ข้ามไปเนื้อหา

อีฟ ปานเจริญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปาล์มมี่)
ปาล์มมี่
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดอีฟ ปานเจริญ
เกิด7 สิงหาคม พ.ศ. 2524 (43 ปี)
ที่เกิดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงป็อป, ป็อปร็อก, อาร์แอนด์บี
อาชีพนักร้อง, นักแต่งเพลง
ช่วงปีพ.ศ. 2543–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงอาร์พีจี (พ.ศ. 2543–2546)
มิวสิคครีม (พ.ศ. 2546–2551)
ดั๊กบาร์ (พ.ศ. 2551–2554)
ไวท์มิวสิก (พ.ศ. 2554–2560)
จีนี่ เรคคอร์ด (พ.ศ. 2560–ปัจจุบัน)
เว็บไซต์https://web.facebook.com/PALMY5

อีฟ ปานเจริญ (เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2524) เป็นที่รู้จักในชื่อ ปาล์มมี่ (อังกฤษ: Palmy) เป็นนักร้องลูกครึ่งไทย-เบลเยียม แนวป็อปร็อก สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตตอนต้นและการศึกษา

[แก้]

ปาล์มมี่ เป็นบุตรของบิดาชาวเบลเยียม กับมารดาชาวไทยเชื้อสายมอญ เธอกล่าวว่าเธอเกิดมาในครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์แบบ[1] เพราะมารดาอาศัยอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียตั้งแต่อายุ 18 ปี และติดต่อกันนานครั้ง[2] ในวัยเยาว์ เธอใช้ชีวิตกับคุณยายชาวมอญ และคุณยายตั้งชื่อเล่นให้หลานสาวคนนี้ว่า "ปาล์มมี่" ตามชื่อยี่ห้อสบู่[3] เธอสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระแม่มารีสาทร และศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมศึกษาโฮลีครอส (Holy Cross High School) เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ก่อนเดินทางกลับประเทศไทยเมื่ออายุได้ 18 ปี โดยไปอาศัยกับญาติผู้ใหญ่[1]

การทำงาน

[แก้]

ปาล์มมี่กลับมาเมืองไทยด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นนักร้องอาชีพ เธอไปออดิชั่นที่ค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ด้วยความสามารถเฉพาะตัวของเธอ ปาล์มมี่ ได้เข้าสู่วงการบันเทิงโดยเซ็นสัญญากับทางสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2543 และได้ออกอัลบั้มแรกในชื่อว่าอัลบั้ม 'Palmy' ในช่วงปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก ปาล์มมี่กลายเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงในเวลาอย่างรวดเร็วจากซิงเกิ้ลแรกของเธอ 'อยากจะร้องดังดัง' เป็นการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของปาล์มมี่ในวงการเพลงไทย สร้างยอดขายสูงถึง 8 แสนชุด[4] ในยุคที่ mp3 กำลังบูม จึงได้เกิดคอนเสิร์ตครั้งแรกโดยทางค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2545[5] นับเป็นศิลปินหญิงคนแรก ที่ทำการแสดงคอนเสิร์ตเดี่ยวที่อิมแพ็ค อารีน่า[4]

คอนเสิร์ตในต่างประเทศ

[แก้]

นอกจากความสำเร็จของเธอในอัลบั้มเดี่ยวทั้งสามแล้ว ปาล์มมี่ ยังได้แสดงคอนเสิร์ตในต่างประเทศหลายครั้ง เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ อังกฤษ และออสเตรเลีย ปาล์มมี่เป็นศิลปินไทยหญิงคนเดียวที่แสดงในงาน MTV's Asia Awards 2003 ที่สิงคโปร์ ปาล์มมี่ ยังจัดคอนเสิร์ตใหญ่ในญี่ปุ่นอีก 2 ครั้ง ได้แก่ Palmy's live in Japan ครั้งแรกของ ปาล์มมี่ ที่ Shibuya O-East กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และ Palmy Live in Tokyo Vol. 2 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปาล์มมี่ยังได้แสดงที่ RHB Singapore Cup Final ที่สนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ และอีกครั้งที่สิงคโปร์ เธอแสดงที่ Euphoria 2004 ในงานเดียวกับ Michael Learns to Rock และ All4One นอกจากนี้ ปาล์มมี่ ยังได้รับเลือกให้เป็นศิลปินไทยเพียงคนเดียวในการแสดง "Asia Song Festival" ที่ Olympics Park กรุงโซล ประเทศเกาหลี เธอจัด 'Palmy Live Concert in London 2006 และ Indigo O2 Arena 2007[6]

ในปี พ.ศ. 2566 ปาล์มมี่ได้มีโอกาสไปทัวร์คอนเสิร์ตในยุโรปถึง 3 ประเทศด้วยกัน คือวันที่ 25 มีนาคม 2566 แสดงที่ Stadthalle Bulach เมืองซูริค ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ วันที่ 26 มีนาคม 2566 แสดงที่ Taylan Event เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมันนี และวันที่ 1 เมษายน 2566 แสดงที่ Fryshuset Klubben เมืองสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน

ผลงานเพลง

[แก้]

สตูดิโออัลบั้ม

[แก้]
อัลบั้ม รายละเอียด รายชื่อเพลง
Palmy
  1. อยากร้องดังดัง
  2. อยู่ต่อได้หรือเปล่า
  3. แปดโมงเช้าวันอังคาร
  4. เขาลืม
  5. ทบทวน
  6. กลัว
  7. พื้นที่ส่วนตัว
  8. แสนสบาย
  9. ฟ้าส่งฉันมา
  10. ฝันดีแค่ไม่กี่คืน
Stay
  • วันที่วางแผง: 29 กรกฎาคม 2546[9]
  • สังกัด: RPG, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • รูปแบบ: เทป, ซีดี, ซีดี (แผ่นทอง), วีซีดี
  1. ทำเป็นไม่ทัก
  2. พูดไม่เต็มปาก
  3. ทฤษฎี
  4. ช่วยมารับฉันที
  5. เจตนา
  6. กระโดดขึ้นฟ้า
  7. พรุ่งนี้อาจไม่มีฉัน
  8. ขอไปคนเดียว
  9. นิทาน
  10. Stay
Beautiful Ride
  1. Tick Tock
  2. Ooh!
  3. ความเจ็บปวด
  4. ร้องไห้ง่ายง่ายกับเรื่องเดิมเดิม
  5. ไม่มีคำจำกัดความ
  6. จากกันตรงนี้
  7. กุญแจที่หายไป
  8. ปล่อย
  9. ไม่มีใครโชคร้ายตลอด
  10. หนึ่งนาที
Palmy 5
  1. Rockstar Syndrome
  2. กา กา กา
  3. คิดมาก
  4. Shy Boy
  5. Crush (feat.Erlend Øye)"
  6. Cry Cry Cry
  7. ทุ่งสีดำ
  8. นาฬิกาเรือนเก่า
  9. Butterfly
  10. Private Sky (Demo Version)
New Single

(2018 - ปัจจุบัน )

  • สังกัด: จีนี่เร็คคอร์ด
  1. นวด 24 พ.ค 2017
  2. แม่เกี่ยว 23 ม.ค 2018
  3. ซ่อนกลิ่น 19 ต.ค 2018
  4. คิดถึง 22 ก.พ 2019
  5. ดวงใจ 16 ต.ค 2019
  6. เคว้ง (เพลงประกอบซีรีย์เคว้ง) 13 พ.ย 2019
  7. ขวัญเอย ขวัญมา 23 ก.ย 2020
  8. ริบบิ้นเลิฟคัลเลอร์แบล็ค 26 ก.ย 2022
  9. สนิทใจ (เพลงจากละครรักร้าย) 16 มี.ค. 2023
  10. ซังได้ซังแล้ว (ซนซน 40 ปี GMM GRAMMY) 06 พ.ย. 2023

อัลบั้มรวมเพลง

[แก้]
อัลบั้ม รายละเอียด
Showcase
The Best Hits of Palmy
  • วันที่วางแผง: 14 พฤศจิกายน 2549
  • สังกัด: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • รูปแบบ: Tape, CD, VCD
Tea Time with Palmy
Palmy Greatest Hits
  • วันที่วางแผง: 27 มีนาคม 2557
  • สังกัด: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • รูปแบบ: CD, DVD, ดิจิทัลดาวน์โหลด
Palmy 50 Best Hits
  • วันที่วางแผง: 25 กุมภาพันธ์ 2559
  • สังกัด: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • รูปแบบ: MP3
Palmy Best Playlists
  • วันที่วางแผง: 12 ธันวาคม 2562
  • สังกัด: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • รูปแบบ: MP3

อัลบั้มบันทึกการแสดงสด

[แก้]
อัลบั้ม รายละเอียด
Palmy & T-Bone
The Acoustic Album

ซิงเกิล

[แก้]

ยุค 2540

[แก้]
ปี ชื่อเพลง อัลบั้ม
2544 "อยากร้องดังดัง" Palmy
"อยู่ต่อได้หรือเปล่า"
2545 "แปดโมงเช้าวันอังคาร"
"ทบทวน"
"กลัว"
"เขาลืม"
"ฟ้าส่งฉันมา"
2546 "ทำเป็นไม่ทัก" Stay
"พูดไม่เต็มปาก"
"Stay"
"พรุ่งนี้อาจไม่มีฉัน"
"กระโดดขึ้นฟ้า"
"เชื่อในความฝัน" ทรัพย์สินทางปัญญา
"ความทรงจำสีจาง" แฟนฉัน
2549 "Tick Tock" Beautiful Ride
"Ooh!"
"ความเจ็บปวด"
"ร้องไห้ง่ายง่ายกับเรื่องเดิมเดิม"

ยุค 2550

[แก้]
ปี ชื่อเพลง อันดับเพลงสูงสุด อัลบั้ม
IW
Chart
[14]
2554 "คิดมาก" 1 อัลบั้ม 5
"Cry Cry Cry" 2
"กา กา กา" 14
2555 "Crush"
(ร่วมกับ Erlend Øye)
-
"Shy Boy" 20
"นาฬิกาเรือนเก่า" -
"Big Mountain"
(ร้องร่วมกับ ฮิวโก้ จุลจักร)
- Single พิเศษ จากปาล์มมี่ และ ฮิวโก้ สำหรับงาน "Big Mountain Music Festival 4 "

(ร่วมร้องกับ "ฮิวโก้) Lyric Vdo : 16 พย 2555 Official Mv : 27 พย 2555

2556 "อยากหยุดเวลา" Cover version (ต้นฉบับ :ศรัณย่า ) 6 เพลงประกอบหนัง" "พี่มาก..พระโขนง"

Official Mv : 5 มีนาคม 2556

2557 "กาลครั้งหนึ่ง"
(แสตมป์ อภิวัชร์ feat. ปาล์มมี่)
4 อัลบั้ม stamp Sci-Fi

ของ แสตมป์ อภิวัชร์

OfficialAudio : 21 ตค 2557

Official Mv :17 มีนาคม 2558

"—" หมายถึงเพลงนั้นไม่ได้อยู่ในอันดับ / IW Chart เริ่มก่อตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2553

ยุค 2560 - ปัจจุบัน

[แก้]
ปี ชื่อเพลง อันดับเพลงสูงสุด อัลบั้ม
IW Chart
[14]
บิลบอร์ด ไทย
[15]
2560 "นวด" 11 *
2561 "แม่เกี่ยว" -
"ซ่อนกลิ่น" 1
2562 "นิรันดร์" (บอดี้สแลม ร้องร่วมกับปาล์มมี่) - คนตัวเบา
2562 "คิดถึง" (ประกอบละคร หีบหลอนซ่อนวิญญาณ) -
2562 "ดวงใจ" -
2562 "เคว้ง" (ประกอบซีรีส์ เคว้ง) -
2563 "กลัวเครื่องบิน"

(อิลสลิก ร้องร่วมกับปาล์มมี่)

-
“ขวัญเอย ขวัญมา” -
2565 "ทุกวันพรุ่งนี้ (Along The Way)" (ทิลลี่เบิร์ด ร้องร่วมกับปาล์มมี่) -
"ริบบิ้นเลิฟคัลเลอร์แบล็ค" (ปาล์มมี่ ร้องร่วมกับสิงโต นำโชค ) - 38
2566 "สนิทใจ" (ประกอบละครรักร้าย) - *
"ซังได้ซังแล้ว" - ซนซน 40 ปี GMM GRAMMY
"—" หมายถึงเพลงนั้นไม่ได้อยู่ในอันดับ / (*) Billboard Thailand Songs เริ่มเปิดตัว 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

วีดีโออัลบั้ม

[แก้]
อัลบั้ม รายละเอียด
Life Concert
Stay With Me
  • วันที่วางแผง: 18 ธันวาคม 2546
  • สังกัด: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • รูปแบบ: VCD, DVD
The Rhythm of The Times
  • วันที่วางแผง: 9 กันยายน 2549
  • สังกัด: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • รูปแบบ: VCD, DVD
Meets T-Bone in Flower Power Concert
  • วันที่วางแผง: 21 กรกฎาคม 2550
  • สังกัด: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • รูปแบบ: VCD, DVD
กา...กา...กา
  • วันที่วางแผง: 28 มิถุนายน 2555
  • สังกัด: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • รูปแบบ: VCD, DVD
Barefoot Acoustic Concert
  • วันที่วางแผง: 22 กันยายน 2556
  • สังกัด: จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • รูปแบบ: VCD, DVD

ผลงานการแสดง

[แก้]

คอนเสิร์ตในประเทศ

[แก้]
  • "Palmy's Life concert" ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) วันที่ 7 สิงหาคม 2545
  • "Stay with me" ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี วันที่ 11 ตุลาคม 2546 เป็นศิลปินหญิงคนแรก ที่ทำการแสดงคอนเสิร์ตเดี่ยวที่อิมแพ็ค อารีน่า [4]
  • "Palmy in the Candle Light Concert" ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2546
  • "The Rhythm of the Times" ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี วันที่ 5 สิงหาคม 2549
  • "Palmy Meets T-Bone in Flower Power Concert" ณ Moon star studio วันที่ 2 และ 3 มิถุนายน 2550
  • "Groove My Dog (Groove rider, Palmy and Modern dog) unplugged concert" ณ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี วันที่ 26 ธันวาคม 2551
  • "คอนเสิร์ต ปาล์มมี่ กา...กา...กา " ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี วันที่ 28 และ 29 มกราคม 2555
  • " PALMY BAREFOOT ACOUSTIC CONCERT " ณ Bitec Bangna Hall 106 วันที่ 21 และ 22 กันยายน 2556
  • G19 Fest กว่าจะร็อคเท่าวันนี้ ที่ราชมังคลากีฬาสถาน วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561
  • Bodyslam Fest วิชาตัวเบา live in ราชมังคลากีฬาสถาน วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2562 (รับเชิญ)
  • PALMY มิตร Universe Concert วันที่ 7-8, 11-12 กันยายน 2567 ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี

คอนเสิร์ตต่างประเทศ

[แก้]
  • Palmy's first Live in Japan (2004) ประเทศญี่ปุ่น
  • Palmy Live in Tokyo Vol. 2 (2006) ประเทศญี่ปุ่น
  • การแสดงที่ RHB Singapore Cup Final ประเทศสิงคโปร์
  • Palmy's First Live in Sydney (2007) ประเทศออสเตรเลีย
  • Palmy Live Concert in London (2008) ประเทศอังกฤษ

อื่น ๆ

[แก้]

รางวัล

[แก้]
วัน เดือน ปี ประเภทรางวัล หมายเหตุ
พ.ศ. 2544 รางวัล Most Popular New Artist
จาก Channel [V] Thailand Music Video Awards 2001
จัดโดย Channel [V] Thailand
พ.ศ. 2545 รางวัล Female Singer
จาก Elle Style Awards 2002
จัดโดย Elle (Thailand) Magazine
พ.ศ. 2545 รางวัล Best of Thai Female Pop Song
จาก Music Society of Thailand
จัดโดย Music Society of Thailand
พ.ศ. 2545 รางวัล Best Female Pop Singer
จาก Golden Ganesha Award
จัดโดย Music Society of Thailand under the Royal Patronage
พ.ศ. 2545 รางวัล Best Thai Female Music Video Award
จาก Channel [V] Thailand Music Video Awards
จัดโดย Channel [V] Thailand
เพลง อยากร้องดังดัง
พ.ศ. 2545 รางวัล Best Female Singer for National Youth
จาก National Youth Bureau (NYB)
จัดโดย National Youth Bureau (NYB)
พ.ศ. 2545 รางวัลศิลปินหญิงยอดเยี่ยม
จาก รางวัลแฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1[16]
จัดโดย นิตยสารแฮมเบอร์เกอร์
พ.ศ. 2545 รางวัลเพลงยอดเยี่ยม
จาก รางวัลแฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1
จัดโดย นิตยสารแฮมเบอร์เกอร์
เพลง อยากร้องดังดัง
พ.ศ. 2546 รางวัล Best Female Singer for National Youth
จาก National Youth Bureau (NYB)
จัดโดยNational Youth Bureau (NYB)
พ.ศ. 2546 รางวัล Best Female Singer
จาก Sea-Son Award
จัดโดย นิตยสารสีสัน
พ.ศ. 2546 รางวัล Best Female Artist
จาก Kom Chad Luek Awards
จัดโดย หนังสือพิมพ์คมชัดลึด
พ.ศ. 2546 รางวัล Best Thai female Music Video
จาก Fat Awards#2
จัดโดย Channel [V] Thailand
เพลง พูดรักไม่เต็มปาก
พ.ศ. 2547 รางวัล Female Artist of The Year
จาก Fat Awards#2
จัดโดย Fat radio Fm 104.5
อัลบั้ม Stay
พ.ศ. 2547 รางวัล MGA Top Selling Newcomer
จาก Fame Awards
จัดโดย MGA Hall
พ.ศ. 2549 รางวัล Popular Vote Female Artist
จาก Virgin Hitz Awards
จัดโดย Virgin hitz Fm95.5
พ.ศ. 2550 รางวัล Female Artist OF The Year
จาก The Fat Awards 2006
จัดโดย Fat Redio
อัลบั้ม Beautiful Ride
23 มีนาคม 2554 รางวัล Best Record OF The Year
จาก สีสันอะวอร์ดส์ครั้งที่ 24 ปี 2011
จัดโดย นิตยสารสีสัน

เพลง Rock Star Syndrome
สิงหาคม 2554 รางวัล No.1 Music Chart Monthly Award 2011 (August2011)
จาก Intensive watch Award
จัดโดย Intensive watch
เพลงคิดมาก
25 ตุลาคม 2554 รางวัล Seventeen Music Artist Female
จาก Seventeen Teen Choice awards 2011
จัดโดย นิตยสาร Seventeen
22 ธันวาคม 2554 รางวัล The bast Female Artist
จาก Hamburger Awards 2011
จัดโดย Hamburger
30 มกราคม 2555 รางวัล Best Female Artist
จาก The Guitar Mag 1st Decade Anniversary Party & Awards 2011
จัดโดย the guitar mag
ตัดสินภายใต้ Concept "Real Awards For Real Artists
22 กุมภาพันธ์ 2555 รางวัล Favorite Female Artist
จาก You2Play Awards 2012
จัดโดย You2PlayTV
17 มีนาคม 2555 รางวัล ศิลปินหญิงยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จาก Seed Awards ครั้งที่ 7 ประจำปี 2011
จัดโดย Seed Redio[17]
23 มีนาคม 2556 รางวัล ศิลปินหญิงยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จาก Seed Awards ครั้งที่ 8 ประจำปี 2012
จัดโดย Seed Redio
20 มิถุนายน 2555 รางวัล นักร้องไทย-สากล หญิงยอดนิยม
จาก Siamdara star award 2012
จัดโดย สยามดารา
24 กรกฎาคม 2555 รางวัล Female Artist OF The Year
จาก The Fat Awards 2012
จัดโดย Fat Redio[18]
24 ตุลาคม 2556 รางวัล Opposite Female Artist
จาก Crow Love Live Awards 2013
จัดโดย นิตยสาร Crow[19]
21 กุมภาพันธ์ 2562 รางวัล Song of 2018
จากเพลง ซ่อนกลิ่น
จัดโดย นิตยสาร DONT Journal
28 กุมภาพันธ์ 2562 รางวัล Best Entertainment on Social Media (Female Artist)
จัดโดย Thailand Zocial Awards 2019
5 มีนาคม 2562 รางวัล Best Song Writer of the year 2018
จัดโดย The Guitar Magazine
5 มีนาคม 2562 รางวัล Single Hit of the year 2018
จากเพลง ซ่อนกลิ่น
จัดโดย The Guitar Magazine
5 มีนาคม 2562 รางวัล Best Female of the year 2018
จัดโดย The Guitar Magazine
12 มีนาคม 2562 รางวัล ศิลปินหญิงยอดเยี่ยมประจำปี 2561จากเพลง ซ่อนกลิ่น
จัดโดย Kom Chad Luek Awards 15th
12 มีนาคม 2562 รางวัล เพลงยอดเยี่ยมประจำปี 2561จากเพลง แม่เกี่ยว
จัดโดย Kom Chad Luek Awards 15th
19 มีนาคม 2562 รางวัล เพลงแห่งปี (Song of the year )

จัดโดย Joox Thailand music awards 2019

20 มีนาคม 2562 รางวัล " Top Talk-About Song จากเพลง"ซ่อนกลิ่น" จัดโดย Mthai Top Talk-About 2019
18 ธันวาคม 2562 รางวัล "PEOPLE OF THE YEAR 2019 บุคคลแห่งปี สาขาศิลปินสุดติสต์"

จัดโดย ขายหัวเราะ [20]

1 กรกฎาคม 2563 รางวัล JOOX Thailand Music Awards 2020 หมวด คาราโอเกะแห่งปี เพลง ซ่อนกลิ่น

จัดโดย JOOX Thailand [21]

13 มีนาคม 2566 โทตี้มิวสิกอวอร์ดส์ 2022 เพลง "ริบบิ้นเลิฟคัลเลอร์แบล็ค" ร่วมกับ สิงโต นำโชค[22]
  • เสนอชื่อเข้าชิง สาขาเพลงแห่งปี
  • เสนอชื่อเข้าชิง สาขาบันทึกเสียงแห่งปี
  • เสนอชื่อเข้าชิง สาขามิวสิกวิดีโอแห่งปี

ถ่ายแบบนิตยสาร

[แก้]
นิตยสาร ฉบับ รายละเอียด
สุดสัปดาห์ [23] 1 มกราคม 2562 ถ่ายคู่กับ Bodyslam
ELLE Thailand [24] กันยายน 2563

ผลงานอื่น

[แก้]
  • แต่งเนื้อเพลง "ใจหายไปเลย" ของ Mr.Team เวอร์ชันภาษาอังกฤษ เป็นเพลง "One Look One Touch"[25]
  • ร้องคอรัสเพลง "รู้ตัวว่าดีว่ามีไม่พอ" ของธีรภัทร์ สัจจกุล[25]
  • พรีเซนเตอร์โฆษณา One-2-Call (Brand concept "Freedom") ปี 2545-2546
  • นักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง สายลับจับบ้านเล็ก
  • พรีเซ็นเตอร์รถจักรยานยนต์ Honda Scoopy i S12 (2555)
  • พรีเซ็นเตอร์เครื่องดื่ม Pepsi ร่วมกับ Paradox และ โจ๊ก โซคูล (2555)
  • พรีเซ็นเตอร์รถจักรยานยนต์ Honda Scoopy i CLUB12 (2557)
  • สารคดีโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติ ชุด "คีตราชา" (2557) [26]
  • ร่วมขับร้องเพลง พอ "เพลงของพ่อ" เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ (23 พฤศจิกายน 2559)[27]
  • ขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ "อาทิตย์อับแสง" (2560)[28]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "'พื้นที่ส่วนตัว' เขตหวงห้ามของ 'ปาล์มมี่'". MGR Online. 13 มิถุนายน 2552. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. เบญจภรณ์ อำไพรัตนพล (1 กรกฎาคม 2560). "ถอดรหัสชีวิต 'ปาล์มมี่' กับ 'จุดพีค' ที่ไม่เคยหลง 'วูบวาบ'". คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. "01: ก่อนจะเป็นปาล์มมี่ มียายและสบู่". Minimore. 19 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 "SCOOP : PALMY's 5 things do matter". MusiX Superstar (GMM MUSIC).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. Palmy Talks About Struggles in Reviving Her Music Career and What's Most Precious in Her Life, Asia-City, 26. Januar 2012.
  6. "Palmy Barefoot Acoustic Concert". Bangkok Post.
  7. "Palmy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-16. สืบค้นเมื่อ 2011-06-17.
  8. "แผ่นเสียง - Palmy". Facebook เพจ Fat Black Record. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "Stay". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-20. สืบค้นเมื่อ 2011-06-17.
  10. "Beautiful Ride". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-20. สืบค้นเมื่อ 2011-06-17.
  11. "แผ่นเสียง - Palmy / Beautiful ride". Facebook เพจ Fat Black Record. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "Beautiful". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-20. สืบค้นเมื่อ 2011-06-17.
  13. "แผ่นเสียง - Palmy / 5". Facebook เพจ Fat Black Record. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. 14.0 14.1 IW Music Chart Top 40 เพลงไทยสากล อันดับเพลงที่มีการเปิดมากที่สุดโดยการ monitor ของ IW จากสถานีวิทยุ 40 FM radio station ในกรุงเทพและปริมณฑล)
  15. Billboard Thailand Songs
  16. HAMBURGER AWARDS#1, นิตยสารHAMBURGER ปีที่1 ฉบับที่ 9, ปักษ์หลัง ธันวาคม 2545, หน้า 30-41
  17. Palmy - Best Female Artist of the year @Seed Awards 2011
  18. 24-7-55 ปาล์มมี่-รับรางวัล@Fat Awards#12
  19. ประกาศรับรางวัล Opposite Female Artist
  20. ปาล์มมี่ คว้ารางวัล บุคคลแห่งปีศิลปินสุดติสท์ จากขายหัวเราะ!
  21. ประกาศรับรางวัล JOOX Thailand Music Awards 2020
  22. สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์ (2023-03-14). "สรุปผลรางวัล TOTY Music Awards 2022". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
  23. นิตยสาร แมกกาซีน แฟชั่น เทรนฮิต No.847 Palmy&Toon - DAY6
  24. "แจกเครื่องปรุงความสุขแบบไม่หวงเครื่องตำรับ ตามแบบฉบับของ 'ปาล์มมี่'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-03. สืบค้นเมื่อ 2020-10-29.
  25. 25.0 25.1 "Pop Goes Asia - Palmy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-10. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.
  26. คีตราชา (อีฟ ปาล์มมี่ ปานเจริญ)
  27. We : พอ "เพลงของพ่อ"
  28. อาทิตย์อับแสง - อีฟ ปานเจริญ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]