การอ้างธรรมชาติ
การอ้างธรรมชาติ (อังกฤษ: appeal to nature) เป็นการให้เหตุผลหรือเป็นกลยุทธ์ทางวาทศิลป์โดยระบุว่า สิ่งนี้ดีก็เพราะเป็นธรรมชาติ หรือสิ่งนี้ไม่ดีก็เพราะไม่เป็นธรรมชาติ[1] ซึ่งทั่วไปจัดว่าเป็นเหตุผลที่ไม่ดี เพราะมีข้อตั้งหลักโดยปริยายที่ไม่ได้ระบุคือ "สิ่งที่เป็นธรรมชาติเป็นของดี" ซึ่งปกติจะไม่เข้าประเด็น ไม่น่าเชื่อถือ หรือเป็นเพียงความเห็นและไม่ใช่ความจริง
รูปแบบ
[แก้]รูปแบบทั่วไปของการให้เหตุผลนี่ก็คือ
สิ่งที่เป็นธรรมชาติเป็นของดีหรือถูกต้อง
ก เป็นธรรมชาติ
ดังนั้น ก จึงเป็นของดีหรือถูกต้อง
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมชาติเป็นของไม่ดีหรือไม่ถูกต้อง
ข ไม่เป็นธรรมชาติ
ดังนั้น ข จึงไม่ดีหรือไม่ถูกต้อง[2]
ในบางกรณี การใช้คำว่าธรรมชาติอาจไม่ชัดเจน ทำให้สัมพันธ์กับแนวคิดอื่น ๆ อย่างไม่ได้ตั้งใจ อนึ่ง คำว่าธรรมชาติ อาจมีอรรถที่ก่ออารมณ์อย่างมีกำลัง อาจก่อความรู้สึกว่าถูกหรือผิดอย่างแรง การอ้างธรรมชาติเป็นการให้เหตุผลเป็นวง เพราะข้อตั้งต้องสมมุติว่าข้อสรุปเป็นจริง[2]
มีความเห็นหลายอย่างเกี่ยวกับการให้เหตุผลเยี่ยงนี้ ในมุมมองที่เปิดกว้าง นี้ยังอาจเป็นหลักทั่วไปที่มีประโยชน์ แต่ก็ในเรื่องที่จำกัดและต้องมีข้อยกเว้น เมื่อใช้เป็นหลักทั่วไป ก็จะสมมุติว่าเหตุผลนี้ให้ข้อตัดสินที่ดีอย่างน่าเชื่อถือได้ นอกจากจะมีเหตุผลต่อต้าน และโดยนัยเดียวกัน สิ่งที่ไม่ใช่ธรรมชาติ ก็จะทำให้ตัดสินได้ว่าไม่ดีอย่างเชื่อถือได้ การใช้หลักทั่วไปในเรื่องจำกัดเช่น "เมื่ออย่างอื่นเหมือนกันทุกอย่าง เราควรจะพยายามทานอาหารธรรมชาติ" โดยทำเหมือนกับไม่มีข้อยกเว้นอาจเป็นเหตุผลวิบัติแบบ fallacy of accident คือให้เหตุผลที่ไม่สมควรในเรื่องที่ควรยกเว้น[2][3]
การให้เหตุผลเช่นนี้เป็นเหตุผลวิบัติก็เพราะ "แม้จะตกลงกันได้ว่า อะไรเป็นธรรมชาติและไม่ใช่ แล้วอะไรละจะเป็นผลที่ตามมา คำตอบก็คือไม่มีอะไร" ไม่มีเหตุผลโดยอาศัยความจริงอะไรที่จะบอกได้ว่าสิ่งที่เป็นธรรมชาติต้องเป็นของดี หรือเเม้แต่ดีกว่า และอะไรที่ไม่ใช่ธรรมชาติก็จะต้องเป็นของแย่ หรือแย่กว่า[4]
ประวัติ
[แก้]ทั้งวิทยาศาสตร์และปรัชญาได้พิจารณาความเป็นธรรมชาติในแนวคิดต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ในกรีซโบราณ "กฎธรรมชาติไม่ได้มองแค่ว่า เป็นเพียงคำอธิบายทั่วไปของความจริงที่เกิดขึ้นในโลก แต่ยังเป็นบรรทัดฐานที่มนุษย์ควรจะประพฤติตาม ดังนั้นการยกธรรมชาติ จึงมักเป็นการยกธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งจัดเป็นแหล่งเกิดอย่างหนึ่งของบรรทัดฐานทางพฤติกรรม สำหรับคนกรีก นี่หมายถึงการเจตนาเข้าไปตรวจสอบและสำรวจในเรื่องซึ่งตามแนวคิดทางวัฒนธรรมของพวกเขา เป็นแหล่งกำเนิดที่แท้จริงสำหรับบรรทัดฐานทางพฤติกรรม"[5]
ในยุคปัจจุบัน นักปรัชญาได้คัดค้านแนวคิดว่า การเป็นสัตว์ธรรมชาติของมนุษย์ควรจะระบุหรือกำหนดบรรทัดฐานทางพฤติกรรมของตน เช่นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ฌ็อง-ฌัก รูโซ ได้เขียนไว้ว่า "เราไม่รู้หรอกว่า ธรรมชาติของเราจะให้เราเป็นอะไร"[6]
ตัวอย่าง
[แก้]ตัวอย่างการยกธรรมชาติที่เห็นบ่อยพบได้ในป้ายและโฆษณาของอาหาร เครื่องนุ่งห่ม สมุนไพร และอื่น ๆ[4][7] โดยอาจจะขึ้นป้ายว่าเป็นของธรรมชาติล้วน ๆ เป็นการกล่าวโดยนัยว่า ผลิตภัณฑ์ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค แต่จริง ๆ แล้วผลิตภัณฑ์จะเป็นธรรมชาติหรือไม่ ก็ไม่ใช่เหตุให้ได้ความปลอดภัยและประสิทธิผล[4][8] ตัวอย่างเช่น สารประกอบที่เป็นพิษก็มีอยู่ตามธรรมชาติ
เรื่องยาก็มักจะอ้างธรรมชาติเหมือนกันโดยกล่าวว่า ยาไม่เป็นธรรมชาติ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้[7] นี้เห็นชัดเป็นพิเศษเมื่อใช้เป็นเหตุผลต่อต้านการฉีดวัคซีน[9]
ในเรื่องการกินเนื้อ นักปรัชญาชาวออสเตรเลียอ้างว่า การให้เหตุผลว่าการกินเนื้อถูกศีลธรรมเพราะเป็นธรรมชาติ เป็นเหตุผลวิบัติ เพราะไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์จะประพฤติอย่างไรตามธรรมชาติ ก็ยังไม่ใช่เหตุผลว่า เราควรจะประพฤติเช่นไร ฉะนั้น การกินเนื้อหรือไม่กินเนื้อ ควรพิจารณาตามความผิดถูกของตนเอง ไม่ใช่ยกธรรมชาติ[10]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Edward Moore, George (1922). Principia Ethica. Cambridge: Cambridge University Press. p. 45.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Curtis, Gary N. "Appeal to Nature". The Fallacy Files. สืบค้นเมื่อ 2020-04-12.
- ↑
Groarke, Leo (2008). "Fallacy Theory". ใน Zalta, Edward N. (บ.ก.). Informal Logic. Stanford Encyclopedia of Philosophy (Fall 2008 ed.).
Informal logic is sometimes presented as a theoretical alternative to formal logic. This kind of characterization may reflect early battles in philosophy departments which debated, sometimes with acrimony, whether informal logic should be considered "real" logic. Today, informal logic enjoys a more conciliatory relationship with formal logic. Its attempt to understand informal reasoning is usually (but not always) couched in natural language, but research in informal logic sometimes employs formal methods and it remains an open question whether the accounts of argument in which informal logic specializes can in principle be formalized.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Baggini, Julian (2004). Making Sense: Philosophy Behind the Headlines. Oxford University Press. pp. 181–182. ISBN 978-0-19-280506-5.
- ↑ Saunders, Jason Lewis (2008-10-26). "Western Philosophical Schools and Doctrines: Ancient and Medieval Schools: Sophists: Particular Doctrines: Theoretical issues.". Encyclopædia Britannica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-27. สืบค้นเมื่อ 2011-02-07.
- ↑ Rousseau, Jean-Jacques (1979). Emile, or On Education. New York: Basic Books. p. 62. ISBN 978-0-465-01931-1.
- ↑ 7.0 7.1 Meier, Brian P.; Dillard, Amanda J.; Lappas, Courtney M. (2019). "Naturally better? A review of the natural-is-better bias". Social and Personality Psychology Compass (ภาษาอังกฤษ). 13 (8): e12494. doi:10.1111/spc3.12494. ISSN 1751-9004. S2CID 201321386.
- ↑ Flew, Antony (1998). How to Think Straight: An Introduction to Critical Reasoning. Prometheus Books. ISBN 978-1-57392-239-5.
- ↑ Gavura, Scott (2014-02-13). "False "balance" on influenza with an appeal to nature". Science-Based Medicine. สืบค้นเมื่อ 2019-01-30.
- ↑ Singer, Peter (2011). Practical Ethics (3rd ed.). Cambridge University Press. pp. 60-61. ISBN 978-0521707688.
There would still be an error of reasoning in the assumption that because this process is natural it is right.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Nature, Human Nature, and Biotechnology
- Appeal to Nature
- Dietary Supplements: How To Know What Is Safe American Cancer Society: §The "Natural Is Safe" or "Natural Is Better" Myth (Archived from the original 18 April 2008)
- Thomas Hobbes A Brief of the Art of Rhetorick Chap. XI เก็บถาวร 2016-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "Of the Colours, or Common Opinions concerning Pleasure." Chap. XVI เก็บถาวร 2016-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "Of Proofs Inartificial."