ข้ามไปเนื้อหา

การให้เหตุผลโดยอาศัยความไม่รู้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอห์น ล็อก

การให้เหตุผลโดยอาศัยความไม่รู้ (อังกฤษ: argument from ignorance โดย ignorance หมายถึงความไร้หลักฐานขัดแย้ง เป็นวลีจากภาษาละตินว่า argumentum ad ignorantiam) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยโดยระบุว่าประพจน์หนึ่ง ๆ จริงเพราะยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเท็จ หรือว่าประพจน์หนึ่ง ๆ เป็นเท็จเพราะยังไม่ได้พิสูจน์ว่าจริง นี่เป็นรูปแบบของทวิบถเท็จอย่างหนึ่งเพราะไม่ได้พิจารณาว่า อาจจะยังไม่ได้ตรวจสอบอย่างเพียงพอเพื่อพิสูจน์ประพจน์นั้นว่าเป็นจริงหรือเท็จ[1] หรือว่าไม่สามารถจะรู้คำตอบได้ หรือว่าจะรู้ได้แต่ในอนาคตเท่านั้น หรือว่าไม่ใช่จริงหรือเท็จทั้งหมด[2] ในการอภิปราย การให้เหตุผลเช่นนี้บางครั้งเป็นการถีบส่งภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงไปให้แก่อีกฝ่าย นักปรัชญาชาวอังกฤษ จอห์น ล็อก น่าจะเป็นผู้บัญญัติคำภาษาอังกฤษในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17[3][4]

ตัวอย่าง

[แก้]
  • "ผมเห็นว่า การไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายไร ๆ ในรัฐชายฝั่งตะวันตก เป็นลางร้ายที่สุดในสถานการณ์นี้ในบรรดาปัจจัยต่าง ๆ นี่ทำให้ผมเชื่อมากที่สุดว่า การก่อวินาศกรรมที่จะเกิด หรือการก่อการร้ายของพวกแนวที่ห้าที่จะเกิด ได้ตั้งเวลาไว้แล้วเหมือนกับที่ทำกับเพิร์ลฮาร์เบอร์... ผมเชื่อว่า พวกเรากำลังถูกหลอกให้รู้สึกว่าปลอดภัย" - เออรล์ วอร์เร็น เมื่อให้การต่อหน้าการประชุมสมาชิกรัฐสภาสหรัฐปี 1942 เพื่อให้กักขังชาวญี่ปุ่น-อเมริกันเป็นแสน ๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
  • ส่วนตัวอย่างนี้แสดงเหตุผลวิบัติที่ชัดเจน - "แม้เราจะได้พิสูจน์แล้วว่า พระจันทร์ไม่ได้ทำด้วยซี่โครงหมู แต่เราก็ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าแกนในของมันไม่มีซี่โครงหมู ดังนั้นแกนในของพระจันทร์จึงทำด้วยซี่โครงหมู"[5]
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ดอนัลด์ รัมส์เฟลด์ ได้กล่าวต่อต้านการให้เหตุผลเช่นนี้ เมื่อกล่าวถึงการไร้หลักฐานว่าประเทศอิรักมีอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง ก่อนจะส่งทหารเข้าบุกรุกอิรัก

"เพราะเพียงแต่ไร้หลักฐานว่าอะไรบางอย่างมี ก็ไม่ใช่เป็นหลักฐานว่าอะไรบางอย่างนั้นไม่มี"[A][6]

  • คติพจน์ว่า "การไม่มีข่าวเป็นข่าวดี"[7] เป็นฮิวริสติกหรือทางลัดทางความคิดทั่วไป ที่อาจได้ผลต่าง ๆ กันตามสถานการณ์
  • คาร์ล เซแกน อธิบายในหนังสือของเขาคือ The Demon-Haunted World (โลกปีศาจสิง) ว่า

การให้เหตุผลโดยอาศัยความไม่รู้ คือการอ้างว่า อะไรที่ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเท็จต้องเป็นจริง และโดยนัยตรงกันข้ามก็เช่นกัน (เช่น ยังไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่ายูเอฟโอไม่ได้กำลังมาเยี่ยมเยียนโลก ดังนั้น ยูเอฟโอจึงต้องมี และก็จะต้องมีสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาดอื่นในเอกภพ หรือ มันอาจจะมีโลกอื่น ๆ มากมายนับไม่ถ้วน แต่ก็ยังไม่พบโลกที่ก้าวหน้าทางศีลธรรมเท่ากับโลกมนุษย์ ดังนั้น พวกเราจึงยังเป็นศูนย์กลางของเอกภพ) ความยอมรับความคลุมเครือไม่ได้สามารถวิจารณ์ได้โดยอาศัยคำพูดเช่นนี้คือ การไร้หลักฐานไม่ใช่หลักฐานว่าไม่มี[8]

แนวคิดที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

contraposition

[แก้]

contraposition เป็นกฎการอนุมานที่สมเหตุสมผลทางตรรกะ ซึ่งสามารถใช้สร้างประพจน์ใหม่จากการนิเสธและการเปลี่ยนลำดับประพจน์ที่มีอยู่ ใช้ได้กับประพจน์ทุกอย่างในรูปแบบ "ถ้า ก จึง ข" โดยนิเสธตัวแปรทุกอย่าง กลับลำดับจากหน้าไปหลัง แล้วได้ประพจน์ใหม่คือ "ถ้า ไม่ใช่-ข จึง ไม่ใช่-ก" ซึ่งเป็นจริงเท่ากับประพจน์เดิม ดังนั้น ประพจน์แรกจึงแสดงนัยว่ามีประพจน์ที่สอง และประพจน์ที่สองก็แสดงนัยว่ามีประพจน์แรก

ผลว่าง

[แก้]

ผลว่าง (null result) มักใช้ทางวิทยาศาสตร์ว่าเป็น "หลักฐานว่าไม่มี" เช่นการเสาะหาน้ำบนพื้นดินอาจได้ผลว่าง (คือพื้นแห้ง) ดังนั้น ฝนจึงไม่น่าจะตกเร็ว ๆ นี้

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. จริง ๆ ผู้เขียนในที่นี้ก็ได้เตือนว่า คำนี้ไม่เหมาะใช้เพื่อพิสูจน์ข้ออ้างที่ชัดเจนเช่นว่า "มีอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงในอิรัก" เพราะภาระการพิสูจน์ว่าอะไรเป็นจริงตกอยู่กับผู้อ้าง ไม่ใช่ตกอยู่กับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับข้ออ้าง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Schreuder, Duco A (2014). Vision and Visual Perception. Archway Publishing. p. 103. ISBN 978-1-4808-1294-9.
  2. "Argumentum ad Ignorantiam". Philosophy 103: Introduction to Logic. Lander University. 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-30. สืบค้นเมื่อ 2009-04-29.
  3. Hansen, Hans V.; Pinto, Robert C., บ.ก. (1995). Fallacies: Classical and Contemporary Readings. University Park, Pa.: Pennsylvania State University Press. ISBN 978-0271014166. OCLC 30624864.
  4. Locke, John (1690). "Book IV, Chapter XVII: Of Reason". An Essay Concerning Human Understanding. สืบค้นเมื่อ 2015-03-12.
  5. Bennett, Bo. "Argument from Ignorance". www.LogicallyFallacious.com. สืบค้นเมื่อ 2016-11-23.
  6. Brown, Deborah; Key, Brian (2019-04-22). "You look but do not find: why the absence of evidence can be a useful thing". The Conversation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 2022-06-20.
  7. Kos, Daily. "Logical Fallacies Bootcamp: Appeal to Ignorance".
  8. Sagan, Carl (1996). "Chapter 12: The Fine Art of Baloney Detection". The Demon-Haunted World.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]