ปวดบิดในทารก
ปวดบิดในทารก | |
---|---|
ชื่ออื่น | Colic, infantile colic |
ทารกร้องไห้ | |
สาขาวิชา | กุมารเวชศาสตร์ |
อาการ | ร้องไห้เป็นเวลานานกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 3 สัปดาห์[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | ความกังวลของผู้เลี้ยงดู, ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด, การทำร้ายทารก[1] |
การตั้งต้น | อายุ 6 สัปดาห์[1] |
ระยะดำเนินโรค | มักหายเองไม่เกินอายุ 6 เดือน[1] |
สาเหตุ | ไม่ทราบสาเหตุ[1] |
วิธีวินิจฉัย | วินิจฉัยจากอาการ และการแยกโรคอื่นที่สำคัญออก[1] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Corneal abrasion, hair tourniquet, hernia, testicular torsion[2] |
การรักษา | รักษาตามอาการ, ให้ความช่วยเหลือกับผู้ดูแล[3][1] |
พยากรณ์โรค | ไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาว[4] |
ความชุก | ~25% ของทารกทั่วไป[1] |
ปวดบิดในทารก[5] หรือ โคลิค (อังกฤษ: Colic) หรือที่ในภาษาไทยโบราณเรียกว่า ร้องไห้ 100 วัน[6] เป็นอาการของเด็กทารกที่ร้องไห้ มักเป็นวันละครั้ง เกิดได้ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง โดยเกิดขึ้นในเด็กอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ แต่อาการอาจจะรุนแรงขึ้นในช่วงอายุ 6-8 สัปดาห์ แล้วหายไปเองเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน
อาการโคลิคในเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป โดยจะร้องเป็นเวลานานติดต่อกัน 2-3 ชั่วโมง ทำอย่างไรก็ไม่ยอมหยุด เด็กบางคนไม่ได้ร้องทุกวัน อาจจะร้องประมาณ 3-4 วันใน 1 สัปดาห์ ซึ่งระยะเวลาในการร้องของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน
เวลาที่เด็กร้องหน้าจะแดง เสียงร้องดัง แหลม และอาจมีอาการเกร็งแขนและขา ไม่ยอมหยุดง่าย ๆ เด็กบางคนมีการผายลมร่วมด้วย
ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดอาการของโคลิคได้ แต่สาเหตุที่สันนิษฐานในปัจจุบัน คือ เด็กมีอาการปวดท้องจากการแพ้นมวัวหรือมีอาการแก้ มีผืนคันจากผ้าอ้อมที่ใช้[7]
จากการที่เด็กร้องไห้อย่างยาวนานโดยไม่ทราบสาเหตุนี้ จากความเชื่อในสมัยโบราณ จึงเชื่อกันว่า เพราะมีผีมารังควาญเด็ก[8]
อาการและอาการแสดง
[แก้]นิยามของโคลิกคือการที่ทารกร้องไห้นานกว่าสามชั่วโมงต่อวัน มากกว่าสามวันต่อสัปดาห์ ติดต่อกันสามสัปดาห์ขึ้นไป โดยที่ทารกนั้นมีสุขภาพด้านอื่นๆ ปกติดี และมีอายุระหว่าง 2 สัปดาห์ ถึง 4 เดือน ในทางกลับกัน ทารกปกติอาจร้องไห้ได้ประมาณสองชั่วโมงต่อวันหรือมากกว่าเล็กน้อย โดยมักร้องไห้มากที่สุดที่อายุประมาณหกสัปดาห์ ส่วนใหญ่ทารกที่เป็นโคลิกมักร้องไห้ขึ้นในช่วงเย็นโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน อาการที่พบร่วมเช่นทารกยกขาขึ้นชนกับท้อง หน้าแดง มือหงิกเกร็ง และคิ้วย่น เสียงร้องไห้มักมีเสียงแหลม เป็นต้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อAFP2015
- ↑ "Colic Differential Diagnoses". emedicine.medscape.com (ภาษาอังกฤษ). 3 September 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2017. สืบค้นเมื่อ 1 June 2017.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBia2016
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGri2014
- ↑ บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย (อังกฤษ-ไทย) ฉบับปี 2009. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2552.
- ↑ กลเม็ดหยุดเด็กร้องร้อยวัน หรือโคลิคให้อยู่หมัด จากกระปุกดอตคอม
- ↑ โคลิก เด็กร้อง 100 วันโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ↑ คนอวดผี วันพุธที่23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554: ช่อง 7
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |