การรุกรานเกงจิ๋วของลิบอง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
การรุกรานเกงจิ๋วของลิบอง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามในยุคสิ้นราชวงศ์ฮั่น | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ซุนกวน | เล่าปี่ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ลิบอง ลกซุน จูเหียน พัวเจี้ยง |
กวนอู กวนเป๋ง เลียวฮัว (เชลย) เตียวลุย (เชลย) บิฮอง เปาสูหยิน พัวโยย |
การรุกรานเกงจิ๋วของลิบอง | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 呂蒙攻取荊州之戰 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 吕蒙攻取荆州之战 | ||||||
|
การรุกรานเกงจิ๋วของลิบอง เป็นสงครามครั้งสุดท้ายในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ก่อนจะเข้าสู่ยุคสามก๊ก โดยเป็นการปะทะกันระหว่างกองทัพง่อก๊กภายใต้การนำของลิบองกับกองทัพจ๊กก๊กภายใต้การนำของกวนอูและกวนเป๋ง
สงครามครั้งนี้สืบเนื่องมาจากยุทธการที่อ้วนเซีย โดยกวนอูได้ไล่ติดตามกองทัพของโจหยินมาจนถึงกับดักที่ลิบองได้วางเอาไว้จนกวนอูและกวนเป๋งลูกบุญธรรมถูกจับตัวได้โดยไม่มีกองหนุนมาช่วยเหลือเนื่องจากบิฮองและเปาสูหยิน รองแม่ทัพแปรพักตร์ไปเข้ากับง่อก๊ก ซุนกวนได้พยายามเกลี้ยกล่อมกวนอูและกวนเป๋งให้มาเข้ากับง่อก๊ก แต่ทั้งสองปฏิเสธ จึงถูกประหารชีวิตพร้อมกับส่งหัวของกวนอูไปให้โจโฉเพื่อให้เล่าปี่เข้าใจโจโฉผิด แต่เล่าปี่ไม่หลงกล เหตุการณ์นี้ได้นำไปสู่ยุทธการที่อิเหลงที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 222 หรืออีก 3 ปีต่อมา
กลยุทธ์
[แก้]ลิบองใช้กลยุทธ์ปลอมเป็นพ่อค้า โดยให้ทหารฝ่ายง่อก๊กซุ่มซ่อนอาวุธไว้ไต้ท้องเรือ แล้วเข้ายึดป้อมบริเวณริมแม่น้ำ แล้วยกพลขึ้นบก จากนั้นจึงซุ่มกำลังไว้แล้วรอทหารยามฝ่ายจ๊กก๊กที่กลับมาจากป้อมเข้าเมือง ทำให้ลิบองยกทัพเข้ายึดเกงจิ๋วได้สำเร็จ[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สามก๊ก 1994 | พากย์ไทย | TVB Thailand | MVHub | MVTV | ซีรีส์จีน | #EP59 กวนอูสิ้นบุญ, สืบค้นเมื่อ 2022-06-09
- Chen, Shou (3rd century). Records of the Three Kingdoms (Sanguozhi).
- de Crespigny, Rafe (2004). "Chapter 6: Struggle for Jing Province". Generals of the South (PDF) (internet ed.). Canberra: National Library of Australia. pp. 22–25. สืบค้นเมื่อ 10 March 2018.[ลิงก์เสีย]
- Pei, Songzhi (5th century). Annotations to Records of the Three Kingdoms (Sanguozhi zhu).
- Sima, Guang (1084). Zizhi Tongjian.