ข้ามไปเนื้อหา

เหตุผลวิบัติโดยกำเนิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เหตุผลวิบัติโดยกำเนิด (อังกฤษ: genetic fallacy, fallacy of origins, fallacy of virtue[1]) เป็นเหตุผลวิบัติโดยความไม่เข้าประเด็น (fallacy of irrelevance) ที่ข้อตั้ง/ข้ออ้าง/ข้อมูลจัดว่าถูกหรือผิดโดยเพียงอาศัยแหล่งที่มาและไม่ใส่ใจในสาระ กล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นการจัดข้อตั้งว่าดีหรือไม่ดีโดยอาศัยความน่าเชื่อถือได้ของแหล่งที่มา ไม่ได้อาศัยข้อตั้งเอง

ดังนั้น เหตุผลจึงวิบัติเพราะไม่ได้ประเมินข้อตั้งตามความถูกต้องของมันเอง แรกสุด การให้เหตุผลจะดีก็ต่อเมื่อข้อตั้งแสดงความเท็จจริงของข้ออ้างที่เป็นประเด็น[2] แม้ที่มาของประเด็นหนึ่งๆ อาจเป็นจริงและช่วยแสดงว่า ทำไมประเด็นจึงมีรูปแบบเช่นในปัจจุบัน แต่ก็ไม่สามารถใช้เป็นตัวกำหนดความดีหรือไม่ดีของข้อตั้ง[3]

คำภาษาอังกฤษว่า genetic fallacy อาจเริ่มใช้มาอย่างช้าก็ตั้งแต่ปี 1926[4]

ตัวอย่าง

[แก้]

เอ๊ะ คุณจะใส่แหวนแต่งงานนี่จริงๆ หรือ คุณรู้ไหมว่า แหวนแต่งงานนี่ดั้งเดิมเป็นสัญลักษณ์ของโซ่ล่ามข้อเท้าที่ผู้หญิงต้องใส่เพื่อไม่ให้วิ่งหนีไปจากสามี ฉันไม่เชื่อเลยนะว่า คุณจะเป็นส่วนของข้อปฏิบัติที่กีดกันเพศเช่นนี้[5]

มีเหตุผลหลายอย่างที่คนใส่แหวนแต่งงาน ดังนั้น การเชื่อว่า คนที่ดำรงขนบธรรมเนียมประเพณีนี้ส่งเสริมการกีดกันทางเพศ จึงเป็นเหตุผลวิบัติ

คำคัดค้านตารางการดำเนินรถโดยสารประจำทางใหม่ของคณะกรรมการ มาจากผู้จัดสรรอสังหาริมทรัพย์ฝ่ายเอกชนเท่านั้น จึงไม่ต้องสนใจ

นี่เป็นเหตุผลวิบัติ เพราะผู้จัดสรรอสังหาริมทรัพย์ฝ่ายเอกชนอาจมีความเห็นที่ดีอันประกอบด้วยความรู้ในเรื่องนี้

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "A List Of Fallacious Arguments". สืบค้นเมื่อ 2012-10-06.[ลิงก์เสีย]
  2. Damer, T. Edward (1995). Attacking Faulty Reasoning (3rd ed.). chapter II, subsection "The Relevance Criterion", p. 12. ISBN 978-0-534-21750-1.
  3. Engel, S. Morris (1994). With Good Reason: An Introduction to Informal Fallacies (5th ed.). New York, NY: St. Martin's Press. chapter V, subsection 1, p. 198. ISBN 978-0-312-08479-0.
  4. Adler, Mortimer Jerome (1977). Philosopher at Large: An Intellectual Autobiography. New York: MacMillan Publishing Company. pp. 86-87. ISBN 978-0-02-500490-0. the fallacy of genetic interpretation.
  5. Damer (1995), p. 36

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]