ข้ามไปเนื้อหา

ทะเลสาบวิกตอเรีย

พิกัด: 1°S 33°E / 1°S 33°E / -1; 33
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทะเลสาบวิกตอเรีย
ทะเลสาบวิกตอเรียที่มองเห็นเพียงบางส่วน ถ่ายบนสถานีอวกาศนานาชาติ
ที่ตั้งของทะเลสาบวิกตอเรียในทวีปแอฟริกา
ที่ตั้งของทะเลสาบวิกตอเรียในทวีปแอฟริกา
ทะเลสาบวิกตอเรีย
ที่ตั้งกลุ่มทะเลสาบใหญ่แอฟริกา
พิกัด1°S 33°E / 1°S 33°E / -1; 33
ชื่อในภาษาแม่
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักแม่น้ำคาเกรา
แหล่งน้ำไหลออกแม่น้ำไวต์ไนล์ (มีอีกชื่อว่า "แม่น้ำไนล์วิกตอเรีย" เนื่องจากเป็นแม่น้ำที่ไหลออกจากทะเลสาบนี้)
พื้นที่รับน้ำ169,858 ตารางกิโลเมตร (65,583 ตารางไมล์)
แอ่งลึก 229,815 ตารางกิโลเมตร (88,732 ตารางไมล์) [1]
ประเทศในลุ่มน้ำบุรุนดี, เคนยา, รวันดา, แทนซาเนีย และยูกันดา[1]
ช่วงยาวที่สุด359 กิโลเมตร (223 ไมล์)[2]
ช่วงกว้างที่สุด337 กิโลเมตร (209 ไมล์)[2]
พื้นที่พื้นน้ำ59,947 ตารางกิโลเมตร (23,146 ตารางไมล์)[3]
ความลึกโดยเฉลี่ย41 เมตร (135 ฟุต)[3]
ความลึกสูงสุด81 เมตร (266 ฟุต)[3]
ปริมาณน้ำ2,424 ลูกบาศก์กิโลเมตร (582 ลูกบาศก์ไมล์)[3]
ความยาวชายฝั่ง17,142 กิโลเมตร (4,438 ไมล์)[3]
ความสูงของพื้นที่1,135 เมตร (3,724 ฟุต)[4]
เกาะ985 เกาะ (เกาะอูเกเรเว ประเทศแทนซาเนีย; หมู่เกาะซเซเซ[3] ประเทศยูกันดา; เกาะมาโบโก ประเทศเคนยา)[5]
เมือง
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด

ทะเลสาบวิกตอเรีย (อังกฤษ: Lake Victoria) เป็นหนึ่งในกลุ่มทะเลสาบใหญ่แอฟริกา (African Great Lakes) ที่มีพื้นที่ผิวประมาณ 59,947 ตารางกิโลเมตร (23,146 ตารางไมล์)[6][7] ทะเลสาบนี้มีขนาดตามพื้นที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นทะเลสาบเขตร้อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก[8] และยังเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลกในแง่พื้นที่ เป็นรองเพียงทะเลสาบสุพีเรียในทวีปอเมริกาเหนือ[9] ส่วนในแง่ปริมาตร ทะเลสาบวิกตอเรียเป็นทะเลสาบภาคพื้นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก โดยบรรจุน้ำประมาณ 2,424 ลูกบาศก์กิโลเมตร (1.965 × 109 เอเคอร์·ฟุต)[7][10] มีความลึกเฉลี่ย 40 เมตร (130 ฟุต) และจุดลึกสุดอยู่ที่ 80–84 เมตร (262–276 ฟุต)[7][10].[11] บริเวณลุ่มน้ำของทะเลสาบกินพื้นที่ 169,858 ตารางกิโลเมตร (65,583 ตารางเมตร)[12] ทะเลสาบนี้มีชายฝั่งยาว 7,142 กิโลเมตร (4,438 ไมล์) เมื่อคำนวณด้วยมาตราส่วน 1:25,000[13] ซึ่งรวมชายฝั่งของหมู่เกาะที่ยาวร้อยละ 3.7 ของความยาวทั้งหมด[14]

น่านน้ำของทะเลสาบอยู่ในพื้นที่สามประเทศ ได้แก่ เคนยาซึ่งครอบครองน่านน้ำร้อยละ 6 (4,100 ตารางกิโลเมตร / 1,600 ตารางไมล์) ยูกานดาซึ่งครอบครองน่านน้ำร้อยละ 45 (31,000 ตารางกิโลเมตร / 12,000 ตารางไมล์) และแทนซาเนียซึ่งครอบครองน่านน้ำร้อยละ 49 (33,700 ตารางกิโลเมตร / 13,000 ตารางไมล์)[15]

ถึงแม้ว่าทะเลสาบนี้มีชื่อท้องถิ่นหลายชื่อ (โดลูโอ: Nam Lolwe; ลูแกนดา: 'Nnalubaale; คินยาเรอวานดา: Nyanza; และ Ukerewe)[16][17] แต่ก็ได้รับการตั้งชื่อใหม่ตามพระนามของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียโดยจอห์น แฮนนิง สปีก (John Hanning Speke) นักสำรวจชาวบริติชคนแรกที่จดบันทึกถึงทะเลสาบขณะเดินทางสำรวจร่วมกับริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตันใน ค.ศ. 1858[18][19] ทะเลสาบนี้เป็นที่อยู่ของปลาหลายชนิดที่ไม่พบในบริเวณอื่นโดยเฉพาะวงศ์ปลาหมอสี แต่ปลาสายพันธุ์รุกรานเช่นปลากะพงแม่น้ำไนล์ได้ทำให้สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นหลายชนิดสูญพันธุ์

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Hamilton, Stuart (Salisbury University) (2016). "Basin, Lake Victoria Watershed (inside), vector polygon, ~2015" (Data Set). Harvard Dataverse. doi:10.7910/DVN/Z5RMYD. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. 2.0 2.1 Hamilton, Stuart (Salisbury University) (2016). "Shoreline, Lake Victoria, vector polygon, ~2015" (Data Set). Harvard Dataverse. doi:10.7910/DVN/PWFW26. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Hamilton, Stuart (2018). "Lake Victoria Statistics from this Dataverse" (Data Set). Harvard Dataverse. doi:10.7910/DVN/FVJJ4A. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. Database for Hydrological Time Series of Inland Waters (DAHITI) – Victoria, Lake, retrieved 20 April 2017.
  5. For a comprehensiwe list of these islands, see: sw:Ziwa Viktoria
  6. Stuart, Hamilton (2016-10-05). "Shoreline, Lake Victoria, vector polygon, ~2015" (Data Set) (ภาษาอังกฤษ). Harvard Dataverse. doi:10.7910/dvn/pwfw26. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 Stuart, Hamilton (2018-11-13). "Lake Victoria Statistics from this Dataverse" (Data Set) (ภาษาอังกฤษ). Harvard Dataverse. doi:10.7910/dvn/fvjj4a. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  8. Saundry, Peter. "Lake Victoria".
  9. "Lake Victoria". Encyclopædia Britannica.
  10. 10.0 10.1 Stuart, Hamilton; Taabu, Anthony Munyaho; Noah, Krach; Sarah, Glaser (2018-05-17). "Bathymetry TIFF, Lake Victoria Bathymetry, raster, 2017, V7" (Data Set) (ภาษาอังกฤษ). Harvard Dataverse. doi:10.7910/dvn/soeknr. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  11. United Nations, Development and Harmonisation of Environmental Laws Volume 1: Report on the Legal and Institutional Issues in the Lake Victoria Basin, United Nations, 1999, page 17
  12. Stuart, Hamilton (2017-11-12). "Basin, Lake Victoria Watershed (inside), vector polygon, ~2015". Harvard Dataverse (Data Set) (ภาษาอังกฤษ). doi:10.7910/dvn/z5rmyd.
  13. Hamilton, Stuart (2016-10-11). "Shoreline, Lake Victoria, vector line – 2015 – LakeVicFish Dataverse" (Data Set). Harvard Dataverse. doi:10.7910/dvn/5y5ivf. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  14. C.F. Hickling (1961). Tropical Inland Fisheries. London: Longmans.
  15. J. Prado, R.J. Beare, J. Siwo Mbuga & L.E. Oluka, 1991. A catalogue of fishing methods and gear used in Lake Victoria. UNDP/FAO Regional Project for Inland Fisheries Development (IFIP), FAO RAF/87/099-TD/19/91 (En). Rome, Food and Agricultural Organization.
  16. "The Victoria Nyanza. The Land, the Races and their Customs, with Specimens of Some of the Dialects". World Digital Library. 1899. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2016. สืบค้นเมื่อ 18 February 2013.
  17. "Lake Ukerewe". nTZ: An Information Resource for Northern Tanzania. David Marsh. สืบค้นเมื่อ 17 October 2020.
  18. Alberge, Dalya (11 September 2011). "How feud wrecked the reputation of explorer who discovered Nile's source". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 29 December 2013.
  19. Moorehead, Alan (1960). "Part One: Chapters 1–7". The White Nile. Harper & Row. ISBN 978-0-06-095639-4.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]