่พึงเป็นของภาครัฐ | 1 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2546 | ศูนย์การค้าและนิทรรศการนานาชาติ (BITEC) บางนา กรุงเทพ โดย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
5 | การเมืองการบริหารของไทยในยุคโลกาภิวัฒน์ | 1 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2547 | ศูนย์การค้าและนิทรรศการนานาชาติ (BITEC) บางนา กรุงเทพ โดย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
6 | โลก รัฐ ท้องถิ่น ในศตวรรษที่ 21: การบริหารจัดการในยุคสังคมฐานความรู้ | 7 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2548 | โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ โดย คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
7 | เสรีภาพ อำนาจ จริยธรรมกับการเมืองไทย | 27 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 | คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
8 | เมืองไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน | 13 - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550 | ศูนย์การค้าและนิทรรศการนานาชาติ (BITEC) บางนา กรุงเทพ โดย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
9 | รัฐศาสตร์กับการพัฒนาประชาธิปไตยไทย | 2 - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
10 | ความขัดแย้งและทางออกของการเมืองไทย | 1 - 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 | ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย สมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้ |
11 | "การเมือง" ของ "รัฐ" และ "ท้องถิ่น" ไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ | 25 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 | วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
12 | A SMALLER WORLD, BIGGER DIFFERENCES: รัฐศาสตร์ให้คำตอบอะไร? | 8 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 | คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
13 | ประชาคมอาเซียน: ความจริง ความหวัง หรือความฝัน | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555 | คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
14 | การสร้างประชาธิปไตยกับปัญหาความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองไทย | 27 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 | หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
15 | โลกาภิวัตน์ ภูมิภาคภิวัฒน์ ท้องถิ่นภิวัฒน์: นัยต่อสังคมไทย | 5 - 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
กิจกรรมสานสัมพันธ์นิสิต-นักศึกษารัฐศาสตร์
[แก้]สิงห์สัมพันธ์
เป็นกลุ่มกิจกรรมของนิสิตหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เรียกว่า สิงห์สัมพันธ์ โดยเมื่อครั้งเริ่มก่อตั้งเมื่อปีการศึกษา 2547 ได้ใช้ชื่อว่า 5 สิงห์ โดยการก่อตั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรักและความสามัคคีระหว่างนิสิตและนักศึกษาที่ศึกษาด้านรัฐศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ การประกวดแสตนด์เชียร์และผู้นำเชียร์ และเพื่อเสริมสร้าง-แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ โดยการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งก็จะมีการจัดกิจการการตอบปัญหาทางวิชาการและเสวนาวิชาการจากอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยอยู่เสมอ
สมาชิกของกลุ่ม 5 สิงห์ ประกอบด้วยองค์กรกิจกรรมนิสิตหรือนักศึกษาของ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สิงห์ดำ), คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สิงห์แดง), ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สิงห์เขียว), คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สิงห์ขาว) และ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สิงห์เงิน)
อย่างไรก็ตาม เมื่อปีการศึกษา 2552 ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (สิงห์คราม) ได้แสดงความจำนงขอเข้าร่วมกลุ่ม 5 สิงห์ และโดยมติของคณะกรรมการกลุ่ม 5 สิงห์ ซึ่งมาจากองค์กรนิสิตหรือนักศึกษาที่ทำหน้าที่บริหารกิจกรรมของคณะหรือภาควิชารัฐศาสตร์ของ 5 มหาวิทยาลัยก่อตั้งกลุ่ม จึงรับเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม 5 สิงห์และเปลี่ยนชื่อเป็น สิงห์สัมพันธ์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
และในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ประชุมสมาชิกสิงห์สัมพันธ์ได้รับรองให้ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (สิงห์แสด) เป็นสมาชิก ทำให้งานสิงห์สัมพันธ์ตั้งแต่ครั้งที่ 9 เป็นต้นไปจะมีสมาชิกเข้าร่วมทั้งหมด 7 สิงห์
ทั้งนี้ กลุ่มสิงห์สัมพันธ์ ได้มีความพยายามจัดตั้ง สมาพันธ์นิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ สนรท. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 แต่เนื่องจากยังไม่มีความพร้อมของแต่ละมหาวิทยาลัย องค์กรนี้จึงยังไม่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมและประกาศต่อสื่อมวลชน
กิจกรรมที่ดำเนินการ เช่น กิจกรรมวิชาการ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมแข่งขันกีฬา กิจกรรมแสตนเชียร์ และเชียร์ลีดเดอร์ และกิจกรรมงานราตรีชาวสิงห์ โดยเจ้าภาพครั้งที่ผ่านมา ได้แก่
- ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปีการศึกษา 2547) -- ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
- ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ปีการศึกษา 2548) -- ณ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ องครักษ์
- ครั้งที่ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปีการศึกษา 2549) -- ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ปีการศึกษา 2550) -- ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
- ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ปีการศึกษา 2551) -- ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ปีการศึกษา 2552) -- ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
- ครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปีการศึกษา 2553) -- ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต[2]
- ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยบูรพา (ปีการศึกษา 2555) -- ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน[3]
- ครั้งที่ 9 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปีการศึกษา 2557) -- ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ปีการศึกษา 2558) -- ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
- ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ปีการศึกษา 2561) -- ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
หมายเหตุ : เนื่องจากปีการศึกษา 2554 ได้เกิดปัญหาอุทกภัยขึ้น จึงทำให้ต้องงดจัดงานสิงห์สัมพันธ์
เนื่องด้วยปีการศึกษา 2559 เหตุการณ์การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในหลวงรัชกาลที่9 ทางผู้จัดจึงงดจัดกิจกรรม
เนื่องด้วยปีการศึกษา 2560 เกิดการที่สโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2560 ขาดประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรม ทางผู้จัดจึงงดจัดกิจกรรม
ในปีการศึกษา 2561 เริ่มการจัดตั้ง สมาพันธ์นิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ สนรท. มหาวิทยาลัยริเริ่มจัดตั้งได้แก่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
วัตถุประสงค์ของสมาพันธ์นิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
1 เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตนักศึกษาจากทุกสถาบัน
2 เป็นตัวกลางประสานงานกับบุคคลและองค์กรต่างๆ ในนามนิสิตนักศึกษา
3 จัดกิจกรรมนอกหลักสูตร เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ความเป็นผู้นำ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้รักสามัคคี รู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย แก่นิสิตนักศึกษา
4 เพื่อรักษาสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาพ และสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างนิสิตนักศึกษากับบุคคลหรือองค์กรภายนอก
5 จัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาพันธ์นิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย และสถาบันผลิตนักรัฐศาสตร์และนักปกครองต่างๆ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "กำเนิดสิงห์เขียว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-08. สืบค้นเมื่อ 2006-08-21.
- ↑ Facebook สิงห์สัมพันธ์ ครั้งที่ 7
- ↑ Facebook สิงห์สัมพันธ์ ครั้งที่ 8