ข้ามไปเนื้อหา

การศึกระหว่างโจโฉและเตียวสิ้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การศึกระหว่างโจโฉและเตียวสิ้ว
ส่วนหนึ่งของ สงครามในยุคสิ้นราชวงศ์ฮั่น
วันที่ป. กุมภาพันธ์ ค.ศ. 197 – ธันวาคม ค.ศ. 199
สถานที่
หลายสถานที่ในบริเวณที่เป็นเมืองหนานหยาง มณฑลเหอหนาน ในปัจจุบัน
ผล เตียวสิ้วยอมสวามิภักดิ์
คู่สงคราม
โจโฉ เตียวสิ้ว
เล่าเปียว
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โจโฉ
โจหอง
อิกิ๋ม
เตียนอุย  
โจงั่ง  
โจอั๋นบิ๋น  
เตียวสิ้ว  Surrendered
กาเซี่ยง  Surrendered
เล่าเปียว
เติ้ง จี้  (เชลย)
การศึกระหว่างโจโฉและเตียวสิ้ว
อักษรจีนตัวเต็ม曹操與張繡之戰
อักษรจีนตัวย่อ曹操与张绣之战

การศึกระหว่างโจโฉและเตียวสิ้ว เป็นการรบระหว่างขุนศึกโจโฉและเตียวสิ้วระหว่าง ค.ศ. 197 ถึง ค.ศ. 199 ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ผลท้ายที่สุดของการศึกคือเตียวสิ้วยอมสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ

ภูมิหลัง

[แก้]

ในปี ค.ศ. 196 ขุนศึกโจโฉยกทัพไปยังเมืองหลวงเก่าลกเอี๋ยงเพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ จักรพรรดิหุ่นเชิดแห่งราชวงศ์ฮั่นซึ่งถูกควบคุมภายใต้อำนาจของขุนศึกตั๋งโต๊ะ ต่อด้วยลิฉุยและกุยกี มาตั้งแต่เริ่มขึ้นครองราชย์เมื่อปี ค.ศ. 189 พระองค์เพิ่งเสด็จหนีจากเมืองเตียงฮันเมื่อปลายปี ค.ศ. 195 หลังที่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของลิฉุยและกุยกีมาตั้งแต่หลังตั๋งโต๊ะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 192 โจโฉปฏิบัติต่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ด้วยความเคารพและให้ความคุ้มครองพระองค์จากเมืองลกเอี๋ยงมายังฐานกำลังของโจโฉที่เมืองฮูโต๋ (許 สฺวี่; ปัจจุบันคือเมืองสฺวี่ชาง มณฑลเหอหนาน)[1]

ในขณะเดียวกัน อำนาจของกลุ่มลิฉุยและกุยกีในเตียงฮันและภูมิภาคกฺวันจงก็เริ่มที่จะอ่อนแอและเสื่อมสลายไป โดยเฉพาะหลังจากที่พระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จหนีไปแล้ว เตียวเจอดีตพันธมิตรของลิฉุยและกุยกีได้นำผู้ติดตามออกจากภูมิภาคกฺวันจงไปจับแคว้นเกงจิ๋วที่ปกครองโดยขุนศึกเล่าเปียว เตียวเจหวังจะสร้างฐานอำนาจในแคว้นเกงจิ๋วจึงนำทหารเข้าโจมตีอำเภอหรางเซี่ยน (穰縣; หรือ หรางเฉิง 穰城; ปัจจุบันคือเมืองเติ้งโจว มณฑลเหอหนาน) แต่ถูกสังหารด้วยเกาทัณฑ์ระหว่างการรบ ฝ่ายเล่าเปียวแทนที่จะแก้แค้นผู้ติดตามของเตียวสิ้วที่ยกมาโจมตี กลับรู้สึกสงสารและทำการสงบศึกกับเตียวสิ้วผู้เป็นหลานอาและผู้สืบทอดของเตียวเจ เล่าเปียวยังได้มอบเมืองอ้วนเซีย (宛城 หว่านเฉิง; หรือเรียกสั้น ๆ ว่า หว่าน 宛; ปัจจุบันคือเมืองหนานหยาง มณฑลเหอหนาน) ทางเหนือของแคว้นเกงจิ๋วให้เตียวสิ้วและผู้ติดตามปกครอง[2][3]

ยุทธการที่อ้วนเซีย

[แก้]

ช่วงเวลาหนึ่งระหว่างวันที่ 5 กุมภาพันธ์และวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 197 [a] โจโฉนำทัพยกเข้าโจมตีเตียวสิ้ว เมื่อโจโฉยกทัพมาถึงแม่น้ำหยกซุย (淯水 ยฺวี่ชุ่ย; ปัจจุบนรู้จักในชื่อแม่น้ำไป๋ชุ่ย 白河; ไหลผ่านบริเวณที่เป็นมณฑลเหอหนานและมณฑลหูเป่ย์ในปัจจุบัน) เตียวสิ้วยอมจำนนโดยไม่มีการรบ[4] โจโฉมีความยินดีจึงให้จัดงานเลี้ยงสำหรับเตียวสิ้วและผู้ติดตาม ระหว่างงานเลี้ยง เตียนอุยนายทหารของโจโฉยืนให้ความคุ้มครองอยู่ด้านหลังผู้เป็นนายโดยถือขวานรบยักษ์ที่มีคมยาวหนึ่งฉื่อ เตียวสิ้วและผู้ติตตามไม่กล้าเงยหน้าขึ้นมองเตียนอุยเมื่อมาดื่มอวยพรให้โจโฉ[5]

โจโฉพำนักในเมืองอ้วนเซียเป็นเวลาสิบกว่าวันหลังรับการยอมจำนนของเตียวสิ้ว เวลานั้นโจโฉสนใจภรรยาม่ายของเตียวเจ[b] และรับนางเป็นภรรยาน้อย เตียวสิ้วรู้สึกโกรธและอับอายเป็นอย่างมากจึงวางแผนจะแก้แค้นโจโฉ ฝ่ายโจโฉได้ข่าวว่าเตียวสิ้วมีความไม่พอใจ จึงวางแผนจะลอบสังหารเตียวสิ้ว[7]

ก่อนหน้านี้ กาเซี่ยงที่ปรึกษาของเตียวสิ้วได้แนะนำเตียวสิ้วให้ถามโจโฉขอตั้งกองกำลังไว้ใกล้ค่ายของโจโฉ เตียวสิ้วยังได้ถามโจโฉตามคำแนะนำของกาเซี่ยงว่า "กองทหารของข้ามีรถรบน้อยเกินไปและหนักเกินไป โปรดอนุญาตให้กองทหารของข้าสวมเสื้อเกราะหนักด้วยเถิด" โจโฉไม่รู้สึกสงสัยจึงอนุญาตตามคำขอของเตียวสิ้ว[8]

เวลานั้น เตียวสิ้วมีผู้ช่วยคนสนิทชื่อเฮาเฉีย (胡車兒 หู เชอเอ้อร์ หรือ หู จฺวีเอ้อร์) ผู้มีชื่อเสียงในเรื่องความกล้าหาญ โจโฉประทับใจเฮาเฉียเช่นกันจึงได้มอบทองคำเป็นของขวัญให้เฮาเฉีย เมื่อเตียวสิ้วได้รู้แล้วว่าโจโฉต้องการจะกำจัดตน ก็คิดว่าโจโฉกำลังพยายามจะติดสินบนเฮาเฉียให้มาเป็นผู้ลอบสังหารตน เตียวสิ้วจึงรีบเข้าจู่โจมค่ายของโจโฉอย่างฉับพลัน[9][10]

ด้วยเหตุที่โจโฉไม่ได้ระมัดระวังจากการโจมตีของเตียวสิ้ว ประกอบกับการที่เตียวสิ้วได้วางแผนโจมตีและวางกองกำลังใกล้ค่ายของโจโฉไว้แล้ว กองกำลังของโจโฉจึงแตกพ่ายยับเยิน โจโฉไม่มีทางเลือกนอกจากถอยหนีโดยมีเพียงทหารม้าไม่กี่คนที่ติดตามไป เตียนอุยยังคงอยู่ด้านหลังพร้อมทหารประมาณสิบกว่าคนเพื่อคุ้มกันทางถอยของโจโฉ ในที่สุดเตียนอุยและทหารทั้งหมดก็ถูกกองกำลังของเตียวสิ้วสังหารในที่รบ[11] ฝ่ายโจโฉได้รับบาดเจ็บที่หน้าและเท้าระหว่างถอยหนีเพราะม้าของโจโฉชื่อเจฺว๋อิ่ง (絕影) สะบัดโจโฉตกจากหลังและถูกยิงด้วยเกาทัณฑ์ โจโฉยังมีลูกเกาทัณฑ์ปักอยู่ที่แขนขวา [12] โจงั่งบุตรชายคนโตของโจโฉมอบม้าให้บิดาได้หนี ตัวโจงั่งและโจอั๋นบิ๋น (曹安民 เฉา อันหมิน) หลานอาของโจโฉถูกสังหารโดยกองกำลังของเตียวสิ้วในภายหลัง [13][14]

ยุทธการที่อู่อิน

[แก้]

เมื่อโจโฉและกองกำลังที่เหลืออยู่ถอยหนีไปยังอำเภออู่อิน (舞陰縣 อู่อินเซี่ยน; ปัจจุบันอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอเช่อฉี มณฑลเหอหนาน) กองกำลังของเตียวสิ้วยังคงตามโจมตีกองกำลังของโจโฉตลอดทาง มีเพียงอิกิ๋มนายพันใต้บังคับบัญชาของโจโฉที่สามารถนำหน่วยของตนถอยหนีได้อย่างเป็นระเบียบไปยังอำเภออู่อิน และรวมทหารของตนไว้ด้วยกันได้แม้จะมีการบาดเจ็บและสูญเสียอย่างมาก เมื่อกองกำลังของเตียวสิ้วผ่อนการโจมตีลง อิกิ๋มรวบรวมทหารขึ้นใหม่และยกพลไปอำเภออู่อินอย่างสง่าแม้จะพ่ายแพ้ในการรบก็ตาม[15]

ก่อนที่อิกิ๋มจะมาถึงอำเภออู่อิน อิกิ๋มทราบข่าวว่ากองทหารเฉงจิ๋ว (青州兵 ชิงโจวปิง) หน่วยทหารฝีมือดีของโจโฉที่ทหารในหน่วยล้วนเป็นอดีตคนในกลุ่มกบฏโพกผ้าเหลือง ได้ฉวยโอกาสที่เกิดความวุ่นวายเข้าปล้นหมู่บ้านตลอดทาง อิกิ๋มจึงนำทหารของตนเข้าโจมตีและลงทัณฑ์ทหารเฉงจิ๋ว ทหารเฉงจิ๋วบางคนหนีไปถึงอำเภออู่อิน เข้าพบโจโฉแล้วกล่าวหาอิกิ๋มกระทำการโหดร้ายทารุณต่อพวกตน เมื่ออิกิ๋มมาถึงอำเภออู่อิน แทนที่อิกิ๋มจะไปเข้าพบโจโฉเพื่อชี้แจงแก้ต่างให้ตนเอง อิกิ๋มกลับไปตั้งแนวป้องกันรอบค่ายโจโฉ เพราะอิกิ๋มรู้ว่าโจโฉจะไม่เชื่อคำโป้ปดของทหารเฉงจิ๋ว จึงไม่จำเป็นต้องรีบไปชี้แจงแก้ต่าง อีกทั้งอิกิ๋มยังคำนึงถึงเรื่องที่การเสริมการป้องกันเผื่อกรณีเตียวสิ้วยกมาโจมตีซ้ำเป็นเรื่องสำตัญกว่า การกระทำของอิกิ๋มเหมาะสมกับสถานการณ์ โจโฉจึงให้การยกย่องทั้งยังปูนบำเหน็จให้สำหรับความชอบ[16]

ยุทธการที่เย่, หูหยาง และอู่อิน

[แก้]

ยุทธการที่หรางเฉิง

[แก้]

การสวามิภักดิ์ของเตียวสิ้ว

[แก้]

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. จดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่ายุทธการที่อ้วนเซียเกิดขึ้นในเดือนอ้าย ปีที่สองของรัชศกเจี้ยนอัน ในรัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้ เดือนนี้ตรงกับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 5 กุมภาพันธ์ถึง 6 มีนาคม ค.ศ. 197 ตามปฏิทินเกรโกเรียน
  2. ภรรยาม่ายของเตียวเจถูกเรียกชื่อว่า "เจ๋าซือ" (鄒氏 โจวชื่อ) ในนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่ประพันธ์ในศตวรรษที่ 14[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 62.
  2. (張濟自關中引兵入荊州界,攻穰城,為流矢所中死。荊州官屬皆賀,劉表曰:「濟以窮來,主人無禮,至於交鋒,此非牧意,牧受弔,不受賀也。」使人納其衆;衆聞之喜,皆歸心焉。濟族子建忠將軍繡代領其衆,屯宛。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 62.
  3. (張濟自關中走南陽。濟死,從子繡領其衆。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 1.
  4. (太祖南征,軍淯水,繡等舉衆降。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 8.
  5. (太祖征荊州,至宛,張繡迎降。太祖甚恱,延繡及其將帥,置酒高會。太祖行酒,韋持大斧立後,刃徑尺,太祖所至之前,韋輒舉斧目之。竟酒,繡及其將帥莫敢仰視。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 18.
  6. สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้) ตอนที่ 16.
  7. (太祖納濟妻,繡恨之。太祖聞其不恱,密有殺繡之計。計漏,繡掩襲太祖。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 8.
  8. (吳書曰:繡降,用賈詡計,乞徙軍就高道,道由太祖屯中。繡又曰:「車少而重,乞得使兵各被甲。」太祖信繡,皆聽之。繡乃嚴兵入屯,掩太祖。太祖不備,故敗。) อรรถาธิบายจากอู๋ชูในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 8.
  9. (傅子曰:繡有所親胡車兒,勇冠其軍。太祖愛其驍健,手以金與之。繡聞而疑太祖欲因左右刺之,遂反。) อรรถาธิบายจากฟู่จื่อในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 8.
  10. (二年春正月,公到宛。張繡降,旣而悔之,復反。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 1.
  11. (後十餘日,繡反,襲太祖營,太祖出戰不利,輕騎引去。韋戰於門中,賊不得入。兵遂散從他門並入。時韋校尚有十餘人,皆殊死戰,無不一當十。賊前後至稍多,韋以長戟左右擊之,一叉入,輒十餘矛摧。左右死傷者略盡。韋被數十創,短兵接戰,賊前搏之。韋雙挾兩賊擊殺之,餘賊不敢前。韋復前突賊,殺數人,創重發,瞋目大罵而死。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 18.
  12. (魏書曰:公所乘馬名絕影,為流矢所中,傷頰及足,并中公右臂。) อรรถาธิบายจากเว่ย์ชูในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 1.
  13. (世語曰:昂不能騎,進馬於公,公故免,而昂遇害。) อรรถาธิบายจากชี่ยฺอวี่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 1.
  14. (公與戰,軍敗,為流矢所中,長子昂、弟子安民遇害。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 1.
  15. (從至宛,降張繡。繡復叛,太祖與戰不利,軍敗,還舞陰。是時軍亂,各間行求太祖,禁獨勒所將數百人,且戰且引,雖有死傷不相離。虜追稍緩,禁徐整行隊,鳴鼓而還。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 17.
  16. (未至太祖所,道見十餘人被創裸走,禁問其故,曰:「為青州兵所劫。」初,黃巾降,號青州兵,太祖寬之,故敢因緣為略。禁怒,令其衆曰:「青州兵同屬曹公,而還為賊乎!」乃討之,數之以罪。青州兵遽走詣太祖自訴。禁旣至,先立營壘,不時謁太祖。或謂禁:「青州兵已訴君矣,宜促詣公辨之。」禁曰:「今賊在後,追至無時,不先為備,何以待敵?且公聦明,譖訴何緣!」徐鑿塹安營訖,乃入謁,具陳其狀。太祖恱,謂禁曰:「淯水之難,吾其急也,將軍在亂能整,討暴堅壘,有不可動之節,雖古名將,何以加之!」於是錄禁前後功,封益壽亭侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 17.