ข้ามไปเนื้อหา

การทดสอบด้วยความเย็นร้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Caloric reflex test)
การทดสอบด้วยความเย็นร้อน
การวินิจฉัยทางการแพทย์
การทดสอบด้วยความเย็นร้อน - น้ำเย็นที่ใส่เข้ารูหูทำให้เกิดผลตรงข้ามกับที่เกิดเมื่อใส่ด้วยน้ำร้อน (Lawrence et. al 1960)
ICD-9-CM95.44
เม็ดไลน์พลัส003429

ในการแพทย์ การทดสอบด้วยความเย็นร้อน (อังกฤษ: caloric test[1][2][3], caloric testing[4], caloric stimulation[5], Caloric reflex test) เป็นการทดสอบระบบการทรงตัว/หลอดกึ่งวงกลม/ก้านสมอง/สมองใหญ่[4]/vestibulo-ocular reflex[5] และสามารถใช้ช่วยวินิจฉัยเนื้องอกเส้นประสาทแบบ vestibular schwannoma (acoustic neuroma)[5] โดยใส่น้ำเย็นหรืออุ่น หรือเป่าลมเย็นหรืออุ่น เข้าที่ช่องหูภายนอกทีละข้าง เป็นการทดสอบที่พัฒนาขึ้นโดยแพทย์โสตวิทยาชาวออสโตร-ฮังการี Robert Bárány ผู้ต่อมาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ปี ค.ศ. 1914 เพราะการค้นพบนี้

การใช้

[แก้]

แพทย์ นักโสตสัมผัสวิทยา และผู้ประกอบการมืออาชีพอื่น ๆ มักใช้การทดสอบนี้เพื่อยืนยันการทำงานไม่เท่ากันทั้งสองข้างของระบบการทรงตัวนอกประสาทส่วนกลาง โดยบางครั้งใช้เป็นส่วนย่อยของการทดสอบการเคลื่อนไหวของตาที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ คือ electronystagmography (ENG) เพื่อวินิจฉัยเหตุของอาการรู้สึกหมุน อาการเวียนศีรษะ หรือปัญหาการทรงตัว เป็นการทดสอบอย่างหนึ่งเพื่อตรวจสอบความเสียหายต่อก้านสมองในคนไข้โคม่า[4] และสามารถแสดงการมีเนื้องอกที่เส้นประสาทสมองที่ 8 (vestibulocochlear nerve) แบบ vestibular schwannoma (acoustic neuroma) อย่างเชื่อถือได้[5]

การทดสอบนี้ไม่ควรใช้ในคนไข้ที่อาจบาดเจ็บที่คอ ผู้มีเลือดอยู่ในช่องหู หรือผู้มีแก้วหูทะลุ[2]

การใช้ใหม่ ๆ อย่างหนึ่งก็คือเพื่อบรรเทาความปวดจากความเจ็บปวดซึ่งเกิดจากแขนขาที่ไม่มีในผู้ได้ตัดแขนขาออก[6] และในผู้อัมพาตครึ่งล่าง[7] มันอาจใช้ทุเลาอย่างชั่วคราวซึ่งภาวะเสียสำนึกความพิการ ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิในด้านการเห็นและส่วนร่างกาย อาการไม่รู้สึกร่างกายข้างหนึ่ง (hemianesthesia) และอาการอื่น ๆ เนื่องจากความเสียหายที่สมองข้างขวา[8]

เทคนิคและผลที่ได้

[แก้]

น้ำเย็นหรืออุ่น (ประมาณ 10-20 มิลลิลิตร[2][5]) หรือลม จะฉีดเข้าในช่องหูชั้นนอก ปกติด้วยกระบอกฉีดยา โดยให้คนไข้นอนหงายและยกศีรษะขึ้น 30 องศาจากแนวราบ ซึ่งทำให้หลอดกึ่งวงกลมด้านข้าง (lateral semicircular canal) โค้งขึ้นเกือบเป็นแนวตั้ง[4] ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของร่างกายและน้ำที่ฉีด จะสร้างกระแสน้ำพาความร้อนใน endolymph ของหลอดกึ่งวงกลมด้านข้างที่อยู่ใกล้ ๆ โดยน้ำเย็นน้ำอุ่นจะสร้างกระแสในทิศทางตรงกันข้ามกัน และดังนั้น จึงเป็นเหตุให้ตากระตุกในแนวนอน (horizontal nystagmus) ในทิศทางตรงกันข้ามกัน[4] ซึ่งจะเกิดเป็นเวลา 2-3 นาที[5]

ในคนไข้ที่ก้านสมองไม่เสียหาย[9][10]

  • ถ้าใช้น้ำอุ่น (อุณหภูมิเท่ากับหรือมากกว่า 44 องศาเซลเซียส) น้ำในหลอดกึ่งวงกลมด้านข้างในซีกร่างกายเดียวกันจะไหลย้อนขึ้น ทำให้เส้นประสาท vestibular ส่งสัญญาณในอัตราสูงขึ้น สถานการณ์นี้เหมือนกับหมุนศีรษะไปทางหูข้างเดียวกัน มีผลทำให้ตาทั้งสองหมุนไปทางตรงข้าม คือไปจากหูที่ทำการ โดยมีการกระตุกตาเร็ว (nystagmus) ในแนวนอนไปทางหูที่ทำการ
  • ถ้าน้ำเย็นเมื่อเทียบกับอุณหภูมิร่างกาย (เช่น 30 องศาหรือต่ำกว่า) น้ำ endolymph ในหลอดก็จะไหลลง ซึ่งลดการส่งสัญญาณในเส้นประสาท vestibular มีผลทำให้ตาทั้งสองหมุนไปทาหูที่ทำการ โดยมีการกระตุกตาเร็วในแนวนอนไปยังหูตรงกันข้าม

การขาดการตอบสนองของตาแสดงนัยว่า มีปัญหาในหลอดกึ่งวงกลมด้านข้างของระบบการทรงตัวข้างที่ทำการ[3] หรือมีรอยโรคที่ก้านสมอง[2][4]/รอยโรคในระบบการทรงตัวนอกประสาทกลาง[1] สำหรับคนไข้ vestibular schwannoma ในหูที่ทำการ มีการพบว่า การตอบสนองของตาลดลงอย่างสำคัญในคนไข้ถึง 94% ซึ่งแสดงว่าการทดสอบนี้อาจช่วยวินิจฉัยอาการนี้อย่างเชื่อถือได้[5]

ในคนไข้โคม่าที่บาดเจ็บในสมองใหญ่ การกระตุกตาในระยะเร็วจะไม่มีเพราะเป็นการเคลื่อนไหวที่ควบคุมโดยสมองใหญ่ ดังนั้น การทดสอบด้วยน้ำเย็นจะมีผลเป็นการเคลื่อนตาไปทางหูที่ทำการโดยไม่มีการกระตุกตาแบบเร็วในทิศตรงกันข้าม แต่ถ้าไม่มีการเคลื่อนตาแบบทั้งสอง นี่แสดงนัยว่า ก้านสมองของคนไข้เสียหาย และจึงมีพยากรณ์โรคที่ไม่ดี[11]

สำหรับคนไข้ที่ตอบสนองด้วยการเคลื่อนตาข้างเดียวโดยไม่มีการกระตุกตาในระยะเร็ว นี่แสดงรอยโรคใน medial longitudinal fasciculus (MLF) ทั้งสองข้างของก้านสมอง[4]

การตรวจก้านสมองด้วยการทดสอบด้วยความเย็นร้อน[4]
รีเฟล็กซ์ในคนไข้ที่รู้สึกตัว รีเฟล็กซ์ในคนไข้ที่ไม่รู้สึกตัว
น้ำที่หูขวา ปกติ ก้านสมองปกติ รอยโรคที่ MLF ทั้งสองข้าง รอยโรคที่ก้านสมองด้านล่าง
เย็น ตาทั้งสองเคลื่อนไปทางขวา
กระตุกไปทางซ้าย
ตาทั้งสองเคลื่อนไปทางขวา
ไม่มีการกระตุก
ตาขวาเคลื่อนไปทางขวา
ตาซ้ายไม่ขยับ
ไม่มีการกระตุก
ตาทั้งสองไม่ขยับ
อุ่น ตาทั้งสองเคลื่อนไปทางซ้าย
กระตุกไปทางขวา
ตาทั้งสองเคลื่อนไปทางซ้าย
ไม่มีการกระตุก
ตาขวาไม่ขยับ
ตาซ้ายเคลื่อนไปทางซ้าย
ไม่มีการกระตุก
ตาทั้งสองไม่ขยับ

วลีช่วยจำ

[แก้]

วลีช่วยจำทิศทางของการกระตุกตาเร็ว (nystagmus) ภาษาอังกฤษก็คือ COWS[12] โดยย่อมาจาก Cold (เย็น) Opposite (ข้างตรงข้าม), Warm (อุ่น) Same (ข้างเดียวกัน) และหมายความว่า น้ำเย็นทำให้ตากระตุกเร็วไปทางข้างตรงข้ามของหูที่ใส่น้ำ น้ำอุ่นทำให้ตากระตุกเร็วไปทางข้างเดียวกันที่ใส่น้ำ

อีกอย่างก็คือ Contralateral (ข้างตรงข้าม) เมื่อใช้ cold (น้ำเย็น) และ ipsilateral (ข้างเดียวกัน) เมื่อใช้น้ำอุ่น

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Kriegstein, Arnold R; Brust, John CM (2013). "Appendix B - The Neurological Examination of the Patient". ใน Kandel, Eric R; Schwartz, James H; Jessell, Thomas M; Siegelbaum, Steven A; Hudspeth, AJ (บ.ก.). Principles of Neural Science (5th ed.). United State of America: McGraw-Hill. Caloric test, p. 1541. ISBN 978-0-07-139011-8.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Meadows, Mary-Ellen (2011). Kreutzer, Jeffrey S; DeLuca, John; Caplan, Bruce (บ.ก.). Conjugate Gaze. Encyclopedia of Clinical Neuropsychology. Springer. Calroic test, p. 675. doi:10.1007/978-0-387-79948-3. ISBN 978-0-387-79947-6. ...This test should not be used in a patient who has possible cervical injuries, or who has blood in the ear canal or a perforated eardrum...
  3. 3.0 3.1 Caloric test. The British Medical Association Illustrated Medical Dictionary. Dorling Kindersley. 2002. pp. 105. ISBN 0-7513-3383-2.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Purves, Dale; Augustine, George J; Fitzpatrick, David; Hall, William C; Lamantia, Anthony Samuel; McNamara, James O; White, Leonard E, บ.ก. (2008a). "14 - The Vestibular System". Neuroscience (4th ed.). Sinauer Associates. BOX 14C - Throwing Cold Water on the Vestibular System, pp. 354-355. ISBN 978-0-87893-697-7.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Augustine, James R. (2008). 13.13. EXAMINATION OF THE VESTIBULAR SYSTEM. Human Neuroanatomy. San Diego, CA: Academic Press. pp. 233-234. ISBN 978-0-12-068251-5.
  6. André JM, Martinet N, Paysant J, Beis JM, Le Chapelain L (2001). "Temporary phantom limbs evoked by vestibular caloric stimulation in amputees". Neuropsychiatry Neuropsychol Behav Neurol. 14 (3): 190–96. PMID 11513103.
  7. Le Chapelain L, Beis JM, Paysant J, André JM (February 2001). "Vestibular caloric stimulation evokes phantom limb illusions in patients with paraplegia". Spinal Cord. 39 (2): 85–87. doi:10.1038/sj.sc.3101093. PMID 11402363.
  8. Robertson, Ian H.; Marshall, John C. (1993). Unilateral neglect: clinical and experimental studies. pp. 111–113. ISBN 978-0-86377-208-5. สืบค้นเมื่อ 2010-06-04.
  9. Nystagmus, Acquired จาก eMedicine
  10. Narenthiran, G. "Neurosurgery Quiz". Annals of Neurosurgery. สืบค้นเมื่อ 2006-08-17.
  11. Mueller-Jensen A, Neunzig HP, Emskötter T (April 1987). "Outcome prediction in comatose patients: significance of reflex eye movement analysis". J. Neurol. Neurosurg. Psychiatry. 50 (4): 389–92. doi:10.1136/jnnp.50.4.389. PMC 1031870. PMID 3585347.
  12. Webb, C (1985). "COWS caloric test". Ann Emerg Med. 14 (9): 938. doi:10.1016/S0196-0644(85)80671-5. PMID 4026002.