ภูเขาใต้ทะเล
ที่อยู่อาศัยใต้ทะเล |
---|
ภูเขาใต้ทะเล คือภูเขาที่อยู่บนพื้นทะเลและมีความสูงต่ำกว่าระดับน้ำทะเลซึ่งไม่ใช้เกาะ, เกาะเล็กและหน้าผา ภูเขาใต้ทะเลมักเกิดจากภูเขาไฟที่ดับแล้วที่ปะทุขึ้นอย่างกระทันหันซึ่งปกติแล้วจะตั้งสูงขึ้นมาประมาณ 1,000-4,000 เมตรเหนือพื้นทะเล นักสมุทรศาสตร์กำหนดได้กำหนดลักษณะคร่าว ๆ คือสูงเหนือพื้นทะเลอย่างน้อย 1,000 เมตรและมีลักษณะเป็นรูปทรงกรวย[1]ยอดของภูเขาใต้ทะเลมักจะอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเป็นร้อยเป็นพันเมตรดังนั้นจึงถือว่าพวกมันจะพบในบริเวณทะเลลึก[2] ระหว่างการก่อตัวภูเขาใต้ทะเลบางลูกอาจมียอดสูงพ้นระดับน้ำทะเลและอาจโดนคลื่นและลบกัดเซาะจนมียอดราบ เมื่อภูเขาเหล่านี้ทรุดตัวหรือมีกิจกรรมบางอย่างทำให้มันจมลงใต้ทะเลก็จะเรียกภูเขาลักษณะนี้ว่าเขายอดราบใต้สมุทร[1]
มหาสมุทรของโลกมีภูเขาใต้ทะเลที่ระบุยืนยันแล้วกว่า 14,500 ลูก[3] แบ่งเป็น ภูเขาใต้ทะเลมีประมาณ 9,951 ลูกมีเขายอดราบใต้สมุทรอีก 283 ลูกซึ่งทั้งหมดนี้มีพื้นที่รวมกันประมาณ 8,796,150 ตารางกิโลเมตร[4] แต่กลับมีภูเขาเพียงไม่กี่ลูกที่นักวิทยาศาตร์ทำการศึกษา ภูเขาใต้ทะเลและเขายอดราบใต้สมุทรพบได้มากในแปซิฟิกเหนือและมีรูปแบบการก่อตัวที่โดดเด่นคือปะทุ, ก่อตัว, ทรุดตัวและพังทลาย ในไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการสังเกตกิจกรรมต่าง ๆ ของภูเขาใต้ทะเลยกตัวอย่างเช่นภูเขาใต้ทะเลโลลิฮิ (Lōʻihi Seamount) ในหมู่เกาะฮาวาย
ภูเขาใต้ทะเลมีความอุดมสมบูรณ์และเป็นระบบนิเวศทางทะเลที่พบมากที่สุดแบบหนึ่งของโลก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างภูเขาใต้ทะเลกับกระแสใต้น้ำและพื้นที่สูงของภูเขาได้ดึงดูดแพลงก์ตอน, ปะการัง, ปลาและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลทำให้เป็นจุดทำนิยมทำประมงของอุตสาหกรรมการประมงเชิงพาณิชย์ ความนิยมการทำประมงนี้ก่อให้เกิดกังวลเกี่ยวกับผลกระทบเชิงลบของระบบนิเวศอย่างเช่นในกรณีการลดจำนวนลงอย่างมากของปลาออเร้นจ์รัฟฟี่ (Orange roughy) และปัญหาการลากอ้วนน้ำลึกซึ่งสร้างความเสียหายทางนิเวศวิทยา
ภูเขาใต้ทะเลมีจำนวนมากแต่ก็สามารถทำการศึกษาและทำแผนที่ได้ด้วยการวัดความลึกและวัดความสูงจากดาวเทียม มีอุบัติเหตุที่เรือเดินสมุทรชนเข้ากับภูเขาใต้ทะเลที่ไม่มีใครสังเกตด้วยเช่นในกรณีของ ภูเขาใต้ทะเลมิลฟิล (Muirfield Seamount) ที่ตั้งชื่อตามเรือที่มาชนเมื่อปี พ.ศ. 2516 แต่อย่างไรก็ตามอันตรายสูงสุดของภูเขาใต้ทะเลคือการยุบหรือพังทลายจากด้านข้างอย่างเช่นเมือเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ หินอัคนีพุในภูเขาจะเกิดการกดลงด้านข้างทำให้เกิดภูเขาถล่มซึ่งอาจก่อให้เกิดสึนามิขนาดใหญ่
ภูมิศาสตร์
[แก้]ภูเขาใต้ทะเลสามารถพบได้ในแอ่งสมุทรทุกแห่งบนโลก กระจายไปทั่วในที่ว่าง มีการกำหนดลักษณะทั่วไปของภูเขาใต้ทะเลว่าต้องเป็นภูเขาที่โพล่ขึ้นมากลางที่ราบมีความสูง 1,000 เมตรหรือสูงกว่าก้นทะเลโดยรอบและมีพื้นที่ยอดเขาจำกัด[5]เป็นรูปทรงกรวย[1] ถ้าหากนับร่วมเนิน สันเขาและเนินเขามีความสูงน้อยกว่า 1,000 เมตรเข้าไปด้วยก็จะมีภูเขาใต้ทะเลกว่า 100,000 ลูกในมหาสมุทรโลก[4]
ภูเขาใต้ทะเลส่วนมากเคยเป็นภูเขาไฟและมีแนวโน้มที่จะพบบนเปลือกโลกมหาสมุทรใกล้เทือกเขากลางสมุทร กระจุกแม็กม่าและหมู่เกาะรูปโค้ง โดยรวมแล้วภูเขาใต้ทะเลและเขายอดราบใต้สมุทรจะพบในก้นทะเลแปซิฟิกเหนือคิดเป็น 4.39% ของภูมิภาค มหาสมุทรแอตแลนติกมีภูเขาใต้ทะเลเพียง 16 ลูกและไม่มีเขายอดราบ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนรวมกับทะเลดำมีภูเขาใต้ทะเลเพียง 23 ลูกและเขายอดราบ 2 ลูก แผนที่แสดงว่าภูเขาใต้ทะเล 9,951 ลูกครอบคลุมพื้นที่ถึง 8,088,550 ตารางกิโลเมตร ภูเขาใต้ทะเลมีพื้นที่เฉลี่ยลูกละ 790 ตารางกิโลเมตร ภูเขาใต้ทะเลลูกเล็กที่สุดพบในแอตแลนติก เมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยที่ใหญ่ที่สุดคือภูเขาในมหาสมุทรอินเดียมีค่าเฉลี่ยที่ 890 ตารางกิโลเมตร ภูเขาใต้ทะเลที่มีพื้นที่มากที่สุดอยู่ในแปซิฟิกเหนือมีขนาด 15,500 ตารางกิโลเมตร เขายอดราบใต้สมุทรครอบคลุมพื้นที่ 707,600 ตารางกิโลเมตรและมีพื้นที่เฉลี่ยลูกละ 2,500 ตารางกิโลเมตรซึ่งใหญ่กว่าค่าเฉลี่ยของภูเขาใต้ทะเลถึง 2 เท่า พื้นที่เขายอดราบ 50% และจำนวนเขายอดราบ 42% อยู่ในแปซิฟิกเหนือครอบคลุมพื้นที่ 342,070 ตารางกิโลเมตร เขายอดราบขนาดใหญ่สามอันดับแรกอย่าง เขายอดราบคูโค่ (มีพื้นที่ 24,600 ตารางกิโลเมตร) เขายอดราบซุยโกะ (มีพื้นที่ 20,220 ตารางกิโลเมตร) และเขายอดราบพราราด้า (มีพื้นที่ 13,680 ตารางกิโลเมตร) อยู่ในแปซิฟิกเหนือเช่นกัน[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 IHO, 2008. Standardization of Undersea Feature Names: Guidelines Proposal form Terminology, 4th ed. International Hydrographic Organisation and Intergovernmental Oceanographic Commission, Monaco.
- ↑ Nybakken, James W. and Bertness, Mark D., 2008. Marine Biology: An Ecological Approach. Sixth Edition. Benjamin Cummings, San Francisco
- ↑ Watts, T. (2019). "Science, Seamounts and Society". Geoscientist. August 2019: 10–16.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Harris, P.T., MacMillan-Lawler, M., Rupp, J., Baker, E.K., 2014. Geomorphology of the oceans. Marine Geology 352, 4–24
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อEoE-seamount