ข้ามไปเนื้อหา

รีเฟล็กซ์ดั้งเดิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Parachute reflex)

รีเฟล็กซ์ดั้งเดิม (อังกฤษ: primitive reflex) เป็นกลุ่มรีเฟล็กซ์ที่เกิดในระบบประสาทกลาง พบในทารกแรกเกิดปกติ แต่ไม่พบในผู้ใหญ่ปกติ เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ ๆ รีเฟล็กซ์กลุ่มนี้จะหายไปเมื่อสมองกลีบหน้าพัฒนาขึ้นตามปกติของเด็ก[1] รีเฟล็กซ์ยังมีชื่ออื่น ๆ ว่า infantile reflex, infant reflex และ newborn reflex

เด็กโตกว่าและผู้ใหญ่ที่มีสภาพประสาทไม่ปกติ (เช่นคนไข้อัมพาตสมองใหญ่) อาจคงมีรีเฟล็กซ์เหล่านี้ และรีเฟล็กซ์เหล่านี้ก็อาจปรากฏในผู้ใหญ่อีก โดยอาจเกิดจากสภาพทางประสาทบางอย่างรวมทั้งภาวะสมองเสื่อม (โดยเฉพาะกลุ่มโรคมีน้อยที่เรียกว่า frontotemporal degeneration), รอยโรคเหตุบาดเจ็บ (traumatic lesion) และโรคหลอดเลือดสมอง[2][3] คนไข้อัมพาตสมองใหญ่ที่ฉลาดปกติสามารถฝึกยับยั้งรีเฟล็กซ์เช่นนี้ แต่ก็ยังอาจปรากฏในสถานการณ์บางอย่าง (เช่นเมื่อสะดุ้ง) รีเฟล็กซ์อาจจำกัดอยู่กับส่วนที่มีสภาพประสาทไม่ปกติ (เช่น อัมพาตสมองใหญ่ที่มีผลต่อแค่ขาคือยังคงมี Babinski reflex แต่ก็พูดได้ปกติ) หรือสำหรับคนไข้อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia) รีเฟล็กซ์จะเกิดที่เท้าข้างที่มีปัญหาเท่านั้น

แพทย์โดยหลักจะตรวจว่ามีรีเฟล็กซ์เหล่านี้หรือไม่ถ้าสงสัยว่าสมองเสียหายหรือมีภาวะสมองเสื่อม เช่น โรคพาร์คินสัน เพื่อตรวจการทำงานของสมองกลีบหน้า ถ้าสมองไม่ยับยั้งรีเฟล็กซ์เหล่านี้ รีเฟล็กซ์จะเรียกว่า frontal release signs[A] รีเฟล็กซ์ดั้งเดิมนอกแบบ (atypical) ก็กำลังศึกษาว่าอาจเป็นอาการล่วงหน้าที่บ่งออทิซึมสเปกตรัม[5]

ระบบประสาทสั่งการนอกพีระมิด (extrapyramidal system) เป็นตัวอำนวยรีเฟล็กซ์ดั้งเดิม โดยหลายชนิดมีตั้งแต่คลอด และจะหายไปเมื่อลำเส้นใยประสาทพีระมิด (pyramidal tracts)[B] ทำงานได้มากขึ้นเพราะการเกิดปลอกไมอีลิน จึงอาจปรากฏอีกในผู้ใหญ่หรือในเด็กที่ระบบประสาทพีระมิดไม่ทำงานเพราะเหตุต่าง ๆ แต่เพราะวิธีการตรวจใหม่คือ Amiel Tison method of neurological assessment ความสำคัญในการประเมินรีเฟล็กซ์เช่นนี้ในเด็กอาจลดลง[6][7][8]

ประโยชน์ในการปรับตัว

[แก้]

รีเฟล็กซ์มีประโยชน์ต่าง ๆ กัน บางอย่างช่วยให้รอดชีวิต เช่น rooting reflex ซึ่งช่วยทารกให้หาหัวนมของแม่ได้ ทารกจะแสดง rooting reflex ก็ต่อเมื่อหิวแล้วคนอื่นถูกตัว แต่ไม่ใช่ถูกตัวเอง มีรีเฟล็กซ์จำนวนหนึ่งที่น่าจะช่วยทารกให้รอดชีวิตในประวัติวิวัฒนาการของมนุษย์ (เช่น รีเฟล็กซ์โมโร) รีเฟล็กซ์อื่น ๆ เช่น ที่ทำให้ดูดและจับอาจช่วยให้ทารกมีปฏิสัมพันธ์ที่น่าพึงใจกับพ่อแม่ บำรุงใจพ่อแม่ให้ตอบสนองด้วยความรักความพอใจ ช่วยให้เลี้ยงทารกได้ดีกว่า และยังช่วยให้พ่อแม่ปลอบทารก ทำให้เด็กสามารถบรรเทาความทุกข์และควบคุมสิ่งเร้าที่ตนได้รับ[9]

รีเฟล็กซ์ดูดนม (sucking reflex)

[แก้]

รีเฟล็กซ์ดูดนม (sucking reflex) สามัญในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดและมีตั้งแต่คลอด โดยเชื่อมกับ rooting reflex และการให้นมของแม่ คือทำให้เด็กดูดทุกอย่างที่มาถูกเพดานปากซึ่งกระตุ้นการดูดนมตามธรรมชาติของเด็ก รีเฟล็กซ์มีสองระยะคือ

  1. Expression (การปรากฏ) เกิดเมื่อใส่หัวนมไว้ในปากเด็กแล้วแตะเพดานปาก เด็กจะอมหัวนมที่ระหว่างลิ้นกับเพดานแล้วดูดนม
  2. Milking (การรีดนม) เด็กจะลากลิ้นจากฐานหัวนมไปที่หัวนม ซึ่งกระตุ้นให้นมออกจากหัวนมจะได้กลืน

rooting reflex

[แก้]
rooting reflex

rooting reflex มีตั้งแต่คลอด (เกิดตั้งแต่เมื่อถึง 28 สัปดาห์ในครรภ์) และจะหายไปราว ๆ อายุ 4 เดือนเมื่อกลายไปอยู่ใต้อำนาจจิตใจ รีเฟล็กซ์ช่วยให้ดูดนมแม่ คือทารกเกิดใหม่จะหันศีรษะไปทางอะไรก็ตามที่ลูบแก้มหรือปากเพื่อหาวัตถุนั้น โดยหันแบบค่อย ๆ ลดมุมที่หันจนกว่าจะเจอ หลังจากคุ้นเคยกับการตอบสนองเช่นนี้ (ถ้าเลี้ยงด้วยนมแม่ จะเกิดประมาณ 3 อาทิตย์หลังคลอด) ทารกจะเคลื่อนเข้าไปหาวัตถุได้โดยตรงและไม่ต้องหา[10]

รีเฟล็กซ์โมโร

[แก้]
รีเฟล็กซ์โมโร
รีเฟล็กซ์โมโร (Moro reflex) ในทารกอายุ 4 วัน (1) รีเฟล็กซ์เริ่มทำงานเมื่อดึงทารกขึ้นจากพื้นแล้วปล่อย (2) เด็กจะกางแขน (3) แล้วหุบแขนอย่างรวดเร็ว (4) เด็กร้องไห้ (10 วินาที)

รีเฟล็กซ์โมโร (Moro reflex) เป็นตัวบ่งชี้สำคัญเพื่อประเมินพัฒนาการของระบบประสาทกลาง เป็นรีเฟล็กซ์มีชื่อตามแพทย์ชาวออสเตรียผู้ค้นพบคือ Ernst Moro แม้บางทีจะเรียกว่าเป็นปฏิกิริยาตกใจ (startle reaction, startle response, startle reflex) หรือ embrace reflex แต่นักวิชาการโดยมากถือว่าต่างกับปฏิกิริยาตกใจ[11] และเชื่อว่า เป็นความกลัวที่ไม่ได้เรียนรู้อย่างเดียวของทารกเกิดใหม่[ต้องการอ้างอิง] รีเฟล็กซ์มีตั้งแต่คลอด มีกำลังสุดในเดือนแรกของชีวิต แล้วเริ่มหายไปตั้งแต่ราว ๆ 2 เดือน มีโอกาสเกิดขึ้นเมื่อศีรษะเปลี่ยนตำแหน่งอย่างฉับพลัน อุณหภูมิเปลี่ยนอย่างทันที หรือตกใจเพราะเสียง คือขาและศีรษะจะยืดออก แขนจะยกขึ้นและยืดออก มือจะแบขึ้นและนิ้วหัวแม่มือยืดออก แล้วก็จะหุบแขนอย่างรวดเร็ว มือกำเป็นกำปั้น และเด็กจะร้องไห้เสียงดัง[12]

รีเฟล็กซ์ปกติจะหายไปเมื่อถึงอายุ 3-4 เดือน[13] แต่ก็อาจคงอยู่จนถึง 6 เดือนเหมือนกัน[14] การไร้รีเฟล็กซ์ทั้งสองซีกข้างของร่างกายอาจสัมพันธ์กับความเสียหายในระบบประสาทกลาง การไร้รีเฟล็กซ์แค่ซีกเดียวอาจแสดงความเสียหายเพราะบาดเจ็บเมื่อคลอด (เช่น กระดูกไหปลาร้าแตกหัก หรือการบาดเจ็บที่ข่ายประสาทแขน) โดยอัมพาตเอิร์บ (Erb's palsy) หรืออัมพาตรูปแบบอื่น ๆ ก็จะมีด้วยในกรณีเช่นนี้[13] ในประวัติวิวัฒนาการมนุษย์ รีเฟล็กซ์นี้อาจช่วยทารกให้เกาะติดกับแม่เมื่อต้องอุ้มไปด้วย คือถ้าทารกถลำตัว รีเฟล็กซ์ก็จะทำให้กอดแม่แล้วเกาะตัวแม่ได้ใหม่[9]

รีเฟล็กซ์เดิน/ก้าวเท้า

[แก้]
รีเฟล็กซ์เดิน

รีเฟล็กซ์เดิน (walking reflex) หรือรีเฟล็กซ์ก้าวเท้า (walking reflex) มีตั้งแต่คลอดแม้ทารกเล็กขนาดนี้จะยังไม่สามารถรับน้ำหนักตนเองได้ เมื่อฝ่าเท้าแตะกับผิวเรียบ ๆ เด็กจะพยายามเดินโดยวางเท้าข้างหนึ่งไว้ข้างหน้าของอีกข้างหนึ่ง รีเฟล็กซ์จะหายไปราว ๆ อายุ 5-6 เดือนและทารกก็จะเริ่มพยายามเดินหลังจากรีเฟล็กซ์นี้หายไป[15]

Asymmetrical tonic neck reflex (ATNR)

[แก้]
รีเฟล็กซ์ฟันดาบ

asymmetrical tonic neck reflex หรือ "รีเฟล็กซ์ฟันดาบ" จะเกิดเมื่ออายุ 1 เดือนแล้วหายไปราว ๆ 4 เดือน คือเมื่อหันศีรษะของเด็กไปทางข้าง ๆ แขนด้านนั้นก็จะยึดออกและแขนข้างตรงข้ามจะงอ (แต่บางครั้งแสดงท่าเพียงแค่เล็กน้อย) ถ้าเด็กไม่สามารถออกจากท่านี้ได้ หรือว่ารีเฟล็กซ์ยังเกิดหลังจากถึงอายุ 6 เดือน เด็กอาจมีโรคที่เซลล์ประสาทสั่งการบน (UMN) นักวิชาการบางพวกเสนอว่า รีเฟล็กซ์นี้เป็นบุพพภาคของการประสานการทำงานของมือร่วมกับตาในเด็ก ซึ่งเตรียมตัวเด็กให้ยื่นมือกับแขนโดยอยู่ใต้อำนาจจิตใจ[9]

Symmetrical tonic neck reflex (STNR)

[แก้]

symmetric tonic neck reflex (STNR) ปกติจะปรากฏราว ๆ อายุ 6-9 เดือนและหายไปราว ๆ 12 เดือน คือเมื่อศีรษะเด็กก้มลงข้างหน้า ซึ่งยืดส่วนหลังของคอ แขนก็จะงอขึ้นและขายืดออก ในนัยตรงข้าม ถ้าศีรษะน้อมไปทางข้างหลัง ซึ่งหดส่วนหลังของคอ แขนก็จะยืดออกและขาก็จะงอเข้า รีเฟล็กซ์นี้สำคัญเพราะช่วยให้เด็กดันตัวขึ้นให้น้ำหนักลงที่มือและเข่า (เพื่อจะคลาน) แต่อาจเป็นอุปสรรคในการคลานไปข้างหน้าถ้ายับยั้งรีเฟล็กซ์นี้ไม่ได้ ถ้ายังเกิดรีเฟล็กซ์นี้อยู่หลังอายุเกิน 2-3 ขวบ ร่างกายหรือประสาทอาจล่าช้าทางพัฒนาการ[16][17]

Tonic labyrinthine reflex (TLR)

[แก้]

tonic labyrinthine reflex (TLR) ก็เป็นรีเฟล็กซ์ดั้งเดิมที่พบในทารกมนุษย์เกิดใหม่เหมือนกัน คือเมื่อเอนศีรษะไปทางด้านหลังเมื่อนอนหงายหลังจะทำให้หลังแข็งตัวหรือแม้แต่แอ่นไปทางด้านหลัง ขาจะยืดออก เกร็งแข็ง แล้วดันออกด้วยกัน นิ้วเท้าจะชี้ แขนจะงอที่ข้อศอกและข้อมือ มือจะกำเป็นกำปั้นหรืองอนิ้วมือเข้า การมีรีเฟล็กซ์นี้เกินระยะเกิดใหม่ยังเรียกด้วยว่า abnormal extension pattern หรือ abnormal extensor tone

การมี TLR และรีเฟล็กซ์ดั้งเดิมอื่น ๆ เช่น ATNR เกิน 6 เดือนแรกของชีวิตอาจระบุว่า เด็กมีความล่าช้าทางพัฒนาการหรือความผิดปกติทางประสาท[18] เช่น ในเด็กที่มีอัมพาตสมองใหญ่ รีเฟล็กซ์อาจคงยืนและอาจยิ่งมากขึ้น ทั้ง TLR และ ATNR ที่เป็นรีเฟล็กซ์ผิดปกติอาจสร้างปัญหาสำหรับเด็กที่กำลังโต เพราะทั้งสองเป็นอุปสรรคของกิจกรรมที่มีประโยชน์ เช่น กลิ้งตัว เอามือเข้าหากัน หรือแม้แต่เอามือมาที่ปาก ในระยะยาว ทั้งสองอาจสร้างความเสียหายอย่างหนักแก่ข้อต่อและกระดูกของเด็กที่กำลังโต ทำให้หัวกระดูกต้นขาหลุดเป็นบางส่วนออกจากเบ้า (subluxation) หรือเคลื่อนออกทั้งหมดออกจากเบ้า (dislocation)

รีเฟล็กซ์จับ (palmar grasp reflex)

[แก้]
รีเฟล็กซ์จับ

รีเฟล็กซ์จับ (palmar grasp reflex) มีตั้งแต่คลอดและคงยืนจนกระทั่งถึงอายุ 5-6 เดือน คือเมื่อเอาวัตถุไปไว้ที่มือแล้วลูบที่ฝ่ามือ นิ้วก็จะงอเข้าจับวัตถุไว้ในมือ เพื่อให้เห็นรีเฟล็กซ์นี้ได้ดีสุด ให้วางเด็กไว้บนหมอนที่สามารถตกลงได้อย่างปลอดภัยลง ยกนิ้วก้อยของทั้งสองมือให้เด็กจับ (เพราะนิ้วชี้ปกติใหญ่เกินที่เด็กจะจับ) แล้วค่อย ๆ ยกขึ้น มือที่จับอยู่อาจรองรับน้ำหนักของเด็กได้ แต่เด็กอยู่ ๆ ก็อาจปล่อยมือได้ สามารถให้เด็กคลายมือโดยนัยตรงข้ามคือให้ลูบหลังมือ

รีเฟล็กซ์ฝ่าเท้า (plantar reflex)

[แก้]

รีเฟล็กซ์ฝ่าเท้า (plantar reflex) เกิดเมื่อฝ่าเท้าถูกกับวัตถุทื่อ ๆ โดยมีสองรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง ในผู้ใหญ่ปกติ รีเฟล็กซ์ทำให้นิ้วหัวแม้เท้างอลง (flexion) ถ้านิ้วหัวแม่เท้ากลับงอขึ้น (extension) นี้เรียกว่า Babinski response หรือ Babinski sign หรือ Babinski reflex ซึ่งระบุความผิดปกติของไขสันหลังและสมองในผู้ใหญ่ เช่น รอยโรคในเซลล์ประสาทสั่งการบน (upper motor neuron lesion)[19]

แต่การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติในผู้ใหญ่คือนิ้วหัวแม่เท้างอขึ้นเมื่อฝ่าเท้าถูกวัตถุทื่อ ๆ ก็เกิดเป็นปกติสำหรับทารกอายุน้อยกว่า 1 ขวบเช่นกันเพราะลำเส้นใยประสาท corticospinal tract ยังมีปลอกไมอีลินน้อย เมื่อลำเส้นใยประสาทพัฒนาขึ้น รีเฟล็กซ์ที่ทำให้นิ้วหัวแม้เท้างอลงก็จะเกิดขึ้นกลายเป็นปกติแทน[20]

Galant reflex

[แก้]

Galant reflex หรือ Galant's infantile reflex มีตั้งแต่คลอดและหายไปเมื่อถึงอายุระหว่าง 4-6 เดือน คือเมื่อลูบผิวตามหลังของเด็ก เด็กจะหมุนไปทางข้างที่ลูบ ถ้ารีเฟล็กซ์คงยืนเกิน 6 เดือน นี่เป็นความผิดปกติ ชื่อมาจากประสาทแพทย์ชาวรัสเซีย Johann Susman Galant[21]

รีเฟล็กซ์ว่ายน้ำ (swimming reflex)

[แก้]

รีเฟล็กซ์ว่ายน้ำ (swimming reflex) เริ่มเมื่อวางทารกเอาหน้าคว่ำลงในน้ำ เด็กจะใช้แขนและขาพยายามว่ายน้ำ รีเฟล็กซ์นี้หายไปในระหว่างอายุ 4-6 เดือน แม้การตอบสนองโดยกวาดแขนและเตะขาเช่นนี้เกิดเป็นปกติ แต่การวางเด็กไว้ในน้ำก็อาจเสี่ยงมาก เพราะเด็กอาจกลืนน้ำในปริมาณมาก ดังนั้น คนดูแลต้องคอยระมัดระวังอย่างมาก แนะนำว่าอย่าสอนเด็กว่ายน้ำจนกระทั่งอย่างน้อยถึงอายุ 3 เดือน เพราะเด็กที่จมอยู่ในน้ำยังอาจเสียชีวิตเพราะภาวะน้ำเป็นพิษ (water intoxication) อีกด้วย[9]

รีเฟล็กซ์แบ็บกิน (Babkin reflex)

[แก้]
ทารกแสดงรีเฟล็กซ์แบ็บกิน คือจะเปิดปากเมื่อกดที่ฝ่ามือของทั้งสองมือ (8 วินาที)

รีเฟล็กซ์แบ็บกิน (Babkin reflex) ก็เกิดในทารกเกิดใหม่ด้วย เป็นการตอบสนองแบบต่าง ๆ เมื่อกดที่ฝ่ามือทั้งสองมือ เด็กอาจก้มคอ หันศีรษะ อ้าปาก หรือตอบสนองแบบรวม ๆ กัน[22] ทารกที่เล็กกว่าหรือคลอดก่อนกำหนดมีโอกาสเกิดรีเฟล็กซ์มากกว่า โดยเห็นในเด็กที่คลอดหลังอยู่ในครรภ์แม่ 26 สัปดาห์[23] รีเฟล็กซ์นี้ตั้งชื่อตามนักสรีรวิทยาชาวรัสเซียคือ บอริส แบ็บกิน (Boris Babkin)

รีเฟล็กซ์ร่มชูชีพ (parachute reflex)

[แก้]

รีเฟล็กซ์ร่มชูชีพ (parachute reflex) เกิดในทารกที่แก่กว่า เริ่มราว ๆ 6-7 เดือน)[24] แล้วหายไปหลังถึงอายุ 1 ปี เกิดเมื่ออุ้มเด็กให้ตัวตรงแล้วหมุนตัวอย่างรวดเร็วให้หน้าคว่ำลงขนานกับพื้น (เหมือนกับจะล้ม) เด็กจะยืดแขนทั้งสองออกเหมือนกับจะชะงักตัวไม่ให้ล้มถึงพื้น แต่รีเฟล็กซ์จะเกิดก่อนนานกว่าจะเดิน

Unintegrated reflexes

[แก้]

รีเฟล็กซ์ที่ไม่ระงับไปในช่วงวัยทารกเรียกว่า unintegrated reflex หรือ persistent reflex (รีเฟล็กซ์คงยืน)[C] ซึ่งสัมพันธ์กับปัญหาทางการเรียน เช่น เด็กที่มีปัญหาการเรียนพบว่า ยังมีรีเฟล็กซ์ดั้งเดิมที่คงยืน[25] อนึ่ง ATNR ที่คงยืนยังพบว่า สัมพันธ์กับคะแนนการอ่านและการสะกดที่ลดลง[26] และเด็กที่ปัญหาการอ่านมักจะมี TLR มากกว่าเด็กที่ไม่มี[27] โรคสมาธิสั้นยังพบว่าสัมพันธ์กับ ATNR[28] กับรีเฟล็กซ์โมโรและกับ Galant reflex ที่คงยืนอีกด้วย[29]

รีเฟล็กซ์ดั้งเดิมอื่น ๆ ที่ตรวจในผู้ใหญ่

[แก้]

ดังที่กล่าวไว้ตั้งแต่ต้น รีเฟล็กซ์ดั้งเดิมที่ระบบประสาทไม่สามารถยับยั้งอย่างสมควรเรียกว่า frontal release signs[A] แม้นี้อาจเป็นชื่อที่ไม่สมควร นอกจากที่กล่าวไปแล้ว รีเฟล็กซ์ดั้งเดิมอื่น ๆ ที่ตรวจในผู้ใหญ่รวมทั้ง

  • palmomental reflex คือกล้ามเนื้อคางจะกระตุกถ้าลูบบางส่วนของฝ่ามือ
  • snout reflex คือปากจะยื่นถ้าเคาะปากที่ปิดใกล้ ๆ ตรงกลางอย่างเบา ๆ
  • glabellar reflex เป็นการกะพริบตาที่เกิดโดยเคาะหน้าผากซ้ำ ๆ ไม่กี่ครั้งแรก ถ้ายังกะพริบต่อจากนั้น จัดว่าผิดปกติ

ในทารกมีความเสี่ยงสูง

[แก้]

ทารกมีความเสี่ยงสูง หมายถึงเด็กเกิดใหม่ที่มีโอกาสตายหรือเจ็บป่วยอย่างสำคัญโดยเฉพาะในเดือนแรกหลังคลอด เด็กมีความเสี่ยงสูงบ่อยครั้งมีรีเฟล็กซ์ดั้งเดิมที่ผิดปกติ หรือไม่มีโดยสิ้นเชิง ซึ่งจะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับรีเฟล็กซ์ (เช่น รีเฟล็กซ์โมโรอาจปกติ แต่รีเฟล็กซ์เดินไม่มีหรือผิดปกติ) การมีรีเฟล็กซ์ตามปกติของทารกเกิดใหม่สัมพันธ์กับการมีคะแนน Apgar score[D] ที่สูงกว่า กับการหนักมากกว่า กับการอยู่ใน รพ. น้อยกว่าหลังเกิด และกับสภาพจิตที่ดีกว่า

งานศึกษาตามขวางปี 2011 ที่ประเมินรีเฟล็กซ์ดั้งเดิมของทารกเกิดใหม่ที่เสี่ยงสูง 67 คน โดยตรวจการตอบสนองของรีเฟล็กซ์ดูดนม รีเฟล็กซ์ฝ่าเท้า และรีเฟล็กซ์โมโร พบว่า มีรีเฟล็กซ์ดูดนมปกติมากที่สุด (63.5%) ตามด้วยรีเฟล็กซ์ฝ่าเท้า (58.7%) และรีเฟล็กซ์โมโร (42.9%) แล้วสรุปว่า ทารกความเสี่ยงสูงจำนวนมากกว่าตอบสนองทางรีเฟล็กซ์อย่างผิดปกติหรือไม่ตอบสนอง และรีเฟล็กซ์แต่ละอย่างจะตอบสนองต่าง ๆ กัน[30]

อย่างไรก็ดี เพราะการออกแบบวิธีตรวจประสาทที่มีประสิทธิภาพเช่น Amiel Tison method of neurological assessment ซึ่งสามารถพยากรณ์ผลทางประสาทของทารกความเสี่ยงสูงและอื่น ๆ ได้ดี ความสำคัญในการประเมินรีเฟล็กซ์ดั้งเดิมก็ได้ลดลงในเด็ก[6][7][8]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 frontal release signs เป็นรีเฟล็กซ์ดั้งเดิมที่จัดว่าเป็นอาการของโรคที่มีผลต่อสมองกลีบหน้า การปรากฏของอาการเช่นนี้สะท้อนถึงบริเวณสมองที่ทำงานผิดปกติ ไม่ได้ระบุโรคอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งอาจกระจายไปทั่วเช่นภาวะสมองเสื่อม หรืออยู่ที่บริเวณโดยเฉพาะ ๆ เช่นเนื้องอก[4]
  2. pyramidal tract (ลำเส้นใยประสาทพีระมิด) รวมทั้ง corticospinal tract และ corticobulbar tract เป็นการรวมใยประสาทนำออก (efferent nerve fiber) จากเซลล์ประสาทสั่งการบน (UMN) ที่ส่งไปจากเปลือกสมองไปยุติไม่ที่ก้านสมอง (คือ corticobulbar tract) ก็ที่ไขสันหลัง (คือ corticospinal tract) ซึ่งมีบทบาทในกิจสั่งการ (motor functions) ของร่างกาย
  3. รีเฟล็กซ์ที่ระงับไปในช่วงวัยทารกเรียกว่า integrated reflex
  4. Apgar score เป็นวิธีการตรวจสุขภาพเด็กเกิดใหม่ทั่วไป

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Primitive & Postural Reflexes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (php)เมื่อ 2011-04-27. สืบค้นเมื่อ 2008-10-23.
  2. Rauch, Daniel (2006-10-05). "Infantile reflexes". MedlinePlus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-04. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  3. Schott, JM; Rossor, MN (2003). "The grasp and other primitive reflexes". J. Neurol. Neurosurg. Psychiatry. 74 (5): 558–60. doi:10.1136/jnnp.74.5.558. PMC 1738455. PMID 12700289.
  4. "Clinical Methods: The History, Physical, and Laboratory Examinations". 1990. PMID 21250236. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. Teitelbaum, O.; Benton, T.; Shah, P. K.; Prince, A.; Kelly, J. L.; Teitelbaum, P. (2004). "Eshkol-Wachman movement notation in diagnosis: the early detection of Asperger's syndrome". Proc. Natl. Acad. Sci. U.S.A. 101 (32): 11909–14. Bibcode:2004PNAS..10111909T. doi:10.1073/pnas.0403919101. PMC 511073. PMID 15282371.
  6. 6.0 6.1 Amiel-Tison, C; Grenier, A (1986). Neurological Assessment during first year of life. New York: Oxford University Press. pp. 46–94.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 Paro-Panjan, D; Neubauer, D; Kodric, J; Bratanic, B (Jan 2005). "Amiel-Tison Neurological Assessment at term age: clinical application, correlation with other methods, and outcome at 12 to 15 months". Developmental Medicine and Child Neurology. 47 (1): 19–26. doi:10.1111/j.1469-8749.2005.tb01035.x. PMID 15686285.
  8. 8.0 8.1 Leroux, BG; N'guyen The Tich, S; Branger, B; Gascoin, G; Rouger, V; Berlie, I; Montcho, Y; Ancel, PY; Rozé, JC; Flamant, C (2013-02-22). "Neurological assessment of preterm infants for predicting neuromotor status at 2 years: results from the LIFT cohort". BMJ Open. 3 (2): e002431. doi:10.1136/bmjopen-2012-002431. PMC 3586154. PMID 23435797. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Berk, Laura E (2009). Child Development (8th ed.). USA: Pearson.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. Odent, M (1977). "The early expression of the rooting reflex". Proceedings of the 5th International Congress of Psychosomatic Obstetrics and Gynaecology, Rome. London: Academic Press: 1117–1119.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. Fletcher, Mary Ann (1998). Physical Diagnosis in Neonatology. Philadelphia: Lippincott-Raven. p. 472. ISBN 978-0397513864. สืบค้นเมื่อ 2013-02-07.
  12. The American Academy of Pediatrics (1998). Shelov, Stephen P.; Hannemann, Robert E. (บ.ก.). Caring for Your Baby and Young Child: Birth to Age 5. Illustrations by Wendy Wray and Alex Gray (Revised ed.). New York, NY: Bantam. ISBN 978-0-553-37962-4. LCCN 90-47015.
  13. 13.0 13.1 Rauch, Daniel (2006-10-05). "MedlinePlus Medical Encyclopedia: Moro Reflex". สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  14. "Keeping Kids Healthy: Newborn Reflexes". 2001-10-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-11-22. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  15. Siegler, R.; Deloache, J.; Eisenberg, N. (2006). How Children Develop. New York: Worth Publishers. p. 188. ISBN 978-0-7167-9527-8.
  16. O'Dell, Nancy. "The Symmetric Tonic Neck Reflex (STNR)" (PDF). NDC Brain.com. Pediatric Neuropsychology Diagnostic and Treatment Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2017-03-09.
  17. "Symmetrical Tonic Neck Reflex". Vision Therapy at Home. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 2017-03-09.
  18. Shelov, Steven (2009). Caring for your baby and young child. American Academy Of Pediatrics.
  19. "Babinski's reflex". MedlinePlus. สืบค้นเมื่อ 2010-01-11.
  20. Khwaja (2005). "Plantar Reflex". JIACM. 6 (3): 193–197.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  21. "The Galant Reflex". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-23.
  22. Pedroso, Fleming S.; Rotta, Newra T. (2004). "Babkin Reflex and Other Motor Responses to Appendicular Compression Stimulus of the Newborn". Journal of Child Neurology. 19 (8): 592–596. doi:10.1177/088307380401900805. PMID 15605468.
  23. Parmelee, Arthur H., Jr. (1963-05-05). "The Hand-Mouth Reflex of Babkin in Premature Infants". Pediatrics. 31 (5): 734–740. PMID 13941546.
  24. "THE NEUROLOGICAL EXAMINATION OF INFANT AND CHILD". Case Western Reserve University School of Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-11. สืบค้นเมื่อ 2019-09-16.
  25. Grzywniak, C. (2016). "Role of early-childhood reflexes in the psychomotor development of a child, and in learning". Acta Neuropsychologica. 14 (2): 113-129. doi:10.5604/17307503.1213000 (inactive 2019-08-20).{{cite journal}}: CS1 maint: DOI inactive as of สิงหาคม 2019 (ลิงก์)
  26. McPhillips, M. (2007). "Primary reflex persistence in children with reading difficulties (dyslexia) : A cross-sectional study". Neuropsychologia. 45 (4): 748–54. doi:10.1016/j.neuropsychologia.2006.08.005. PMID 17030045.
  27. Ramirez Gonzalez, S.; Ciuffreda, K.J.; Castillo Hernandez, L.; Bernal Escalante, J. (2008). "The correlation between primitive reflexes and saccadic eye movements in 5th grade children with teacher-reported reading problems". Optometry & Vision Development. 39 (3): 140-145.
  28. Konicarova, J.; Bob, P. (2013). "Asymmetric tonic neck reflex and symptoms of attention deficit and hyperactivity disorder in children". International Journal of Neuroscience. 123 (11): 766–9. doi:10.3109/00207454.2013.801471. PMID 23659315.
  29. Konicarova, J.; Bob, P. (2012). "Retained primitive reflexes and ADHD in children". Activitas Nervosa Superior. 54 (3–4): 135-138. doi:10.1007/BF03379591.
  30. Sohn, M.; Ahn, L.; Lee, S. (2011). "Assessment of Primitive Reflexes in Newborns". Journal of Clinical Medicine Research. 3 (6): 285–290. doi:10.4021/jocmr706w. PMC 3279472. PMID 22393339.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]