ข้ามไปเนื้อหา

รัชนี พลซื่อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัชนี พลซื่อ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้านิรมิต สุจารี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 เมษายน พ.ศ. 2509 (58 ปี)
พรรคการเมืองกล้าธรรม (2567–ปัจจุบัน)
คู่สมรสเอกภาพ พลซื่อ

รัชนี พลซื่อ (เกิด 27 เมษายน พ.ศ. 2509) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นภรรยาของเอกภาพ พลซื่อ[1]

ประวัติ

[แก้]

รัชนี พลซื่อ เกิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2509 สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ จากวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ และบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชีวิตครอบครัวสมรสกับเอกภาพ พลซื่อ นักการเมืองชาวจังหวัดร้อยเอ็ด

งานการเมือง

[แก้]

รัชนี พลซื่อ เริ่มทำงานการเมืองในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2547ซึ่งเป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยตรงครั้งแรกในประเทศไทย และเธอได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้น ต่อมาในปี 2551 เธอลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง แต่แพ้ให้กับมังกร ยนต์ตระกูล

ต่อมาในปี 2552 ได้จัดให้มีการเลือกตั้งซ่อมแทน นพดล พลซื่อ ซึ่งถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี เธอจึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดสมัยแรก หลังจากนั้นเธอได้เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย[2] แต่ในปี 2554 เธอย้ายไปลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน แต่ก็แพ้ให้กับนิรมิต สุจารี จากพรรคเพื่อไทย ต่อมาในปี 2555 เธอได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่นจังหวัดร้อยเอ็ดอีกครั้ง แต่ก็แพ้ให้กับมังกร ยนต์ตระกูล คู่แข่งคนเดิม ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนั้น เอกภาพ พลซื่อ ได้นำมากล่าวในการหาเสียงว่า "เกิดไฟดับ 2 ชั่วโมง ทำให้คะแนนของนางรัชนี พลซื่อ ภรรยา ซึ่งเป็นผู้สมัครนายก อบจ.ขณะนั้นหาย และพลาดเป็นนายก อบจ. ปี 55" ทำให้เอกภาพถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง[3]

จากนั้นในปี 2562 เธอย้ายไปร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ และลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 แต่แพ้ให้กับฉลาด ขามช่วง จากพรรคเพื่อไทยเช่นเดียวกัน ภายหลังเธอจึงได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 5 สิงหาคม 2565 นายเอกภาพพลซื่อถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี จากกรณีใส่ร้ายนายมังกรยนต์ตระกูลในการเลือกตั้ง 2563 จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ 25 กันยายน 2565 เธอลงสมัครแทนนายเอกภาพโดยใช้โลแกนสงสารเอกภาพเลือกรัชนีแค่พ่ายแพ้ให้ นายเศกสิทธิ์ ไวยนิยมพงษ์ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยเธอได้คะแนนมาเป็นลำดับ 3 แค่แสนกว่าคะแนน[4]

ในปี 2566 รัชนี พลซื่อ ได้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 3

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

รัชนี พลซื่อ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2552 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. “เอกภาพ” ประกาศ ไม่ยอมแพ้ เตรียมส่งเมีย “รัชนี พลซื่อ” ลงสานงานต่อตามนโยบาย เพื่อคนร้อยเอ็ด
  2. “พลซื่อ”หนีสอบตกที่ร้อยเอ็ด หักเหลี่ยม“เนวิน”นาทีสุดท้าย
  3. อ่วม! กกต.ฟันซ้ำ เอกภาพ พลซื่อ ปราศรัยใส่ร้าย ยื่นเพิกถอนสิทธิ์-ฟ้องคดีอาญา
  4. ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๗๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒