บุญยิ่ง นิติกาญจนา
บุญยิ่ง นิติกาญจนา | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (13 ปี 200 วัน) | |
ก่อนหน้า | สามารถ พิริยะปัญญาพร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | บุญยิ่ง รังษีเสริมสุข 25 กันยายน พ.ศ. 2502 อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2554–2561) พลังประชารัฐ (2561–2567) กล้าธรรม (2567–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | วิวัฒน์ นิติกาญจนา (สมรส 2523) |
ทรัพย์สินสุทธิ | 45.9 ล้านบาท (พ.ศ. 2568)[1] |
บุญยิ่ง นิติกาญจนา (เกิด 25 กันยายน พ.ศ. 2502) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคกล้าธรรม ประธานคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค และอดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ
ประวัติ
[แก้]บุญยิ่ง เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2502 ที่จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรนายชัยวัฒน์ นางอรณา รังษีเสริมสุข ด้านครอบครัวสมรสกับนายวิวัฒน์ นิติกาญจนา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 มีบุตร 3 คนคือ นางสาวชนกนันท์ นิติกาญจนา, นายธนวัชร นิติกาญจนา และนายจิรเดช นิติกาญจนา[2]
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
งานการเมือง
[แก้]บุญยิ่ง เข้าสู่การเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ ลงสมัครในนามพรรคพลังประชารัฐ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง และการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2566 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สาม[3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]บุญยิ่ง นิติกาญจนา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคพลังประชารัฐ → พรรคกล้าธรรม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ระบบเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
- ↑ ประวัติ "กำนันตุ้ย" วิวัฒน์ นิติกาญจนา ผู้ชนะศึกเลือกตั้ง นายก อบจ.ราชบุรี อีกสมัย
- ↑ ‘บ้านใหญ่ราชบุรี’ ร่วมยินดี ‘พลังประชารัฐ’ เข้าวินทั้ง 3 เขต
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2502
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองราชบุรี
- นักการเมืองจากจังหวัดราชบุรี
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี
- นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย
- นักการเมืองพรรคพลังประชารัฐ
- นักการเมืองพรรคกล้าธรรม
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.