กองทัพปลดปล่อยประชาชนในการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989
กองทัพปลดปล่อยประชาชนในการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989 | |||||||
รถถังในกรุงปักกิ่ง มิถุนายน ค.ศ. 1989 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ผู้ประท้วง | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
|
ผู้นำนักศึกษา: แรงงาน: ปัญญาชน: | ||||||
กำลัง | |||||||
ทหาร 150,000–350,000 นาย[1] | ผู้ประท้วง 50,000–100,000 คน[2] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ยืนยันผู้เสียชีวิตแล้ว 15 ราย[a] เสียชีวิต 23 ราย (กองทัพปลดปล่อยประชาชน 10 ราย และตำรวจติดอาวุธประชาชน 13 ราย)[b] บาดเจ็บ ~5000 ราย[b] รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ 60+ คัน รถตำรวจ 30+ คัน รถบรรทุกทหาร 1,000+ คัน พาหนะอื่น 120+ คัน[6] |
เสียชีวิต 218 ราย[c] เสียชีวิตหลายร้อยถึง ~2,600 ราย[d] บาดเจ็บ 7,000+ ราย |
ระหว่างการประท้วงและการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989 ในกรุงปักกิ่ง กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (กปช.) มีส่วนสำคัญในการบังคับใช้กฎอัยการศึกโดยใช้กำลังเข้าปราบปรามการชุมนุมในเมือง[13] การสังหารผู้ประท้วงยังคงเป็นรอยแปดเปื้อนมรดกของผู้อาวุโสพรรคที่นำโดยเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำสูงสุด และส่งผลเสียต่อผู้นำรุ่นใหม่ที่ก้าวหน้าในอาชีพการงานในฐานะเพื่อนร่วมงานที่มีแนวคิดสายกลางมากขึ้นแต่กลับถูกกวาดล้างหรือถูกละเลยในขณะนั้น[13] ในประเทศจีน บทบาทของกองทัพใน ค.ศ. 1989 ยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในวงแคบของผู้นำพรรคและกองทัพปลดปล่อยประชาชน[13]
การวางกำลังในช่วงเริ่มต้นการประท้วง
[แก้]ขบวนการนักศึกษาในกรุงปักกิ่งในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1989 เกิดขึ้นจากการเสียชีวิตของหู เย่าปัง อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนในวันที่ 15 เมษายน ก่อนจะมีการประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 19 พฤษภาคม รัฐบาลได้เรียกทหารเข้ามาในเมืองเพื่อช่วยตำรวจรักษาความสงบเรียบร้อย วันที่ 22 เมษายน กองทหารรักษาการณ์ที่ 13 กองพันทหารรักษาการณ์ปักกิ่ง (กองพลรักษาการณ์ที่ 3) และทหารเกือบ 9,000 นายจากกองทัพที่ 38 (กองพลที่ 112, กองพลยานเกราะที่ 6, กองทหารช่างและสื่อสาร) ถูกส่งไปประจำการรอบมหาศาลาประชาชนในระหว่างพิธีศพของหู[14] นอกมหาศาลาในจัตุรัสเทียนอันเหมิน มีนักศึกษาเกือบ 100,000 คนรวมตัวกันในคืนวันที่ 21 เมษายน เพื่อไว้อาลัยหู[15]
กองทัพที่ 38 ถูกเรียกตัวมาปักกิ่งเป็นครั้งที่สองหลังมีการเผยแพร่บทบรรณาธิการ 26 เมษายน เพื่อเข้าร่วมกับกองกำลังรักษาการณ์ปักกิ่งในการปกป้องจัตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อต่อต้านนักศึกษาที่ออกมาประท้วง[14] นักศึกษาหลายแสนคนเดินขบวนจากวิทยาเขตไปยังใจกลางเมืองในวันที่ 27 เมษายน แต่ไม่ได้เข้าสู่จัตุรัส[15] มีทหารประมาณ 5,100 นายเข้าร่วมปฏิบัติการครั้งที่สองนี้[15] ไม่มีการปะทะกับพลเรือนและทหารถอนกำลังออกในวันที่ 5 พฤษภาคม[15] กองกำลังรักษาการณ์ปักกิ่งถูกเรียกตัวให้เฝ้ามหาศาลาในวันที่ 4 พฤษภาคม สำหรับการประชุมคณะกรรมการธนาคารพัฒนาเอเชีย และระหว่างวันที่ 13–17 พฤษภาคม
การประกาศกฎอัยการศึก
[แก้]วันที่ 11 พฤษภาคม ประธานาธิบดีหยาง ช่างคุนได้พบเติ้งเป็นการส่วนตัวเพื่อหารือเกี่ยวกับสาเหตุของการเคลื่อนไหวของนักศึกษา การสนับสนุนจากประชาชนที่ได้รับ และเหตุใดจึงยากที่จะหยุดยั้ง[16] เติ้งอธิบายว่าข้อเรียกร้องของประชาชนต่อการทุจริตของทางการนั้นเป็นที่ยอมรับได้ แต่แรงจูงใจของคนบางกลุ่มที่ใช้ข้อเรียกร้องนี้เป็นข้ออ้างในการโค่นล้มพรรคคอมมิวนิสต์นั้นไม่เป็นที่ยอมรับ[16] เขากล่าวเสริมว่าพรรคต้องใช้สันติวิธีแก้ไขปัญหาการเคลื่อนไหวของนักศึกษา แต่กรมการเมืองจะต้องพร้อมดำเนินการอย่างเด็ดขาด[16] วันที่ 13 พฤษภาคม ขณะที่นักศึกษาเริ่มอดอาหารประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน หยางและจ้าว จื่อหยาง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ให้ข้อสรุปแก่เติ้งเป็นการส่วนตัว[17] เติ้ง ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง แสดงความไม่พอใจของผู้อาวุโสพรรคต่อการที่รัฐบาลไม่สามารถยุติขบวนการนักศึกษาที่เคลื่อนไหวมานานเกือบเดือนได้[17] เขาได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด[17]
การปลดจ้าว จื่อหยาง
[แก้]คืนวันที่ 16 พฤษภาคม สมาชิกคณะกรรมาธิการประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั้ง 5 คน ได้แก่ จ้าว จื่อหยาง, หลี่ เผิง, เฉียว ฉือ, หู ฉีลี่ และเหยา อี้หลิน พร้อมด้วยประธานาธิบดีหยาง ช่างคุน, ปั๋ว อีปัว รองผู้อำนวยการคณะกรรมการที่ปรึกษาส่วนกลาง ได้จัดการประชุมฉุกเฉินและตกลงที่จะ (1) ขอความเห็นจากเติ้ง เสี่ยวผิง และ (2) ให้จ้าว จื่อหยางเจรจากับนักศึกษาที่อดอาหาร[18] วันที่ 17 พฤษภาคม สมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญทั้ง 5 คนได้ไปยังบ้านพักของเติ้ง ซึ่งเติ้งได้ชี้แจงอย่างชัดเจนว่าจะไม่มีการผ่อนปรนใด ๆ กับนักศึกษาอีกต่อไปและถึงเวลาที่ต้องเรียกร้องให้กองทัพบังคับใช้กฎอัยการศึก[19] สมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญเห็นชอบที่จะประชุมในช่วงเย็นเพื่อหารือถึงวิธีการบังคับใช้กฎอัยการศึก[18] คืนนั้น สมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญทั้ง 5 คนไม่สามารถตกลงกันได้ว่าจะใช้กฎอัยการศึกหรือไม่ โดยมีหลี่ เผิงและเหยา อี้หลินสนับสนุน จ้าว จื่อหยางและหู ฉีลี่คัดค้าน และเฉียว ฉืองดออกเสียง[20] จ้าวเสนอลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค แต่หยางห้ามไว้และขอลาป่วยสามวัน[20] ต่อมาจ้าว จื่อหยางก็หมดอิทธิพลทางการเมือง[20]
เช้าวันที่ 18 พฤษภาคม คณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง (ขาดจ้าว) พร้อมด้วยเฉิน ยฺหวิน, หลี่ เซียนเนี่ยน, เผิง เจิน, เติ้ง อิ่งเชา, ปั๋ว อีปัว และหวัง เจิ้น ผู้อาวุโสพรรค รวมถึงฉิน จีเหว่ย์, หง สฺเวจื้อ และหลิว หฺวาชิง สมาชิกคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง รวมตัวกันที่บ้านพักของเติ้ง[20] ในการประชุมครั้งนี้ ผู้นำได้มีมติว่า (1) จะประกาศกฎอัยการศึกในเช้าวันที่ 21 พฤษภาคม (2) จะจัดการประชุมเพิ่มเติมร่วมกับทหารและเจ้าหน้าที่รัฐบาลปักกิ่งในวันที่ 19 พฤษภาคม (3) ให้หยาง ช่างคุนเตรียมการกับกองทัพเพื่อตั้งกองบัญชาการกฎอัยการศึก (4) อธิบายการตัดสินใจดังกล่าวให้จอมพลสองคนที่เหลือ คือ เนี่ย หรงเจิน และสฺวี เซี่ยงเฉียน ทราบ และ (5) แจ้งการตัดสินใจของศูนย์พรรคฯ ให้คณะกรรมาธิการพรรคฯ ระดับมณฑลทราบ[20] บ่ายของวันที่ 18 พฤษภาคม คณะกรรมการการการทหารส่วนกลางได้แต่งตั้งหลิว หฺวาชิง เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของปฏิบัติการกฎอัยการศึก โดยมีฉือ เฮ่าเทียน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเสนาธิการกองทัพปลดปล่อยประชาชน และโจว อี้ปิง ผู้บัญชาการภูมิภาคทหารปักกิ่ง เป็นรองผู้บัญชาการ[21] กำลังทหารที่บังคับใช้กฎอัยการศึกส่วนใหญ่มาจากภูมิภาคทหารปักกิ่ง จี่หนาน และเฉิ่นหยาง[21] จากนั้นหลิว ฉือ และหยาง ช่างคุน ได้รายงานแก่เติ้งว่ากองกำลังกฎอัยการศึกจะระดมกำลังทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชนและตำรวจติดอาวุธของประชาชนจำนวน 180,000 นาย[21]
ภายในวันที่ 18 พฤษภาคม การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินมีผู้สนับสนุนถึงหนึ่งล้านคน[22] การประท้วงดังกล่าวส่งผลให้เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรงในกลุ่มผู้นำระดับสูงของพรรครวมถึงกองทัพปลดปล่อยประชาชน วันที่ 17 พฤษภาคม ชายกว่า 1,000 คนจากกรมส่งกำลังบำรุงกองทัพปลดปล่อยประชาชนแสดงการสนับสนุนการเคลื่อนไหวโดยการเดินขบวนไปยังจัตุรัสเทียนอันเหมิน และได้รับเสียงปรบมือชื่นชมอย่างกึกก้องจากผู้พบเห็น[23]
การตัดสินใจประกาศกฎอัยการศึกถูกต่อต้านโดยฉิน จีเหว่ย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในตอนแรก[13] หลังเข้าร่วมประชุมที่บ้านพักของเติ้ง ฉินปฏิเสธการส่งคำสั่งกฎอัยการศึกไปยังกองทัพทันที โดยอ้างว่าต้องได้รับการอนุมัติจากพรรคก่อน (จ้าว จื่อหยาง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอย่างเป็นทางการ) ฉินโทรศัพท์ไปยังสำนักงานของจ้าวและหวังว่าเขาจะยกเลิกคำสั่งกฎอัยการศึก[13] เขาคอยคำตอบจากจ้าวนานถึงสี่ชั่วโมง แต่ก็ไม่เคยได้รับเลย[13] โดยที่ฉินไม่ทราบว่าจ้าวแพ้การชิงอำนาจและถูกขับออกจากตำแหน่งผู้นำแล้ว ต่อมาฉินสนับสนุนการปราบปรามทางทหารอย่างเปิดเผย แต่หลังจากนั้นอำนาจของเขาก็ลดลง[13]
ประกาศกฎอัยการศึก – 20 พฤษภาคม
[แก้]แม้กฎอัยการศึกจะมีกำหนดประกาศในวันที่ 21 พฤษภาคม แต่ข่าวการประกาศได้รั่วไหลออกสู่สาธารณชน ทำให้ต้องเร่งกำหนดการขึ้นมา[24] นายกรัฐมนตรีหลี่ เผิงประกาศกฎอัยการศึกอย่างเร่งด่วนในเช้าตรู่ของวันที่ 20 พฤษภาคม[24] คำสั่งที่ประกาศใช้ตามมาตรา 89 หมวด 16 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเวลา 10.00 น. ใน 8 เขตเมืองของปักกิ่ง[24]
วันที่ 20 พฤษภาคม นายพลเกษียณอายุจำนวน 8 นายรวมถึงจาง อ้ายผิง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลงนามในจดหมายประโยคเดียวเพื่อคัดค้านการใช้กำลัง:
เราขอความร่วมมือไม่ให้ทหารเข้ามาในเมืองและห้ามใช้กฎอัยการศึกในปักกิ่ง
— เย่ เฟย์, จาง อ้ายผิง, เซียว เค่อ, หยาง เต๋อจื้อ, เฉิน ไจ้เต้า, ซ่ง ฉือหลุน, หวัง ผิง และหลี่ จฺวี้ขุย, 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1989 จดหมายถึงคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง[25]
การระดมพล
[แก้]วันที่ 19 พฤษภาคม คณะกรรมการการทหารส่วนกลางเริ่มระดมหน่วยกองทัพปลดปล่อยประชาชนเพื่อเตรียมการสำหรับการประกาศกฎอัยการศึก นอกจากกองทหารรักษาการณ์ปักกิ่งและเทียนจินแล้ว ยังมีทหารอย่างน้อย 30 กองพลจาก 5 ใน 7 ภูมิภาคทหารของประเทศที่ถูกส่งมายังปักกิ่ง[ต้องการอ้างอิง] อย่างน้อย 14 ใน 24 กองทัพน้อยของกองทัพปลดปล่อยประชาชนได้ส่งทหารเข้ามา การประมาณการที่เชื่อถือได้ระบุว่าจำนวนทหารที่ระดมอยู่ที่ประมาณ 180,000 ถึง 250,000 นาย[26]
การท้าทายของสฺวี ฉินเซียน
[แก้]ขนาดที่พิเศษของการระดมพลอาจได้รับแรงกระตุ้นจากความกังวลเรื่องการไม่เชื่อฟังคำสั่ง สฺวี ฉินเซียน ผู้บัญชาการกองทัพที่ 38 ซึ่งเป็นกองทัพที่มีอุปกรณ์ครบครันที่สุดของภูมิภาคทหารปักกิ่ง ปฏิเสธที่จะบังคับใช้กฎอัยการศึก สฺวีกล่าวว่าเขาไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งระดมพลด้วยวาจาได้และเรียกร้องให้ทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อได้รับแจ้งจากกองบัญชาการภูมิภาคทหารภาคปักกิ่งว่า "เป็นภาวะสงคราม" และจะมีการออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรภายหลัง สฺวีซึ่งเคยไปปักกิ่งในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิกล่าวว่าไม่มีสงครามและย้ำการปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว[27] ประธานาธิบดีหยาง ช่างคุนส่งโจว อี้ปิง ผู้บัญชาการกองบัญชาการภูมิภาคไปยังเป่าติ้งเพื่อเกลี้ยกล่อมสฺวี[25] สฺวีถามโจวว่าผู้อำนวยการทั้งสามของคณะกรรมการการทหารส่วนกลางได้อนุมัติคำสั่งกฎอัยการศึกหรือไม่ โจวตอบว่าแม้เติ้ง เสี่ยวผิง ประธาน และหยาง ช่างคุน เลขาธิการจะอนุมัติ แต่จ้าว จื่อหยาง รองประธานคนที่หนึ่งกลับไม่อนุมัติ หากจ้าวไม่อนุมัติ สฺวีก็ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งและขอลาป่วย เขาถูกศาลทหารตัดสินและกองทัพที่ 38 ภายใต้การนำของเขาถูกระดมพลเพื่อบังคับใช้กฎอัยการศึก
ภายหลังความไม่เชื่อฟังของสฺวี กองทัพที่ 12 ซึ่งเติ้ง เสี่ยวผิงเป็นผู้นำด้วยตนเองในช่วงสงครามกลางเมืองจีนก็ถูกขนส่งทางอากาศจากหนานจิง[28] กองทัพที่ 12 เป็นหน่วยเดียวที่ถูกการระดมมาจากภูมิภาคทหารหนานจิง
หน่วยระดมพล
[แก้]การศึกษาของอู๋ เหรินหฺวาได้ระบุถึงการมีส่วนร่วมของหน่วยต่อไปนี้ในปฏิบัติการกฎอัยการศึก[ต้องการอ้างอิง]
- กองทหารรักษาการณ์ปักกิ่ง: กองพลรักษาการณ์ที่ 1 และ 3
- กองทหารรักษาการณ์เทียนจิน (กองพลรถถังที่ 1: ตั้งอยู่ที่อำเภอจี้ เทียนจิน ขนส่งด้วยยานยนต์จากที่นั่น
- กองพลทหารปืนใหญ่ที่ 14 (ตั้งอยู่ในหฺวายไหล มณฑลเหอเป่ย์): กองพันปืนใหญ่ 5 กองพัน ขนส่งทางรถไฟจากชาเฉิง มณฑลเหอเป่ย์
- กองทัพที่ 24 (ตั้งอยู่ในเฉิงเต๋อ มณฑลเหอเป่ย์): กองพลทหารราบที่ 70 กองพลทหารราบที่ 72 กองพลน้อยรักษาการณ์ที่ 7 ขนส่งด้วยยานยนต์จากหลวนผิงและอำเภอหลวน
- กองทัพที่ 27 (ตั้งอยู่ในฉือเจียจวง มณฑลเหอเป่ย์): กองพลทหาาราบที่ 79 และ80 กองพลน้อยทหารปืนใหญ่ ขนส่งทางยานยนต์จากสิงไถ ฮั่วลู่ และหันตาน
- กองทัพที่ 28 (ตั้งอยู่ในต้าถง มณฑลชานซี): กองพลทหารราบที่ 82 และ 83 การขนส่งทางยานยนต์จากหงถงและจี่หนิง มองโกเลียใน
- กองทัพที่ 38 (ตั้งอยู่ในเป่าติ้ง มณฑลเหอเป่ย์): กองพลทหารราบที่ 112 และ 113 กองพลรถถังที่ 6 กองพลน้อยทหารปืนใหญ่ กองพันทหารช่าง กองพันทหารสื่อสาร ขนส่งทางยานยนต์จากเป่าติ้ง ม่านเฉิง และอำเภอซินเฉิง มณฑลเหอเป่ย์
- กองทัพที่ 63 (ตั้งอยู่ในไท่หยวน มณฑลชานซี): กองพลทหารราบที่ 187 และ188 ขนส่งทางยานยนต์จากยฺหวีจื้อและอี้โจว
- กองทัพที่ 65 (ตั้งอยู่ในจางเจียโข่ว มณฑลเหอเป่ย์): กองพลทหารราบที่ 193 และ 194 กองหนุนที่ 3 ขนส่งทางยานยนต์จากเซฺวียนฮฺว่า
- กองทัพที่ 20 (ตั้งอยู่ในไคเฟิง มณฑลเหอหนาน): กองพลทหารราบที่ 58 และ 128 ขนส่งทางยานยนต์จากสฺวี่ชางและเติงเฟิง
- กองทัพที่ 26 (ตั้งอยู่ในไหลหยาง มณฑลชานตง): กองพลทหารราบที่ 138 ขนส่งทางอากาศจากอำเภอเจียว
- กองทัพที่ 54 (ตั้งอยู่ในซินเซียง มณฑลเหอหนาน): กองพลทหารราบที่ 127 และ 162 ขนส่งทางยานยนต์จากลั่วหยางและอันหยาง
- กองทัพที่ 67 (ตั้งอยู่ในจือปั๋ว มณฑลชานจง): กองพลทหารราบที่ 199 ขนส่งทางยานยนต์จากจัวผิง
- กองทัพที่ 39 (ตั้งอยู่ในอิ๋งโข่ว มณฑลเหลียวหนิง): กองพลทหารราบที่ 115 และ 116 กองพันสื่อสาร ขนส่งทางรถไฟและยานยนต์จากอำเภอไก้และอำเภอซินเฉิง
- กองทัพที่ 40 (ตั้งอยู่ในจิ่นโจว มณฑลเหลียวหนิง): กองพลทหารราบที่ 118 กองพลน้อยทหารปืนใหญ่ ขนส่งทางยานยนต์จากอำเภออี้และจิ่นโจว
- กองทัพที่ 64 (ตั้งอยู่ในต้าเหลียน มณฑลเหลียวหนิง): กองพลทหารราบที่ 190 ขนส่งทางยานยนต์จากต้าเหลียน
- กองทัพที่ 12 (ตั้งอยู่ในสฺวีโจว มณฑลเจียงซู): กองพลทหารราบที่ 34, 36 และ 110 กองพันทหารปืนใหญ่ กองพันต่อสู้อากาศยาน ขนส่งทางอากาศจากสฺวีโจวและหนานจิง
- เหล่าส่งทางอากาศที่ 15 (ตั้งอยู่ในเซี่ยวก่าน มณฑลหูเป่ย์): กองพลส่งทางอากาศที่ 43 และ 44 ขนส่งทางอากาศจากไคเฟิงและกว๋างฉุ่ย มณฑลหูเป่ย์
ทหารส่วนใหญ่มาจากครอบครัวชาวนาที่ไม่เคยไปปักกิ่งและไม่เข้าใจสถานการณ์ที่พวกเขาจะต้องเผชิญ หลายคนตั้งตารอการเดินทางเยือนเมืองหลวงเป็นครั้งแรกเป็นการส่วนตัวและคาดหวังว่าจะได้รับการต้อนรับจากคนในพื้นที่ หน่วยทหารจากภูมิภาคอื่นพูดภาษาเหนือต่างจากพลเมืองปักกิ่งทำให้เกิดความสับสนมากขึ้น[29] ทหารถูกห้ามสื่อสารกับประชาชนโดยเด็ดขาด อุปสรรคด้านภาษาทำให้ทหารที่อยากรู้อยากเห็นไม่สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับขบวนการนักศึกษาได้นอกจากข้อมูลที่ได้จากสายการบังคับบัญชาของตน
หน่วยระดมพลบางหน่วยเผชิญกับผู้ประท้วงซึ่งเป็นพลเรือนก่อนถึงปักกิ่ง บ่ายวันที่ 19 พฤษภาคม ชาวเป่าติ้งได้ปิดกั้นกองพันทั้ง 4 ของกองทัพที่ 38 ไม่ให้ออกจากเมือง[30] กองทัพที่ 38 ถูกบังคับให้ใช้เส้นทางอื่นออกจากเป่าติ้งก่อนจะกลับมารวมกันอีกครั้งบนทางหลวงสู่ปักกิ่ง[30] กองทัพที่ 27 ยังถูกปิดกั้นในเป่าติ้งในวันที่ 19 พฤษภาคมโดยฝูงชนที่ตะโกนคำขวัญต่อต้านการทุจริตและถ่มน้ำลายใส่ทหาร และถูกบังคับให้เปลี่ยนเส้นทางเข้าสู่ปักกิ่งผ่านจัวโจว[31] กำลังของกองทัพที่ 64 ซึ่งเดินทางโดยรถไฟถูกปิดกั้นเป็นเวลา 2 วันโดยนักศึกษาและประชาชนจากถังชานซึ่งนอนบนทางรถไฟที่เฉียนอาน มณฑลเหอเป่ย์ ระหว่างวันที่ 21–23 พฤษภาคม[32]
ความพยายามบังคับใช้กฎอัยการศึก
[แก้]คืนวันที่ 19 พฤษภาคม หน่วยขั้นสูงจากกองทัพที่ 27, 38 และ 63 เดินทางมาถึงกรุงปักกิ่งก่อนที่กฎอัยการศึกจะถูกประกาศต่อสาธารณะ แต่เมื่อข่าวกฎอัยการศึกรั่วไหลออกไป นักศึกษาและชาวเมืองก็จัดขบวนเพื่อปิดกั้นกองกำลังในเขตชานเมือง[37] วันที่ 20 พฤษภาคม หน่วยทหารจากกองบัญชาการรักษาการณ์ปักกิ่งที่ 24, 27, 28, 38, 63, 65, กองทัพที่ 39, 40, 54 และ 67 ได้รุกคืบเข้าเมืองจากทุกทิศทาง[38] พวกเขาถูกหยุดและถูกล้อมโดยพลเรือนนับหมื่นคนที่ตั้งด่านตรวจและแออัดอยู่รอบขบวนรถที่เฟิงไถ ลิ่วหลี่เฉียว ชาจื้อโข่ว หูเจียโหลว กู่เฉิง ชิงเหอ อู่เคอซง ถนนฟู่ซิงและจุดอื่น ๆ นอกถนนวงแหวนที่สาม[39] เหล่าส่งอากาศที่ 15 ลงจอดที่ท่าอากาศยานหนานยฺเวี่ยนทางตอนใต้ของเมือง[39] การขนส่งทางอากาศยังคงดำเนินต่อไปสู่หนานยฺเวี่ยนอีกเป็นเวลาสามวัน เฮลิคอปเตอร์ 5 ลำของกองทัพที่ 38 ปรากฏเหนือจัตุรัสเทียนอันเหมินและทิ้งใบปลิวเรียกร้องให้ผู้ประท้วงออกจากจัตุรัส[33][40] กองทัพที่ 65 พยายามหลายครั้งที่จะรุกคืบไปยังจัตุรัสเทียนอันเหมินจากทางตะวันตกแต่ก็ถูกบังคับให้ถอยกลับเข้าสู่เขตฉือจิ่งชานและไห่เตี้ยน[39] หน่วยเดียวที่เคลื่อนพลเข้าเมืองคือกองพลปืนทหารใหญ่ที่ 14 ซึ่งเดินทางโดยรถไฟจากชาเหอ แต่หน่วยนี้ถูกล้อมโดยพลเรือนเมื่อถึงสถานีรถไฟปักกิ่ง[39]
ทหารจำนวนมากยังคงถูกล้อมเป็นเวลาหลายวัน ระหว่างนี้ การเผชิญหน้าระหว่างทหารและนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสันติ นักศึกษาบางส่วนได้รับการฝึกอบรมกับกองทัพที่ 38 ในช่วงฤดูร้อนในฐานะสมาชิกกองหนุน[41] บางสถานที่ ทหารและผู้ประท้วงร่วมกันร้องเพลงลัทธิเหมา และชาวบ้านนำอาหารและน้ำมาให้ทหารที่ติดอยู่[42]
อุบัติการณ์ต้าจิ่ง
[แก้]ที่ต้าจิ่งในเขตเฟิงไถ เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงและทหาร[43] คืนวันที่ 19 พฤษภาคม ขณะกรมทหารปืนใหญ่และยานเกราะที่ 337 และ 338 ของกองพลที่ 113 ของกองทัพที่ 38 กำลังเคลื่อนพลไปยังสะพานต้าจิ่ง นักศึกษาและประชาชนจำนวนหนึ่งที่ขวางทางอยู่ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะกับตำรวจปราบจลาจลที่พยายามเคลียร์ทาง[43] ฝูงชนสามารถกันหน่วยไว้บนสะพานและหมู่บ้านชาวัวที่อยู่ใกล้เคียงได้[44] แม้หน่วยบางส่วนจะถอยไปยังโรงเรียนมัธยมใกล้เคียง แต่หน่วยอื่น ๆ ก็ต้องติดอยู่เป็นเวลาสามวันสี่คืน[45] วันที่ 22 พฤษภาคม ผู้บังคับการกรมทหารได้เจรจากับแกนนำนักศึกษาในจัตุรัสเทียนอันเหมินเพื่ออนุญาตให้หน่วยต่าง ๆ ล่าถอยได้[46] การเจรจาล้มเหลวเมื่อนักศึกษาพยายามกดดันให้ทหารทิ้งพาหนะและอาวุธไว้[46] เวลา 20:00 น. ทหารจับมือกันและผลักดันไปทางโกดังเฟิงไถตะวันตก และถูกฝูงชนโจมตี ส่งผลให้ทหารได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก[43][47] นักศึกษาหลายคนที่พยายามปกป้องทหารยังถูกหินกระแทก[47][43] ต่อมาได้จับกุมผู้ต้องสงสัย 10 รายซึ่งไม่ใช่นักศึกษาแต่อย่างใด[43]
ถอยกลับ
[แก้]วันที่ 24 พฤษภาคม ทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชนถอนกำลังออกจากเขตเมืองปักกิ่ง[48] ความพยายามที่ล้มเหลวในการควบคุมผู้ประท้วงที่มากขึ้นในกรุงปักกิ่งทำให้ผู้นำพรรคต้องเรียกหน่วยกองทัพปลดปล่อยประชาชนเพิ่มเติม ทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชนถูกขังเดี่ยวและเข้ารับการปรับทัศนคติเพื่อปลูกฝังและสร้างความเชื่อว่าความวุ่นวายในเมืองหลวงจำเป็นต้องถูกปราบปราม[49]
อ้างอิง
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Scobell, "Why the People's Army Fired," 201.
- ↑ Zhao, D. p. 171
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWRH-PLA casualty tabulation
- ↑ 4.0 4.1 L. Zhang 2001, p. 436.
- ↑ 5.0 5.1 Frontline: Memory of Tiananmen 2006.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อXinhua-June-4-1989
- ↑ How Many Died 1990.
- ↑ U.S. G.P.O., p. 445.
- ↑ Brook 1998, p. 154.
- ↑ Kristof:Reassessing Casualties.
- ↑ Secretary of State's.
- ↑ Brook 1998, p. 161.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 John Garnaut, "How top generals refused to march on Tiananmen Square" Sydney Morning Herald 2010-06-04
- ↑ 14.0 14.1 Wu 2009, p. 86, 432.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 Wu 2009, p. 86.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Wu 2009, p. 14.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 Wu 2009, p. 15.
- ↑ 18.0 18.1 Wu 2009, p. 10.
- ↑ Wu 2009, p. 11.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 Wu 2009, p. 12.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 Wu 2009, p. 17.
- ↑ Benedict Stavis. "China Explodes at Tiananmen" Asian Affairs, 17; 2. 51–61. Taylor & Francis, Ltd. 1990 (accessed February 17, 2011).
- ↑ "PLA Personnel Join Demonstration" Daily Report. Hong Kong HSIN WAN PO in Chinese 17 May 1989.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 Wu 2009, p. 21.
- ↑ 25.0 25.1 Zhang 2001, p. 265.
- ↑ Media reports initially estimated troop deployments in the range 100,000 to 150,000. Bernard E. Trainor. "Turmoil in China; Legions of Soldiers Encircling Beijing: Loyalty to Whom?" The New York Times, June 07, 1989 (accessed February 17, 2011).
- ↑ (Chinese) "六四抗命将军22年首现身—宁杀头,不作历史罪人" Deutsche Welle 2011-02-16
- ↑ (Chinese) "十大王牌军第6位:第12集团军" เก็บถาวร พฤศจิกายน 5, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2007-07-31
- ↑ Melissa Roberts. "The Choice: Duty to People or Party" Christian Science Monitor, May 23, 1989 (accessed November 21, 2010).
- ↑ 30.0 30.1 Wu 2009, p. 95.
- ↑ Wu 2009, p. 172-73.
- ↑ Wu 2009, p. 530-31.
- ↑ 33.0 33.1 James C. Mulvenon and Richard Yang eds. The People's Liberation Army in the Information Age Rand Corporation, 1999, p. 52
- ↑ Image of helicopter dropping leaflets over Tiananmen Square
- ↑ "Image of helicopter over Tiananmen Square on May 20, 1989
- ↑ "SA 342L Gazelle Attack Helicopter" Sinodefence.com เก็บถาวร 2012-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2007-06-11
- ↑ (Chinese) Wu Renhua, "89天安门事件大事记:5月19日 星期五" Accessed 2013-07-10
- ↑ Larry Wortzel, "The Tiananmen Massacre Reappraised: Public Protest, Urban Warfare, and the People's Liberation Army" in Andrew Scobell, Larry M. Wortzel, eds. Chinese National Security Decisionmaking Under Stress pp. 72, 77–78 Diane Publishing, 2005
- ↑ 39.0 39.1 39.2 39.3 (Chinese) "89天安门事件大事记:5月20日 星期六" Accessed 2013-07-10
- ↑ (Chinese) Gallery: "64 存照:八九年六四图片回顾 (中)" 2007-06-03
- ↑ Trainor, Bernard E.; Times, Special To the New York (1989-06-06). "Crackdown in Beijin – Civil War For Army?". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2023-03-03.
- ↑ Geremie Barmé & John Crowley. Gate of heavenly Peace. DVD. Directed by Richard Gordon and Carma Hinton. San Francisco, CA : Distributed by NAATA/CrossCurrent Media, 1997.
- ↑ 43.0 43.1 43.2 43.3 43.4 "記憶"標準化"的一個實例──解讀"戒嚴一日"的篩選". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-10.
- ↑ Wu 2009, p. 98.
- ↑ Wu 2009, p. 99.
- ↑ 46.0 46.1 Wu 2009, pp. 100–101.
- ↑ 47.0 47.1 Wu 2009, p. 102.
- ↑ "Secretary of State's Morning Summary for 3 June 1989". George Washington University (accessed November 19, 2010).
- ↑ Zhang 2001, p. 349-353.
บรรณานุกรม
[แก้]- Baum, Richard (1996). Burying Mao: Chinese Politics in the Age of Deng Xiaoping. Princeton University Press. ISBN 978-0691036373. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2020. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
- "Interview with John Pomfret". Frontline. PBS. 11 April 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2009. สืบค้นเมื่อ 9 November 2009.
- "Interview with Timothy Brook". Frontline. PBS. 11 April 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2011. สืบค้นเมื่อ 9 November 2009.
- Lim, Louisa (2014). The People's Republic of Amnesia: Tiananmen Revisited. Oxford University Press. ISBN 978-0199347704. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2020. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
- Martel, Ed (11 April 2006). "'The Tank Man,' a 'Frontline' Documentary, Examines One Man's Act in Tiananmen Square". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2019. สืบค้นเมื่อ 16 March 2019.
- Nathan, Andrew (2002). "On the Tiananmen Papers". Foreign Affairs. 80 (1): 2–48. doi:10.2307/20050041. JSTOR 20050041.
- Richelson, Jeffrey T.; Evans, Michael L., บ.ก. (1 June 1999). "Tiananmen Square, 1989: The Declassified History – Document 13: Secretary of State's Morning Summary for June 4, 1989, China: Troops Open Fire" (PDF). National Security Archive. George Washington University. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2017. สืบค้นเมื่อ 4 August 2008.
- Wu, Renhua (2009). 六四事件中的戒严部队 [Military Units Enforcing Martial Law During the June 4 Incident] (ภาษาจีน). Hong Kong: 真相出版社. ISBN 978-0-9823203-8-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2007. สืบค้นเมื่อ 2013-07-16.
- Zhang, Liang (2001). Nathan, Andrew; Link, Perry (บ.ก.). The Tiananmen Papers. Public Affairs. ISBN 978-1-58648-122-3.
- "How Many Really Died? Tiananmen Square Fatalities". Time. June 4, 1990.
- United States. Congress. Senate. Committee on Foreign Relations. Subcommittee on East Asian and Pacific Affairs (1991). Sino-American relations: One year after the massacre at Tiananmen Square. U.S. G.P.O.
- Brook, Timothy (1998). Quelling the People: The Military Suppression of the Beijing Democracy Movement. Stanford: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-3638-1.
- "Secretary of State's Morning Summary for 3 June 1989". George Washington University. สืบค้นเมื่อ August 4, 2008.
- Kristof, Nicholas D. (21 June 1989). "A Reassessment of How Many Died in the Military Crackdown in Beijing". The New York Times.
- "The Memory Of Tiananmen – The Tank Man". www.pbs.org. Frontline – PBS.
- Thomas, Antony (2006). The Tank Man (Video). PBS. สืบค้นเมื่อ 2013-07-02.
- Zhang, Liang (2001). Nathan, Andrew; Link, Perry (บ.ก.). The Tiananmen Papers: The Chinese Leadership's Decision to Use Force, in Their Own Words. Public Affairs. ISBN 978-1-58648-122-3.
- Berry, Michael (2008). A History of Pain: Trauma in Modern Chinese Literature and Film. Columbia University Press. ISBN 9780231512008.