ข้ามไปเนื้อหา

สฟาลบาร์

พิกัด: 78°13′N 15°33′E / 78.217°N 15.550°E / 78.217; 15.550
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Svalbard)
สฟาลบาร์

ธงชาติสฟาลบาร์
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของสฟาลบาร์
ตราแผ่นดิน
ที่ตั้งของสฟาลบาร์
สถานะInternal territory
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ลองเยียร์เบียน
ภาษาราชการภาษานอร์เวย์
กลุ่มชาติพันธุ์
การปกครองพื้นที่ที่ยังไม่ได้ผนวกเข้ากับนอร์เวย์
Odd Olsen Ingerø (ค.ศ. 2009–)
พื้นที่
• รวม
61,022 ตารางกิโลเมตร (23,561 ตารางไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 2012 ประมาณ
2,642 คน
สกุลเงินโครนนอร์เวย์ (NOK)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (CEST)
รหัสโทรศัพท์+47
โดเมนบนสุด.no (.sj จดทะเบียนแล้วแต่ยังไม่ได้นำมาใช้)[1]
แผนที่สฟาลบาร์

สฟาลบาร์[2] หรือ สฟาลบาร์ด[3] (นอร์เวย์: Svalbard, ภาษานอร์เวย์ถิ่นเมืองภาคตะวันออก: [ˈsvɑ̂ːɫbɑr] ไม่พบไฟล์เสียง "Svalbard audio.ogg ") เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรอาร์กติก ตั้งอยู่ทางเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ระหว่างนอร์เวย์กับขั้วโลกเหนือ ตั้งแต่ละติจูด 74 ถึง 81 องศาเหนือ สฟาลบาร์เป็นส่วนหนึ่งของประเทศนอร์เวย์ โดยเป็นส่วนที่อยู่เหนือที่สุดของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่บนสามเกาะคือ สปิตส์บาร์เกิน บีเยอเนอยา และฮูเปิน

แรกเริ่ม สฟาลบาร์ได้ถูกใช้เป็นฐานล่าวาฬในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 หลังจากนั้นหมู่เกาะดังกล่าวได้ถูกปล่อยร้าง การทำเหมืองถ่านหินเริ่มต้นขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และชุมชนถาวรหลายแห่งได้รับการจัดตั้งขึ้น สนธิสัญญาสฟาลบาร์ ใน ค.ศ. 1920 เป็นการรับรองอธิปไตยของนอร์เวย์เหนือหมู่เกาะดังกล่าว และพระราชบัญญัติสฟาลบาร์ ใน ค.ศ. 1925 กำหนดให้สฟาลบาร์เป็นส่วนหนึ่งของนอร์เวย์ นอกจากนี้ สฟาลบาร์ยังได้รับจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจเสรีและเขตปลอดทหาร การวิจัยและการท่องเที่ยวได้กลายมาเป็นอุตสาหกรรมรองที่สำคัญ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The .bv and .sj top level domains". Norid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-23. สืบค้นเมื่อ 24 March 2010.
  2. ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง. ลงวันที่ 14 มีนาคม 2561.
  3. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

78°13′N 15°33′E / 78.217°N 15.550°E / 78.217; 15.550