การสงบศึกเบลเกรด
ประเภท | สนธิสัญญาพหุภาคี |
---|---|
บริบท | การยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและฮังการี |
วันลงนาม | 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 |
ที่ลงนาม | เบลเกรด ราชอาณาจักรเซอร์เบีย |
ผู้เจรจา | |
ผู้ลงนาม | |
ภาคี | |
ภาษา | ฝรั่งเศส |
การสงบศึกเบลเกรด เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการยุติความเป็นปรปักษ์ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งระหว่างไตรภาคีและราชอาณาจักรฮังการี ซึ่งลงนาม ณ กรุงเบลเกรด เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 โดยมีการเจรจากันเป็นส่วนใหญ่ระหว่างนายพลหลุยส์ ฟร็องแช แดแปแร ในฐานะผู้บัญชาการทหารกองทัพสัมพันธมิตรตะวันออก และนายกรัฐมนตรีฮังการีมิฮาย กาโรยี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน และลงนามโดยนายพลปอล โปแป อ็องรี และ วอยวอดา (จอมพล) ชีวอยิน มีชิช ในฐานะผู้แทนของฝ่ายสัมพันธมิตรกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามของฮังการี เบ-ลอ ลินแดร์.
การสงบศึกดังกล่าวได้กำหนดเส้นแบ่งเขตเพื่อกำหนดพรมแดนทางใต้ของกองทัพฮังการี ทำให้ดินแดนส่วนใหญ่ของราชอาณาจักรฮังการีเดิมอยู่นอกเขตการควบคุมของฮังการี รวมถึงบางส่วนหรือทั้งหมดของ ภูมิภาคทรานซิลเวเนีย บานัต บาชกา บอรอญอ และโครเอเชีย-สลาโวเนีย นอกจากนี้ยังได้ระบุถึงพันธกรณีที่พันธมิตรกำหนดต่อฮังการีในสิบแปดจุด รวมทั้งการปลดอาวุธกองทัพฮังการีลงเหลือเพียงแปดกองพล การกวาดล้างทุ่นระเบิดทางเรือ และการมอบล้อขับเคลื่อน เรือแม่น้ำ เรือลากจูง เรือท้องแบน เรือตรวจการณ์แม่น้ำ ม้า และทรัพยากรอื่น ๆ แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร อีกทั้งฮังการีจำเป็นต้องจัดหาบุคลากรในการซ่อมแซมความเสียหายในสงครามที่เกิดขึ้นกับโครงข่ายโทรเลขเซอร์เบีย ตลอดจนจัดหาบุคลากรให้กับเจ้าหน้าที่การรถไฟ
เงื่อนไขของการสงบศึกและการกระทำที่ตามมาของฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ประชากรฮังการี นำไปสู่การล่มสลายของระบอบกาโรยีและสาธารณรัฐฮังการีที่หนึ่ง ใน ค.ศ. 1919 สาธารณรัฐฮังการีถูกแทนที่โดยสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีในช่วงสั้น ๆ ทำให้มีการกำหนดพรมแดนครั้งใหม่เพิ่มเติมใน ค.ศ. 1920 ผ่านสนธิสัญญาทรียานง
บรรณานุกรม
[แก้]- Ablovatski, Eliza (2021). Revolution and Political Violence in Central Europe: The Deluge of 1919. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-76830-6.
- Beneš, Jakub S. (2017). "The Green Cadres and the Collapse of Austria-Hungary in 1918". Past & Present. Oxford: Oxford University Press. 236 (1): 207–241. doi:10.1093/pastj/gtx028. ISSN 0031-2746.
- Grenville, John (2001). The Major International Treaties of the Twentieth Century: A History and Guide with Texts. Vol. 1. Abingdon-on-Thames: Taylor & Francis. ISBN 978-0-415-23798-7.
- Biagini, A.; Motta, G. (2014). Empires and Nations from the Eighteenth to the Twentieth Century: Volume 2. EBL-Schweitzer. Newcastle upon Tyne: Cambridge Scholars Publishing. ISBN 978-1-4438-6542-5.
- Darques, Régis (2017). Mapping Versatile Boundaries: Understanding the Balkans. London: Springer Nature. ISBN 978-3-319-40925-2.
- Gyorgy, Andrew (1947). "Postwar Hungary". The Review of Politics. Cambridge: Cambridge University Press. 9 (3): 297–321. doi:10.1017/S0034670500038699. ISSN 0034-6705. JSTOR 1404017. S2CID 251373659.
- Kosi, Jernej (2020). "Summer of 1919". The Hungarian Historical Review. Budapest: Institute of History, Research Centre for the Humanities, Hungarian Academy of Sciences. 9 (1): 51–68. ISSN 2063-8647. JSTOR 26984101.
- Krizman, Bogdan (1970). "The Belgrade Armistice of 13 November 1918". The Slavonic and East European Review. London: UCL School of Slavonic and East European Studies. 48 (110): 67–87. ISSN 0037-6795. JSTOR 4206164.
- Lampe, John R. (2000). Yugoslavia as History: Twice There Was a Country (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-77357-1.
- Lendvai, Paul (2003). The Hungarians: A Thousand Years of Victory in Defeat. Princeton: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-11969-4.
- Morrison, Kenneth (2018). Nationalism, Identity and Statehood in Post-Yugoslav Montenegro. London: Bloomsbury Academic. ISBN 978-1-4742-3518-1.
- Pastor, Peter (1970). "The Vix Mission in Hungary, 1918-1919: A Re-Examination". Slavic Review. Cambridge: Cambridge University Press. 29 (3): 481–498. doi:10.2307/2493161. ISSN 0037-6779. JSTOR 2493161. S2CID 155147655.
- Ramet, Sabrina P. (2006). The Three Yugoslavias: State-Building and Legitimation, 1918–2005. Bloomington: Indiana University Press. ISBN 978-0-253-34656-8.
- Tucker, Spencer C. (1998). The Great War, 1914-18. London: UCL Press. ISBN 1-85728-390-2.
- Vuk, Ivan (2019). "Pripojenje Međimurja Kraljevstvu Srba, Hrvata i Slovenaca: Od neuspjeloga pokušaja 13. studenog do uspješnoga zaposjedanja Međimurja 24. prosinca 1918. godine" [The Annexation of Međimurje to the Kingdom of Serbs, Croats and Slovenes: From the unsuccessful attempt on 13 November to the successful occupation of Međimurje on 24 December 1918]. Časopis za suvremenu povijest (ภาษาโครเอเชีย). Zagreb: Croatian Institute of History. 51 (2): 507–532. doi:10.22586/csp.v51i2.8927. ISSN 0590-9597. S2CID 204456373.
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- "Text of Military Convention Between the Allies and Hungary. Signed at Belgrade November 13, 1918". American Journal of International Law. American Society of International Law. 13 (4): 399–402. 1919. doi:10.2307/2212835. ISSN 0002-9300. JSTOR 2212835. S2CID 246007002.
- Macartney, C. A. (1937). "Hungary and Her Successors : The Treaty of Trianon and its Consequences, 1919–1937". International Affairs. Oxford University Press. 17 (2): 285–286. doi:10.2307/2602294. ISSN 0020-5850. JSTOR 2602294.
- Mócsy, István I. (1983). The Uprooted: Hungarian Refugees and Their Impact on Hungary's Domestic Politics, 1918-1921. Vol. 1. New York: Brooklyn College Press. ISBN 9780880330398.
- Pastor, Peter (1976). Hungary Between Wilson and Lenin. Boulder: East European Quarterly. ISBN 9780914710134.
- Pastor, Peter (1988). Revolutions and interventions in Hungary and its neighbor states: 1918 - 1919. Boulder: Social Science Monographs. ISBN 9780880331371.
- บทความเกี่ยวกับ ประเทศฮังการี ที่ยังไม่สมบูรณ์
- การสงบศึก
- สนธิสัญญาสันติภาพ
- สนธิสัญญาแนวพรมแดน
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงดินแดน
- สนธิสัญญาสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ผลที่ตามมาหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับฮังการี
- การล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
- ฝ่ายสัมพันธมิตร (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)