ข้ามไปเนื้อหา

คนเถื่อนใจธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
The Death of General Wolfe (มรณกรรมของพลเอกโวล์ฟ) ภาพแบบคลาสสิกใหม่ ใน ค.ศ. 1771 แสดงรายละเอียดวีรชนในคราบคนป่า

คนเถื่อนใจธรรม (ฝรั่งเศส: bon sauvage; อังกฤษ: noble savage) เป็นศัพท์ทางปรัชญา หมายถึง คนที่ถูกมองว่ารูปทรามต่ำศักดิ์ แต่เนื้อแท้แล้วเปี่ยมคุณธรรม คำนี้ปรากฏในภาษาอังกฤษครั้งแรกในละครเวทีเรื่อง The Conquest of Granada (พิชิตกรานาดา) เมื่อ ค.ศ. 1672 ของ จอห์น ดรายเดน (John Dryden) โดยในบทละครนั้น เจ้าชายคริสเตียนพระองค์หนึ่งซึ่งปลอมพระองค์เป็นชาวสเปนมุสลิมใช้คำดังกล่าวแทนพระองค์เอง ต่อมา คำนี้กลายเป็นเครื่องแสดงภาพของ "คนผู้เป็นสุภาพชนโดยเนื้อแท้" ตามทฤษฎีความรับรู้ทางศีลธรรม (moral sense theory) อันเลื่องลือในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 ต่อมาใน ค.ศ. 1851 ชาลส์ ดิกเกนส์ (Charles Dickens) นักเขียนชาวอังกฤษ ใช้คำเช่นว่าเป็นชื่อบทความเชิงเสียดสีสังคม ซึ่งมีเนื้อหาแสดงความต้องการของเขาที่จะหลีกลี้ไปเสียจากสังคมโรแมนติกแบบดึกดำบรรพ์อย่างในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้คำนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอีก