ข้ามไปเนื้อหา

กาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กาม
ความพึงพอใจในงานศิลปะอันสวยงาม[2]
ความพึงพอใจจากธรรมชาติอันสวยงาม[2]
กามในทางศาสนาฮินดู เป็นหนึ่งในสี่เป้าหมายสำคัญของชีวิต[1] ด้านบนคือภาพบางส่วนที่แสดงให้เห็นกามในรูปต่าง ๆ

กาม หรือ กามะ (ภาษาสันสกฤต, ภาษาบาลี; อักษรเทวนาครี: काम) แปลว่า "ความต้องการ, ความปรารถนา, ความหวัง" ในวรรณกรรมฮินดูและพุทธ[3] กามมีความหมายกว้าง ๆ หมายถึง ความปรารถนาทางเพศและความปรารถนาในวรรณกรรมร่วมสมัย แต่แนวคิดของกามนั้นครอบคลุมความหมายกว้าง ๆ ถึง ความต้องการ, ความหวัง, ความใคร่, ความปรารถนา, ความสุขใจอันเกิดจากผัสสะ, ความต้องการถึง, ปรารถนาถึงการมีความสุขไปกับสุนทรียภาพ, ชีวิต, ความรักใคร่, ความหลง, การมีความสุขกับความรัก ไม่ว่าจะด้วยการมีเพศสัมพันธ์หรืออารมณ์ทางเพศหรือไม่ก็ตาม[4][5]

ในศาสนาฮินดู กามเป็นหนึ่งในเป้าหมายสี่ประการของชีวิตมนุษย์[1] กามถือเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นเป้าหมายอันดีต่อสุขภาพของชีวิตมนุษย์เมื่อได้ทำตาม หากแต่ต้องไม่ละทิ้งเป้าหมายอีกสามประการที่เหลือ คือ ธรรม, อรรถ, และ โมกษะ[6][7] เป้าหมายทั้งสี่ประการของชีวิตที่กล่าวมานี้เรียกรวมกันว่าเป็น ปุรุษารถะ[8]

ในศาสนาพุทธเถรวาทนั้น พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ได้ระบุว่ากามคือ[9]ความอยากในกาม ความเยื่อใยในกาม ฯลฯ โดยทั่วไปหมายถึง ความอยากในกามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ” และถือว่า “ใจความสูงสุดของกามตัณหา หมายถึง ความยินดี ความติดใจ ความพอใจในกามภพ อันเป็นที่เกิดของผู้ยังเกี่ยวข้องด้วยกาม ซึ่งพร้อมมูลด้วยกาม ได้แก่โลกมนุษย์และเทวโลก

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ jamesl
  2. 2.0 2.1 * Kate Morris (2011), The Illustrated Dictionary of History, ISBN 978-8189093372, pp 124;
  3. Monier Williams, काम, kāma Monier-Williams Sanskrit English Dictionary, pp 271, see 3rd column
  4. Macy, Joanna (1975). "The Dialectics of Desire". Numen. BRILL. 22 (2): 145–60. JSTOR 3269765.
  5. Lorin Roche. "Love-Kama". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-20. สืบค้นเมื่อ 15 July 2011.
  6. The Hindu Kama Shastra Society (1925), The Kama Sutra of Vatsyayana, University of Toronto Archives, pp. 8
  7. see:
    • A. Sharma (1982), The Puruṣārthas: a study in Hindu axiology, Michigan State University, ISBN 9789993624318, pp 9-12; See review by Frank Whaling in Numen, Vol. 31, 1 (Jul., 1984), pp. 140-142;
    • A. Sharma (1999), The Puruṣārthas: An Axiological Exploration of Hinduism, The Journal of Religious Ethics, Vol. 27, No. 2 (Summer, 1999), pp. 223-256;
    • Chris Bartley (2001), Encyclopedia of Asian Philosophy, Editor: Oliver Learman, ISBN 0-415-17281-0, Routledge, Article on Purushartha, pp 443
  8. Kama in Encyclopædia Britannica, Chicago, 2009
  9. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548