ข้ามไปเนื้อหา

สางขยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สางขยะ หรือสัมขยะ (Samkhya; สันสกฤต: सांख्य) เป็นปรัชญาหนึ่งในศาสนาฮินดู ที่เก่าแก่กว่าลัทธิอื่นๆ มีมาก่อนพุทธกาล เพราะเจ้าชายสิทธัตถะได้ศึกษาลัทธินี้ในสำนักอุทกดาบสและอาฬารดาบส คำว่าสางขยะมาจากคำว่าสังขยาแปลว่าจำนวนหรือการนับ ลัทธินี้ถือว่าความจริงแท้มีสองอย่างคือปุรุษะกับประกฤติ ทำให้ลัทธินี้เป็นลัทธิที่เน้นทวินิยม ซึ่งต่างจากลัทธิเวทานตะ

ปุรุษะนี้คือผู้รับรู้ ประกฤติคือมูลเหตุของโลก เป็นรากเหง้าที่มองไม่เห็นของสรรพสิ่ง วิวัฒนาการของสิ่งต่างๆเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างปุรุษะกับประกฤติ โมกษะเป็นเป้าหมายของชีวิตที่พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง โดยการพิจารณาให้เห็นความแตกต่างระหว่างปุรุษะกับประกฤติ แล้วแยกทั้งสองสิ่งนี้ออกจากกันเมื่อแยกได้เด็ดขาดก็เป็นอันถึงซึ่งโมกษะ

อ้างอิง

[แก้]
  • ฟื้น ดอกบัว.ปวงปรัชญาอินเดีย. กทม. ศยาม. 2555 หน้า 213 – 235