วิชัยทัศมี
วิชัยทศมี | |
---|---|
การฉลองถึงพระแม่ทุรคา (ซ้าย) และพระราม (ขวา) ขึ้นอยู่กับพื้นที่[1] | |
ชื่ออื่น | ทศาหระ, ดาซารา, นวราตรี |
จัดขึ้นโดย | ชาวฮินดู |
ประเภท | ศาสนา, วัฒนธรรม |
ความสำคัญ | เฉลิมฉลองชัยชนะของความดีงามเหนือความชั่วร้าย |
การเฉลิมฉลอง | วันสุดท้ายของทุรคาบูชา และ รามลีลา |
การถือปฏิบัติ | ปันทัล (เวที), การแสดง, การพบปะกัน, สวดบทบูชา, ปูชา, การอดอาหาร, การลอยเทวรูปในน้ำหรือเผารูปของราวณะ |
วันที่ | อัศวิน (กันยายน-ตุลาคม) |
วันที่ในปี 2024 | 12 ตุลาคม (วันเสาร์) |
วิชัยทัศมี (Vijayadashami; ไอเอเอสที: Vijayadaśamī) หรือ ดุสเสห์รา (Dussehra), ทศาระ (Dasara), ดาเชน (Dashain) เป็นเทศกาลสำคัญในศาสนาฮินดูที่เฉลิมฉลองวันสุดท้ายของนวราตรี ของทุกปี ตรงกับวันที่สิบของเดือน อัศวิน และ กรฏิก คือเดือนที่หกและเจ็ดของปฏิทินจันทรคติและสุริยคติของฮินดูตามลำดับ มักตรงกับเดือนกันยายนและตุลาคมของปฏิทินเกรเกอเรียน[2][3][4]
วิชัยทัศมีมีการฉลองด้วยที่มาและความเชื่อที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ในอนุทวีปอินเดีย[5][1][6][2] ในทางใต้, ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงเหนือ และบางรัฐทางเหนือของอินเดีย ฉลองวิชัยทัศมีในฐานะวันสุดท้ายของทุรคาบูชา เพื่อระลึกถึงชัยชนะของพระแม่ทุรคาเหนือปีศาจควาย มหิษาสูร เพื่อปกป้องและทำนุบำรุงธรรมะ[2][7][8] ส่วนในทางเหนือ, กลาง และตะวันตกของอินเดีย นิยมเรียกเทศกาลนี้ในชื่อ ดุสเซห์รา (Dussehra) (หรือ ดาซารา; Dasara, ทศาหรา; Dashahara) และฉลองในฐานะวันสุดท้ายของรามลีลา และระลึกถึงชัยชนะของพระรามเหนือราวณะ ในโอกาสเดียวกันนี้อรชุนยังได้รวบรวมกองกำลังกว่า 1,000,000 นายและสามารถเอาชนะสงครามที่กุรุเกษตร ทั้งภีษมะ, โทรณ, อัศวัถมะ, กรรนะ และ กฤปะ ถือเป็นการฉลองซึ่งชัยชนะของธรรมะเหนืออธรรม และยังเป็นโอกาสสำคัญที่เฉลิมฉลองเทวีเช่นพระแม่ทุรคาเช่นกัน[1][3][4]
นอกจากนี้เทศกาลนี้ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อการเตรียมตัวสำหรับดีวาลี เทศกาลแห่งแสงสว่างที่จะมีขึ้นใน 12 วันนับจากวิชัยทศมี[9][10][1]
ศัพทมูล
[แก้]วิชัยทัศมี (อักษรเทวนาครี: विजयदशमी ) (โอเดีย : ଵିଜୟା ଦଶମୀ) (กันนาดา: ವಿಜಯದಶಮಿ) (ทมิฬ: விஜயதசமி) (อักษรเตลูกู: విజయదశమి) (มลยาฬัม: വിജയദശമി) ประกอบขึ้นจากคำว่า "วิชัย" (विजय) และ "ทัศมี" (दशमी) อันแปลว่า "ชัยชนะ"[11] และ "ลำดับที่สิบ"[12] ตามลำดับ อันหมายถึงการเฉลิมฉลองในวันที่สิบของการฉลองชัยชนะของธรรมะเหนืออธรรม[1][6][13] เทศกาลรูปแบบคล้ายกันยังพบในพื้นที่อื่น ๆ ของอินเดียและเนปาลเช่นกัน[14]
เจมส์ ลอชท์ฟีลด์ (James Lochtefeld) ระบุว่าชื่อ ดูสเซห์รา (อักษรเทวนาครี: दशहरा; Dussehra) (กันนาดา: ದಸರಾ ಹಬ್ಬ) มาจากคำส่า ทศาหระ (Dashahara) ซึ่งเกิดจากคำภาษาสันสกฤต "ทศัม" (दशम; dasham) และ "อหร" (अहर; ahar) แปลว่า "10" และ "วัน" ตามลำดับ[15][16][17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Fuller, Christopher John (2004). The Camphor Flame: Popular Hinduism and Society in India. Princeton University Press. pp. 108–109. ISBN 978-0-69112-04-85.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Encyclopedia Britannica 2015.
- ↑ 3.0 3.1 James G. Lochtefeld 2002, pp. 212–213, 468–469.
- ↑ 4.0 4.1 Encyclopedia Britannica Dussehra 2015.
- ↑ "Happy Dashain 2074". Lumbini Media. 18 September 2017. สืบค้นเมื่อ 18 September 2017.
- ↑ 6.0 6.1 James G. Lochtefeld 2002, p. 751.
- ↑ James G. Lochtefeld 2002, pp. 468–469.
- ↑ "Dussehra 2020 (Vijayadashami): Story, Ram Setu, Lord Rama & True God". S A NEWS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 25 October 2020. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
- ↑ Gall, Susan B.; Natividad, Irene (1995). The Asian-American Almanac. Gale Research. p. 24. ISBN 978-0-8103-9193-2.
- ↑ Singh, Rina (2016). Diwali. Orca. pp. 17–18. ISBN 978-1-4598-1008-2.
- ↑ "Sanskrit Dictionary for Spoken Sanskrit". spokensanskrit.org. สืบค้นเมื่อ 18 December 2019.
- ↑ "Sanskrit Dictionary for Spoken Sanskrit". spokensanskrit.org. สืบค้นเมื่อ 18 December 2019.
- ↑ "Dussehra 2018: Why is it celebrated? - Times of India". The Times of India (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
- ↑ Constance Jones & James D. Ryan 2006, pp. 308–309.
- ↑ "Sanskrit Dictionary for Spoken Sanskrit". spokensanskrit.org. สืบค้นเมื่อ 18 December 2019.
- ↑ "Sanskrit Dictionary for Spoken Sanskrit". spokensanskrit.org. สืบค้นเมื่อ 18 December 2019.
- ↑ James G. Lochtefeld 2002, pp. 212–213.