น้ำผัก
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
น้ำผัก คือเครื่องดื่มโดยพื้นฐานทำขึ้นจากการปั่นผสมกันของผัก บ่อยครั้งที่น้ำผักจะถูกปั่นผสมกับผลไม้บางชนิด เช่น องุ่นและมะเขือเทศ เพื่อปรับปรุงรสชาติให้ดีขึ้น น้ำผักบ่อยครั้งที่ถูกโฆษณาในทางการค้าว่าเป็นทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคเครื่องดื่มประเภทน้ำตาลต่ำ แม้ว่าในกระบวนการผลิตผู้ประกอบการยังคงใส่ส่วนผสมที่เป็นโซเดียมลงไปจำนวนมาก
น้ำผักในครัวเรือน
[แก้]การทำน้ำผักขึ้นเองในครัวเรือนเป็นอีกทางเลือกจากการซื้อน้ำผักแบบสำเร็จรูป ซึ่งมีประโยชน์สำหรับเป็นอาหารเสริมอีกอย่างหนึ่งแก่ผู้ที่ควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ในการปั่นผสมน้ำผักทำเองในครัวเรือนมีการแนะนำว่า ควรเลือกปั่นผักโดยเครื่องปั่นในระดับความเร็วที่ไม่เร็วมากจนเนไปเพราะมีการนำไปเปรียบเทียบกับการปั่นด้วยความเร็วที่มาก ๆ แล้วพบว่า สามารถลดการสูญสลายของแร่ธาตุและสารอาหารได้ เพราะการปั่นโดยใช้ความเร็วมาก ๆ จะทำให้เกิดความร้อนจากแรงเสียดทานที่จะไปทำลายวิตามินบางชนิด และยังเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์
รูปแบบ
[แก้]น้ำผักในทางการค้าโดยทั่วไปจะทำขึ้นจากการปั่นผสมรวมกันของผักหลากหลายชนิดเช่น แครอท, บีตรูต, ฟักทอง, มะเขือเทศ ซึ่งใช้เพื่อเพิ่มรสชาติและปรับปรุงรสชาติของน้ำผักให้ดีขึ้น แม้ในภายหลังพืชเหล่านี้ในทางเทคนิคจะไม่จักว่าเป็นผักก็ตาม ส่วนผสมอื่นของน้ำผักที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ผักชีฝรั่ง, กะหล่ำปลี, ขึ้นฉ่าย, ยี่หร่า, แตงกวา, มะนาว, กระเทียมและขิง ซึ่งสามารถเพิ่มส่วนผสมอื่นได้ตามความต้องการของรสชาติหรือสรรพคุณทางยา
ในวัฒนธรรมของชาติตะวันออกเช่น จีนและญี่ปุ่น มันยะมะอิโมะก็ใช้บดเพื่อทำเป็นน้ำผัก ซึ่งชาวญี่ปุ่นและชาวจีนเองสงวนไว้ใช้ในยามฉุกเฉินเช่นเมื่อมีคนในบ้านป่วย เป็นต้น อย่างไรก็ตามชาวจีนโดยส่วนมากมองว่ามันยะมะอิโมะบดนี้เป็นยามากกว่าเป็นน้ำผัก
ในญี่ปุ่นมีน้ำผัก อะโอะจิรุ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมจากประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับและรสชาติขม
ญี่ปุ่นยังเป็นตลาดของน้ำผักมากมายหลายชนิดที่ซึ่งไม่เหมือนน้ำผักของของฝั่งตะวันตก โดยปกติจะใช้แครอทหรือไม่ก็มะเขือเทศ หรือแม้แต่แฮปปี้มีลส์ของแมคโดนัลด์ในญี่ปุ่นเองก็มีน้ำผักอยู่ในรายการเครื่องดื่ม
โภชนาการ
[แก้]โดยทั่วไป มีการแนะนำว่าน้ำผักเป็นเพียงอาหารเสริมสำหรับผักสดมากกว่าที่จะเป็นอาหารหลักแทนที่ผักสดทั้งหมด อย่างไรก็ตามระดับแร่ธาตุและสารอาหารทางโภชนาการของน้ำผักกับผักสดยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ตัวชี้นำของยูเอสดีเอ หรือ สำนักงานการเกษตรกรรมแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับรัฐอเมริกัน ¾ ถ้วยของน้ำผัก 100 เปอร์เซ็นเทียบเท่ากับผักสดหนึ่งถาด ซึ่งสนับสนุนโดยการศึกษาวิจัยครั้งล่าสุด ซึ่งพบว่าน้ำผักให้ประโยชน์เทียบเท่ากับผักสดในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคมะเร็ง งานวิจัยอีกชิ้นพบว่าการดื่มน้ำผักยังช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ 76 เปอร์เซ็น
น้ำผักที่ได้รับความนิยมสูงโดยมากที่จะมีส่วนผสมของมะเขือเทศและโซเดียมอยู่มาก เพราะฉะนั้นผู้บริโภคจึงควรใช้ความระมัดระวังในการเลือกบริโภคน้ำผัก เพราะผักบางชนิดเช่นบีทรูทมีระดับน้ำตาลสูง จึงควรไตร่ตรองอย่างระมัดระวังก่อนจะบริโภค แม้ประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการของน้ำผักยังคงเป็นที่ถกเถียง การศึกษาล่าสุดของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเดวิสพบว่าการบริโภคน้ำผักอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำเพิ่มโอกาสในการพบกับคำแนะนำสำหรับจำนวนผักที่รับประทานมากขึ้นของผู้บริโภค