รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
หน้าตา
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ [1] (อังกฤษ: electronic government, E-government) หรือชื่ออื่นเช่น รัฐอิเล็กทรอนิกส์ รัฐบาลออนไลน์, รัฐบาลอินเทอร์เน็ต, รัฐบาลดิจิทัล เป็นการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารด้านงานบริการสาธารณะของภาครัฐ (e-Public Service)[2]
ขอบข่าย
[แก้]รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ รัฐอิเล็กทรอนิกส์ มีขอบข่ายทั้งหมด 4 ขอบข่าย ดังนี้ [3]
- การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารงานระหว่างรัฐบาล สู่ หน่วยงานภาครัฐ หรือรัฐบาลของรัฐอื่น (government to governments: G2G)
- การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารงานระหว่างรัฐบาล สู่ ประชาชน (government to citizens: G2C)
- การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารงานระหว่างรัฐบาล สู่ บุคลากรในหน่วยงาน/องค์การ (government to employees: G2E)
- การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารงานระหว่างรัฐบาล สู่ องค์การธุรกิจ (government to businesses: G2B)
ในขอบข่ายทั้งสี่ขอบข่ายเป็นรูปแบบสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารงานด้านงานบริการสาธารณะ ภายใต้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องที่สำคัญนโยบายสาธารณะ และมีความสำคัญต่อการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ega.or.th/Content.aspx?m_id=23
- ↑ Rugchatjaroen, k. (2014). Approach of Electronic Government to Closing the Gap between Public and Citizens. Malaysia, 27-28 September 2014: Research Methods in Management and Social Sciences (คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).
- ↑ Jeong Chun Hai @Ibrahim. (2007). Fundamental of Development Administration. Selangor: Scholar Press. ISBN 978-967-5-04508-0