ปริศนาฟ้าแลบ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ปริศนาฟ้าแลบ | |
---|---|
ประเภท | เกมโชว์ (ควิชโชว์) |
พัฒนาโดย | เครือเวิร์คพอยท์ |
พิธีกร | ปัญญา นิรันดร์กุล |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนฤดูกาล | 5 |
จำนวนตอน | มากกว่า 1,200 ตอน[ต้องการอ้างอิง] |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | ชยันต์ จันทวงศาธร |
ผู้อำนวยการสร้าง | เทพฤทธิ์ วงศ์วาณิชวัฒนา
ปรวีร์ ศรีอำพันพฤกษ์ ธนธัช ไตรรัตน์วงศ์[1] |
สถานที่ถ่ายทำ | เวิร์คพอยท์สตูดิโอ |
กล้อง | Multi-camera |
ความยาวตอน | 40 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่องเวิร์คพอยท์ |
ออกอากาศ | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
ฟ้าแลบเด็ก |
ปริศนาฟ้าแลบ เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์แนวควิซโชว์ ผลิตรายการโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 19.20 - 20.00 น. ทางช่องเวิร์คพอยท์ โทรทัศน์ระบบดิจิตอลหมายเลข 23 ดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล[2] เริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และออกอากาศครั้งสุดท้ายในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยช่องเวิร์คพอยท์ได้นำรายการใหม่ กล่องของขวัญ มาออกอากาศแทน
กติกาในช่วงเกมการตอบคำถามให้ถูกติดกัน 10 ข้อบนเก้าอี้ล่อฟ้านั้น เคยเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจในรายการ My Man Can แฟนฉันเก่ง ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556[3] โดยพัฒนารูปแบบจากเทปไพลอต (pilot) หรือเทปตัวอย่างของรายการ[4]
รูปแบบและกติกาของรายการ
[แก้]รอบแข่งตอบคำถาม
[แก้]ในการแข่งขันแต่ละครั้งจะมีผู้เข้าแข่งขัน 2 ทีม ทีมละ 3 คน ประกอบไปด้วยดารา, นักแสดงหรือนักร้องที่มีชื่อเสียง 2 คน และอีก 1 คนเป็นหัวหน้าทีมที่ใช้ "AIS NEXT G" ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของรายการที่คัดเลือกมา โดยอาจจะเป็นคนจากทางบ้านหรือดารานักร้องก็ได้ โดยให้ทั้ง 2 ทีมส่งตัวแทนทีมละ 1 คน (ใน 3 คู่แรก ห้ามส่งคนซ้ำกัน และสามารถส่งใครก็ได้มาตราบใดที่ไม่ซ้ำคู่เดิม) ออกมาแข่งขันตอบคำถามชุดเดียวกันภายในเวลา 2 นาที (ผู้สนับสนุนหลักในการตอบคำถามคือ เครื่องดื่ม แบรนด์ เจนยู ต่อมาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารซีพี และภายหลังเปลี่ยนเป็นนํ้านมถั่วเหลืองแลคตาซอย) ผู้ที่ตอบคำถามจะนั่งบน "เก้าอี้ล่อฟ้า" ซึ่งเก้าอี้จะเลื่อนขึ้นเมื่อตอบถูก และตกสู่จุดเริ่มต้นเมื่อตอบผิด แต่จะบันทึกสถิติจำนวนคำถามที่ตอบได้ถูกต้องติดต่อกันมากที่สุดเอาไว้ ผู้ที่ตอบคำถามได้ถูกต้องติดต่อกันมากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะในรอบนั้น ทีมใดที่ชนะได้ 3 คะแนนจะเป็นแชมป์ และผ่านเข้าสู่รอบแจ็คพอต
ทั้งนี้ หากผู้แข่งขันคนใดในทีมสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องติดต่อกัน 10 ข้อ จะได้รับเงินรางวัลกลับบ้านไปมูลค่า 100,000 บาท จากผู้สนับสนุนหลักของรายการนั่นคือ AIS NEXT G
รอบสะสมสายฟ้า (รอบแจ็คพอต)
[แก้]ทุกครั้งที่ได้เป็นแชมป์ ทีมแชมป์จะได้สิทธิ์เล่นเกมในรอบแจ็คพอต 1 ครั้ง หากเล่นเกมชนะ จะได้รับ "สายฟ้า" ไปสะสม หากทีมแชมป์สามารถเก็บได้ครบ 3 สายฟ้า จะได้รับรางวัลแจ็คพอตเป็นรถยนต์ New Toyota Corolla Altis Esport / Toyota Sienta / Toyota Yaris Ativ / Toyota Hilux Revo พร้อมเงินรางวัลใหญ่ มูลค่า 1,000,000 บาท และตราบใดที่ทีมแชมป์ยังทำแจ๊คพอตรถยนต์ไม่แตก ทีมแชมป์จะสามารถเลือกเล่นเกมต่อเนื่อง หรือหยุดพักให้ทีมอื่นแข่งกันก่อน แล้วกลับมาแข่งต่อเมื่อพร้อมก็ได้ อีกทั้งทีมแชมป์ยังสามารถเปลี่ยนตัวสมาชิกในทีมได้ด้วย
กติกาแบบแรก
[แก้]พิธีกรจะถาม 1 คำถาม แล้วให้ผู้แข่งขันทั้ง 3 คนตอบคำตอบเรียงกันทีละคน คนละ 1 คำตอบภายในเวลา 5 วินาที โดยที่ผู้แข่งขันสามารถตอบได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะได้คำตอบที่ถูกต้องและไม่ซ้ำกับที่เคยตอบไปแล้ว หากผู้แข่งขันยังตอบคำถามไม่ได้ภายในเวลาที่กำหนด เกมจะยุติลง ทั้งนี้ทีมผู้แข่งขันมีสิทธิ์ข้ามได้ 1 ครั้ง ใครจะใช้สิทธิ์ข้ามก็ได้ และสามารถใช้ได้แม้ไม่ใช่ในรอบการตอบของตัวเอง โดยเมื่อข้ามแล้ว รอบการตอบจะเป็นของผู้แข่งขันคนถัดไป หากตอบได้ครบ 20 คำตอบจะได้รับ 1 สายฟ้า
กติกาแบบที่สอง
[แก้]ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2557 เป็นต้นมาได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาเป็นพิธีกรจะถาม 1 คำถามเช่นเดิม แล้วให้ผู้แข่งขันทั้ง 3 คนช่วยกันตอบคำตอบให้ได้ 20 คำตอบ ภายในเวลา 1 นาที โดยผู้ที่จะตอบจะต้องเอามือแตะ "เสาล่อฟ้า" ก่อนที่จะตอบทุกครั้ง และแตะเสาล่อฟ้าได้ทีละคนเท่านั้น ระหว่างการเล่นสามารถเปลี่ยนให้ผู้เล่นคนอื่น ๆ ในทีมมาตอบต่อไปได้ตลอดเวลา แต่ละคนจะตอบกี่คำตอบก็ได้ แต่ทุกคนในทีมต้องตอบถูกอย่างน้อย 1 คำตอบ และห้ามปรึกษากันในระหว่างการเล่น หากสามารถตอบได้ครบ 20 คำตอบก่อนเวลาที่กำหนดไว้หมดจะได้รับ 1 สายฟ้า
รายการพิเศษ
[แก้]ปริศนาฟ้าแลบเด็ก
[แก้]เป็นเทปพิเศษที่มีผู้ดำเนินรายการโดย พัน พลุแตก ซึ่งได้ออกอากาศไปแล้วเมื่อวันที่ 14 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559[5] โดยการแข่งขันในแต่ละครั้งจะมีผู้เข้าแข่งขัน 2 ทีม ทีมละ 4 คน ประกอบไปด้วยเด็กที่มีชื่อเสียง 3 คน และอีก 1 คนเป็นหัวหน้าที่เป็นดารา, นักแสดงหรือนักร้อง มารับหน้าที่ผู้จัดการทีม (โดยจะไม่มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม) โดยให้ทั้ง 2 ทีมส่งตัวแทนทีมละ 1 คนออกมาแข่งขันตอบคำถามชุดเดียวกันภายในเวลา 2 นาที (ผู้สนับสนุนหลักในการตอบคำถามคือ ผลิตภัณฑ์อาหารซีพี) ผู้ที่ตอบคำถามจะนั่งบน "เก้าอี้ล่อฟ้า" ซึ่งเก้าอี้จะเลื่อนขึ้นเมื่อตอบถูก และตกสู่จุดเริ่มต้นเมื่อตอบผิด แต่จะบันทึกสถิติจำนวนคำถามที่ตอบได้ถูกต้องติดต่อกันมากที่สุดเอาไว้ ผู้ที่ตอบคำถามได้ถูกต้องติดต่อกันมากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะในรอบนั้น และจะได้เลือกของรางวัล 1 ชิ้น จาก 2 ชิ้น ที่ทางรายการเสนอให้ โดยผู้แพ้จะได้รับของรางวัลอีกชิ้นที่ผู้ชนะไม่ได้เลือก (หากผลออกมาเสมอ จะต้องเป่ายิ้งฉุบตัดสินหาคนที่จะได้เลือกของรางวัลก่อน)
สำหรับ "ปริศนาฟ้าแลบเด็ก" นั้น จะไม่มีแจ๊คพอตจากการตอบถูก 10 ข้อติดกัน, ไม่มีการสะสมสายฟ้า และไม่มีการรักษาแชมป์ ต่อมารายการ "ปริศนาฟ้าแลบเด็ก" ได้แยกการผลิตรายการออกมาในรูปแบบของตัวเองในชื่อว่า "ฟ้าแลบเด็ก" ซึ่งเริ่มออกอากาศเทปแรกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560[6]
เป็นเทปพิเศษเนื่องในการโปรโมทเพลงซิงเกิ้ลที่ 2 ของวง BNK48 (BNK48 Second Single "Koisuru Fortune Cookie" หรือเพลง คุกกี้เสี่ยงทาย) นำทีมโดย เฌอปราง, ปัญ และอร ออกอากาศไปเมื่อวันที่ 26-31 มกราคม 2561
การดัดแปลง
[แก้]ฟ้าแลบเด็ก
[แก้]ฟ้าแลบเด็ก | |
---|---|
ประเภท | เกมโชว์ (ควิซโชว์), เยาวชน |
พิธีกร | พัน พลุแตก |
จำนวนฤดูกาล | 2 |
การผลิต | |
ความยาวตอน | 45 นาที |
ออกอากาศ | |
ออกอากาศ | 7 มกราคม 2560–10 กุมภาพันธ์ 2562 |
ฟ้าแลบเด็ก เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์แนวควิซโชว์ ที่ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 11.15 - 12.00 น. เริ่มออกอากาศเทปแรกวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 11.00 - 11.30 น. ออกอากาศวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2561 และออกอากาศครั้งสุดท้ายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ทางช่องเวิร์คพอยท์ ดำเนินรายการโดย ภานุพันธ์ ครุฑโต (พัน พลุแตก)
ปริศนาฟ้าแลบ online
[แก้]มีการดัดแปลงเป็นแอปพลิเคชัน "ปริศนาฟ้าแลบ online" บนโทรศัพท์เคลื่อนที่[8] และเฟซบุ๊ก โดยมียอดดาวน์โหลดกว่า 8,000,000 ครั้ง
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- รางวัล Top Talk About TV Show ในฐานะรายการเกมโชว์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุด กระแสแรงที่สุดในอินเทอร์เน็ต งานประกาศรางวัล MThai Top Talk-About 2015 วันที่ 12 มีนาคม 2558[9]
- รางวัล "เกมโชว์ยอดเยี่ยม" จากงานประกาศผลรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 6 ประจำปี 2557 โดยสมาคมสมาพันธ์วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย วันที่ 28 มิถุนายน 2558[9]
- ปัญญา นิรันดร์กุล พิธีกรรายการปริศนาฟ้าแลบ ได้รับรางวัล "พิธีกรยอดเยี่ยม" จากงานประกาศผลรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 6 ประจำปี 2557 โดยสมาคมสมาพันธ์วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย วันที่ 28 มิถุนายน 2558[9]
- รางวัล "Highly Commended" จากงานประกาศผลรางวัล Asian Television Award 2015 ประเภท "Best Game or Quiz programme" วันที่ 3 ธันวาคม 2558[10]
- ปัญญา นิรันดร์กุล พิธีกรรายการปริศนาฟ้าแลบ ได้รับรางวัลพิธีกรชายดีเด่นในงานประกาศรางวัล “พิฆเนศวร” ครั้งที่ 4 ประจำปี 2558 จัดโดย สมัชชานักจัดรายการข่าววิทยุโทรทัศน์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (สว.นท) วันที่ 27 มกราคม 2559[11]
- รางวัล "รายการเกมโชว์ดีเด่น" จากงานประกาศผล รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประจำปี 2558 โดยชมรมส่งเสริมโทรทัศน์ วันที่ 12 มีนาคม 2559[11]
- ปัญญา นิรันดร์กุล พิธีกรรายการปริศนาฟ้าแลบ ได้รับรางวัล "ผู้ดำเนินรายการเกมโชว์ดีเด่น" จากงานประกาศผล รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประจำปี 2558 โดยชมรมส่งเสริมโทรทัศน์ วันที่ 12 มีนาคม 2559[11]
- รางวัลเกมโชว์ยอดเยี่ยม" จากงานประกาศผล รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 7 ประจำปี 2558 โดยสมาคมสมาพันธ์วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย วันที่ 12 มิถุนายน 2559[11]
- ปัญญา นิรันดร์กุล พิธีกรรายการปริศนาฟ้าแลบ ได้รับรางวัลพิธีกรชายขวัญใจมหาชน ประจำปี 2559 ในงานประกาศรางวัล Maya Awards " มายามหาชน 2016 " จัดโดย นิตยสารมายาแชนแนล ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม มายา แชนแนล ช่อง 47 วันที่ 30 สิงหาคม 2559[11]
- รางวัล "Highly Commended" จากงานประกาศผลรางวัล Asian Television Award 2016 ประเภท "Best Game or Quiz programme" วันที่ 1 ธันวาคม 2559[12]
- ปัญญา นิรันดร์กุล พิธีกรรายการปริศนาฟ้าแลบ ได้รับรางวัล "Winner" จากงานประกาศผลรางวัล Asian Television Award 2016 ประเภท "Best Entertainment Presenter/ Host" วันที่ 2 ธันวาคม 2559[12]
- รางวัล "เกมโชว์ยอดเยี่ยม" จากงานประกาศผลรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 8 ประจำปี 2559 โดยสมาคมสมาพันธ์วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย วันที่ 20 กรกฎาคม 2560[13]
- รางวัล "เกมโชว์ยอดเยี่ยม" จากงานประกาศผลรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 9 ประจำปี 2560 โดยสมาคมสมาพันธ์วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย วันที่ 5 สิงหาคม 2561[14]
ประเทศที่ได้ซื้อลิขสิทธิ์เพื่อนำไปผลิตแล้วออกอากาศ
[แก้]ประเทศ | ชื่อ | ชื่อไทย | ผู้ดำเนินรายการ | สถานีโทรทัศน์ | เงินรางวัลสูงสุด | เริ่มออกอากาศครั้งแรก |
---|---|---|---|---|---|---|
เวียดนาม | Nhanh như chớp[15] | ปริศนาฟ้าแลบ เวียดนาม | Hari Won Truong Giang |
HTV7 | ₫60,000,000 (VND) | 7 เมษายน 2561 – ปัจจุบัน |
สหรัฐ | รอประกาศ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ (25 ธันวาคม 2560). "'ธนธัช ไตรรัตน์วงศ์': จากเด็กเกรียนหน่ายห้องเรียน สู่ผู้รังสรรค์ 'ปริศนาฟ้าแลบ'". Themomentum.co. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เดลินิวส์ (18 มิถุนายน 2557). ""ปัญญา" กลับมาอีกครั้ง เพื่อ "ปริศนาฟ้าแลบ"". Dailynews.co.th. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ WorkpointOfficial (12 มีนาคม 2556). "My Man Can 12 มี.ค. 56". Youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ WorkpointOfficial (28 เมษายน 2557). "ตัวอย่างก่อนจะมาเป็น ปริศนาฟ้าแลบ ในปัจจุบัน". Youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง (12 พฤศจิกายน 2559). "'ปริศนาฟ้าแลบ' เปิดเวทีโชว์ความน่ารักของเด็ก". Ryt9.com. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ WorkpointOfficial (25 ธันวาคม 2559). "ฟ้าแลบเด็ก เริ่มเสาร์ที่ 7 มกราคม นี้ Teaser". Youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ThaiPR.net (23 มกราคม 2561). "ทีวีไกด์: รายการ ปริศนาฟ้าแลบ ชวนลุ้น 3 สาว BNK48 ปัญ, เฌอปราง และ อร ขึ้นเก้าอี้เสี่ยงทาย". Ryt9.com. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ melody_18 (1 ตุลาคม 2558). "เกมโชว์สุดฮิต ปริศนาฟ้าแลบเปิดให้เล่นแล้วบนแอนดรอยด์". Mobiledista.com. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 9.0 9.1 9.2 "เกี่ยวกับเวิร์คพอยท์ 2558". Workpoint.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "2015 Winners PROGRAMMING CATEGORIES". ata.onscreenasia.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 "เกี่ยวกับเวิร์คพอยท์ 2559". Workpoint.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ 12.0 12.1 "2016 Winners PROGRAMMING CATEGORIES". ata.onscreenasia.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เกี่ยวกับเวิร์คพอยท์ 2560". Workpoint.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ ""เวิร์คพอยท์" คว้า 2 รางวัล "นาฏราช" ครั้งที่ 9". Workpointnews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-29. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "เวิร์คพอยท์ รับข่าวดีรัวๆ ธุรกิจขายลิขสิทธิ์รายการโตต่อเนื่อง ปริศนาฟ้าแลบ โกอินเตอร์เวียดนาม & 2 ละครปิดดีล งาน HK Filmart". workpoint.co.th. March 28, 2020. สืบค้นเมื่อ September 27, 2020.