ข้ามไปเนื้อหา

การกลืนลำบาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การกลืนลำบาก
(Dysphagia)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10R13.r
ICD-9438.82 , 787.2
DiseasesDB17942
MedlinePlus003115
eMedicinepmr/194
MeSHD003680

การกลืนลำบาก[1][2][3] (อังกฤษ: Dysphagia) ซึ่งแม้ ICD-10 จะจัดว่าเป็น "อาการและอาการปรากฏ" ของโรคต่าง ๆ[4] แต่บางครั้งก็ใช้หมายถึงภาวะโดยเฉพาะของตนเอง[5][6][7] และผู้ที่มีภาวะนี้ก็อาจไม่สำนึกว่าตนมี[8][9] มันอาจจะเป็นความรู้สึกว่าอาหารแข็งหรือเครื่องดื่มดำเนินผ่านปากไปจนถึงท้องได้ยาก[10] หรืออาจไม่มีความรู้สึกที่คอหอย หรืออาจเป็นความบกพร่องในการกลืนอื่น ๆ การกลืนลำบากต่างกับอาการอื่น ๆ รวมทั้งอาการกลืนเจ็บ[11] และอาการเหมือนมีก้อนในลำคอ เพราะบุคคลอาจกลืนลำบากโดยที่ไม่มีอาการกลืนเจ็บ หรือกลืนเจ็บโดยไม่ได้กลืนลำบาก หรือมีทั้งสองอย่างร่วมกัน ส่วนอาการนี้ที่เกิดจากจิตใจเรียกว่า โรคกลัวการกิน (phagophobia)

อาการ

[แก้]

คนไข้บางคนสำนึกถึงอาการนี้ได้อย่างจำกัด ดังนั้น การไม่มีอาการไม่ได้หมายความว่าไม่ได้มีโรคที่เป็นเหตุ[12] ถ้าอาการไม่ได้วินิจฉัยและรักษา คนไข้มีโอกาสเสี่ยงสูงในการสูดอาหารและน้ำเข้าปอด (pulmonary aspiration) แล้วเป็นปอดบวมเพราะเหตุนั้น คนไข้บางคนอาจสูดอาหารและน้ำเข้าปอดแต่ก็ไม่มีอาการไอหรืออาการอื่น ๆ ที่เนื่องกัน (silent aspiration) อาการที่ไม่ได้รักษาอาจทำให้ขาดน้ำ ขาดอาหาร และไตวาย

อาการของการกลืนลำบากที่ปากและคอหอย (oropharyngeal dysphagia) รวมจัดการอาหารในปากได้ยาก ควบคุมอาหารและน้ำลายในปากได้ยาก เริ่มกลืนลำบาก ไอ สำลัก ปอดบวมบ่อย ๆ น้ำหนักลดโดยไม่มีเหตุ เสียงเปลี่ยนหลังกลืน การสำลักออกทางจมูก และกลืนลำบาก[12] เมื่อถามว่าอาหารไปติดที่ตรงไหน คนไข้บ่อยครั้งจะชี้ไปที่คอ จุดที่อาหารติดจะอยู่ตรงที่คนไข้ชี้หรือต่ำกว่านั้น

อาการสามัญที่สุดของการกลืนลำบากในหลอดอาหาร (esophageal dysphagia) ก็คือ กลืนอาหารแข็งได้ยาก ซึ่งคนไข้บอกว่าอาหารติดก่อนที่จะเข้าไปถึงท้อง หรือจะขย้อนขึ้น อาการกลืนเจ็บจะต่างกันโดยเป็นตัวบ่งชี้ว่าอาจมีมะเร็งเยื่อบุ แต่ก็มีเหตุอื่น ๆ อีกมากมายเช่นกันที่ไม่เกี่ยวกับมะเร็ง

ภาวะกล้ามเนื้อเรียบไม่คลาย (achalasia) เป็นข้อยกเว้นในเรื่องอาการทั่วไปของการกลืนลำบาก เพราะจะกลืนน้ำได้ยากกว่ากลืนอาหารแข็ง ภาวะนี้มีเหตุจากความเสียหายต่อปมประสาทพาราซิมพาเทติกของข่ายประสาท (myenteric plexus) ที่ควบคุมการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารส่วนล่างแคบลง และทำให้หลอดอาหารไม่บีบตัวทั่วทั้งหลอด

ภาวะแทรกซ้อน

[แก้]

ภาวะแทรกซ้อนของการกลืนยากอาจรวมการสูดอาหารและน้ำเข้าปอด ปอดบวม ขาดน้ำ และน้ำหนักลด

การจัดหมวด

[แก้]

อาการสามารถแบ่งออกเป็น[13]

  1. การกลืนลำบากที่ปากและคอหอย (oropharyngeal dysphagia)
  2. การกลืนลำบากในหลอดอาหาร (esophageal dysphagia)
  3. กลุ่มอาการทางประสาทและกล้ามเนื้อ
  4. การกลืนลำบากที่ไม่ใช่โรคกาย (functional dysphagia) คือเป็นอาการที่ไม่ได้มีเหตุจากโครงสร้างและอวัยวะ

ตารางต่อไปนี้แสดงเหตุต่าง ๆ ที่เป็นไปได้

เหตุที่เป็นไปได้ของการกลืนลำบาก
ตำแหน่ง เหตุ
ปาก
คอหอย
  • ในช่อง:
    • มีของแปลกปลอมติดอยู่
  • ที่ผนัง
  • นอกผนัง
    • ฝีหลังคอหอย
    • โรคปุ่มน้ำเหลืองที่คอ
    • เนื้อร้ายไทรอยด์
    • Eagle syndrome[B]
หลอดอาหาร
  • ในช่อง
    • มีของแปลกปลอมติดอยู่
  • ที่ผนัง
  • นอกผนัง
    • โรคคอพอกหลังกระดูกอก (retrosternal goitre) คือต่อมไทรอยด์บวม
    • เนื้อร้าย
    • Zenker's diverticulum[C]
    • ท่อเลือดแดงโป่งพอง
    • เนื้องอกเข้ามาในโครงสร้างตรงกลาง (mediastinal growth)
    • การกลืนลำบากเหตุหลอดเลือดแดงใต้กระดูกไหปลาร้าผิดปกติ (dysphagia lusoria)
    • Periesophagitis
    • กระเพาะอาหารเลื่อนผ่านกะบังลม (hiatus hernia)[D]
    • การผ่าตัดผูกหูรูดกระเพาะอาหารที่แน่นเกิน หรือการผูกแถบกระเพาะอาหาร (gastric banding)

ความลำบากหรือความไม่สามารถกลืนอาจมีเหตุจากหรือทำให้แย่ลงโดยยาฝิ่นและ/หรือยาโอปิออยด์[17]

วิธีการวินิจฉัย

[แก้]

มาตรฐานในการวินิจฉัยการกลืนลำบากก็คือใช้เครื่องมือตรวจ เพราะบริเวณที่เป็นประเด็นไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า และคนไข้อาจจะไม่รู้สึกถึงการกลืนลำบากหรือสามารถกำหนดตำแหน่งที่เป็นปัญหาได้อย่างแม่นยำ

มาตรฐานอย่างหนึ่งเพื่อวินิจฉัยการกลืนลำบากที่ปากและคอหอยก็คือการให้กลืนเม็ดยาถ่ายเอ็กซ์เรย์ (MBSS/VFSS) ซึ่งช่วยให้เห็นโครงสร้างและสรีรภาพเกี่ยวกับการกลืนด้วยภาพเอกซ์เรย์เคลื่อนไหว โดยได้มุมมองจากด้านข้าง (lateral) และจากหน้าไปหลัง (AP) ผู้ชำนาญการจะวิเคราะห์การกลืนโดยแบ่งเป็นช่วง ๆ สำหรับช่วงปาก สิ่งที่ประเมินก็คือ การปิดปาก การจัดการควบคุมก้อนอาหาร การเริ่มขยับลิ้น การเคี้ยว การเคลื่อนย้ายก้อนอาหาร และสิ่งที่เหลืออยู่ในปากเมื่อกลืน สำหรับช่วงคอหอย สิ่งที่ประเมินคือ การปิดคอหอยด้วยเพดานปาก (velopharyngeal closure) การเริ่มกลืนที่คอหอย การยกคอหอยขึ้น การขยับกระดูกไฮออยด์ด้านหน้า การปิดฝากล่องเสียง การปิดโพรงคอหอยและความเร็วในการตอบสนอง การหดโคนลิ้นออก การบีบตัวของคอหอย และสิ่งที่เหลืออยู่ในคอยหอยเมื่อกลืนแล้ว

ส่วนหลอดอาหารจะวิเคราะห์การเคลียร์เทียบกับการเหลืออาหาร น้ำ และยา สิ่งที่เหลือก็จะตรวจดูว่ามันกลับขึ้นมายังหลอดอาหารส่วนบนหรือเข้าไปในคอหอยและหลอดลมหรือไม่ เจ้าหน้าที่จะตรวจอาหารและน้ำประเภทต่าง ๆ รวมทั้งเม็ดยาที่ให้กลืน เป็นเรื่องสำคัญที่จะทดสอบสิ่งที่กลืนซึ่งมีความหนืดและปริมาณขนาดต่าง ๆ กัน สิ่งที่ทดสอบปกติจะรวมน้ำเปล่า น้ำผลไม้ที่หนืดขึ้น น้ำผึ้งที่หนืดขึ้นอีก น้ำผักผลไม้บด ขนมปังกรอบ (หรือคุกกี้) ของที่มีความหนืดข้นไม่เท่ากัน และเม็ดยาที่กลืนกับน้ำหรือน้ำผักผลไม้บด (โดยขึ้นอยู่กับวิธีการวัดค่าพื้นฐาน)

เจ้าหน้าที่จะตรวจดูว่าการกลืนปลอดภัยหรือไม่ (คือไม่สูดเข้าทางลมหายใจ) และมีประสิทธิภาพหรือไม่ (คือไม่มีอะไรเหลือ) จุดประสงค์ก็เพื่อตรวจว่า ทำไมจึงกลืนลำบากและว่า จะทำอะไรได้เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการกลืน บางครั้งการดื่มน้ำธรรมดาอาจทำให้สูดเข้าทางลมหายใจได้ง่าย ดังนั้น เจ้าหน้าที่ก็อาจตรวจท่าทาง อิริยาบถ และวิธีการกลืนเพื่อป้องกันไม่ให้สูดเข้าทางลมหายใจ โดยจะขึ้นอยู่กับร่างกายและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของบุคคลนั้น วิธีการหนึ่งที่อาจเพิ่มความปลอดภัยในการกลืนของเหลว ก็คือเปลี่ยนความหนืด เช่นทำให้ข้นขึ้น ไม่ว่าจะในระดับต้น กลาง หรือข้นสุด ๆ ถ้ามีของเหลือมากหลังจากกลืน ก็จะมีเทคนิคเพื่อลดปัญหานี้ ดูเรื่องการรักษาต่อไปสำหรับกลยุทธ์การกลืนเพื่อแก้ปัญหาหรือวิธีการเพื่อฟื้นฟูสภาพ

มาตรฐานอีกอย่างเพื่อวินิจฉัยการกลืนยากก็คือการส่องกล้องต่อเส้นใยนำแสงผ่านจมูก (FEES) ซึ่งทำโดยให้กลืนอาหารและน้ำเช่นเดียวกัน บวกกับการหาว่าทำไมจึงกลืนยากและสามารถทำอะไรเพื่อแก้ปัญหาได้ การตรวจนี้ดีกว่าตรงที่ไม่ต้องจำกัดการถูกกับรังสีเอ็กซ์เรย์ ดังนั้น จึงสามารถดูคนไข้ในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติมากกว่าเมื่อทานอาหาร กล้องส่องจะบางมากและปกติจคนไข้จะอดทนได้ดีแม้เมื่อไม่ใช้ยาชาที่จมูก

อย่างไรก็ดี การกลืนแป้งถ่ายเอ็กซเรย์ (barium swallow study/esophagram/upper GI study) จะช่วยให้ตรวจหลอดอาหารทั้งหมดได้ดีที่สุด โดยอาจต้องทานเป็นจำนวนมากเพื่อให้ขยายช่องหลอดอาหารเพื่อตรวจ เป็นการตรวจที่สามารถประเมินกรดไหลย้อนเป็นบางส่วนด้วย ซึ่งไม่เหมือนเมื่อตรวจด้วย VFSS แต่วิธีการตรวจทั้งสองก็สามารถช่วยให้เห็นอาการ Zenker's diverticulum[C]ได้ ความเสี่ยงอย่างหนึ่งก็คือ แป้งที่กลืนอาจล้นช่อง ทำให้ย้อนขึ้นไปสู่คอหอยแล้วสูดเข้าปอดหลังกลืน

ภาวะกล้ามเนื้อเรียบไม่คลายจะตรวจได้ดีที่สุดโดยวิธีนี้ ซึ่งสามารถแสดงปลายหลอดอาหารอันแคบลงเหมือนกับจะงอยปากนก หรือเหมือนกับหางหนู เมื่อหลอดอาหารตีบ น้ำแป้งที่ทานเข้าไปอาจจะเหลืออยู่ด้านบนของส่วนที่ตีบแล้วค่อย ๆ ไหลลง ซึ่งก็สามารถเห็นได้เหมือนกันด้วย VFSS ถ้าแพทย์สงสัยว่ามีหลอดอาหารตีบหรือไม่บีบตัวตั้งแต่แรก คือสามารถดูตามหลอดอาหารเมื่อได้ทานอาหารแข็งเช่นขนมปังหรือคุกกี้ การตามดูหลอดอาหารด้วย VFSS จะมีประโยชน์มากเพราะสามารถตรวจเมื่อกลืนสิ่งต่าง ๆ ที่ทดสอบได้ ส่วนการกลืนแป้งหรือเม็ดยาปกติจะตามดูได้แต่แป้งและเม็ดยาเท่านั้น

วิธีการตรวจอื่น ๆ รวมทั้ง

  • การส่องกล้องดูหลอดอาหาร (esophagoscopy) หรือดูคอหอย (laryngoscopy) จะทำให้ดูช่องทั้งสองได้โดยตรง
  • การถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ที่หน้าอก อาจแสดงอากาศและน้ำภายในอวัยวะที่คั่นระหว่างปอด และ Pott's disease ซึ่งเป็นการติดเชื้อวัณโรคนอกปอด และหลอดเลือดโป่งพองแบบมีแคลเซียมเกาะก็สามารถวินิจฉัยได้ด้วยวิธีนี้
  • การตรวจสอบการบีบตัวของหลอดอาหาร (esophageal motility study) จะมีประโยชน์เมื่อมีภาวะกล้ามเนื้อเรียบไม่คลาย หรือมีหลอดอาหารกระตุกแบบกระจาย (diffuse esophageal spasm)
  • การตรวจสอบเซลล์หลอดอาหารที่หลุดออกเป็นแผ่นสามารถทำจากน้ำล้างหลอดอาหารที่ได้เมื่อส่องกล้องดูหลอดอาหาร ซึ่งสามารถตรวจจับเซลล์เนื้อร้ายในระยะต้น ๆ
  • อัลตราซาวนด์และเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์จะไม่ช่วยให้พบเหตุของการกลืนยาก แต่สามารถตรวจจับก้อนเนื้อในอวัยวะที่คั่นระหว่างปอดกับเอออร์ตาโป่งพอง (aortic aneurysm)
  • การส่องกล้องต่อเส้นใยนำแสง (FEES) พร้อมกับตรวจสอบประสาทรับความรู้สึกต่าง ๆ อาจทำโดยแพทย์ที่รักษาปัญหาเกี่ยวกับการพูด ซึ่งก็ทำโดยให้ทานของที่ข้นต่าง ๆ ดังที่กล่าวไปแล้ว
  • เสียงและแรงสั่นที่มาจากการกลืนอาจใช้คัดกรองปัญหาการกลืนลำบาก แต่วิธีเช่นนี้ยังเป็นประเด็นงานวิจัยในระยะต้น ๆ[18]

การวินิจฉัยแยกแยะโรค

[แก้]

เหตุของการกลืนลำบากทั้งหมดต่างก็เป็นวินิจฉัยแยกแยะโรคของอาการนี้ เหตุที่สามัญรวมทั้ง

การกลืนลำบากในหลอดอาหารมีเหตุเกือบทั้งหมดจากโรคในหลอดอาหารหรืออวัยวะข้างหลอดอาหาร แต่บางครั้งก็เกิดจากแผลที่คอหอยหรือกระเพาะอาหารเหมือนกัน ในโรคที่ก่อการกลืนลำบากหลายอย่าง ช่องหลอดอาหารจะแคบลงและขยายออกไม่ได้โดยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตอนแรกเพียงแค่อาหารแข็งที่มีใยอาหารจะก่อปัญหา แต่ตอนหลังอาจเป็นอาหารแข็งทุกอย่าง และหลังจากนั้นแม้น้ำก็อาจก่อปัญหา คนไข้ที่มีปัญหากลืนลำบากอาจได้ประโยชน์จากน้ำที่ทำให้หนืดขึ้ดถ้าทานแล้วรู้สึกสบาย แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า น้ำเช่นนี้มีประโยชน์จริง ๆ

การกลืนลำบากอาจเป็นผลของความผิดปกติของระบบประสาทอิสระ เช่น ที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง[20] และ ALS[21] หรือเกิดจากการรักษาภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ที่ทำเร็วเกินไป[22]

การรักษา

[แก้]

มีวิธีการรักษาการกลืนลำบากหลายอย่าง เช่นบำบัดการกลืน เปลี่ยนอาหาร ใช้หลอดป้อนอาหาร ยา และการผ่าตัด การรักษาการกลืนลำบากอาจจะต้องอาศัยผู้ชำนาญการในด้านต่าง ๆ รวมทั้งผู้บำบัดการพูด-ภาษาที่ชำนาญการในเรื่องปัญหาการกลืน แพทย์หลัก แพทย์โรคทางเดินอาหาร พยาบาล ผู้บำบัดในเรื่องการหายใจ นักชำนาญการในเรื่องอาหาร ผู้บำบัดเรื่องทางอาชีพ ผู้บำบัดทางกายภาพ และรังสีแพทย์[12] โดยบทบาทของผู้ชำนาญการเหล่านี้จะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับรูปแบบปัญหาการกลืน ยกตัวอย่างเช่น ผู้บำบัดเรื่องการกลืนจะเป็นผู้รักษาคนไข้ที่กลืนลำบากในปากและคอหอย ส่วนแพทย์โรคทางเดินอาหารจะเป็นผู้บำบัดโรคหลอดอาหารโดยตรง

วิธี

[แก้]

วิธีการรักษาควรจะขึ้นกับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดของผู้ชำนาญการด้านต่าง ๆ กลยุทธ์การรักษาจะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับคนไข้ และควรจะทำตามความจำเป็นของคนไข้ โดยเลือกตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น วินิจฉัย พยากรณ์โรค การตอบสนองของคนไข้ต่อวิธีการชดเชยปัญหา ความรุนแรงของอาการ สภาพทางจิตใจ/ประชาน การทำงานของระบบหายใจ ผู้ช่วยดูแลคนไข้ และแรงจูงใจและความต้องการของคนไข้[12]

การรับอาหารและน้ำ

[แก้]

แผนการรักษาต้องให้อาหารและน้ำแก่คนไข้อย่างเพียงพอ จุดประสงค์หลักของการรักษาก็เพื่อให้คนไข้ทานอาหารและน้ำทางปากได้ โดยต้องให้ได้พอและทำได้อย่างปลอดภัยด้วย (คือไม่สูดเข้าปอด)[12] ถ้าการทานอาหารทางปากทำให้ใช้เวลาทานนานขึ้นและต้องใช้ความพยายามมากขึ้นแล้วทำให้ได้อาหารไม่เพียงพอเพื่อดำรงน้ำหนัก อาจจะต้องให้อาหารคนไข้โดยวิธีอื่น ๆ อนึ่ง ถ้าคนไข้สูดอาหารหรือน้ำเข้าปอดแม้ใช้วิธีการชดเชยปัญหาแล้ว ทำให้ทานอาหารได้อย่างไม่ปลอดภัย อาจจะต้องได้อาหารทางอื่นที่ไม่ผ่านปาก เช่นผ่านหลอดส่งผ่านจมูกเข้าไปยังกระเพาะอาหาร การผ่าตัดทำรูเปิดกระเพาะ หรือการผ่าตัดทำรูเปิดลำไส้เล็กส่วนกลาง[12]

วิธีการรักษา

[แก้]

วิธีการชดเชยจะเปลี่ยนการไหลของอาหารและน้ำเข้าไปในท้อง แต่ไม่ได้เปลี่ยนสรีรภาพในการกลืน ซึ่งอาจรวม[12]

  • การวางอิริยาบถ/การเปลี่ยนท่าทาง
  • การเปลี่ยนความหนืดความข้นของอาหาร
  • การเปลี่ยนปริมาณอาหารและความเร็วช้าในการกลืน
  • การเพิ่มความสำนึกถึงสิ่งที่อยู่ในปาก
  • อุปกรณ์ในปากที่ช่วยกลืน

วิธีการรักษาเพื่อเปลี่ยนหรือปรับปรุงสรีรภาพในการกลืนอาจรวม[12]

  • การฝึกเคลื่อนไหวปากและคอหอย
  • การฝึกขืนวิธีการจัดการ/กลืนอาหารดังที่เคยทำมาก่อน
  • การฝึกจัดการควบคุมคำอาหาร
  • การฝึกการกลืน
    • Supraglottic swallow
    • Super-supraglottic swallow
    • Effortful swallow
    • Mendelsohn maneuver

อาจจะต้องรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ร่มกันเพื่อให้กลืนอาหารได้อย่างปลอดภัยและได้อาหารอย่างเพียงพอ เช่น อาจต้องเปลี่ยนอิริยาบถร่วมกับการฝึกการกลืน

ความระบาด

[แก้]

ความผิดปกติในการกลืนอาจเกิดในกลุ่มอายุใดก็ได้ และอาจเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด ความเสียหายต่ออวัยวะ หรือโรคอื่น ๆ[12] ปัญหาการกลืนเป็นเรื่องสามัญสำหรับผู้สูงอายุ โดยการกลืนลำบากก็มีความชุกที่สูงกว่าในผู้สูงอายุ[23][24] ในคนไข้โรคหลอดเลือดสมอง[25] และในคนไข้ที่เข้ารักษาในแผนกฉุกเฉินหรือแผนกโรคเรื้อรัง การกลืนลำบากมีเหตุต่าง ๆ หลายอย่าง ซึ่งสามารถรู้ได้โดยการสอบประวัติคนไข้[26]

ประวัติคำ

[แก้]

คำภาษาอังกฤษว่า "dysphagia" มาจากคำกรีกโบราณ คือ dys ซึ่งแปลว่าไม่ดีหรือผิดปกติ และรากศัพท์ว่า phag- ซึ่งหมายถึงการกิน

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Paterson-Kelly syndrome เป็นโรคที่มีน้อยและมีอาการกลืนลำบาก โลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ลิ้นอักเสบ ริมฝีปากอักเสบ และพังผืดหลอดอาหาร[19]
  2. Eagle syndrome เป็นภาวะที่มีน้อยซึ่งมีอาการเจ็บฉับพลันคล้ายที่เกิดทางประสาท ตรงกระดูกขากรรไกรและข้อ ที่หลังคอ และที่โคนลิ้น ซึ่งจุดชนวนโดยการกลืนหรือการขยับขากรรไกร หรือการเอี้ยวคอ[14] อาการมีเหตุจากระดูกสไตลอยด์ โพรเซสที่ขมับซึ่งยาวหรือมีรูปร่างผิดปกติ หรือเกิดจากการมีแคลเซียมเกาะที่เอ็น Stylohyoid เพราะกวนการทำงานของโครงสร้างและอวัยวะที่อยู่ใกล้ ๆ กัน
  3. 3.0 3.1 3.2 Zenker's diverticulum เป็นช่องพองซึ่งเกิดที่เยื่อเมือกของคอหอยเหนือหูรูดด้านบนของหลอดอาหาร ซึ่งมีเหตุจากแรงดันที่เกิดผิดปกติทางด้านล่างของคอหอย ทำให้ส่วนที่อ่อนแอที่สุดป่องออก จนอาจทำให้มีขนาดเป็นหลายเซนติเมตร
  4. 4.0 4.1 hiatus hernia เป็นภาวะที่อวัยวะในท้อง (โดยปกติกระเพาะอาหาร) จะเลื่อนผ่านกะบังลมเข้าไปในช่องกลางของหน้าอก ซึ่งอาจมีผลเป็นโรคกรดไหลย้อน[15][16] อาการอื่น ๆ อาจรวมกลืนลำบากและเจ็บหน้าอก ภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ไส้บิดเกลียว (volvulus) การอุดกั้นลำไส้ (bowel obstruction)[15]
  5. Esophageal varices เป็นเส้นเลือดดำใต้เยื่อเมือกซึ่งบวมมากโดยอยู่ที่ส่วนล่าง (1/3) ของหลอดอาหารและมีเหตุจากตับแข็งซึ่งก่อความดันสูงในหลอดเลือดดำจากระบบทางเดินอาหารไปยังตับ เป็นภาวะที่ทำให้เสี่ยงเลือดออกสูง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dysphagia. ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕. (ซีดีรอม). "(แพทยศาสตร์) การกลืนลำบาก".
  2. Smithard DG, Smeeton NC, Wolfe CD (2007). "Long-term outcome after stroke: does dysphagia matter?". Age Ageing. 36 (1): 90–4. doi:10.1093/ageing/afl149. PMID 17172601.
  3. Brady, A (2008). "Managing the patient with dysphagia". Home Healthc Nurse. 26 (1): 41–6, quiz 47-8. doi:10.1097/01.NHH.0000305554.40220.6d. PMID 18158492.
  4. "ICD-10:". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มกราคม 2009. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2008.
  5. Boczko, F (2006). "Patients' awareness of symptoms of dysphagia". J Am Med Dir Assoc. 7 (9): 587–90. doi:10.1016/j.jamda.2006.08.002. PMID 17095424.
  6. "Dysphagia". University of Virginia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2004. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2008.
  7. "Swallowing Disorders - Symptoms of Dysphagia". New York University School of Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2007. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2008.
  8. Parker C, Power M, Hamdy S, Bowen A, Tyrrell P, Thompson DG (2004). "Awareness of dysphagia by patients following stroke predicts swallowing performance". Dysphagia. 19 (1): 28–35. doi:10.1007/s00455-003-0032-8. PMID 14745643.
  9. Rosenvinge SK, Starke ID (2005). "Improving care for patients with dysphagia". Age Ageing. 34 (6): 587–93. doi:10.1093/ageing/afi187. PMID 16267184.
  10. Sleisenger, Marvin H.; Feldman, Mark; Friedman, Lawrence M. (2002). Sleisenger & Fordtran's Gastrointestinal & Liver Disease (7th ed.). Philadelphia, PA: W.B. Saunders Company. Chapter 6, p. 63. ISBN 0-7216-0010-7.
  11. "Dysphagia". University of Texas Medical Branch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2008.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 12.7 12.8 Logemann, Jeri A. (1998). Evaluation and treatment of swallowing disorders. Austin, Tex: Pro-Ed. ISBN 0-89079-728-5.
  13. Spieker, Michael R. (15 มิถุนายน 2000). "Evaluating Dysphagia". American Family Physician (ภาษาอังกฤษ). 61 (12): 3639–3648. PMID 10892635.
  14. Waldman, SD (6 มิถุนายน 2013). Atlas of Uncommon Pain Syndromes. Elsevier Health Sciences. pp. 35–36. ISBN 1-4557-0999-9.
  15. 15.0 15.1 Roman, S; Kahrilas, PJ (2014-10-23). "The diagnosis and management of hiatus hernia". BMJ (Clinical research ed.) (349): g6154. doi:10.1136/bmj.g6154. PMID 25341679.
  16. "Hiatal Hernia". PubMed Health. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2017.
  17. "Opioid Effects on Swallowing and Esophageal Sphincter Pressure". clinicaltrials.gov. US National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2018.
  18. Dudik JM, Coyle JL, Sejdić E (2015). "Dysphagia screening: Contributions of cervical auscultation signals and modern signal processing techniques". IEEE Transactions on Human-Machine Systems. 45 (4): 465–477. doi:10.1109/thms.2015.2408615. PMC 4511276.
  19. Novacek G (2006). "Plummer-Vinson syndrome". Orphanet J Rare Dis. (1): 36. doi:10.1186/1750-1172-1-36. PMC 1586011. PMID 16978405.
  20. Edmiaston J, Connor LT, Loehr L, Nassief A (กรกฎาคม 2010). "Validation of a dysphagia screening tool in acute stroke patients". Am J Crit Care. 19 (4): 357–64. doi:10.4037/ajcc2009961. PMC 2896456. PMID 19875722.
  21. Noh EJ, Park MI, Park SJ, Moon W, Jung HJ (กรกฎาคม 2010). "A case of amyotrophic lateral sclerosis presented as oropharyngeal Dysphagia". J Neurogastroenterol Motil. 16 (3): 319–22. doi:10.5056/jnm.2010.16.3.319. PMC 2912126. PMID 20680172.
  22. Martin, RJ (กันยายน 2004). "Central pontine and extrapontine myelinolysis: the osmotic demyelination syndromes". J Neurol Neurosurg Psychiatry. 75 (Suppl 3): iii22–8. doi:10.1136/jnnp.2004.045906. PMC 1765665. PMID 15316041.
  23. Shamburek RD, Farrar JT (1990). "Disorders of the digestive system in the elderly". N. Engl. J. Med. 322 (7): 438–43. doi:10.1056/NEJM199002153220705. PMID 2405269.
  24. "When the Meal Won't Go Down". New York Times. 21 เมษายน 2010. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2014.
  25. Martino R, Foley N, Bhogal S, Diamant N, Speechley M, Teasell R (2005). "Dysphagia after stroke: incidence, diagnosis, and pulmonary complications". Stroke. 36 (12): 2756–63. doi:10.1161/01.STR.0000190056.76543.eb. PMID 16269630.
  26. Ingelfinger FJ, Kramer P, Soutter L, Schatzki R (1959). "Panel discussion on diseases of the esophagus". Am. J. Gastroenterol. 31 (2): 117–31. PMID 13617241.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]