กลุ่มธรรมนัส
กลุ่มธรรมนัส เป็นกลุ่มแยกการเมืองที่ก่อตั้งโดยร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า อดีตเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ โดยมีสมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่เคยอยู่ในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และส่วนมากเคยอยู่ในสังกัดพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน หรือ พรรคเพื่อไทย มาก่อน ซึ่งในปัจจุบันสมาชิกในกลุ่มธรรมนัสเกือบทั้งหมดอยู่ในสังกัดของพรรคกล้าธรรม
ภูมิหลัง
[แก้]พรรคพลังประชารัฐก่อตั้งในปี พ.ศ. 2561[1] โดยรัฐมนตรีบางส่วนในรัฐบาลประยุทธ์ 1 เป็นแกนนำพรรคในยุคแรก[2][3] เดือนธันวาคมปีเดียวกัน ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกสมาคมชาวพะเยาเพื่อชาวพะเยา ประกาศลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรคพลังประชารัฐ[4]
ในการเลือกตั้งปีต่อมาพรรคได้เสนอชื่อประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เขาได้รับมติจากที่ประชุมร่วมของรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ต่อมาประยุทธ์ได้แต่งตั้งธรรมนัสซึ่งเป็น ส.ส. สมัยแรกในการเลือกตั้งดังกล่าว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลประยุทธ์ 2 ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความเหมาะสม[5]
เดือนมกราคม พ.ศ. 2563 พรรคพลังประชารัฐมีมติเลือกพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ของกลุ่ม 3 ป. อันประกอบด้วยพลเอกประวิตร พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา และพลเอกประยุทธ์ อีกทั้งยังเคยทำงานร่วมกับพลเอกประยุทธ์ตั้งแต่รัฐบาลชุดแรก เป็นหัวหน้าพรรค
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความขัดแย้งกับพรรคพลังประชารัฐ
[แก้]ครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2565)
[แก้]19 มกราคม พ.ศ. 2565 ผู้สื่อข่าวการเมืองรวมถึงสายทหารหลายราย ได้ออกรายงานตรงกันว่า ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยสมาชิกในสังกัดอีก 20 คน ได้พร้อมใจกันยื่นใบลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และสมาชิกพรรคพลังประชารัฐทั้งหมดถูกเรียกประชุมด่วนที่มูลนิธิป่ารอยต่อหลังจากประชุมสภาล่มเมื่อเวลา 17.45 น.[6] จนในเวลา 20.21 น. มีรายงานว่า ร.อ.ธรรมนัส พร้อม สส. ในสังกัดอีก 20 คน ได้เปลี่ยนไปยื่นขอมติขับออกจากพรรคแทนการลาออก เพื่อให้ตนและ สส. สามารถสังกัดพรรคการเมืองใหม่ได้ใน 60 วัน ตามกฎหมาย และคณะกรรมการพร้อมสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ มีมติ 78 เสียง ให้ขับ ร.อ.ธรรมนัส พร้อม สส. ในสังกัดอีก 20 คน ออกจากการเป็นสมาชิกพรรคทันที ฐานสร้างความขัดแย้งและแตกแยกในพรรค[7] ความตอนหนึ่ง พลเอกประวิตร กล่าวว่า "ยอม ๆ ไปเหอะ ถ้าอยากออกก็ให้ออกไป จะได้สงบ พรรคจะได้เดินต่อ"[8]
เอกรัฐ ตะเคียนนุช ผู้สื่อข่าวช่องวัน 31 ณ ขณะนั้น คาดการณ์บนแฟนเพจส่วนตัวว่า เหตุการณ์ทั้งหมดเป็นชนวนความขัดแย้งตั้งแต่ครั้งที่พลเอกประยุทธ์ ใช้คำสั่งปลดร้อยเอกธรรมนัสออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำให้ฝ่ายร้อยเอกธรรมนัสกับฝ่ายพลเอกประยุทธ์ไม่ลงรอยกันนับตั้งแต่นั้น และใจจริง ธรรมนัส และสมาชิกทั้งหมด "จะลาออก" เพื่อให้ตัวเองขาดคุณสมบัติการเป็น สส. ซึ่งจะเป็นผลให้รัฐบาลขาดความเสถียรภาพจากที่ไม่ค่อยเสถียรภาพอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ประวิตรไม่มีทางเลือก นอกจากต้องเจรจากับธรรมนัสให้อยู่ต่อเพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล ผลสุดท้าย ธรรมนัสขอเปลี่ยนจากลาออกเป็นขอมติขับออกจากพรรคแทน[9] หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าหลังจากเหตุการณ์นี้ ร.อ.ธรรมนัส พร้อม สส. ทั้ง 20 คน จะย้ายไปสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย โดยมีข่าวลือที่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าจะมี วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ซึ่งเป็นคนสนิทใกล้ชิดของประวิตร เป็นหัวหน้าพรรค[10]
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 เกิดความขัดแย้งระหว่างพลเอกประวิตรและพลเอกประยุทธ์ในพรรคพลังประชารัฐ[11] และต่อมาพลเอกประยุทธ์ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ ในช่วงต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2566[12] เวลาต่อมาธรรมนัสได้กลับเข้าพรรคพลังประชารัฐ[13]
ย้ายไปสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย
[แก้]- ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา
- นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- นายไผ่ ลิกค์ ส.ส.กำแพงเพชร
- นายจีรเดช ศรีวิลาส ส.ส.พะเยา
- นายปัญญา จีนาคำ ส.ส.แม่ฮ่องสอน
- นายวัฒนา สิทธิวัง ส.ส.ลำปาง
- นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ ส.ส.ตาก
- นายภาคภูมิ บุญประมุข ส.ส.ตาก
- นายพรชัย อินทร์สุข ส.ส.พิจิตร
- นายสมศักดิ์ คุณเงิน ส.ส.ขอนแก่น
- นายเกษม ศุภรานนท์ ส.ส.นครราชสีมา
- นางทัศนาพร เกษเมธีการุณ ส.ส.นครราชสีมา
- นายสะถิระ เผือกประพันธุ์ ส.ส.ชลบุรี
- นายณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์ ส.ส.สุรินทร์
- นางสาวจอมขวัญ กลับบ้านเกาะ ส.ส.สมุทรสาคร
- นายยุทธนา โพธสุธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- พลตำรวจตรี ยงยุทธ เทพจำนงค์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- นายธนะสิทธิ์ โควสุรัตน์ ส.ส.อุบลราชธานี
ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย
[แก้]- นายสมศักดิ์ พันธ์เกษม ส.ส.นครราชสีมา
- นายเอกราช ช่างเหลา ส.ส.บัญชีรายชื่อ
- นายวัฒนา ช่างเหลา ส.ส.ขอนแก่น
ครั้งที่สอง (พ.ศ. 2567)
[แก้]ความขัดแย้งระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับกลุ่มของร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีการส่งรายชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีแพทองธาร ปรากฎว่าไม่มีชื่อของร้อยเอกธรรมนัส และตำแหน่งรัฐมนตรีเดิมของธรรมนัสถูกแทนที่ด้วยชื่อของ สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในคณะรัฐมนตรีเศรษฐา โดยพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ด้วยตนเองเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว[15] ต่อมาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ร้อยเอกธรรมนัสได้แถลงต่อสื่อมวลชน โดยประกาศแยกทางกับพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ[16] จากนั้นมีการรวบรวม สส.พรรคพลังประชารัฐที่เข้าร่วมกับร้อยเอกธรรมนัส 29 คน และ สส.จากพรรคเล็กอีก 5 คน เพื่อยื่นชื่อรัฐมนตรีในสัดส่วนของตนในวันถัดไป[17] แต่ในเวลาต่อมา มีสมาชิกกลุ่มธรรมนัสถอนตัวออกจากกลุ่ม ทำให้มีสมาชิกกลุ่มเหลือ 20 คน
สัปดาห์ถัดมา กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยมีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากคณะรัฐมนตรีแพทองธารตามความเห็นของที่ประชุม สส. ของพรรค[18] ต่อมาร้อยเอกธรรมนัสพร้อมกับไผ่ ลิกค์, อรรถกร ศิริลัทธยากร, บุญยิ่ง นิติกาญจนา, สัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ และบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ได้ลาออกจากกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ[19]
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2567 คณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐมีมติขับ สส. กลุ่มธรรมนัสทั้ง 20 คนออกจากพรรค เนื่องจากกลุ่มธรรมนัสมีแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกับคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐและสมาชิกพรรคคนอื่น ๆ อย่างสิ้นเชิง เกินกว่าจะแก้ไขและทำความเข้าใจให้เป็นไปแนวทางเดียวกันได้[20] วันเดียวกัน นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ หัวหน้าพรรคกล้าธรรม ให้สัมภาษณ์หลังมีการขับ สส.กลุ่มธรรมนัส ออกจากพรรค และมีการคาดว่าจะสังกัดพรรคกล้าธรรมนั้น โดยกล่าวว่า "พร้อมแล้วค่ะ" และยังกล่าวอีกว่า หลัง สส.กลุ่มดังกล่าว เข้าสังกัดพรรคกล้าธรรมแล้ว ยังไม่สามารถจัดการประชุมได้ เพราะต้องรอขั้นตอนกระบวนการต่างๆ ทางกฎหมายเสร็จสิ้นก่อน ซึ่งคาดว่าการประชุมพรรคจะเกิดขึ้นได้ในปี พ.ศ. 2568 เพราะหากจะมีการประชุมใหญ่สามัญต้องแจ้งกับทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีกำหนดว่าจะต้องแจ้งก่อนล่วงหน้ากี่วัน พร้อมกันนี้ยังเปิดเผยด้วยว่าขณะนี้มี สส. ที่เข้าสังกัดพรรคกล้าธรรมแล้ว 4 คน และเมื่อรวมกับ สส. ของพรรคพลังประชารัฐ 20 คน จะมี สส. ทั้งหมด 24 คน[21]
ในที่สุด ในวันรุ่งขึ้น (12 ธันวาคม) ที่ประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการบริหารและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชารัฐก็ได้มีมติขับ สส. กลุ่มธรรมนัสทั้ง 20 คนออกจากพรรคตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างเป็นทางการ โดยในการประชุมนี้พลเอกประวิตรและร้อยเอกธรรมนัสไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย[22]
ต่อมาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม นฤมลได้เปิดเผยว่า ร้อยเอกธรมนัส และ สส. ในกลุ่มธรรมนัส จะย้ายมาสังกัดพรรคกล้าธรรม โดยจะมีการประชุมใหญ่เพื่อเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ภายในปี พ.ศ. 2568 เนื่องจากต้องใช้เวลาเตรียมการ โดยมีการคาดการณ์กันว่าร้อยเอกธรรมนัสจะดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรค ส่วนไผ่ ลิกค์ สส. กำแพงเพชร จะดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค ขณะที่อรรถกร ศิริลัทธยากร สส. ฉะเชิงเทรา จะดำรงตำแหน่งเหรัญญิกพรรค[23][24]
โดย สส. กลุ่มธรรมนัสได้สมัครสมาชิกพรรคกล้าธรรมเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2567 พรรคกล้าธรรมได้แถลงข่าวเปิดตัว สส. กลุ่มธรรมนัสทั้ง 20 คนเข้าพรรคอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567[25] ที่สัปปายะสภาสถาน
การแบ่งฝ่ายในการร่วมรัฐบาลของพรรคพลังประชารัฐ
[แก้]ในคณะรัฐมนตรีแพทองธาร พรรคพลังประชารัฐได้มีการแบ่งฝ่ายออกเป็น 2 ฝ่าย ระหว่างฝ่ายของธรรมนัส พรหมเผ่า มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 20 คน ซึ่งเป็นฝ่ายร่วมรัฐบาล และฝ่ายของประวิตร วงษ์สุวรรณ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 20 คน ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน
การเสนอชื่อรัฐมนตรี
[แก้]เนื่องจากกลุ่มธรรมนัสประกาศว่าตัวเองนั้นร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทย จึงขอเสนอรายชื่อผู้ประสงค์ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ และช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสัดส่วนของกลุ่มตนเอง และเนื่องจากรัฐมนตรีสัดส่วนเดิม (ธรรมนัส พรหมเผ่า, และอรรถกร ศิริลัทธยากร) นั้นเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งถือว่าขัดกับมติของพรรคที่สังกัดอยู่ จึงเสนอรายชื่อบุคคลดังกล่าว[26] ดังต่อไปนี้
- นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ในโควตาพรรคกล้าธรรม
- อิทธิ ศิริลัทธยากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในโควตาพรรคกล้าธรรม (บิดาของอรรถกร ศิริลัทธยากร)
- อัครา พรหมเผ่า อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ในโควตาพรรคเพื่อไทย (น้องชายของธรรมนัส)
สส. ที่สังกัดกลุ่มธรรมนัสในชุดปัจจุบัน
[แก้]พรรคกล้าธรรม (24)
[แก้]- ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา เขต 1
- อนุรัตน์ ตันบรรจง สส.พะเยา เขต 2
- จีรเดช ศรีวิราช สส.พะเยา เขต 3
- ปกรณ์ จีนาคำ สส.แม่ฮ่องสอน เขต 1
- นเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ สส.เชียงใหม่ เขต 9
- ไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร เขต 1
- เพชรภูมิ อาภรณ์รัตน์ สส.กำแพงเพชร เขต 2
- องอาจ วงษ์ประยูร สส.สระบุรี เขต 4
- จำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ เขต 3
- อัครแสนคีรี โล่ห์วีระ สส.ชัยภูมิ เขต 7
- รัชนี พลซื่อ สส.ร้อยเอ็ด เขต 3
- อามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2
- สัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 3
- ชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว สส.สงขลา เขต 4
- อรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา เขต 2
- สะถิระ เผือกประพันธุ์ สส.ชลบุรี เขต 10
- ภาคภูมิ บูลย์ประมุข สส.ตาก เขต 3
- บุญยิ่ง นิติกาญจนา สส.ราชบุรี เขต 2
- จตุพร กมลพันธ์ทิพย์ สส.ราชบุรี เขต 3
- ชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ สส.ราชบุรี เขต 5
- กฤดิทัช แสงธนโยธิน สส.แบบบัญชีรายชื่อ (เดิมสังกัดพรรคใหม่)
- เชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ สส.แบบบัญชีรายชื่อ (เดิมสังกัดพรรคพลังสังคมใหม่)
- บัญชา เดชเจริญศิริกุล สส.แบบบัญชีรายชื่อ (เดิมสังกัดพรรคท้องที่ไทย)
- ปรีดา บุญเพลิง สส.แบบบัญชีรายชื่อ (เดิมสังกัดพรรคครูไทยเพื่อประชาชน)
กลุ่มพรรคเล็ก (1)
[แก้]- สุรทิน พิจารณ์ สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปไตยใหม่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ชวน ชูจันทร์" ผู้ก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐ ยันไม่ใช่พรรคนอมินีของ คสช.
- ↑ "เลือกตั้ง 2562 : เปิดบัญชีรายชื่อนักเลือกตั้งถูก "ดูด" ถูก "ดัน" ไปอยู่พรรคไหนบ้าง ?". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2024-09-05.
- ↑ "Palang Pracharath ministers resign from cabinet". Bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2019-01-30.
- ↑ "ธรรมนัส" ประกาศลง ส.ส.เขต 1 พปชร.ลั่นกวาด 3 เขตในพะเยายกทีม
- ↑ "ธรรมนัส พรหมเผ่า : การกลับมาของตระกูลการเมือง "ผู้มีอิทธิพล" และ "เจ้าพ่อ" ใน ครม.ประยุทธ์ 2/1". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2024-09-05.
- ↑ เอกรัฐ ตะเคียนนุช (19 มกราคม 2022). "สะพัด!! "#ผู้กองฯธรรมนัส" จะลาออก เลขาฯ พปชร. พยายามสอบถามเจ้าตัว แต่ยังติดต่อไม่ได้!". www.facebook.com/EakaratTkn. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2022.
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์ (19 มกราคม 2022). "ชี้ขับธรรมนัสพ้น พปชร. รัฐบาลประยุทธ์เสียงปริ่มน้ำ อยู่ได้แบบหืดขึ้นคออาจยุบสภา". www.mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2022.
- ↑ สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา (19 มกราคม 2022). ""ยอมๆ ไปเหอะ ถ้าอยากออกก็ให้ออกไป จะได้สงบ พรรคจะได้เดินต่อ เรื่องนี้ได้คุยกับนายกฯ แล้ว"". www.facebook.com/sorrayuth9115. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2022.
- ↑ เอกรัฐ ตะเคียนนุช (19 มกราคม 2022). ""เกมการเมืองแบบไทยๆ การเมืองยุค #นายพล.."". www.facebook.com/EakaratTkn. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2022.
- ↑ มติชน (20 มกราคม 2022). "รู้จัก 'พรรคเศรษฐกิจไทย' พรรคใหม่ ก๊วนธรรมนัส". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2022.
- ↑ "ร้าว แต่ยังไม่แตก พลังประชารัฐในภาวะ "มังกรสองหัว"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-02-02.
- ↑ "นักการเมืองเต็มตัว 'บิ๊กตู่' สมัครสมาชิก รทสช. ขึ้นเวทีร่ายยาวภารกิจเพื่อคนไทยทั้งชาติ". 2023-01-09.
- ↑ "'ธรรมนัส' เตรียมเข้า 'พลังประชารัฐ' ก่อน 7 ก.พ.นี้ ไม่ขอรับตำแหน่งในพรรค". workpointTODAY.
- ↑ "9 เดือนพรรคเศรษฐกิจไทย กับ "มือที่หายไป" ของ ร.อ. ธรรมนัส". BBC News ไทย. 2022-10-11.
- ↑ ""ธรรมนัส" หลุด ครม.ใหม่ "สันติ" นั่ง รมว.เกษตรฯ แทน". Thai PBS.
- ↑ ""ธรรมนัส" เปิดใจแยกทาง "ประวิตร" นำ 29 สส.พลังประชารัฐถอย". Thai PBS.
- ↑ เปิดชื่อ ส.ส.ก๊วนธรรมนัส หลังแถลงโว 34 เสียงแน่นปึ้ก มีภรรยา ‘สันติ’ อยู่ด้วย
- ↑ ด่วน มติ สส.เพื่อไทย ชง กก.บห. ขับพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล
- ↑ "ธรรมนัส เผย ยื่นลาออกกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐตั้งแต่ 20 ส.ค." THE STANDARD. 2024-09-05.
- ↑ UANTRONGTON, PIYAWAN (2024-12-11). "กก.บริหาร พปชร. เห็นชอบขับ 20 สส. ก๊วน "ร.อ.ธรรมนัส" พ้นพรรค". www.komchadluek.net.
- ↑ "พรรคกล้าธรรม อ้าแขนรับ 20 สส. "ก๊วนธรรมนัส" ยอดพุ่งพรวด 24 คน". pptvhd36.com. 2024-12-11.
- ↑ "มติพปชร.ขับ20สส.กลุ่มธรรมนัส ไพบูลย์ ปัด 'บิ๊กป้อม'วางมือการเมือง". โพสต์ทูเดย์. 12 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'นฤมล'เผย 20 สส.'ก๊วนธรรมนัส'จ่อซบกล้าธรรมสัปดาห์นี้ 'ผู้กอง'มีบทบาทในพรรคแน่". แนวหน้า. 17 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2024.
- ↑ "จับตาตำแหน่งสำคัญ! '20 สส.ก๊วนธรรมนัส'จ่อเปิดตัวซบ'กล้าธรรม'". แนวหน้า. 16 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2024.
- ↑ "19 ธ.ค.นี้ กล้าธรรมได้ฤกษ์เปิดตัว 20 สส. "ก๊วนธรรมนัส" เข้าสังกัดพรรค". ไทยรัฐ. 18 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2024.
- ↑ ""ธรรมนัส" ส่ง 3 ชื่อ รมต. "อัครา-นฤมล-อรรถกร" ให้เพื่อไทยแล้ว". Thai PBS.