ข้ามไปเนื้อหา

สนธิสัญญาสฟาลบาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญาสฟาลบาร์
สนธิสัญญาว่าด้วยการยอมรับอธิปไตยของนอร์เวย์เหนือหมู่เกาะสปิตส์เบอร์เกน ซึ่งรวมเกาะหมี
Treaty recognising the sovereignty of Norway over the Archipelago of Spitsbergen, including Bear Island
Traité reconnaissant la souveraineté de la Norvège sur l’archipel du Spitsberg, y compris l’île aux Ours
ประเทศที่ให้สัตยาบัน
วันลงนาม9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920
ที่ลงนามปารีส ประเทศฝรั่งเศส
วันมีผล14 สิงหคม ค.ศ. 1925
เงื่อนไขการให้สัตยาบันโดยผู้ลงนามทั้งหมด
ภาคี46[1] - ดูรายการ
ผู้เก็บรักษารัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ
ข้อความทั้งหมด
Spitsbergen Treaty ที่ วิกิซอร์ซ

สนธิสัญญาสฟาลบาร์ (เดิมมีชื่อว่า สนธิสัญญาสปิตส์เบอร์เกน) เป็นสนธิสัญญาที่รับรองอธิปไตยของนอร์เวย์เหนือหมู่เกาะสปิตส์เบอร์เกน (ปัจจุบัน คือสฟาลบาร์) โดยสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ อธิปไตยนี้ยังมีเงื่อนไขบางประการและไม่ใช่กฎหมายนอร์เวย์ทั้งหมดที่มีผลบังคับใช้เหนือสฟาลบาร์ สนธิสัญญาดังกล่าวเพียงกำหนดให้สฟาลบาร์เป็นเขตปลอดทหารบางส่วน ประเทศผู้ลงนามทั้งหมดได้รับสิทธิเท่าเทียมกันในการดำเนินกิจกรรมเชิงพาณิชย์ (ส่วนใหญ่เป็นการทำเหมืองถ่านหิน) ในหมู่เกาะดังกล่าว ข้อมูลเมื่อ 2012 มีเพียงนอร์เวย์และรัสเซียที่ใช้สิทธินี้

เฉพาะหมู่เกาะนี้เป็นเขตปลอดวีซ่าตามเงื่อนไขในสนธิสัญญาสฟาลบาร์[2]

มีการลงนามเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 และได้รับการเสนอให้ได้รับการลงทะเบียนใน ประมวลสนธิสัญญาสันนิบาตชาติ ในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1920[3] เดิมมีเพียง 14 ประเทศ: เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เนเธอร์แลนด์,[4] นอร์เวย์, สวีเดน, สหราชอาณาจักร (รวมประเทศในเครือจักรภพอย่างออสเตรเลีย, แคนาดา, นิวซีแลนด์, แอฟริกาใต้, อินเดีย) และสหรัฐ[5] ในกลุ่มประเทศผู้ลงนามเดิม ญี่ปุ่นเป็นประเทศสุดท้ายที่ให้สัตยาบันสนธิสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1925 ต่อมา วันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1925 สนธิสัญญาดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้[6]

หลังบังคับใช้แล้ว มีหลายชาติที่เข้าร่วมสนธิสัญญาเพิ่มเติม ข้อมูลเมื่อ 2018 มีประเทศที่เข้าร่วมสัญญา 46 ประเทศ[1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Treaties and agreements of France" (ภาษาฝรั่งเศส). Ministry of Foreign Affairs of France (depositary country). สืบค้นเมื่อ 19 February 2019.
  2. Immigrants warmly welcomed, Al Jazeera, 4 July 2006.
  3. League of Nations Treaty Series, vol. 2, pp. 8–19
  4. On Dutch interest and historical claims see Muller, Hendrik, ‘Nederland's historische rechten op Spitsbergen’, Tijdschrift van het Koninklijk Nederlandsch Aardrijkskundig Genootschap 2e serie, deel 34 (1919) no. 1, 94–104.
  5. "Original Spitsbergen Treaty". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2017. สืบค้นเมื่อ 8 August 2021.
  6. Spitsbergen Treaty and Ratification (in Norwegian)

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Moe, Arild; Schei, Peter Johan (2005-11-18). "The High North – Challenges and Potentials" (PDF). Prepared for French-Norwegian Seminar at IFRI, Paris, 24 November 2005. Fridtjof Nansen Institute (www.fni.no). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 December 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]