โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว Banphaeo General Hospital | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
องค์การมหาชน | |||||||||||||
ภูมิศาสตร์ | |||||||||||||
ที่ตั้ง | เลขที่ 198 หมู่ 1 ตำบลบ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร 74120, ประเทศไทย | ||||||||||||
หน่วยงาน | |||||||||||||
ประเภท | โรงพยาบาลทั่วไป | ||||||||||||
สังกัด | กระทรวงสาธารณสุข | ||||||||||||
สังกัด | คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล | ||||||||||||
บริการสุขภาพ | |||||||||||||
จำนวนเตียง | 323 | ||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||
เปิดให้บริการ | พ.ศ. 2508 | ||||||||||||
ลิงก์ | |||||||||||||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ | ||||||||||||
|
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) เป็นสถานพยาบาล ประเภทองค์การมหาชน แห่งแรกของประเทศไทย[3] ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
ประวัติ
[แก้]โรงพยาบาลบ้านแพ้ว เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2508 โดยการบริจาคที่ดิน สนับสนุนกำลังทรัพย์ในการก่อสร้าง บนพื้นที่ 9 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา มีสถานะโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 10 เตียง จนพัฒนาเรื่อยมาเป็นโรงพยาบาลอำเภอ ขนาด 30 เตียง
หลังจากเกิดวิกฤติเศรฐกิจในปี พ.ศ 2540 รัฐบาลที่นำโดย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และ การประกาศใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 รัฐบาลได้กำหนดแผนแม่บทการปฏิรูประบบการบริหารภาครัฐขึ้น[4][5] และ ได้สานต่อโดยรัฐบาล ซึ่งนำโดย นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัยซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อเมษายน พ.ศ. 2542 และสาระสำคัญส่วนหนึ่งของการปฏิรูป คือ การทบทวนบทบาทภารกิจของงานที่ภาครัฐดำเนินการอยู่นั้น มีประสิทธิภาพหรือไม่ ขณะเดียวกันในปี พ.ศ. 2542 รัฐสภาได้ตราพระราชบัญญัติองค์การมหาชนขึ้น[6] ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางกฎหมาย สำหรับปรับเปลี่ยนระบบการบริหารส่วนราชการ ประเภทที่จัดบริการสาธารณะให้เป็นระบบที่คล่องตัวขึ้นกว่าระบบราชการทั่วไป โรงพยาบาลของรัฐเป็นส่วนราชการที่เข้าข่ายกลุ่มที่อาจเปลี่ยนไปเป็นระบบองค์การมหาชนด้วย
หลังจากรัฐบาลประกาศใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 เมื่อ 1 ตุลาคม 2539 [7] กระทรวงสาธารณสุขได้สนองนโยบายของรัฐบาล โดยให้นักวิชาการจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กระทรวงสาธารณสุข เสนอแนวคิดแก่ผู้แทน ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ภาษาอังกฤษ : Asian Development Bank : ADB) เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพของโรงพยาบาล ด้วยการออกนอกระบบราชการเพื่อเพิ่มความอิสระในการบริหารงาน ซึ่งส่งผลให้กระทรวงสาธารณสุข แสดงเจตจำนงในการเริ่มโครงการนำร่องแปรรูปโรงพยาบาลรัฐ ไปสู่ระบบใหม่ที่มีความเป็นอิสระคล่องตัวกว่าเดิม โดยเจตจำนงนี้เป็นพันธะส่วนหนึ่ง ของการที่รัฐบาลรับเงินกู้จากธนาคารระหว่างประเทศแห่งนี้ด้วย
ในช่วงปี พ.ศ. 2541 รัฐบาลไทยได้ทำการศึกษาแนวทางการแปรรูปโรงพยาบาล โดยได้ใช้ทุนวิจัยบางส่วนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย(จึงเรียกโครงการนี้ว่า"โครงการเอดีบี") โดยเน้นให้ใช้แนวทางรูปแบบองค์การมหาชน ไม่มุ่งเน้นแบบทุนนิยมหรือ Corporatized จึงมีการใช้ศัพท์ใหม่ว่า Autonomous Hospital เพื่อความชัดเจน โดยประยุกต์แนวคิดจากองค์การมหาชน จึงเกิดแนวคิดโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ
รายชื่อโรงพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนำร่องในการปฏิรูปโรงพยาบาล 7แห่ง
- โรงพยาบาลหาดใหญ่
- โรงพยาบาลขอนแก่น
- โรงพยาบาลสระบุรี
- โรงพยาบาลยะลา
- โรงพยาบาลนครพิงค์
- โรงพยาบาลสตูล
- โรงพยาบาลบ้านแพ้ว
ในจำนวนนี้โรงพยาบาลบ้านแพ้วอาจถือได้ว่ามีความพร้อมมากที่สุด โดยเฉพาะด้านความมุ่งมั่นและการสนับสนุนของชุมชน (ปัจจุบันมีแค่ โรงพยาบาลบ้านแพ้วแห่งเดียวเท่านั้น ที่ออกนอกระบบ)[8]
ในระยะเวลาช่วงเดียวกับการศึกษาโครงการเอดีบี สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้สนับสนุนทุนวิจัย แก่ชุดโครงการวิจัยเรื่องนี้ด้วย[9][10][11][12] โดยในช่วงปี พ.ศ. 2542 สวรส. ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของสังคม และมีส่วนผลักดันให้นโยบายนี้เป็นที่รู้เห็นของสาธารณชนมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดรัฐบาลได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้วเป็นองค์การมหาชน เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2542[13] กระทั่งได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2543 [14]
โรงพยาบาลบ้านเพ้ว(องค์การมหาชน) เป็นองค์การมหาชนแห่งแรก และได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา[15]ต่อมาได้เปิด โรงพยาบาลจักษุบ้านแพ้ว โดยมี พญ.พัทธ์ศรัณย์ ธนะสุพรรณ เป็นผู้อำนวยการ
การให้บริการ
[แก้]โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ให้บริการในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และเขตพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีการให้บริการโดยการจัดตั้งสาขาการให้บริการ และศูนย์สุขภาพชุมชนในชุมชนต่างๆ ได้แก่
- โรงพยาบาลบ้านแพ้ว 2 ตั้งอยู่ที่ตำบลชัยมงคล อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
- โรงพยาบาลบ้านแพ้ว สาขาสาทร อาคาร TPI Tower ชั้นตัดใหม่ 10 ถนนจันทน์ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
- โรงพยาบาลบ้านแพ้ว สาขาประสานมิตร 1281 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
- โรงพยาบาลบ้านแพ้ว สาขาเจริญกรุง ถนนมไหสวรรย์ แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
- ศูนย์แพทย์และทันตกรรม โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (สาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550) กรุงเทพมหานคร
- ศูนย์แพทย์ชุมชนราษฎร์บำรุง
- ศูนย์สุขภาพชุมชนหลักสาม
- ศูนย์ล้างไตทางช่องท้องธนบุรี กรุงเทพมหานคร
- ศูนย์แพทย์ชุมชนธนบุรี โรงพยาบาลบ้านแพ้ว กรุงเทพมหานคร
- โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (สาขาเกษตรพัฒนา)
- โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (สาขาหลักห้า)
- ศูนย์ไตเทียมเทอดไท
- สวนหัวใจ
การดำเนินงาน
[แก้]โรงพยาบาลบ้านแพ้ว มีแนวทางการบริหารตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโดย "คณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว" ปัจจุบันมีนายแพทย์ พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ[16] โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 โรงพยาบาลบ้านแพ้ว มีรายได้จากการดำเนินงานสูงกว่าค่าใช้จ่าย จำนวน 97.55 ล้านบาท[17] และจากการประเมินองค์การมหาชนของสำนักงาน ก.พ.ร. เมื่อปี พ.ศ. 2558 พบว่าโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ได้รับการประเมินในระดับดีเด่น[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน), รายงานประจำปี 2564 โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน), สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๘, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-22. สืบค้นเมื่อ 2010-04-01.
- ↑ แผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการ (พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2544)
- ↑ มติครม. 17/06/2540 เรื่อง แผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการ
- ↑ พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
- ↑ https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/20.500.13072/367183/2539_%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%888_%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99.pdf?sequence=1
- ↑ บ้านแพ้วโมเดล
- ↑ คลังข้อมูลวิจัย สวรส. - การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการบริหารโรงพยาบาลรัฐ / อรทัย รวยอาจิณ; สุวจี จันทร์ถนอม-กู๊ด; ธวัชชัย บุญโชติ;
- ↑ คลังข้อมูลงานวิจัย สวรส. - คู่มือการดำเนินงานโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ / ศรีราชา เจริญพานิช; สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์; สุธรรม ปิ่นเจริญ; ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล;
- ↑ คลังข้อมูลวิจัย สวรส. - การจัดทำดัชนีวัดผลงานและการคำนวณงบประมาณเพื่อการจัดสรรให้โรงพยาบาลของรัฐในรูปองค์การมหาชน /อภิชัย พันธเสน; สมชาย สุขสิริเสรีกุล; อรสา โฆวินทะ; ชิต เพชรพิเชฐเชียร; สงวนสิน รัตนเลิศ;
- ↑ คลังข้อมูลวิจัย สวรส. - งบประมาณในการดำเนินงานโรงพยาบาลในกำกับของรัฐแห่งแรกในประเทศไทย: 782 บาทต่อคน มาจากไหน? / ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์; วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร; วิชช์ เกษมทรัพย์; ประพันธ์ สหพัฒนา
- ↑ มติครม. 28/12/2542 เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว พ.ศ. ....
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอน 84ก วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2543
- ↑ คลังข้อมูลวิจัย สวรส. - กระบวนการออกจากระบบราชการขององค์การมหาชน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบ้านแพ้ว / จเด็จ ธรรมธัชอารี; แพร จิตตินันทน์; มยุรี ธนะทิพานนท์
- ↑ "คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลล้านแพ้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-19. สืบค้นเมื่อ 2016-09-19.
- ↑ รายงานผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2559
- ↑ เปิดผลประเมิน 35 องค์การมหาชน