ข้ามไปเนื้อหา

การล้อมกิจิ๋ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การล้อมกิจิ๋ว
ส่วนหนึ่งของ สงครามยุคสิ้นราชวงศ์ฮั่น
วันที่ค.ศ. 213
สถานที่
ผล ม้าเฉียวชนะ
คู่สงคราม
ม้าเฉียว
เตียวฬ่อ
ชาวเกี๋ยง
ชาวหู
โจโฉ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ม้าเฉียว
เอียวหงง
อุยของ  Surrendered  โทษประหารชีวิต
หยาง เยฺว่  Surrendered
กำลัง
10,000[1] 1,000[1]
การล้อมกิจิ๋ว
อักษรจีนตัวเต็ม冀城之圍
อักษรจีนตัวย่อ冀城之围

การล้อมกิจิ๋ว[a] (จีน: 冀城之圍) เป็นส่วนหนึ่งของการทัพที่ม้าเฉียวริเริ่มเพื่อพยายามจะชิงมณฑลเลียงจิ๋วคืน หลังทัพพันธมิตรกวานซี (ตะวันตกของด่านหานกู่) พ่ายแพ้ในยุทธการที่ด่านตงก๋วนในฤดูหนาว ค.ศ. 211 ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

ภูมิหลัง

[แก้]

หลังทัพพันธมิตรกวานซีสลายตัว ม้าเฉียวนำทหารที่เหลือไปยังลำฉัน (藍田 หลานเถียน) เพื่อเตรียมการยืนหยัดสู้กับโจโฉต่อไป บังเอิญว่าในเวลานั้นซู ปั๋ว (苏伯) ในเมืองโฮกั้น (河閒 เหอเจียน) ก่อกบฏ โจโฉตัดสินนำทัพหลักยกเข้าปราบกบฏ ทำให้ม้าเฉียวมีเวลาได้พักฟื้น ม้าเฉียวจึงค่อย ๆ ฟื้นคืนกองกำลังของตนและมีอิทธิพลอย่างมากเหนือชนเผ่าที่ไม่ใช่ชาวฮั่นอีกครั้ง ม้าเฉียวคัดเลือกทหารชาวเกี๋ยงและชาวหูจำนวนมาก และได้รับกำลังเสริมจากเตียวฬ่อแห่งฮันต๋ง ม้าเฉียวจึงวางแผนจะเข้ายึดทุกอำเภอในหลงเส (陇西 หล่งซี; ทางตะวันตกของสันเขาหล่ง) และภายในหนึ่งปี ทุกอำเภอยกเว้นกิจิ๋ว[a] (冀城 จี้เฉิง; ที่ตั้งที่ว่าการของเมืองเทียนซุย) ในพื้นที่นั้นก็ยอมจำนนให้กองกำลังพันธมิตรของม้าเฉียว

การปิดล้อม

[แก้]

ในปี ค.ศ. 213 ม้าเฉียวเริ่มปิดล้อมกิจิ๋ว แต่กลายเป็นการศึกที่ยากลำบาก แม้ว่าอุยของข้าหลวงของมณฑลเลียงจิ๋วเสียเปรียบเป็นอย่างมาก แต่เอียวหูผู้ช่วยของอุยของก็ช่วยในเรื่องป้องกันเป็นอย่างดีโดยทำหน้าที่เป็นผู้นำในการปกป้องเมือง เอียวหูคัดเลือกบัณฑิตและพรรคพวกราว 1,000 คนให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของหยาง เยฺว่ (杨岳) ที่เป็นลูกพี่ลูกน้อง ตัวเอียวหูเองทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากลยุทธ์ของหยาง เยฺว่ เอียวหูบอกกับหยาง เยฺว่ให้สร้างค่ายกลรูปจันทร์เสี้ยวบนบนกำแพงเมืองเพื่อตอบโต้การปิดล้อมของม้าเฉียวและรอกำลังหนุนจากทางตะวันออก[1] อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนหนึ่งถึงเดือนแปดก็ไม่มีวี่แววว่ากำลังหนุนจะเดินทางมาก อุยของจึงส่งผู้ใต้บังคับบัญชาชื่อเหยียน เวิน (阎温) ให้ลอบเดินทางออกไปในเวลากลางคืนเพื่อไปขอความช่วยเหลือจากแฮหัวเอี๋ยนซึ่งประจำการอยู่ที่เตียงฮัน

ผลสืบเนื่อง

[แก้]

ในวัฒนธรรมประชานิยม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ชื่อ "กิจิ๋ว" ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 53[2] ชื่อในภาษาจีนกลางคือ "จี้เฉิง" (冀城) เป็นคนละชื่อกับ "กิจิ๋ว" ที่เป็นชื่อมณฑลซึ่งมีชื่อในภาษาจีนกลางว่า "จี้โจว" (冀州)

อ้างอิง

[แก้]

รายการอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ตันซิ่ว. จดหมายเหตุสามก๊ก, เล่มที่ 25, บทชีวประวัติซินผี เอียวหู และเถาถัง หลง
  2. "สามก๊ก ตอนที่ ๕๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 24, 2023.

บรรณานุกรม

[แก้]