เลือดแฝงในอุจจาระ
เลือดแฝงในอุจจาระ | |
---|---|
บัตรและขวดที่ใช้เพื่อตรวจเลือดแบบ Hemoccult test ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ stool guaiac test |
เลือดแฝงในอุจจาระ[1] (อังกฤษ: Fecal occult blood, ตัวย่อ FOB) หมายถึงเลือดในอุจจาระที่ไม่ปรากฏให้เห็น (ไม่เหมือนกับเลือดในอุจจาระอื่น ๆ เช่นที่เห็นในอุจจาระดำ หรือเลือดสด ๆ ที่ถ่ายออก) การตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (fecal occult blood test, FOBT) จึงเป็นการตรวจเลือดที่ซ่อนอยู่ในอุจจาระ[2] โดยอาจตรวจหา globin[A], ดีเอ็นเอ, หรือแฟ็กเตอร์ในเลือดอื่น ๆ เช่น transferrin ส่วนการตรวจที่มีมานานคือ stool guaiac test จะตรวจหา heme[B]
ในการแพทย์
[แก้]การตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (FOBT) มุ่งตรวจการเสียเลือดที่เห็นได้ยากจากทางเดินอาหาร เริ่มตั้งแต่ปากไปจนถึงลำไส้ใหญ่ เลือดที่ตรวจพบอาจมาจากทางเดินอาหารส่วนบน (รวมหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น) หรือส่วนล่าง (รวมลำไส้เล็กโดยมาก และลำไส้ใหญ่) และเมื่อพบก็ควรตรวจเพิ่มว่ามีแผลเปื่อยเพปติก (peptic ulcer) หรือโรคร้ายอื่น ๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นต้น หรือไม่ แต่ให้สังเกตว่า การทดสอบนี้ไม่ได้ตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่โดยตรง แต่มักจะใช้เพื่อตรวจคัดกรองโรคนี้ แม้ก็สามารถใช้หาการเสียเลือดในคนไข้โลหิตจางได้ด้วย[6] หรือว่าเมื่อมีปัญหาทางกระเพาะลำไส้อื่น ๆ[7]
การทดสอบชนิดหนึ่งคือ stool guaiac test (gFOB) สามารถทำได้ทั้งที่บ้านหรือสถานพยาบาล หรือสามารถส่งตัวอย่างอุจจาระไปให้ห้องแล็บตรวจ ชุดตรวจในบางประเทศมีขายในร้านเภสัชโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ หรือแพทย์พยาบาลอาจสั่งเพื่อให้คนไข้ใช้ตรวจได้ ถ้าตรวจพบเลือดที่บ้าน ก็แนะนำว่าให้ไปหาแพทย์เพื่อตรวจเพิ่ม[8]
แหล่งเลือดออก
[แก้]การตกเลือดในกระเพาะลำไส้มีแหล่งหลายแหล่ง ดังนั้น ถ้าตรวจพบเลือด ก็จึงต้องตรวจหาแหล่ง ปกติจะหาเลือดที่ออกในทางเดินอาหารส่วนล่างก่อนแล้วจึงหาในทางเดินอาหารส่วนบน ยกเว้นจะมีเหตุน่าสงสัยอย่างอื่น ๆ[9] การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เป็นวิธีที่แนะนำเหนือการสร้างภาพลำไส้ใหญ่ด้วยคอมพิวเตอร์เอกซ์เรย์ (CT colonography)[10]
ประชากรราว 1-5% จะพบเลือดถ้าตรวจคัดกรองในชนจำนวนมาก[ต้องการอ้างอิง] ในบรรดาคนเหล่านี้ 2-10% จะมีมะเร็ง และ 20-30% จะมีเนื้องอกต่อม
เลือดที่พบอาจจะมาจากทางเดินอาหารส่วนบนหรือส่วนล่าง เหตุสามัญรวมทั้ง
- 2-10% มะเร็ง (มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งกระเพาะอาหาร)
- 20-30% เนื้องอกต่อมหรือเป็นติ่งเนื้อเมือก
- Diverticular disease[C][14]
- โรคริดสีดวงทวาร[14]
- โรคลำไส้อักเสบ (IBD)[14]
- Angiodysplasia[D] ของลำไส้ใหญ่
- โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
ถ้าตรวจเจอเลือด ก็ควรตรวจดูทางเดินอาหารเพิ่มโดยวิธีใดวิธีหนึ่งรวมทั้ง
- การส่องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนคด (sigmoidoscopy) เป็นการตรวจไส้ตรงและลำไส้ใหญ่ส่วนล่างด้วยกล้องติดแสงสว่างเพื่อตรวจดูความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อเมือก
- การส่องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เป็นการตรวจไส้ตรงและลำไส้ใหญ่ทั้งหมด
- การส่องตรวจลำไส้ใหญ่เสมือน (virtual colonoscopy) เป็นการใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์บวกคอมพิวเตอร์ในการสร้างภาพลำไส้ใหญ่เป็นภาพ 2 มิติและ 3 มิติ เริ่มตั้งแต่ไส้ตรงไปจนถึงลำไส้เล็ก
- การส่องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน (upper gastrointestinal endoscopy) ซึ่งบางครั้งทำพร้อมกับ chromoendoscopy (การส่องกล้องร่วมกับการใช้สี) ซึ่งช่วยให้เห็นดีกว่าโดยเพิ่มความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อมะเร็งจากเนื้อเยื่อปกติ โดยเพิ่มสี (toluidine blue) ที่เนื้อเยื่อที่มีดีเอ็นเอเพิ่มขึ้นเกินปกติ หรือไม่ก็ป้ายสี (Lugol) ที่เนื้อเยื่อของเนื้องอกเพราะมีไกลโคเจนที่ผิวน้อยกว่า[15][16]
- Infrared fluorescent endoscopy[ต้องการอ้างอิง] และ ultrasonic endoscopy[ต้องการอ้างอิง] สามารถตรวจสภาพวิรูปของหลอดเลือด เช่น esophageal varices[E]
- การสวนตรวจทวารด้วยแบเรียม (double contrast barium enema) เป็นการถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์เป็นชุดเพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
สีอุจจาระ
[แก้]แม้อุจจาระสีแดงและดำอาจเป็นตัวบ่งว่ามีเลือดออก แต่อุจจาระสีเข้มหรือดำก็อาจมาจากการทานบลูเบอร์รี อาหารเสริมคือธาตุเหล็ก ตะกั่วหรือยา Bismuth subsalicylate ซึ่งใช้แก้ปัญหาท้องปั่นป่วน และสีแดงก็อาจมาจากสีอาหารทั้งแบบสังเคราะห์หรือแบบธรรมชาติ ที่พบในของหวานสีแดง เช่น เจลาติน ไอศกรีมเป็นต้น
การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
[แก้]การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นการตรวจจับความเปลี่ยนแปลงก่อนจะเป็นมะเร็ง เช่น ติ่งเนื้อเมือกบางชนิด หรือลักษณะอื่น ๆ ก่อนหน้านั้น ซึ่งมีโอกาสรักษาหายได้ดีกว่า ระดับที่การตรวจคัดกรองจะลดความชุกของมะเร็งกระเพาะลำไส้ หรืออัตราตาย จะขึ้นอยูกับอัตราการมีภาวะก่อนมะเร็งและการมีมะเร็งในกลุ่มประชากรนั้น ๆ การทดลองทางคลินิกแบบสุ่มพบว่า วิธีการตรวจคัดกรองคือ gFOBT และการส่องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนคด แต่ละชนิดล้วนมีประโยชน์[ต้องการอ้างอิง] มีหลักฐานพอสมควรว่า การตรวจคัดกรองด้วย iFOBT (immunochemical fecal occult blood test) หรือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ มีประโยชน์ และก็มีองค์กรแพทย์หลายกลุ่มที่ออกแนวทางการรักษาเกี่ยวกับการคัดกรองเช่นนี้ แต่หลักฐานก็ไม่ได้รวมการศึกษาแบบสุ่ม
ในปี 2009 วิทยาลัยวิทยาทางเดินอาหารอเมริกัน (ACG) เสนอว่า วิธีการที่สามารถป้องกันโรคโดยตรงคือตัดเนื้อเยื่อ/แผลที่เกิดก่อนมะเร็งได้ เป็นวิธีที่ควรใช้เป็นอันดับแรก (preferred) กล่าวคือแนะนำให้ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) ทุก ๆ 10 ปีในบุคคลที่มีความเสี่ยงปกติเริ่มตั้งแต่อายุ 50 ปี[19] และแนะนำว่า วิธีตรวจจับมะเร็งอื่น ๆ รวมทั้งการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระทุกรูปแบบแม้เป็นทางเลือกแต่ก็ควรใช้รองลงมา (less preferred) หรือใช้ต่อเมื่อคนไข้ไม่ต้องการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ โดยแนะนำให้ตรวจเลือดแฝงในอุจจาระแบบ FIT (fecal immunochemical test) หรือ iFOBT (immunochemical fecal occult blood test) ส่วนแนวทางการรักษาขององค์กร US Multisociety Task Force (MSTF) และ US Preventive Services Task Force (USPSTF) แม้จะอนุมัติให้ส่องกล้องลำไส้ใหญ่เป็นทางเลือกในการตรวจคัดกรอง แต่ก็ไม่ได้แนะนำเป็นอันดับแรก (preferred)[20][21] ACG และ MSTF ยังรวมการสร้างภาพลำไส้ใหญ่ด้วยคอมพิวเตอร์เอกซ์เรย์ (CT colonography) ทุก ๆ 5 ปี และการตรวจดีเอ็นเอให้ใช้เป็นทางเลือก
คณะทั้งสาม [F]ต่างก็แนะนำให้แทนการตรวจอุจจาระในเลือดแฝงที่มีความไวต่ำและใช้มานานกว่า คือ gFOBT ด้วยการตรวจที่ไวกว่าและใหม่กว่ารวมทั้ง hs gFOBT (high-sensitivity guaiac-based fecal occult blood testing) หรือ FIT (fecal immunochemical testing) โดย MSTF ได้ตรวจดูงานศึกษา 6 งานที่เทียบ hs gFOBT (คือ Hemoccult SENSA) กับ FIT แล้วสรุปว่า ประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันอย่างสำคัญ การตรวจคัดกรองด้วย gFOBT ในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงปกติสามารถลดอัตราตายที่สัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 25%[23] แต่เพราะเป็นประสิทธิผลที่ต่ำกว่า การลงทุนตรวจคัดกรองกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ด้วย gFOBT จึงจัดว่าไม่มีประสิทธิภาพ[24][25][26][27]
ถ้าสงสัยอยู่แล้วว่ามีมะเร็งลำไส้ใหญ่ (เช่น คนที่มีโลหิตจางอย่างไม่มีสาเหตุ) การตรวจเลือดแฝงในอุจจาระอาจไม่มีประโยชน์ คือไม่ว่าผลจะออกมาบวกหรือลบ ก็ยังควรต้องตรวจเพิ่มอยู่ดี
สมาคมมะเร็งแคนาดา (Canadian Cancer Society) แนะนำให้ผู้มีอายุ 50 ปีและยิ่งกว่านั้นตรวจคัดกรองด้วย FOBT อย่างน้อยทุก ๆ 2 ปี[28]
ในการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ การใช้ตัวอย่างอุจจาระตัวอย่างเดียวที่เก็บโดยแพทย์ผู้กำลังใช้นิ้วคลำตรวจไส้ตรงไม่แนะนำ[29]
ส่วนการตรวจแบบ M2-PK Test จะแนะนำเหนือ gFOBT สำหรับการตรวจคัดกรองที่ทำเป็นปกติ (routine screening) เพราะอาจตรวจพบเนื้องอกทั้งที่เลือดออกและไม่ออก[30] คือสามารถตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ 80% และเนื้องอกต่อมขนาดยิ่งกว่า 1 ซม. 44% เทียบกับ gFOBT ที่ตรวจเจอมะเร็งเพียง 13-50%[30]
ในประเทศต่าง ๆ
[แก้]ในปี 2006 รัฐบาลออสเตรเลียได้เริ่มโปรแกรมมะเร็งลำไส้แห่งชาติ (National Bowel Cancer Program) ซึ่งได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งแล้วตั้งแต่นั้น ซึ่งมุ่งตรวจคัดกรองประชาชนออสเตรเลียระหว่างอายุ 50-74 ปีทั้งหมดภายในปี 2017-2018 โดยองค์กร Cancer Council Australia แนะนำว่า FOBT ควรใช้ตรวจทุก 2 ปี[31]
ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย) มี "โครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง" ที่มุ่งตรวจประชากรโดยมาก[G] ทั่วประเทศใน "กลุ่มเสี่ยงปกติ"[H] คืออายุระหว่าง 50-70 ปีและไม่มีอาการผิดปกติทุก ๆ 2 ปีโดยขั้นต้นจะตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระด้วยวิธี FIT (fecal immunochemical test) และถ้าพบผลบวกก็จะส่งตัวให้ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เพื่อวินิจฉัยต่อไป[I] เป็นโปรแกรมที่อาจลดอัตราการตายเนื่องจากโรคสูงสุด 25-33% หรือประมาณ 750-1,000 คน เทียบกับผู้ป่วยใหม่ปีละ 10,624 คนที่ก็อาจลดลงด้วยเช่นกัน [J]
โรคกระเพาะลำไส้และยา
[แก้]ภาวะเช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีแผล (ulcerative colitis) หรือท้องร่วงแบบติดเชื้อที่เป็นอีก ๆ อาจจะรุนแรงไม่เท่ากันเมื่อเวลาผ่านไป FOBT อาจช่วยประเมินความรุนแรงของโรค อนึ่ง ยาที่สัมพันธ์กับเลือดออกในกระเพาะลำไส้ เช่น Bortezomib บางครั้งจะระวังสอดส่องด้วย FOBT
การตรวจเลือดแฝงในสิ่งคัดหลั่ง
[แก้]การใช้อุปกรณ์ตรวจเลือดแฝงในอุจจาระสำหรับอาการในปาก โพรงจมูก หลอดอาหาร ปอด และกระเพาะอาหาร บ่อยครั้งจะไม่แนะนำ เนื่องจากปัญหาทางเทคนิกเช่นยังไม่ได้กำหนดประสิทธิภาพรวมทั้งความไว ความจำเพาะ และข้อสรุปที่จะอนุมานได้ อย่างไรก็ดี การได้ข้อมูลทางเคมีว่าสีที่เห็นมาจากเลือดและไม่ใช่จากกาแฟ พืช ยา หรือสารเติมแต่งอาหาร ก็อาจช่วยการรักษาได้อย่างสำคัญ
นักวิ่งมาราธอน
[แก้]นักวิ่งมาราธอนบ่อยครั้งมีปัญหากระเพาะและลำไส้และเลือดออกจำนวนน้อย ๆ [39] การออกกำลังกายอย่างหนัก โดยเฉพาะพวกนักวิ่งเก่ง ๆ บวกกับนักกีฬาพวกอื่น ๆ (แม้จะน้อยครั้งกว่า) อาจเป็นเหตุให้เกิดอาการกระเพาะลำไส้ในขั้นบาดเจ็บรวมทั้งแสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง และเลือดออกในกระเพาะลำไส้[40] นักกีฬาแบบวิ่งทนประมาณ 1/3 จะประสบกับอาการที่ทำให้ต้องจำกัดการออกกำลังชั่วคราว และเลือดที่ออกในกระเพาะลำไส้ซ้ำ ๆ บางคราวก็จะทำให้ขาดธาตุเหล็กและโลหิตจาง[41] นักวิ่งบางครั้งยังอาจเกิดอาการสำคัญรวมทั้งอาเจียนเป็นเลือด[42]
การออกกำลังกายสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพอย่างกว้างขวางของทางเดินอาหาร รวมทั้งการผันเลือดจากทางเดินอาหารไปยังกล้ามเนื้อและปอด ลดการดูดซึมในทางเดินอาหารและการบีบตัวของลำไส้ เพิ่มเวลาที่อาหารต้องดำเนินผ่านลำไส้ใหญ่ ความเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนและเพปไทด์ในระบบประสาท-ภูมิคุ้มกัน-ต่อมไร้ท่อ เช่น vasoactive intestinal peptide, secretin, และ peptide-histidine-methionine[43] การเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญก็เกิดกับฮอร์โมนเกี่ยวกับความเครียดรวมทั้ง cortisol, กับความเข้มข้นและกิจทางเมแทบอลิซึมของเม็ดเลือดขาว, กับระดับของ สารภูมิต้านทาน, และระดับการแสดงออกของ major histocompatibility complex[44]
อาการอาจแย่ลงเมื่อขาดน้ำ หรือทานอาหารบางอย่าง หรือดื่มน้ำที่มีน้ำตาลและเกลือแร่เข้มข้นสูงก่อนออกกำลัง และอาจดีขึ้นเมื่อฝึกได้ลงตัวแล้ว (เพราะร่างกายจะผันเลือดจากทางเดินอาหารน้อยลง)[43] การทานยายับยั้งการหลั่งกรดคือไซเมทิดีน 800 มก. 2 ชม. ก่อนวิ่งมาราธอนไม่มีผลต่อความถี่ของอาการกระเพาะลำไส้หรือเลือดออกในกระเพาะลำไส้[45] อีกนัยหนึ่ง การทานไซเมทิดีน 800 มก. 1 ชม. ก่อนเริ่มวิ่งและอีกครั้งที่ 50 ไมล์เมื่อวิ่งมาราธอน 100 ไมล์ ช่วยลดอาการกระเพาะลำไส้และการตรวจพบเลือดในทางเดินอาหารด้วย stool guaiac test หลังการวิ่ง โดยไม่มีผลต่อการวิ่ง[46]
วิธี
[แก้]มีวิธีการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ 4 อย่าง ซึ่งตรวจดูตัวบ่งชี้เลือดต่าง ๆ กัน เช่น สารภูมิต้านทาน, heme[B], globin[A], porphyrin[K] หรือดูดีเอ็นเอของวัสดุจากเซลล์ เช่นที่ได้จากรอยโรคและเยื่อเมือกลำไส้
- Fecal immunochemical testing (FIT), และ immunochemical fecal occult blood test (iFOBT) - FIT ใช้สารภูมิต้านทานโดยเฉพาะ ๆ เพื่อตรวจจับ globin การตรวจคัดกรองด้วย FIT มีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบผลทางสุขภาพและค่าใช้จ่ายกับการตรวจด้วย gFOBT (guaiac fecal occult blood test)[47] ตามแนวทางการรักษาของ ACG ปี 2008 "การตรวจอุจจาระประจำปีด้วยสารเคมีภูมิต้านทานเป็นการตรวจจับมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แนะนำ (preferred)"[48][49] FIT สามารถตรวจจับระดับ globin ในอุจจาระที่ 50 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรหรือยิ่งกว่านั้น ซึ่งเป็นค่าสูงสุดเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ตามที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก
- การตรวจด้วย FIT ได้แทนที่การตรวจด้วย gFOBT โดยมากเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่[50][51] วิธีนี้สามารถปรับใช้ในการตรวจอัตโนมัติที่ตรวจและรายงานผลข้อมูลเป็นตัวเลข ซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบกลยุทธ์คัดกรองโรคที่สามารถใช้ในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่[52]
- จำนวนตัวอย่างอุจจาระที่ส่งเพื่อตรวจโดย FIT อาจมีผลต่อความไวและความจำเพาะของวิธีนี้ โดยสามารถใช้ hs gFOBT เช่น Hemoccult SENSA เป็นทางเลือก ซึ่งอาจมีบทบาทเพื่อเฝ้าสังเกตภาวะทางกระเพาะลำไส้ต่าง ๆ เช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีแผล[53] อย่างไรก็ดี FIT ก็ยังเป็นวิธีตรวจสอบที่แนะนำอันดับแรกในแนวทางการรักษาล่าสุดต่าง ๆ[48]
- Stool guaiac test เพื่อตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (gFOBT) - เป็นการตรวจซึ่งต้องป้ายอุจจาระที่กระดาษดูดซึมอันได้ผ่านปฏิบัติการทางเคมี แล้วก็หยดไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ที่กระดาษ ถ้ามีร่องรอยของเลือด กระดาษจะเปลี่ยนสีภายใน 1-2 วินาที วิธีนี้ใช้ได้ก็เพราะองค์ประกอบคือ heme[B] ของเฮโมโกลบินมีปฏิกิริยาคล้ายกับ peroxidase คือสามารถสลายไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ได้อย่างรวดเร็ว ในบางกรณี เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ด้านบน วิธีนี้อาจไวกว่าวิธีที่ตรวจจับ globin เพราะ globin จะสลายตัวในลำไส้ส่วนบนในอัตราส่วนที่สูงกว่า heme[54] มีการตรวจแบบ gFOBT ที่วางขายซึ่งจัดว่ามีความไวต่ำหรือสูง แต่ที่จัดว่าไวสูงจึงจะเป็นทางเลือกที่ยอมรับได้แทนการตรวจแบบ FIT ซึ่งปัจจุบันเป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แนะนำ การได้ประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับ gFOBT จะขึ้นอยู่กับอาหารที่ทานเมื่อเตรียมตัวตรวจด้วย[55]
- Stool DNA screening test เป็นวิธีตรวจที่หาความเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอที่สัมพันธ์กับมะเร็ง
นักวิชาการปัจจุบันยังสืบหาวิธีการอื่น ๆ เพื่อตรวจจับเลือดแฝง รวมทั้งการใช้ไม้จิ้มวัด transferrin[56] และการสืบหาความผิดปกติของอุจจาระในระดับเซลล์/โมเลกุล[57]
ประสิทธิภาพการทดสอบ
[แก้]การเสียเลือดในกระเพาะลำไส้
[แก้]คนปกติจะมีเลือดประมาณ 0.5-1.5 มล. ที่ออกจากเส้นเลือดเข้าไปในอุจจาระ[58][59][60] และบุคคลก็สามารถเสียเลือดอย่างสำคัญโดยไม่เห็นในอุจจาระ เช่น ถึง 200 มล. ภายในกระเพาะอาหาร[61] 100 มล. ภายในลำไส้เล็กส่วนต้น และจำนวนน้อยกว่านั้นในลำไส้ส่วนล่าง ดังนั้น การตรวจหาเลือดแฝงก็จะต้องไวพอตรวจหาเลือดน้อยกว่านั้นได้
ความไวและความจำเพาะ
[แก้]FIT สามารถตรวจจับเลือดน้อยถึง 0.3 มล. ในอุจจาระ แต่ขีดเริ่มเปลี่ยนเท่านี้ก็ยังไม่เป็นเหตุให้ได้ผลบวกปลอมจากเลือดที่ปกติรั่วซึมออกจากลำไส้ส่วนบน เพราะมันไม่สามารถตรวจจับเลือดแฝงจากกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนบน ดังนั้น FIT จึงมีความจำเพาะต่อเลือดออกจากลำไส้ใหญ่หรือทางเดินอาหารส่วนล่างยิ่งกว่าวิธีการตรวจอื่น ๆ[62] อัตราการตรวจจับเลือดได้จะลดลงถ้าช่วงเวลาที่เก็บตัวอย่างกับการตรวจผลในแล็บห่างกัน ดังนั้น จึงแนะนำให้ตรวจผลภายใน 5 วัน[63]
ความไวของ gFOBT จะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เลือดออก gFOBT ที่ไวกลาง ๆ จะสามารถตรวจจับเลือดประมาณ 10 มล. (ประมาณ 2 ช้อนชา) และที่ไวยิ่งกว่านั้น สามารถตรวจจับเลือดได้น้อยที่สุด 2 มล. เพื่อให้แสดงผลบวก ความไวของการตรวจด้วย gFOBT ครั้งเดียวอ้างว่าอยู่ที่ 10-30% แต่ถ้าทำ 3 ครั้งดังที่แนะนำ ความไวจะเพิ่มเป็น 92%[64] แต่เพราะคนไข้ไม่ค่อยยอมเก็บอุจจาระถึง 3 ครั้ง วิธีนี้จึงไม่ค่อยได้ประโยชน์
ส่วนการตรวจหา porphyrin[K] ด้วย HemoQuant อาจได้ผลบวกปลอมเพราะเลือดและ porphyrin แปลกปลอมภายนอก แต่ HemoQuant ก็เป็นวิธีการตรวจที่ไวสุดสำหรับเลือดที่ออกในทางเดินอาหารส่วนบน และดังนั้น จึงอาจเป็นการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระซึ่งเหมาะที่สุดเพื่อตรวจการขาดธาตุเหล็ก[65] โดยแนะนำให้คนไข้ไม่ทานเนื้อที่มีสีแดงเมื่อยังดิบ และไม่ทานแอสไพรินเป็นเวลา 3 วันก่อนจะเก็บตัวอย่าง[66] ผลบวกปลอมอาจเกิดกับไมโยโกลบิน, catalase, หรือ protoheme ก็ได้[67] และกับ porphyria บางอย่างได้[ต้องการอ้างอิง]
ส่วนการตรวจดีเอ็นเอในอุจจาระจนถึงปี 2008 ก็ยังไม่ได้ศึกษาพอสนับสนุนให้ใช้อย่างกว้างขวาง[68]
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 globin เป็นหมู่ใหญ่ (superfamily) ของโปรตีนรูปทรงกลม (globular protein) ที่มี heme เป็นองค์ประกอบและมีหน้าที่ในการจับกับหรือขนส่งออกซิเจน โปรตีนทั้งหมดเหล่านี้มีรอยพับที่เรียกว่า globin fold ซึ่งเป็น alpha helical segment ต่อ ๆ กันแปดส่วน สมาชิกในหมู่ที่สำคัญรวมทั้งไมโยโกลบินและเฮโมโกลบิน ซึ่งสามารถจับกับออกซิเจนอย่างผันกลับได้ผ่าน heme prosthetic group เป็นหมู่โปรตีนที่กระจายไปทั่วในสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ[3]
- ↑ 2.0 2.1 2.2 heme หรือ haem (จากคำกรีกว่า αἷμα คือ haima แปลว่า เลือด) เป็นโคแฟ็กเตอร์ที่ประกอบด้วยไอออน Fe2+ (ferrous, เหล็ก) ตรงกลางของสารประกอบอินทรีย์แบบ heterocyclic macrocycle ที่เรียกว่า porphyrin ซึ่งก็ประกอบด้วยหมู่ pyrrolic 4 ชุดที่ต่อกันด้วยสะพานคือ methine ให้สังเกตว่า porphyrin ทั้งหมดไม่ได้มีเหล็ก แต่เมทัลโลโปรตีนจำนวนสำคัญที่ประกอบด้วย porphyrin จะมี heme เป็น prosthetic group จึงเป็นโปรตีนที่เรียกว่า hemoprotein heme มักจะรู้จักกันว่า เป็นองค์ประกอบของเฮโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารรงควัตถุในเลือด แต่ก็พบด้วยใน hemoprotein ที่สำคัญทางชีวภาพต่าง ๆ เช่น ไมโยโกลบิน, cytochrome, catalase, heme peroxidase, และ endothelial nitric oxide synthase[4][5]
- ↑ Diverticulosis เป็นภาวะที่ลำไส้ใหญ่เกิดกระเป๋า/ช่อง/ซอก (คือ diverticula) หลายอันที่ไม่ได้อักเสบ เป็นส่วนยื่นออกจากเยื่อเมือกและชั้นใต้เยื่อเมือกของลำไส้ใหญ่เนื่องจากกล้ามเนื้อผนังลำไส้ไม่แข็งแรง[11] ซึ่งปกติจะไม่มีอาการอะไร ๆ[12] จะเป็น diverticular disease ก็ต่อเมื่อช่องเหล่านี้อักเสบ คือเป็น diverticulitis หรือเมื่อเลือดออก[13]
- ↑ ในวิทยาการทางเดินอาหาร angiodysplasia เป็นสภาวะวิรูปของหลอดเลือดแดงเล็กในท้อง เป็นเหตุสามัญของการเลือดออกในกระเพาะลำไส้และโลหิตจางที่ไม่มีสาเหตุอื่น ๆ รอยโรคมักจะเป็นหลายจุด และบ่อยครั้งจะเป็นที่กระพุ้งไส้ใหญ่ (cecum) หรือลำไส้ใหญ่ส่วนที่วิ่งขึ้น แต่ก็เกิดที่อื่น ๆ ได้เหมือนกัน
- ↑ esophageal varices หรือ oesophageal varices เป็นเส้นเลือดดำใต้เยื่อเมือกในหลอดอาหาร 1/3 ส่วนล่างซึ่งพองอย่างมาก[17] บ่อยครั้งเป็นผลของ portal hypertension (ความดันในระบบหลอดเลือดดำที่วิ่งไปจากทางเดินอาหารไปยังตับ) โดยปกติเนื่องจากตับแข็ง คนไข้ที่มีอาการนี้มีความโน้มเอียงในการเลือดออกสูง ปกติตรวจวินิจฉัยได้โดยส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน (EGD)[18]
- ↑ ACG แนะนำให้เลิกใช้การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย gFOBT โดยให้เลือกใช้ FIT แทน[22]
- ↑ ปี 2561-2565 มีเป้าหมายเช็คประชากรทั้งหมด 9,100,000 คน ใน 13 เขต[32] จากกลุ่มประชากร 14,410,730 คน[33] คิดเป็นอัตราร้อยละ 63
- ↑ ประชาชนใน "กลุ่มเสี่ยงสูง" คือ มีอาการผิดปกติและมีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก) ผู้เป็นมะเร็ง ก็ให้ปรึกษาแพทย์โดยตรง[34]
- ↑ เมื่อส่องกล้องแล้ว[35]
- ถ้าพบผลลบ ให้ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทุก ๆ 5-10 ปี และ/หรือแนะนำให้ตรวจด้วย FIT ทุก ๆ 2 ปีตามปกติ
- ถ้าพบผลบวก
- ถ้าเสี่ยงน้อย ให้ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทุก ๆ 5 ปี
- ถ้าเสี่ยงมาก ให้ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทุก ๆ 3 ปี
- ↑ ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงประมาณ 3,000 ราย[36] โปรแกรมอาจลดอัตราการตายได้ถึง 25-33%[37] หรือลดผู้ป่วยใหม่แต่ละปี ซึ่งในปี 2555 พบ 10,624 รายและคาดว่าในปี 2578 จะมี 20,419 รายถ้าไม่มีการคัดกรองโรค[38]
- ↑ 11.0 11.1 porphyrin เป็นหมู่สารประกอบอินทรีย์แบบ heterocyclic macrocycle โดยประกอบด้วยหน่วยย่อยคือ pyrrole แบบแปรที่เชื่อมกันที่อะตอมคาร์บอน α ผ่านสะพานคือ methine
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "occult blood", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(แพทยศาสตร์) เลือดแฝง
- ↑ Beg, M; และคณะ (2002). "Occult Gastrointestinal Bleeding: Detection, Interpretation, and Evaluation" (PDF). JIACM. 3 (2): 153–58. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-11-22.
- ↑ "A model of globin evolution". 2007. PMID 17540514.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑
"Structure-function relationships in heme-proteins". 2002. PMID 12042067.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑
"Nitric oxide synthases: structure, function and inhibition". 2001. PMID 11463332.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Harewood, GC; Ahlquist, DA (2000). "Fecal occult blood testing for iron deficiency: a reappraisal". Dig Dis. 18 (2): 75–82. doi:10.1159/000016968. PMID 11060470.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Bardhan, PK; Beltinger, J; Beltinger, RW; Hossain, A; Mahalanabis, D; Gyr, K (2000-01). "Screening of patients with acute infectious diarrhoea: evaluation of clinical features, faecal microscopy, and faecal occult blood testing". Scand. J. Gastroenterol. 35 (1): 54–60. doi:10.1080/003655200750024533. PMID 10672835.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Fecal Occult Blood Test (FOBT)". สืบค้นเมื่อ 2007-07-18.
- ↑ Rockey, DC (2005-12). "Occult gastrointestinal bleeding". Gastroenterol. Clin. North Am. 34 (4): 699–718. doi:10.1016/j.gtc.2005.08.010. PMID 16303578.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Walleser, S; Griffiths, A; Lord, SJ; Howard, K; Solomon, MJ; Gebski, V (2007-12). "What is the value of computerized tomographic colonography in patients screening positive for fecal occult blood? A systematic review and economic evaluation". Clin. Gastroenterol. Hepatol. 5 (12): 1439–46, quiz 1368. doi:10.1016/j.cgh.2007.09.003. PMID 18054752.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Diverticulosis and Diverticulitis". 2016. PMID 27156370.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Diverticular Disease". niddk.nih.gov. 2013-09.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "Review article: the pathophysiology and medical management of diverticulosis and diverticular disease of the colon". 2015-07. PMID 26202723.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 14.0 14.1 14.2 Bevan, R; Lee, TJ; Nickerson, C; Rubin, G; Rees, CJ (2014-06). "Non-neoplastic findings at colonoscopy after positive faecal occult blood testing: data from the English Bowel Cancer Screening Programme". J. Med. Screen. 21 (2): 89–94. doi:10.1177/0969141314528889. PMID 24644029.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Endo, M; Sakakibara, N; Suzuki, H (1972). "Observation of esophageal lesions with the use of endoscopic dyes". Progress of Digestive Endoscopy. 1: 34.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Endo, M; Takeshita, K; Yoshida, M (1986-09). "How can we diagnose the early stage of esophageal cancer? Endoscopic diagnosis". Endoscopy. 18 Suppl 3: 11–8. doi:10.1055/s-2007-1018435. PMID 2428607.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Rubin's Pathology: Clinicopathologic Foundations of Medicine. p. 612.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) (help) - ↑ "The role of endoscopy in portal hypertension". 2005. PMID 15920321.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Rex, DK; Johnson, DA; Anderson, JC; Schoenfeld, PS; Burke, CA; Inadomi, JM (2009-03). "American College of Gastroenterology guidelines for colorectal cancer screening 2009 [corrected]". Am. J. Gastroenterol. 104 (3): 739–50. doi:10.1038/ajg.2009.104. PMID 19240699.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Levin, B.; Lieberman, D. A.; McFarland, B.; Smith, R. A.; Brooks, D.; Andrews, K. S.; Dash, C.; Giardiello, F. M.; Glick, S.; Levin, T. R.; Pickhardt, P.; Rex, D. K.; Thorson, A.; Winawer, S. J. (2008). "Screening and Surveillance for the Early Detection of Colorectal Cancer and Adenomatous Polyps, 2008: A Joint Guideline from the American Cancer Society, the US Multi-Society Task Force on Colorectal Cancer, and the American College of Radiology". CA: A Cancer Journal for Clinicians. 58 (3): 130–60. doi:10.3322/CA.2007.0018. PMID 18322143.
- ↑ * USPSTF Agency for Healthcare Research and Quality (2008). "Screening for colorectal cancer: U.S. Preventive Services Task Force recommendation statement". Ann Intern Med. 149: 627–37.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)- Also available at Screening for colorectal cancer, topic page: http://www.uspreventiveservicestaskforce.org/uspstf/uspscolo.htm เก็บถาวร 2015-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน accessioned 2010 October 26, which has several hyperlink extensions to several extensive reviews, including accessible articles with recommendation statements, clinical background summary, decision analysis, systematic review, and evidence synthesis.
- ↑ Rex, DK; Johnson, DA; Anderson, JC; Schoenfeld, PS; Burke, CA; Inadomi, JM; American College of, Gastroenterology (2009-03). "American College of Gastroenterology guidelines for colorectal cancer screening 2009 [corrected]". The American Journal of Gastroenterology. 104 (3): 739–50. doi:10.1038/ajg.2009.104. PMID 19240699.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Bretthauer, M (2010-08). "Evidence for colorectal cancer screening". Best Pract Res Clin Anaesthesiol. 24 (4): 417–25. doi:10.1016/j.bpg.2010.06.005. PMID 20833346.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑
Mandel, JS; Bond, JH; Church, TR และคณะ (1993-05). "Reducing mortality from colorectal cancer by screening for fecal occult blood. Minnesota Colon Cancer Control Study". N. Engl. J. Med. 328 (19): 1365–71. doi:10.1056/NEJM199305133281901. PMID 8474513.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help); ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน|authors=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Hardcastle, JD; Chamberlain, JO; Robinson, MH และคณะ (1996-11). "Randomised controlled trial of faecal-occult-blood screening for colorectal cancer". Lancet. 348 (9040): 1472–7. doi:10.1016/S0140-6736(96)03386-7. PMID 8942775.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help); ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน|authors=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Kronborg, O; Fenger, C; Olsen, J; Jørgensen, OD; Søndergaard, O (1996-11). "Randomised study of screening for colorectal cancer with faecal-occult-blood test". Lancet. 348 (9040): 1467–71. doi:10.1016/S0140-6736(96)03430-7. PMID 8942774.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Kewenter, J; Brevinge, H; Engarås, B; Haglind, E; Ahrén, C (1994-05). "Results of screening, rescreening, and follow-up in a prospective randomized study for detection of colorectal cancer by fecal occult blood testing. Results for 68,308 subjects". Scand. J. Gastroenterol. 29 (5): 468–73. doi:10.3109/00365529409096840. PMID 8036464.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Screening for colorectal cancer". Canadian Cancer Society. Canadian Cancer Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-09. สืบค้นเมื่อ July 14.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Collins, JF; Lieberman, DA; Durbin, TE; Weiss, DG (2005-01). "Accuracy of screening for fecal occult blood on a single stool sample obtained by digital rectal examination: a comparison with recommended sampling practice". Ann. Intern. Med. 142 (2): 81–85. doi:10.7326/0003-4819-142-2-200501180-00006. PMID 15657155.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 30.0 30.1 Tonus, C; Sellinger, M; Koss, K; Neupert, G (2012-08-14). "Faecal pyruvate kinase isoenzyme type M2 for colorectal cancer screening: a meta-analysis". World Journal of Gastroenterology. 18 (30): 4004–11. doi:10.3748/wjg.v18.i30.4004. PMC 3419997. PMID 22912551.
- ↑ "Bowel cancer screening". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-22. สืบค้นเมื่อ 2013-07-04.
- ↑ การตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (2018), p. 47
- ↑ การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (2017), p. 31
- ↑ การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (2017), p. 12
- ↑ การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (2017), p. 27
- ↑ การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (2017), สถิติโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง, p. 3
- ↑ การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (2017), p. 7
- ↑ การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (2017), p. 6
- ↑ Halvorsen, FA; Lyng, J; Ritland, S (1986-05). "Gastrointestinal bleeding in marathon runners". Scand. J. Gastroenterol. 21 (4): 493–97. doi:10.3109/00365528609015168. PMID 3487825.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ de Oliveira, EP; Burini, RC (2009-09). "The impact of physical exercise on the gastrointestinal tract". Curr Opin Clin Nutr Metab Care. 12 (5): 533–38. doi:10.1097/MCO.0b013e32832e6776. PMID 19535976.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Peters, HP; De Vries, WR; Vanberge-Henegouwen, GP; Akkermans, LM (2001-03). "Potential benefits and hazards of physical activity and exercise on the gastrointestinal tract". Gut. 48 (3): 435–39. doi:10.1136/gut.48.3.435. PMC 1760153. PMID 11171839.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Weaver, LT (1984). "Do some marathon runners bleed into the gut? (letter response to a previous article)" (PDF). BMJ. 288 (6410): 65. doi:10.1136/bmj.288.6410.65-b. PMC 1444190.
- ↑ 43.0 43.1 Brouns, F; Beckers, E (1993-04). "Is the gut an athletic organ? Digestion, absorption and exercise". Sports Med. 15 (4): 242–57. doi:10.2165/00007256-199315040-00003. PMID 8460288.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Venkatraman, JT; Pendergast, DR (2002). "Effect of dietary intake on immune function in athletes". Sports Med. 32 (5): 323–37. doi:10.2165/00007256-200232050-00004. PMID 11929359.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Moses, FM; Baska, RS; Peura, DA; Deuster, PA (1991-10). "Effect of cimetidine on marathon-associated gastrointestinal symptoms and bleeding". Dig. Dis. Sci. 36 (10): 1390–4. doi:10.1007/BF01296804. PMID 1914760.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Baska, RS; Moses, FM; Deuster, PA (1990-08). "Cimetidine reduces running-associated gastrointestinal bleeding. A prospective observation". Dig. Dis. Sci. 35 (8): 956–60. doi:10.1007/BF01537243. PMID 2384041.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Quintero, E. (2009). "¿Test químico o test inmunológico para la detección de sangre oculta en heces en el cribado del cáncer colorrectal?". Gastroenterología y Hepatología. 32 (8): 565–576. doi:10.1016/j.gastrohep.2009.01.179. PMID 19577340.
- ↑ 48.0 48.1 Rex, Douglas K.; Johnson, David A.; Anderson, Joseph C.; Schoenfeld, Phillip S.; Burke, Carol A.; Inadom, John M. (2009-02-24). "American College of Gastroenterology Guidelines for Colorectal Cancer Screening 2008" (PDF). Am J Gastroenterol (advance online publication). 104: 739–50. doi:10.1038/ajg.2009.104. PMID 19240699. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-04. สืบค้นเมื่อ 2018-09-14.
- ↑ "Colorectal Cancer". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-19. สืบค้นเมื่อ 2018-09-14.
- ↑
Young, GP; Cole, SR (2009-03). "Which fecal occult blood test is best to screen for colorectal cancer?". Nat Clin Pract Gastroenterol Hepatol. 6 (3): 140–41. doi:10.1038/ncpgasthep1358. PMID 19174764.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Quintero, E (2009-10). "Chemical or immunological tests for the detection of fecal occult blood in colorectal cancer screening?". Gastroenterol Hepatol (ภาษาสเปน). 32 (8): 565–76. doi:10.1016/j.gastrohep.2009.01.179. PMID 19577340.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Berchi, C; Bouvier, V; Réaud, JM; Launoy, G (2004-03). "Cost-effectiveness analysis of two strategies for mass screening for colorectal cancer in France". Health Econ. 13 (3): 227–38. doi:10.1002/hec.819. PMID 14981648.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Kuriyama, M; Kato, J; Takemoto, K; Hiraoka, S; Okada, H; Yamamoto, K (2010-03). "Prediction of flare-ups of ulcerative colitis using quantitative immunochemical fecal occult blood test". World J. Gastroenterol. 16 (9): 1110–14. doi:10.3748/wjg.v16.i9.1110. PMC 2835788. PMID 20205282.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Rockey, DC (1999-07). "Occult gastrointestinal bleeding". N. Engl. J. Med. 341 (1): 38–46. doi:10.1056/NEJM199907013410107. PMID 10387941.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "Diagnostic Tests — Fecal Occult Blood Test". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-07. สืบค้นเมื่อ 2007-07-18.
- ↑ Sheng, JQ; Li SR; Wu ZT; และคณะ (2009-08). "Transferrin dipstick as a potential novel test for colon cancer screening: a comparative study with immuno fecal occult blood test". Cancer Epidemiol. Biomarkers Prev. 18 (8): 2182–85. doi:10.1158/1055-9965.EPI-09-0309. PMID 19661074.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Sheng, JQ; Li SR; Su H; และคณะ (2010-06). "Fecal cytology in conjunction with immunofecal occult blood test for colorectal cancer screening". Anal. Quant. Cytol. Histol. 32 (3): 131–5. PMID 20701065.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑
Ahlquist, DA; McGill, DB; Schwartz, S; Taylor, WF; Owen, RA (1985-05). "Fecal blood levels in health and disease. A study using HemoQuant". N. Engl. J. Med. 312 (22): 1422–8. doi:10.1056/NEJM198505303122204. PMID 3873009.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Dybdahl, JH; Daae, LN; Larsen, S (1981). "Occult faecal blood loss determined by chemical tests and a 51 Cr method". Scand. J. Gastroenterol. 16 (2): 245–52. doi:10.3109/00365528109181963. PMID 7313535.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
DJ, St John; Young, GP (1978-04). "Evaluation of radiochromium blood loss studies in unexplained iron-deficiency anaemia". Aust N Z J Med. 8 (2): 121–6. doi:10.1111/j.1445-5994.1978.tb04496.x. PMID 307949.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Schiff, L; Stevens, RJ; Shapiro, N และคณะ (1942). "Observations on the oral administration of citrate blood in man". Am J Med Sci. 203: 409.
{{cite journal}}
: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน|authors=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "What Does a Positive Fecal Occult Blood Test Mean? - B01". สืบค้นเมื่อ 2007-07-18.
- ↑ van Rossum, LG; van Rijn AF; van Oijen MG; และคณะ (2009-08). "False negative fecal occult blood tests due to delayed sample return in colorectal cancer screening". Int. J. Cancer. 125 (4): 746–50. doi:10.1002/ijc.24458. PMID 19408302.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "Screening average risk patients for colorectal cancer - B01". สืบค้นเมื่อ 2007-10-25.
- ↑ Harewood, GC; McConnell, JP; Harrington, JJ; Mahoney, DW; Ahlquist, DA (2002-01). "Detection of occult upper gastrointestinal tract bleeding: performance differences in fecal occult blood tests". Mayo Clin. Proc. 77 (1): 23–28. doi:10.4065/77.1.23. PMID 11794453.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Test ID: HQ: HemoQuant, Feces: Specifman". Mayo Clinic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-04. สืบค้นเมื่อ 2018-09-26.
- ↑ Schwartz, S; Dahl, J; Ellefson, M; Ahlquist, D (1983-12). "The "HemoQuant" test: a specific and quantitative determination of heme (hemoglobin) in feces and other materials". Clin. Chem. 29 (12): 2061–67. PMID 6640900.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Whitlock, EP; Lin, J; Liles, E; Beil, T; Fu, R; O'Connor, E; Thompson, RN; Cardenas, T (2008). "Screening for Colorectal Cancer: An Updated Systematic Review". Agency for Healthcare Research and Quality (US). PMID 20722162. Report No.: 08-05-05124-EF-1.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
อื่น ๆ
[แก้]- "การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง" (PDF). สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2017-08-03. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-13. สืบค้นเมื่อ 2018-09-26.
- "การตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ" (PDF). สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2018-02-01. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-13. สืบค้นเมื่อ 2018-09-26.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- FOBT Overview at Mayo Clinic
- Overview at Cleveland Clinic
- ColonCancerCheck including fact sheets in 24 languages at Ontario Ministry of Health and Long-Term Care
- Burt, RW (2010-09). "Colorectal cancer screening". Curr Opin Gastroenterol. 26: 466–70. doi:10.1097/MOG.0b013e32833d1733. PMID 20664346.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)