ข้ามไปเนื้อหา

ลำดับชั้นการบังคับบัญชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลทหาร ถือเป็นตำแหน่งที่อยู่ล่างสุดของลำดับชั้นการบังคับบัญชา

ลำดับชั้นการบังคับบัญชา (อังกฤษ: command hierarchy) คือกลุ่มบุคคลที่ทำตามคำสั่งจากอำนาจหน้าที่ของบุคคลอื่นภายในกลุ่ม[1]

สายการบังคับบัญชาทางทหาร

[แก้]

ในบริบททางการทหาร สายการบังคับบัญชาคือสายของอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการสั่งการภายในหน่วยทหารและระหว่างหน่วยต่าง ๆ สรุปโดยง่ายคือสายการบังคับบัญชาคือการถ่ายทอดคำสั่งของผู้นำโดยใช้การสั่งการและการดำเนินการ ซึ่งคำสั่งจะถูกส่งลงไปตามสายการบังคับบัญชา จากผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบ เช่น นายทหารชั้นสัญญาบัตร ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาที่อยู่ในระดับล่างกว่าที่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นหรือถ่ายทอดคำสั่งต่อลงไปตามสายการบังคับบัญชา จนกว่าจะถึงผู้รับคำสั่งและปฏิบัติตามข้อสั่งการนั้น "การบังคับบัญชาโดยอาศัยอำนาจอำนาจหน้าที่ของนายทหารและการมอบหมายพิเศษของสมาชิกกองทัพซึ่งมียศที่สามารถบังคับบัญชาได้"[2]

โดยปกติ บุคลากรทางการทหารจะออกคำสั่งเฉพาะกับผู้ที่อยู่ต่ำกว่าในสายการบังคับบัญชา และรับคำสั่งจากผู้ที่อยู่เหนือสายการบังคับบัญชาโดยตรงเท่านั้น ทหารที่มีปัญหาในการปฏิบัติงานหรือไม่ทำตามคำสั่งอาจถูกร้องเรียนโดยตรงไปยังผู้บังคับบัญชาที่อยู่เหนือกว่าซึ่งจะมีบทลงโทษทางวินัยเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามสายการบังคับบัญชา ในทำนองเดียวกัน นายทหารมักถูกคาดหวังว่าจะออกคำสั่งแค่กับผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเท่านั้น แม้ว่าในความเป็นจริงจะมีการออกคำสั่งกับทหารนายอื่นซึ่งมียศที่ต่ำกว่าแต่ไม่ได้อยู่ในสายการบังคับบัญชาของตนก็ตาม

แนวคิดของสายการบังคับบัญชายังบอกเป็นนัยว่าแค่การมีตำแหน่งที่สูงกว่าเพียงอย่างเดียวไม่ได้ให้สิทธิ์ในการออกคำสั่งต่อใครก็ตามที่มีตำแหน่งที่ต่ำกว่า เช่น นายทหารของหน่วย "A" ไม่สามารถสั่งการสมาชิกของหน่วย "B" ได้โดยตรง นอกจากเขาจะอยู่ร่วมกันกับนายทหารของหน่วย "B" หากต้องการให้สมาชิกของหน่วยนั้นทำตามคำสั่ง หมายความว่าสายการบังคับบัญชาคือการให้สมาชิกแต่ละคนรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาของตน และสามารถออกคำสั่งไปยังกลุ่มบุคคลที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเท่านั้น

หากนายทหารของหน่วย "A" ออกคำสั่งโดยตรงกับสมาชิกของหน่วย "B" ไม่ใช่สิ่งที่ปกติมากนัก (เช่น มีพฤติกรรมผิดปกติ หรือในสถานการณ์พิเศษ เช่น ไม่มีเวลาหารือกับนายทหารในหน่วยบัญชาการของหน่วย "B") ในฐานะนายทหารของหน่วย "A" จะถูกมองว่าเขาไปทำลายอำนาจสั่งการของนายทหารหน่วย "B" ทั้งนี้รูปแบบการสั่งการอาจขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้นหรือขั้นตอนมาตรฐานการปฏิบัติการของหน่วยทางทหารนั้น ๆ ซึ่งสมาชิกที่ได้รับคำสั่งการอาจจะเลือกที่จะปฏิบัติตามคำสั่งนั้น หรือให้คำแนะนำว่าควรหารือกับสายการบังคับบัญชาหลักของตน ซึ่งในสถานการณ์นี้ คือนายทหารของหน่วย "B" โดยในสถานการณ์ที่มีการปฏิเสธการปฏิบัติตามคำสั่งของสายการบังคับบัญชา จะถือว่าเป็นการขัดคำสั่ง (insubordination) โดยมีข้อยกเว้นเพียงข้อเดียวคือเมื่อคำสั่งนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย (เช่น หากบุคคลนั้นทำตามคำสั่งจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย) (ดูเพิ่มที่คำสั่งผู้บังคับบัญชา)

นอกจากนี้ ในการรบ นายทหารในแนวหน้าจะอยู่ในสายการบังคับบัญชา แต่นายทหารในสาขาเฉพาะทาง (เช่น การแพทย์ กฎหมาย พลาธิการ) จะไม่อยู่ในสายการบังคับบัญชา เว้นแต่จะอยู่ในความเชี่ยวชาญเฉพาะของตน เช่น นายทหารแพทย์ในกองพันทหารราบจะต้องรับผิดชอบทหารพยาบาลในกองพันนั้น แต่จะไม่มีสิทธิในการสั่งการทหารอื่น ๆ ในกองพันหรือหน่วยรอง

คำนี้ยังถูกใช้งานในบริบทของการจัดการพลเรือนที่อธิบายโครงสร้างอำนาจหน้าที่แบบลำดับชั้น ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวอยู่ภายในแผนกดับเพลิง กรมตำรวจ และองค์การอื่น ๆ ที่มีโครงสร้างอำนาจหรือการบัญชาการกำลังกึ่งทหาร

สังคมวิทยา

[แก้]

ในสังคมวิทยา ทุนทางสังคมถูกมองว่าเป็นการระดมทุนเพื่อตอบสนองต่อคำสั่งตามลำดับขั้นที่นำไปสู่วลีว่า "การควบคุมบังคับบัญชา"[3]

คุณสมบัติ

[แก้]

โดยไม่คำนึงถึงระดับของการควบคุมหรือผลจากการควบคุม ไม่ว่าระบบลำดับชั้นจะได้รับการพิสูจน์และให้เหตุผลว่าดีอย่างไร ลักษณะหลายข้อของลำดับชั้นการบังคับบัญชามีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน:

  • ตำแหน่ง – โดยเฉพาะยศทหาร – "ใครเหนือกว่าใคร" ในโครงสร้างอำนาจ
  • เอกภาพในการบังคับบัญชา - สมาชิกแต่ละคนในลำดับชั้นจะมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวเท่านั้น ป้องกันโอกาสที่จะมีคำสั่งที่ขัดแย้งกัน
  • ภาระรับผิดชอบที่เข้มงวด – ผู้ที่ออกคำสั่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลที่ตามมา ไม่ใช่ผู้ที่ปฏิบัติตาม (ยกเว้นคำสั่งที่ผิดกฎหมาย)
  • กฎการตอบรับที่เข้มงวด – ข้อร้องเรียนจะถูกส่งขึ้นไปตามลำดับชั้นไปยังผู้ที่มีอำนาจในการจัดการกับข้อร้องเรียน ไม่ใช่ลงไปในทิศทางของผู้ที่ไม่มีอำนาจ
  • กฎที่ละเอียดสำหรับการตัดสินใจ – เพื่อดูว่าใช้เกณฑ์อะไรและเมื่อใด
  • ภาษาและคำศัพท์ที่เป็นมาตรฐาน
  • จริยธรรมและความเชื่อหลักบางประการที่เหมือนกัน มักจะบังคับใช้ตั้งแต่เริ่มการสรรหาและการคัดกรองผู้สมัคร

ปัญหา

[แก้]

อย่างไรก็ตาม คนที่มีมุมมองคล้ายคลึงกันมักจะมีอคติเชิงระบบที่คล้ายกัน เนื่องจากพวกเขามาจากวัฒนธรรมเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหา เช่น การคิดแบบติดกลุ่มหรือความเต็มใจที่จะยอมรับมาตรฐานเดียวหรือหลักฐานภายในกลุ่มของตน แต่ต้องการหลักฐานที่สูงกว่าจากภายนอก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ

ส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ วิทยาการบริหารจัดการยุคใหม่จำนวนมากพยายามมุ่งเน้นไปที่การลดการใช้งานลำดับชั้นการบังคับบัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการไหลของข้อมูล เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนในการสื่อสารนั้นต่ำ และต้นทุนของข้อผิดพลาดจากการบริหารจัดการนั้นสูงขึ้น นอกจากนี้ยังง่ายกว่าที่จะเปลี่ยนผู้จัดการในการบริหารจัดการ ทำให้เกิดการกระจายความรับผิดชอบได้มากขึ้นและทำให้เกิดความเห็นพ้องที่เป็นเอกฉันท์มากยิ่งขึ้น

ตำแหน่งการควบคุมบังคับบัญชาที่แผร่หลายในหน่วยทางทหาร มีการวางลักษณะตั้งแต่ทั่วไปจากแบบลำดับขั้นไปจนถึงเครือข่ายที่อนุญาตให้ใช้ลำดับขั้นเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม และเครือข่ายแบบไร้ลำดับขั้นเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม โดยรวมไปถึงแนวคิดของ ข้อตกลงภารกิจ ในการสนับสนุนเจตนารมแบบ "สอดแทรก" และการถ่ายทอดเจตจำนงแบบ "บนลงล่าง"

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "What Is a Chain of Command? (Definition and Explanation)". Indeed Career Guide (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-18.
  2. "Army Regulation 600-20 20AUG86" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-01-17. สืบค้นเมื่อ 2018-01-17.
  3. usacac.army.mil

แม่แบบ:Military units