ข้ามไปเนื้อหา

สนธิสัญญาทรียานง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Treaty of Trianon)
สนธิสัญญาทรียานง
สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างมหาพันธมิตรและประเทศที่เข้าร่วมกับฮังการี
การมาถึงของผู้ลงนามทั้งสองบุคคล อาโกชต์ แบนาร์ด (Ágost Benárd) และอ็อลเฟรด ดร็อชแช-ลาซาร์ (Alfréd Drasche-Lázár) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ณ พระราชวังกร็องทรียานง เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส
วันลงนาม4 มิถุนายน ค.ศ. 1920
ที่ลงนามแวร์ซาย ฝรั่งเศส
วันมีผล26 กรกฎาคม ค.ศ. 1921
ภาคี1. ฝ่ายสัมพันธมิตรและประเทศที่เกี่ยวข้อง
 ฝรั่งเศส
 สหราชอาณาจักร
 อิตาลี
 ญี่ปุ่น
ฝ่ายสัมพันธมิตรอื่น
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม
 จีน
คิวบา คิวบา
 เชโกสโลวาเกีย
 กรีซ
 ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
ธงของประเทศนิการากัว นิการากัว
ธงของประเทศปานามา ปานามา
 โปแลนด์
โปรตุเกส โปรตุเกส
 โรมาเนีย
 สยาม
2. ฝ่ายมหาอำนาจกลาง
 ราชอาณาจักรฮังการี
ผู้เก็บรักษารัฐบาลฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี
ข้อความทั้งหมด
Treaty of Trianon ที่ วิกิซอร์ซ
ประธานาธิบดีมิฮาย กาโรยี กล่าวสุนทรพจน์หลังจากการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนฮังการีเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
ภาพยนตร์: การกล่าวปราศรัยอย่างสันติของเบ-ลอ ลินแดร์ ต่อนายทหาร และการประกาศปลดอาวุธตนเองของฮังการีเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
ภาพยนตร์ข่าวเกี่ยวกับการลงนามสนธิสัญญาทรียานง ค.ศ. 1920
สถิติประชากรของดินแดนฮังการีใน ค.ศ. 1910

สนธิสัญญาทรียานง (ฝรั่งเศส: Traité de Trianon; ฮังการี: Trianoni békeszerződés; อิตาลี: Trattato del Trianon; โรมาเนีย: Tratatul de la Trianon; อังกฤษ: Treaty of Trianon) บางครั้งมีการเรียกว่า คำสั่งสันติภาพทรียานง (อังกฤษ: Peace Dictate of Trianon)[1][2][3][4][5] หรือที่ในฮังการีเรียกว่า คำสั่งแห่งทรียานง (อังกฤษ: Dictate of Trianon)[6][7] เป็นสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นในการประชุมสันติภาพปารีสและลงนาม ณ พระราชวังกร็องทรียานง ที่เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ซึ่งถือเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอย่างเป็นทางการ ระหว่างประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่[a] และราชอาณาจักรฮังการี[8][9][10][11] นักการทูตฝ่ายฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญในการร่างสนธิสัญญา โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดตั้งพันธมิตรของฝรั่งเศสในรัฐที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ สนธิสัญญาทรียานงควบคุมสถานะของราชอาณาจักรฮังการี และได้กำหนดพรมแดนโดยรวมของประเทศตามแนวสงบศึกที่สร้างขึ้นในเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม ค.ศ. 1918 ทั้งยังทำให้ฮังการีกลายเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่มีพื้นที่ 93,073 ตารางกิโลเมตร (35,936 ตารางไมล์) เป็นปริมาณเพียง 28% ของพื้นที่เดิมของราชอาณาจักรฮังการีก่อนสงคราม ซึ่งเคยมีพื้นที่อยู่ 325,411 ตารางกิโลเมตร (125,642 ตารางไมล์) ราชอาณาจักรที่ถูกแบ่งแยกนี้มีประชากรเพียง 7.6 ล้านคน คิดเป็น 36% ของจำนวนประชากรในฮังการีก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่มีประชากรอยู่ 20.9 ล้านคน[12] แม้ว่าพื้นที่ที่จัดสรรให้กับประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่แล้ว ประชากรจะไม่ใช่ชาวฮังการี แต่ในชาวฮังการีราว 3.3 ล้านคน (31%) ถูกทอดทิ้งอยู่นอกเขตแดนของฮังการีและกลายเป็นชนกลุ่มน้อย[13][14][15][16] นอกจากนี้ สนธิสัญญายังได้จำกัดขนาดกองทัพฮังการีไว้ที่ 35,000 นาย และยุติบทบาทของกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีลง ซึ่งการตัดสินใจและผลลัพธ์ภายหลังเหล่านี้เป็นสาเหตุของความขุ่นเคืองอย่างสุดซึ้งในฮังการีตั้งแต่นั้นมา[17]

ประเทศผู้ได้รับผลประโยชน์หลัก ได้แก่ ราชอาณาจักรโรมาเนีย, สาธารณรัฐเชโกสโลวัก, ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (ยูโกสลาเวียในภายหลัง), และสาธารณรัฐออสเตรีย หนึ่งในองค์ประกอบหลักของสนธิสัญญาฉบับนี้ คือ เรื่องแนวคิด "การกำหนดการปกครองด้วยตนเองของประชากร" ซึ่งเป็นความพยายามที่จะทำให้คนที่ไม่ใช่ชาวฮังการี มีรัฐชาติและความเป็นอิสรภาพของตนเอง[18] อีกทั้งฮังการียังต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านด้วย สนธิสัญญาดังกล่าวมีฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้กำหนดมากกว่าการเจรจาร่วมกับฮังการี และฮังการีก็ไม่มีทางเลือกอันใด นอกเสียจากยอมรับเงื่อนไขสนธิสัญญา[18] คณะผู้แทนฮังการีได้ลงนามในสนธิสัญญาทรียานง (พร้อมกับการเขียนประท้วงสนธิสัญญาแนบร่วม) และไม่นานหลังจากการลงนาม ความโกลาหลเพื่อการแก้ไขสนธิสัญญาจึงเริ่มต้นทันที[14][19]

สำหรับพรมแดนของฮังการีในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เหมือนกับพรมแดนที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาทรียานง แต่มีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยระหว่างพรมแดนฮังการี-ออสเตรีย ใน ค.ศ. 1924 และการโอนย้ายหมู่บ้านสามแห่งไปยังเชโกสโลวาเกียใน ค.ศ. 1947[20][21]

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้จะมีแนวคิด "การกำหนดการปกครองด้วยตนเองของประชากร" โดยฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ก็อนุญาตให้มีการลงประชามติเพียงครั้งเดียวเท่านั้น (ภายหลังรู้จักกันในชื่อการลงประชามติโชโปรน) เพื่อยุติพรมแดนที่มีข้อพิพาทบนดินแดนเดิมของราชอาณาจักรฮังการี[22] ซึ่งเป็นการพิพาทดินแดนขนาดเล็กระหว่างสาธารณรัฐออสเตรียที่ 1 และราชอาณาจักรฮังการี เนื่องจากเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ กองกำลัง Rongyos Gárda กระทำการโจมตีอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับไล่กองกำลังออสเตรียที่เข้ามาในพื้นที่ ระหว่างการลงประชามติเมื่อปลาย ค.ศ. 1921 หน่วยคะแนนเสียงได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่กองทัพอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตร[23]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. สหรัฐยุติสงครามกับฮังการีในสนธิสัญญาสันติภาพสหรัฐ–ฮังการี (ค.ศ. 1921)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Hungarian President János Áder's Speech on the Day of National Unity". Consulate General of Hungary Manchester.
  2. Dr. Dobó, Attila; Kollár, Ferenc; Zsoldos, Sándor; Kohári, Nándor (2021). A trianoni békediktátum [The Peace Dictate of Trianon] (PDF) (ภาษาฮังการี) (2nd ed.). Magyar Kultúra Emlékívek Kiadó. ISBN 978-615-81078-9-1.
  3. Prof. Dr. Gulyás, László (2021). Trianoni kiskáté - 101 kérdés és 101 válasz a békediktátumról (ภาษาฮังการี).
  4. Makkai, Béla (2019). Chopping Hungary Up by the 1920 Peace Dictate of Trianon. Causes, Events and Consequences.
  5. Gulyás, László; Anka, László; Arday, Lajos; Csüllög, Gábor; Gecse, Géza; Hajdú, Zoltán; Hamerli, Petra; Heka, László; Jeszenszky, Géza; Kaposi, Zoltán; Kolontári, Attila; Köő, Artúr; Kurdi, Krisztina; Ligeti, Dávid; Majoros, István; Maruzsa, Zoltán; Miklós, Péter; Nánay, Mihály; Olasz, Lajos; Ördögh, Tibor; Pelles, Márton; Popély, Gyula; Sokcsevits, Dénes; Suba, János; Szávai, Ferenc; Tefner, Zoltán; Tóth, Andrej; Tóth, Imre; Vincze, Gábor; Vizi, László Tamás (2019–2020). A trianoni békediktátum története hét kötetben - I. kötet: Trianon Nagy Háború alatti előzményei, az Osztrák-Magyar Monarchia bukása 1914-1918 / II. kötet: A katonai megszállástól a magyar békedelegáció elutazásáig 1918-1920 / III. kötet: Apponyi beszédétől a Határkijelölő Bizottságok munkájának befejezéséig / IV. kötet: Térképek a trianoni békediktátum történetéhez / V. kötet: Párhuzamos Trianonok, a Párizs környéki békék: Versailles, Saint-Germain, Neuilly, Sevres, Lausanne / VI. kötet: Dokumentumok, források / VII. kötet: Kronológia és életrajzok [The history of the Peace Dictate of Trianon in seven volumes - Volume I: Trianon's history during the Great War, the fall of the Austro-Hungarian Monarchy 1914-1918 / Volume II: From the military occupation to the departure of the Hungarian peace delegation 1918-1920 / Volume III: From Apponyi's speech to the completion of the work of the Boundary Demarcation Committees / Volume IV: Maps for the history of the Trianon peace decree / Volume V: Parallel Trianons, the peaces around Paris: Versailles, Saint-Germain, Neuilly, Sevres, Lausanne / Volume VI: Documents, sources / Volume VII: Chronology and biographies] (ภาษาฮังการี). Egyesület Közép-Európa Kutatására. ISBN 9786158046299.
  6. Bank, Barbara; Kovács, Attila Zoltán (2022). Trianon - A diktátum teljes szövege [Trianon - Full text of the dictate] (ภาษาฮังการี). Erdélyi Szalon. ISBN 9786156502247.
  7. Raffay, Ernő; Szabó, Pál Csaba. A Trianoni diktátum története és következményei [The history and consequences of the Dictate of Trianon] (ภาษาฮังการี). Trianon Múzeum.
  8. Craig, G. A. (1966). Europe since 1914. New York: Holt, Rinehart and Winston.
  9. Grenville, J. A. S. (1974). The Major International Treaties 1914–1973. A history and guides with texts. Methnen London.
  10. Lichtheim, G. (1974). Europe in the Twentieth Century. New York: Praeger.
  11. "Text of the Treaty, Treaty of Peace Between The Allied and Associated Powers and Hungary And Protocol and Declaration, Signed at Trianon June 4, 1920".
  12. "Open-Site:Hungary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-05-19.
  13. Frucht 2004, p. 360.
  14. 14.0 14.1 "Trianon, Treaty of". The Columbia Encyclopedia. 2009.
  15. Macartney, C. A. (1937). Hungary and her successors: The Treaty of Trianon and Its Consequences 1919–1937. Oxford University Press.
  16. Bernstein, Richard (9 August 2003). "East on the Danube: Hungary's Tragic Century". The New York Times.
  17. Toomey, Michael (2018). "History, Nationalism and Democracy: Myth and Narrative in Viktor Orbán's 'Illiberal Hungary'". New Perspectives. 26 (1): 87–108. doi:10.1177/2336825x1802600110. S2CID 158970490.
  18. 18.0 18.1 van den Heuvel, Martin P.; Siccama, J. G. (1992). The Disintegration of Yugoslavia. Rodopi. p. 126. ISBN 90-5183-349-0.
  19. Tucker & Roberts 2005, p. 1183: "Virtually the entire population of what remained of Hungary regarded the Treaty of Trianon as manifestly unfair, and agitation for revision began immediately."
  20. Botlik, József (June 2008). "AZ ŐRVIDÉKI (BURGENLANDI) MAGYARSÁG SORSA". vasiszemle.hu. VASI SZEMLE.
  21. "Szlovákiai Magyar Adatbank » pozsonyi hídfő". adatbank.sk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-21. สืบค้นเมื่อ 2023-08-07.
  22. Richard C. Hall (2014). War in the Balkans: An Encyclopedic History from the Fall of the Ottoman Empire to the Breakup of Yugoslavia. ABC-CLIO. p. 309. ISBN 9781610690317.
  23. Irredentist and National Questions in Central Europe, 1913–1939: Hungary, 2v, Volume 5, Part 1 of Irredentist and National Questions in Central Europe, 1913–1939 Seeds of conflict. Kraus Reprint. 1973. p. 69.