ข้ามไปเนื้อหา

มหาสมุทรแปซิฟิก

พิกัด: 0°N 160°W / 0°N 160°W / 0; -160
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Pacific Ocean)
มหาสมุทรแปซิฟิก
ภาพถ่ายมหาสมุทรแปซิฟิก
แผนที่ของมหาสมุทรแปซิฟิก
ภูมิศาสตร์ของมหาสมุทรแปซิฟิก
พิกัด0°N 160°W / 0°N 160°W / 0; -160
พื้นที่พื้นน้ำ165,000,000 ตารางกิโลเมตร (64,000,000 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย4,280 เมตร (14,040 ฟุต)
ความลึกสูงสุด10,911 เมตร (35,797 ฟุต)
ปริมาณน้ำ710,000,000 km³ (170,000,000 cu mi)

มหาสมุทรแปซิฟิก (อังกฤษ: Pacific Ocean) เป็นมหาสมุทรที่ใหญ่และลึกที่สุดในโลก มีอาณาเขตติดกับมหาสมุทรอาร์กติกทางตอนเหนือและจรดทวีปแอนตาร์กติกาทางตอนใต้ ติดกับทวีปเอเชียและทวีปออสเตรเลียทางทิศตะวันตก ติดทวีปอเมริกาทางทิศตะวันออก

มหาสมุทรนี้มีพื้นที่กว่า 165,250,000 ตารางกิโลเมตรจึงกลายเป็นมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกครบคลุมพื้นที่ผิวโลกทั้งหมด 32% และคิดเป็น 46% ของพื้นผิวน้ำบนโลก นอกจากนี้มหาสมุทรแปซิฟิกยังมีขนาดมากกว่าพื้นดินทั้งหมดบนโลก (148,000,000 ตารางกิโลเมตร) รวมกันอีกด้วย[1] จุดศูนย์กลางของซีกโลกแห่งน้ำและซีกโลกตะวันตกล้วนอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก กระแสน้ำในมหาสมุทร (ที่เป็นผลจากแรงคอริออลิส) ถูกแบ่งออกเป็นส่วนส่วนซึ่งจะมาพบกันใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตร ทั้งนี้หมู่เกาะกาลาปาโกส หมู่เกาะกิลเบิร์ต และหมู่เกาะอื่น ๆ ที่คร่อมเส้นศูนย์สูตรทั้งหมดถือว่าอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้[2]

มหาสมุทรแปซิฟิกมีความลึกเฉลี่ยที่ 4,000 เมตร[3] มีจุดที่ลึกที่สุดคือแชลเลนเจอร์ดีปในร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนาโดยมีสถิติอยู่ที่ 10,928 เมตร[4] นอกจากนี้ยังมีจุดที่ลึกที่สุดในแปซิฟิกใต้อย่างฮอไรซันดีปในร่องลึกตองงาที่มีสถิติความลึกอยู่ที่ 10,882 เมตร[5] ส่วนจุดที่ลึกที่สุดในโลกเป็นอันดับสามก็ยังคงอยู่ในร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา

เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน เป็นแรกที่ตั้งชื่อให้ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" มหาสมุทรแปซิฟิกมีความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคูโรชิโอะ (กุโรชิโว)

มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร (แปซิฟิกใต้)

ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก

นิรุกติศาสตร์

[แก้]

ถึงแม้ว่าชาวเอเชียและชาวโอเชียเนียจะมีการเดินทางโยกย้ายผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่ว่าครั้งแรกที่ชาวยุโรปค้นพบคือช่วงต้นศตวรรษที่ 16 เมื่อนักสำรวจชาวสเปนบัสโก นูเญซ เด บัลโบอาข้ามคอคอดปานามาในปี 1513 และค้นพบ "ทะเลใต้" ที่กว้างใหญ่ซึ่งเขาตั้งชื่อว่า Mar del Sur (ในภาษาสเปน) แต่ว่าชื่อแปซิฟิกนั้นมาจากเฟอร์ดินานด์ มาเจลลันที่ตั้งชื่อให้ว่า Mare Pacificum เมื่อเดินทางมาเจอกับทะเลที่สงบระหว่างเดินทางรอบโลกในปี ค.ศ. 1521[6]

ทะเลที่ใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิก

[แก้]

ทะเลที่ใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิก:[7][8]

  1. Australasian Mediterranean Sea – 9.080 ล้าน กม.2
  2. ทะเลฟิลิปปิน - 5.695 ล้าน กม.2
  3. ทะเลคอรัล – 4.791 ล้าน กม.2
  4. ทะเลจีนใต้ – 3.5 ล้าน กม.2
  5. ทะเลแทสมัน – 2.3 ล้าน กม.2
  6. ทะเลเบริง – 2 ล้าน กม.2
  7. ทะเลโอค็อตสค์ – 1.583 ล้าน กม.2
  8. อ่าวอะแลสกา – 1.533 ล้าน กม.2
  9. ทะเลจีนตะวันออก – 1.249 ล้าน กม.2
  10. ทะเลมาเดกราว – 1.14 ล้าน กม.2
  11. ทะเลญี่ปุ่น – 978,000 กม.2
  12. ทะเลโซโลมอน – 720,000 กม.2
  13. ทะเลบันดา – 695,000 กม.2
  14. ทะเลอาราฟูรา – 650,000 กม.2
  15. ทะเลติมอร์ – 610,000 กม.2
  16. ทะเลเหลือง – 380,000 กม.2
  17. ทะเลชวา – 320,000 กม.2
  18. อ่าวไทย – 320,000 กม.2
  19. อ่าวคาร์เพนแทเรีย – 300,000 กม.2
  20. ทะเลเซเลบีส – 280,000 กม.2
  21. ทะเลซูลู – 260,000 กม.2
  22. อ่าวอะนาดีร์ – 200,000 กม.2
  23. ทะเลโมลุกกะ – 200,000 กม.2
  24. อ่าวแคลิฟอร์เนีย – 160,000 กม.2
  25. อ่าวตังเกี๋ย – 126,250 กม.2
  26. ทะเลฮัลมาเฮรา – 95,000 กม.2
  27. ทะเลปั๋วไห่ – 78,000 กม.2
  28. ทะเลบาหลี – 45,000 กม.2
  29. ทะเลบิสมาร์ก – 40,000 กม.2
  30. ทะเลซาวู - 35,000 กม.2
  31. ทะเลในเซโตะ – 23,203 กม.2
  32. ทะเลเซรัม – 12,000 กม.2

ประวัติศาสตร์

[แก้]

การอพยพยุคก่อนประวัติศาสตร์

[แก้]
แผนที่ของดิโอโก้ ริเบย์โรที่สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1529 เป้นแผนที่แรกที่มีมหาสมุทรแปซิฟิกมีขนาดเหมาะสม

การอพยพที่สำคัญในมหาสมุทรแปซิฟิกยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวออสโตรนีเซียนบนเกาะไตหวันที่เชี่ยวชาญการเดินทางไกลด้วยเรือแคนูได้เดินทางพร้อมเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมไปยังฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและเกาะแก่งต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการแยกกันไปทางตะวันตกสู่มาดากัสการ์ ไปทางตะวันออกเฉียงใต้สู่เกาะนิวกินีและเมลานีเซีย (ผสมกับชาวปาปัวพื้นเมือง) และทางตะวันออกไปยังหมู่เกาะไมโครนีเซีย โอเชียเนียและโพลินีเซีย[9]

การค้าขายทางไกลได้พัฒนาตลอดแนวชายฝั่งตั้งแต่โมซัมบิกไปจนถึงญี่ปุ่น การค้าและความรู้จึงขยายไปยังหมู่เกาะอินโดนีเซีย แต่ดูเหมือนไม่ใช่ในออสเตรเลีย ในปี 219 ก่อนคริสตกาล ชู ฟูล่องเรือไปในมหาสมุทรแปซิฟิกเพื่อค้นหายาอายุวัฒนะแห่งความเป็นอมตะ อย่างน้อยที่สุดใน ค.ศ. 878 เมื่อชาวมุสลิมตั้งถิ่นฐานในแคนตันการค้าส่วนใหญ่จึงถูกควบคุมโดยชาวอาหรับและชาวมุสลิม ตั้งแต่ ค.ศ. 1404 ถึง ค.ศ. 1433 เจิ้งเหอได้นำการเดินทางสู่มหาสมุทรอินเดีย

การสำรวจโดยชาวยุโรป

[แก้]

ลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่

[แก้]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

มหาสมุทรแปซิฟิกแยกทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและทวีปอเมริกาออกจากกัน เส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นที่แบ่งมหาสมุทรแปซิฟิกออกเป็นแปซิฟิกเหนือและแปซิฟิกใต้ ทางเหนือติดภูมิภาคอาร์กติกส่วนทางใต้ติดแอนตาร์กติกา[1] มหาสมุทรแปซิฟิกครอบคลุมพื้นที่ถึง 1 ใน 3 ของพื้นผิวโลกและมีพื้นที่ 165,200,000 ตารางกิโลเมตรซึ่งใหญ่กว่าแผ่นดินทั้งหมดของโลก[10]

มหาสมุทรแปซิฟิกทอดตัวยาวลงมาตั้งแต่ทะเลแบริ่งในแถบอาร์กติกไปจนถึงเส้นขนานที่ 60 องศาใต้ซึ่งเป็นตอนเหนือของมหาสมุทรใต้ (ในอดีตมีพื้นที่ถึงทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกา) จุดที่มหาสมุทรแปซิฟิกมีขนาดแผ่นดินใหญ่ห่างกันที่สุดอยู่ที่เส้นขนานที่ 5 องศาเหนือโดยทอดยาวเป็นระยะทางครึ่งโลกหรือประมาณ 19,800 กิโลเมตรจากอินโดนีเซียไปยังชายฝั่งของโคลอมเบีย ซึ่งความยาวนี้ยาวกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ถึง 5 เท่า[11] จุดที่ลึกที่สุดคือร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนาวัดได้ 10,911 เมตรใต้ระดับน้ำ ความลึกเฉลี่ยของแปซิฟิกคือ 4,280 เมตร มีปริมาณน้ำทั้งหมด 710,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร[1]

จากผลกระทบของการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคทำให้แปซิฟิกหดตัวลงประมาณ 2.5 เซนติเมตรต่อปี วัดจากทั้งสามด้านโดยเฉลี่ยประมาณ 0.52 กิโลเมตรต่อปีซึ่งตรงกันข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกที่ขยายใหญ่ขึ้น[12][13]

ทางตะวันตกติดกับทะเลใหญ่ ๆ มากมายเช่นทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลฟิลิปปิน ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมันและทะเลเหลือง แปซิฟิกติดกับมหาสมุทรอินเดียบริเวณช่องแคบมะละกาและแหลมทอเรส ติดแอตแลนติกบริเวณช่องแคบมาเจลลันและติดกับทะเลอาร์กติกบริเวณช่องแคบแบริ่ง[14]

เส้นเมริเดียนที่ 180 องศาแบ่งแปซิฟิกเป็นสองฝั่งแปซิฟิกตะวันตก (หรือแปซิฟิกใกล้เอเชีย) อยู่ในซีกโลกตะวันออกในขณะที่แปซิฟิกตะวันออก (หรือแปซิฟิกใกล้อเมริกา) อยู่ในซีกโลกตะวันตก[15]

ระหว่างการเดินทางของเฟอร์ดินานด์ มาเจลลันจากช่องแคบมาเจลลันมาฟิลิปปินส์เขาพบว่ามหาสมุทรนี้ค่อนข้างสงบ แต่ก็ไม่ได้สงบทุกที่เพราะมีพายุโซนร้อนจำนวนมากพัดปะทะหมู่เกาะและชายฝั่งของแปซิฟิก[16] บริเวณรอบชายฝั่งแปซิฟิกเต็มไปด้วยภูเขาไฟและมักได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว[17] สึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเลได้พัดทำลายหมู่เกาะและเมืองเป็นจำนวนมาก[18]

พ.ศ. 2050 แผนที่ของมาติน วอดซีมึลเลอร์เป็นแผนที่แรกที่มีทวีปอเมริกาคั่นกลางระหว่างแปซิฟิกและแอตแลนติก[19] ต่อมาแผนที่ของดิโก ริเบย์โร พ.ศ. 2072 เป็นแผนที่แรกที่แสดงขนาดมหาสมุทรที่สมจริงขึ้น[20]

ประเทศและดินแดนที่ติด

[แก้]
ภูมิศาสตร์ของเกาะในแอ่งสมุทรแปซิฟิก
ภูมิภาค ประเทศที่เป็นเกาะและดินแดนของโอเชียเนีย

ประเทศอธิปไตย

[แก้]

1 สถานะของไต้หวันและจีนยังมีความขัดแย้งกันอยู่

ดินแดน

[แก้]

แผ่นดินและเกาะ

[แก้]

แปซิฟิกเป็นมหาสมุทรที่มีเกาะมากที่สุดในโลก มีการประมาณว่ามีเกาะทั้งหมด 25,000 เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก[21][22][23] เกาะในแปซิฟิกจะแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ คือไมโครนีเซีย เมลานีเซียและโปลินีเซีย

ไมโครนีเซียเป็นกลุ่มเกาะที่อยู่ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตรและทางตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล กลุ่มเกาะประกอบด้วยเกาะมาเรียนาทางตะวันตกเฉียงเหนือ เกาะคาโรไลน์ตรงกลาง หมู่เกาะมาร์แชลล์ทางทิศตะวันตกและหมู่เกาะของคิริบาสในตะวันออกเฉียงใต้[24][25]

เมลานีเซียอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประกอบด้วยเกาะนิวกินีซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากกรีนแลนด์และเป็นเกาะใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะแปซิฟิก และยังมีกลุ่มเกาะบิสมาร์ก หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะซานตาครูซ วานูอาตู ฟีจีและนิวแคลิโดเนีย[26]

โปลินีเซียเป็นพื้นที่ ๆ ใหญ่ที่สุดซึ่งนับตั้งแต่หมู่เกาะฮาวายทางเหนือไปจนถึงนิวซีแลนด์ทางใต้และยังรวมตูวาลู โตเกเลา ซามัว ตองงาและหมู่เกาะเคอร์ดเด็คทางตะวันตก ตรงกลางมีหมู่เกาะคุก หมู่เกาะโซไซเอตีและหมู่เกาะออสแตส ทางตะวันออกมีหมู่เกาะมาร์เคซัส ตูอาโมตัส หมู่เกาะแกมบีเออรืและเกาะอีสเตอร์[27]

หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกมีสี่ประเภทคือเกาะริมทวีป เกาะสูง พืดหินปะการังและเกาะต่ำ เกาะริมทวีปเช่นกาะนิวกินี เกาะของนิวซีแลนด์และฟิลิปปินส์เกาะเหล่านี้จะมีพื้นที่ใต้น้ำบางส่วนเชือมต่อกับทวีปใกล้เคียง เกาะสูงจะเป็นเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟเช่นหมู่เกาะฮาวายและหมู่เกาะโซโลมอน[28]

พืดหินปะการังของแปซิฟิกมีโครงสร้างที่ต่ำซึ่งสร้างบนบะซอลต์ไหลใต้ทะเล หนึ่งในพืดหินปะการังที่น่าสนใจคือเกรตแบร์ริเออร์รีฟทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย เกาะต่ำเกิดมาจากปะการัง โดยอาจจะเกิดขึ้นเกิดจากการตกตะกอนหรือการยกตัวและทับทมของพืดหินปะการังเช่น เกาะบานาบาและเกาะมากาเตในตูอาโมตัสของเฟรนช์พอลินีเชีย[29][30]

น้ำทะเล

[แก้]

แปซิฟิกมีน้ำทะเลประมาณ 714 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตรคิดเป็น 50.1% ของน้ำทะเลทั่วโลก[31] อุณหภูมิผิวน้ำมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันตามพื้นที่เช่นบริเวณขั้วโลกอาจเย็นถึง -1.4 องศาเซลเซียส ในขณะที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรอาจสูงถึง 30 องศา[32] ความเค็มของแปซิฟิกเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละเส้นขนานโดยความเค็มสูงคือ 37 ส่วนต่อพันในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณเส้นศูนย์สูตรซึ่งความเค็มต่ำกว่า 34 ส่วนต่อพัน ส่วนเค็มสุดจะอยู่ทางเหนือเพราะมีอากาศหนาวเย็นทำให้มีการระเหยของน้ำน้อย[33] น้ำในแปซิฟิกเหนือจะไหลตามเข็มนาฬิกา ส่วนแปซิฟิกใต้จะไหลทวนเข็มนาฬิกา กระแสน้ำศูนย์สูตรเหนือจะไหลไปทางตะวันตกตามเส้นขนานที่ 15 องศาเหนือด้วยลมค้า และไหลขึ้นทิศเหนือบริเวณฟิลิปปินส์และกลางเป็นกระแสน้ำญี่ปุ่น[34] จากนั้นกระแสน้ำญี่ปุ่นจะไหลไปทางตะวันออกตามเส้นขนานที่ 45 องศาเหนือและกลายเป็นกระแสน้ำอะลูเชียน จากนั้นก็ไหลลงทิศใต้กลับกลายเป็นกระแสน้ำศูนย์สูตรเหนือตามเดิม[35]

สาขาเหนือของกระแสน้ำอะลูเชียนเมือเข้าใกล้ทวีปอเมริกาเหนือจะไหลหมุนทวนเข็มนาฬิกาในทะเลแบริ่ง ส่วนสาขาใต้จะกลายเป็นกระแสน้ำแคลิฟอร์เนียที่ไหลช้าและค่อนข้างเย็น[36] กระแสน้ำศูนย์สูตรใต้ไหลไปทางตะวันตกตามแนวศูนย์สูตรและเริ่มหันไปทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณเกาะนิวกินี และหันไปทางตะวันออกตามเส้นขนานที่ 50 องศาใต้และไหลกลับเป็นกระแสน้ำศูนย์สูตรใต้ตามเดิม กระแสน้ำเย็นขั้วโลกแอนตาร์กติกาเมื่อถึงชายฝั่งชิลีมีสาขาหนึ่งไหลไปรอบแหลมฮอร์น ส่วนอีกสาขาไหลไปเป็นกระแสน้ำฮุมโบลดท์[37]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Pacific Ocean". Britannica Concise. 2008: Encyclopædia Britannica, Inc.
  2. International Hydrographic Organization (1953). "Limits of Oceans and Seas" (PDF). Nature (3rd ed.). 172 (4376): 484. Bibcode:1953Natur.172R.484.. doi:10.1038/172484b0. S2CID 36029611. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 October 2011. สืบค้นเมื่อ 28 December 2020.
  3. Administration, US Department of Commerce, National Oceanic and Atmospheric. "How big is the Pacific Ocean?". oceanexplorer.noaa.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 18 October 2018.
  4. "Deepest Submarine Dive in History, Five Deeps Expedition Conquers Challenger Deep" (PDF).
  5. "CONFIRMED: Horizon Deep Second Deepest Point on the Planet" (PDF).
  6. "Catholic Encyclopedia : Ferdinand Magellan". Newadvent.org. 2006 [1910]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มกราคม 2007. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2010.
  7. Remy Melina (5 มิถุนายน 2010). "The World's Biggest Oceans and Seas". Live Science.
  8. "List of all Seas". List of seas in the world. 2010.
  9. Stanley, David (2004). South Pacific. David Stanley. p. 19. ISBN 978-1-56691-411-6.
  10. "Area of Earth's Land Surface", The Physics Factbook. Retrieved 9 June 2013.
  11. Nuttall, Mark (2005). Encyclopedia of the Arctic: A-F. Routledge. p. 1461. ISBN 978-1-57958-436-8. สืบค้นเมื่อ 10 June 2013.
  12. "Plate Tectonics". Bucknell University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2013.
  13. Young, Greg (2009). Plate Tectonics. Capstone. pp. 9–. ISBN 978-0-7565-4232-0. สืบค้นเมื่อ 9 June 2013.
  14. International Hydrographic Organization (1953). Limits of Oceans and Seas. International Hydrographic Organization. สืบค้นเมื่อ 9 June 2013.
  15. Agno, Lydia (1998). Basic Geography. Goodwill Trading Co., Inc. pp. 25–. ISBN 978-971-11-0165-7. สืบค้นเมื่อ 9 June 2013.
  16. "Pacific Ocean: The trade winds", Encyclopædia Britannica. Retrieved 9 June 2013.
  17. Shirley Rousseau Murphy (1979). The Ring of Fire. Avon. ISBN 978-0-380-47191-1.
  18. Bryant, Edward (2008). Tsunami: The Underrated Hazard. Springer. pp. 26–. ISBN 978-3-540-74274-6. สืบค้นเมื่อ 9 June 2013.
  19. "The Map That Named America". www.loc.gov. สืบค้นเมื่อ 3 December 2014.
  20. Ribero, Diego (c. 1887). "Carta universal en que se contiene todo lo que del mundo se ha descubierto fasta agora / hizola Diego Ribero cosmographo de su magestad, ano de 1529, e[n] Sevilla". London: W. Griggs. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2017.
  21. K, Harsh (19 มีนาคม 2017). "This ocean has most of the islands in the world". Mysticalroads. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2017.
  22. Ishihara, Masahide; Hoshino, Eiichi; Fujita, Yoko (2016). Self-determinable Development of Small Islands (ภาษาอังกฤษ). Springer. p. 180. ISBN 9789811001321.
  23. United States. National Oceanic and Atmospheric Administration; Western Pacific Regional Fishery Management Council (2009). Toward an Ecosystem Approach for the Western Pacific Region: from Species-based Fishery Management Plans to Place-based Fishery Ecosystem Plans: Environmental Impact Statement (ภาษาอังกฤษ). Evanston, IL: Northwestern University. p. 60.
  24. Academic American encyclopedia. Grolier Incorporated. 1997. p. 8. ISBN 978-0-7172-2068-7. สืบค้นเมื่อ 12 June 2013.
  25. Lal, Brij Vilash; Fortune, Kate (2000). The Pacific Islands: An Encyclopedia. University of Hawaii Press. pp. 63–. ISBN 978-0-8248-2265-1. สืบค้นเมื่อ 14 June 2013.
  26. West, Barbara A. (2009). Encyclopedia of the Peoples of Asia and Oceania. Infobase Publishing. pp. 521–. ISBN 978-1-4381-1913-7. สืบค้นเมื่อ 14 June 2013.
  27. Dunford, Betty; Ridgell, Reilly (1996). Pacific Neighbors: The Islands of Micronesia, Melanesia, and Polynesia. Bess Press. pp. 125–. ISBN 978-1-57306-022-6. สืบค้นเมื่อ 14 June 2013.
  28. Gillespie, Rosemary G.; Clague, David A. (2009). Encyclopedia of Islands. University of California Press. p. 706. ISBN 978-0-520-25649-1. สืบค้นเมื่อ 12 June 2013.
  29. "Coral island", Encyclopædia Britannica. Retrieved 22 June 2013.
  30. "Nauru", Charting the Pacific. Retrieved 22 June 2013.
  31. "PWLF.org – The Pacific WildLife Foundation – The Pacific Ocean". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2013.
  32. Mongillo, John F. (2000). Encyclopedia of Environmental Science. University Rochester Press. pp. 255–. ISBN 978-1-57356-147-1. สืบค้นเมื่อ 9 June 2013.
  33. "Pacific Ocean: Salinity", Encyclopædia Britannica. Retrieved 9 June 2013.
  34. "Wind Driven Surface Currents: Equatorial Currents Background", Ocean Motion. Retrieved 9 June 2013.
  35. "Kuroshio", Encyclopædia Britannica. Retrieved 9 June 2013.
  36. "Aleutian Current", Encyclopædia Britannica. Retrieved 9 June 2013.
  37. "South Equatorial Current", Encyclopædia Britannica. Retrieved 9 June 2013.

ดูเพิ่ม

[แก้]

ประวัติศาสตร์นิพนธ์

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]