นีงาตะ (เมือง)
นีงาตะ 新潟市 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||||
ที่ตั้งของนีงาตะ (เน้นสีม่วง) ในจังหวัดนีงาตะ | |||||||||||||
พิกัด: 37°54′58″N 139°2′11″E / 37.91611°N 139.03639°E | |||||||||||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||||||||||
ภูมิภาค | ชูบุ, โคชิงเอ็ตสึ, โฮกูริกุ | ||||||||||||
จังหวัด | นีงาตะ | ||||||||||||
สถานะนคร | 1 เมษายน ค.ศ. 1889[ต้องการอ้างอิง] | ||||||||||||
การปกครอง | |||||||||||||
• ประเภท | เทศบาลนคร | ||||||||||||
• นายกเทศมนตรี | ยาอิจิ นากาฮาระ (中原 八一; ตั้งแต่พฤศจิกายน ค.ศ. 2018) | ||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 726.45 ตร.กม. (280.48 ตร.ไมล์) | ||||||||||||
ประชากร (1 เมษายน ค.ศ. 2023) | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 774,383 คน | ||||||||||||
• ความหนาแน่น | 1,066 คน/ตร.กม. (2,760 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||||
• รวมปริมณฑล[1] (ค.ศ. 2015) (อันดับที่ 17) | 1,060,013 คน | ||||||||||||
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) | ||||||||||||
รหัสท้องถิ่น | 15100-9 | ||||||||||||
โทรศัพท์ | 025-243-4894 | ||||||||||||
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 1-602-1 Gakkōchō-dōri, Chūō-ku, Niigata-shi, Niigata-ken 951-8550 | ||||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||||
|
นีงาตะ | |||||
"นีงาตะ" เมื่อเขียนด้วยคันจิ | |||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||
---|---|---|---|---|---|
คันจิ | 新潟 | ||||
|
นีงาตะ หรือ นีกาตะ (ญี่ปุ่น: 新潟市; โรมาจิ: Niigata-shi) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดนีงาตะซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคชูบุของประเทศญี่ปุ่น นีงาตะเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดบนชายฝั่งตะวันตกของเกาะฮนชู และเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของภูมิภาคจูบุรองจากนาโงยะ ตัวเมืองอยู่ริมทะเลญี่ปุ่นและอยู่ใกล้กับเกาะซาโดะ
ณ วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 นครมีประชากรประมาณ 797,591 คน และมีความหนาแน่นของประชากรที่ 1,098 คนต่อตารางกิโลเมตร นครมีพื้นที่ 726.45 ตารางกิโลเมตร เขตมหานครนีงาตะ ซึ่งเป็นพื้นที่ธุรกิจของมหานคร มีจีดีพี 43.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2010[2][3]
นีงาตะมีประวัติศาสตร์อันยาวนานในฐานะเมืองท่า ก่อนที่กลายเป็นเขตเศรษฐกิจอิสระหลังการปฏิรูปเมจิ รัฐบาลท้องถิ่นประจำนครก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1889 ต่อมาได้มีการควบรวมกับเทศบาลข้างเคียงใน ค.ศ. 2005 ทำให้ประชากรในนครพุ่งขึ้นสูงถึง 810,000 คน การผนวกรวมในครั้งนี้ทำให้นีงาตะเป็นนครที่มีพื้นที่นาข้าวมากที่สุดในญี่ปุ่น ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2007 นีงาตะกลายเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนดแห่งแรกที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลญี่ปุ่นบนเกาะฮนชู
ภูมินามวิทยา
[แก้]คำว่า "นีงาตะ" มีอยู่ในบันทึกครั้งแรกเมื่อปี 1520 (ปีเอโชที่ 17)[4] ชื่อในอักษรคันจิสามารถแปลได้ดังนี้คือ 新 "ใหม่", 潟 "ลากูน", 市 "นคร"
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีการบันทึกเกี่ยวกับที่มาของชื่อนี้จึงนำไปสู่ทฤษฎีหลายประการ ประการแรก "นีงาตะ" เป็นชื่อลากูนขนาดใหญ่ที่ปากแม่น้ำชินาโนะ ประการที่สองคือชื่ออ่าวภายในแผ่นดินที่บริเวณปากแม่น้ำ ประการที่สามคือชื่อหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนเกาะบริเวณปากแม่น้ำ ประการที่สี่คือชื่อของอีกหมู่บ้านหนึ่งบนเกาะที่ย้ายไปอยู่ในย่านฟูรูมาจิ และทำให้กลายเป็นชื่อของลากูนที่อยู่ใกล้เคียง[5]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภูมิศาสตร์
[แก้]นีงาตะตั้งอยู่บนที่ราบชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น ใกล้กับเกาะซาโดะ ตัวนครมีแม่น้ำชินาโนะและแม่น้ำอากาโนะไหลผ่าน นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทะเลสาบซากาตะที่ได้รับการจดทะเบียนให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำของอนุสัญญาแรมซาร์
พื้นที่ที่มีการยกตัวต่ำและแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ทำให้ตัวนครสามารถถมทะเลและรับมือกับภาวะอุทกภัยได้อย่างดีในตลอดเวลาของช่วงประวัติศาสตร์
ในบางครั้ง นีงาตะถูกเรียกว่า "นครแห่งน้ำ" (ญี่ปุ่น: 水の都; โรมาจิ: Mizu-no-miyako) เพราะมีแม่น้ำสองสายไหลผ่าน มีที่ตั้งริมทะเลญี่ปุ่น และมีพื้นที่ชุ่มน้ำอีกหลายแห่ง นอกจากนี้ ยังถูกเรียกว่า "นครแห่งหลิว" (ญี่ปุ่น: 柳の都; โรมาจิ: Yanagi-no-miyako หรือ ญี่ปุ่น: 柳都; โรมาจิ: Ryuto) เพราะมีต้นหลิวจำนวนมากริมคลองสายเก่า ล่าสุด นีงาตะกลายเป็น "นครแห่งอาหารและดอกไม้" (ญี่ปุ่น: 食と花の政令市; โรมาจิ: Shoku to hana no seireishi) เพราะมีพื้นที่เกษตรกรรมนอกตัวนคร
ภาพทิวทัศน์
[แก้]ภูมิอากาศ
[แก้]นครนีงาตะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa) แต่มีหิมะตกมากกว่านครอย่างมอสโก มอนทรีออล หรือออสโล ภูมิอากาศของนีงาตะมีความชื้นสูงและมีลมแรงจากทะเลญี่ปุ่น ในขณะที่ส่วนอื่นของจังหวัดนีงาตะมีหิมะที่ตกหนัก แต่นครนีงาตะกลับมีหิมะที่น้อยกว่าเพราะตั้งอยู่บนที่ต่ำและมีเกาะซาโดะเป็นโล่กำบังพายุหิมะ
อย่างไรก็ตาม นครนีงาตะมีหยาดน้ำฟ้าสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของฝน โดยมีวันที่มีหยาดน้ำฟ้าตกถึง 269 วันต่อปี และมี 170 วันที่มีฝนหรือหิมะในปริมาณมากกว่า 1 มิลลิเมตร[6] เดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกมาก ในขณะที่เดือนพฤศจิกายนและธันวาคมก็มีหิมะตกมากเช่นกัน[7]
ในฤดูร้อน ลมจากทางทิศใต้ทำให้มีสภาพอากาศร้อน ไต้ฝุ่นนำพาลมร้อนที่แรงมาสู่บริเวณนี้ ทำให้ที่นี่มีอุณหภูมิสูงกว่าส่วนอื่นของญี่ปุ่น สภาพอากาศของชายฝั่งตะวันตกของเกาะฮนชูในช่วงฤดูร้อนถือว่าดีกว่าของชายฝั่งแปซิฟิก
ข้อมูลภูมิอากาศของนีงาตะ (ค.ศ. 1981-2010) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 15.3 (59.5) |
21.3 (70.3) |
25.1 (77.2) |
30.7 (87.3) |
32.9 (91.2) |
35.0 (95) |
38.5 (101.3) |
39.9 (103.8) |
37.1 (98.8) |
33.3 (91.9) |
27.2 (81) |
23.6 (74.5) |
39.9 (103.8) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 5.5 (41.9) |
6.0 (42.8) |
9.7 (49.5) |
16.0 (60.8) |
21.0 (69.8) |
24.5 (76.1) |
28.2 (82.8) |
30.6 (87.1) |
26.2 (79.2) |
20.3 (68.5) |
14.2 (57.6) |
8.7 (47.7) |
17.6 (63.7) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 2.8 (37) |
2.9 (37.2) |
5.8 (42.4) |
11.5 (52.7) |
16.5 (61.7) |
20.7 (69.3) |
24.5 (76.1) |
26.6 (79.9) |
22.5 (72.5) |
16.4 (61.5) |
10.5 (50.9) |
5.6 (42.1) |
13.9 (57) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 0.2 (32.4) |
0.1 (32.2) |
2.3 (36.1) |
7.3 (45.1) |
12.7 (54.9) |
17.6 (63.7) |
21.7 (71.1) |
23.4 (74.1) |
19.2 (66.6) |
12.8 (55) |
7.0 (44.6) |
2.7 (36.9) |
10.2 (50.4) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | −11.7 (10.9) |
−13.0 (9) |
−6.4 (20.5) |
−2.5 (27.5) |
2.0 (35.6) |
6.7 (44.1) |
11.4 (52.5) |
14.5 (58.1) |
7.9 (46.2) |
3.0 (37.4) |
−1.8 (28.8) |
−9.5 (14.9) |
−13.0 (9) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 186.0 (7.323) |
122.4 (4.819) |
112.6 (4.433) |
91.7 (3.61) |
104.1 (4.098) |
127.9 (5.035) |
192.1 (7.563) |
140.6 (5.535) |
155.1 (6.106) |
160.3 (6.311) |
210.8 (8.299) |
217.4 (8.559) |
1,821.0 (71.693) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 91 (35.8) |
73 (28.7) |
19 (7.5) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
2 (0.8) |
30 (11.8) |
217 (85.4) |
ความชื้นร้อยละ | 72 | 71 | 67 | 65 | 69 | 74 | 77 | 73 | 73 | 71 | 71 | 72 | 71 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.5mm) | 23.9 | 19.7 | 17.8 | 12.9 | 11.3 | 11.2 | 13.4 | 9.5 | 13.4 | 15.8 | 19.5 | 24.2 | 192.6 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย | 22.9 | 20.2 | 11.4 | 0.9 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 2.1 | 13.3 | 70.8 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 57.1 | 75.1 | 128.4 | 181.8 | 200.2 | 173.1 | 169.4 | 214.9 | 150.7 | 144.0 | 89.9 | 60.5 | 1,642.5 |
แหล่งที่มา: [8][9] |
เขตการปกครอง
[แก้]นีงาตะประกอบด้วย 8 เขตนับตั้งแต่ 1 เมษายน ค.ศ. 2007[10] แต่ละเขตมี "สีประจำเขต"
# | ชื่อเขต | สี | แผนที่ | ||
---|---|---|---|---|---|
ทับศัพท์ไทย | คันจิ | โรมาจิ | |||
1 | เขตอากิฮะ | 秋葉区 | Akiha-ku | ■ เขียว | |
2 | เขตชูโอ (ศูนย์กลางการบริหาร) |
中央区 | Chuo-ku | ■ ฟ้า | |
3 | เขตฮิงาชิ | 東区 | Higashi-ku | ■ ฟ้าน้ำทะเล | |
4 | เขตคิตะ | 北区 | Kita-ku | ■ เขียว | |
5 | เขตโคนัง | 江南区 | Konan-ku | ■ เขียว | |
6 | เขตมินามิ | 南区 | Minami-ku | ■ ฟ้า | |
7 | เขตนิชิ | 西区 | Nishi-ku | ■ ส้ม | |
8 | เขตนิชิกัง | 西蒲区 | Nishikan-ku | ■ เหลือง |
การขนส่ง
[แก้]ท่าอากาศยาน
[แก้]ท่าอากาศยานนีงาตะตั้งอยู่ทางทิศเหนือของใจกลางนครนีงาตะไปประมาณ 6 กิโลเมตร ให้บริการเที่ยวบินทั้งภายในและระหว่างประเทศ โดย ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2016 มีเที่ยวบินในประเทศไปยังโอซากะ (10 เที่ยวต่อวัน), ซัปโปโระ (5-6 เที่ยวต่อวัน), ฟูกูโอกะ (3 เที่ยวต่อวัน), โอกินาวะ (1-2 เที่ยวต่อวัน), นาโงยะ (3 เที่ยวต่อวัน), นาริตะ (หนึ่งเที่ยวต่อวัน) และเกาะซาโดะ (3 เที่ยวต่อวัน) นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังฮาร์บิน (2 เที่ยวต่อสัปดาห์), โซล (5 เที่ยวต่อสัปดาห์), เซี่ยงไฮ้ (2 เที่ยวต่อสัปดาห์) และวลาดีวอสตอค[11]
ทางราง
[แก้]สถานีรถไฟนีงาตะเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในนครนีงาตะ โดยตั้งอยู่ในย่านบันได หนึ่งในสองย่านการค้าหลักใจกลางนครนีงาตะ มีผู้โดยสารมาใช้บริการที่สถานีแห่งนี้ประมาณ 37,000 คนต่อวัน โจเอ็ตสึชิงกันเซ็งวิ่งให้บริการจากนีงาตะไปยังโตเกียวทุกวัน นอกจากนี้ยังมีรถไฟสายหลักชินเอ็ตสึ, สายฮากูชิน, สายอิชิโกะ, สายหลักอูเอ็ตสึ และสายบันเอ็ตสึตะวันตกที่วิ่งออกจากสถานีแห่งนี้ เส้นทางเหล่านี้ให้บริการรถไฟไปยังเมืองเมียวโก, อิโตอิงาวะ, อากิตะ, ซากาตะ และอาอิสึวากามัตสึ
ก่อนหน้านี้เคยมีรถไฟสายนีงาตะคตสึเด็นเท็ตสึและกัมบาระเด็นเท็ตสึวิ่งให้บริการจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 แต่ในปัจจุบันได้ยุติการเดินรถไปแล้ว
- เจอาร์ ตะวันออก - โจเอ็ตสึชิงกันเซ็ง
- เจอาร์ ตะวันออก - สายหลักชินเอ็ตสึ
- นีงาตะ - อิชิโกะ-อิชิยามะ - กาเมดะ - โองิกาวะ - ซัตสึกิโนะ - นิอิตสึ - ฟุรุตสึ - ยาชิโรดะ
- เจอาร์ ตะวันออก - สายฮากูชิน
- เจอาร์ ตะวันออก - สายอิชิโกะ
- นีงาตะ - ฮากูซัน - เซกิยะ - อาโอยามะ - โกบาริ - เทราโอะ - นีงาตะไดงากู-มาเอะ - ยูชิโนะ - ยูชิโนะ-นิชิงาโอกะ - อิชิโกะ-อากัตสึกะ - อิชิโกะ-โซเนะ - มากิ - อิวามูโระ - โยชิดะ
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ "สายบันได-บาชิ" วิ่งให้บริการระหว่างพื้นที่การค้าหรือธุรกิจในย่านใจกลางนครนีงาตะ (สถานีรถไฟนีงาตะ—สะพานบันได—ฟูรูมาชิ—ศาลาว่าการ—สถานีรถไฟฮากูซัน—อาโอยามะ)
ท่าเรือ
[แก้]ในอดีต นีงาตะเคยเป็นจุดหมายปลายทางของเรือข้ามฟากมังย็องบง-92 ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการเดินทางระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีเหนือ
-
รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ "สายบันได-บาชิ"
-
ท่าเรือนีงาตะ
เมืองพี่น้อง
[แก้]- แกลวิสตัน รัฐเทกซัส สหรัฐ (ค.ศ. 1965)
- ฮาบารอฟสค์ ประเทศรัสเซีย (ค.ศ. 1965)
- ฮาร์บิน มณฑลเฮย์หลงเจียง ประเทศจีน (ค.ศ. 1979)
- วลาดีวอสตอค ประเทศรัสเซีย (ค.ศ. 1991)
- บีโรบิดจัน ประเทศรัสเซีย (ค.ศ. 1992)
- อุลซัน ประเทศเกาหลีใต้ (ค.ศ. 2550)
- น็องต์ ประเทศฝรั่งเศส (ค.ศ. 2009)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "UEA Code Tables". Center for Spatial Information Science, University of Tokyo. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.
- ↑ Yoshitsugu Kanemoto. "Metropolitan Employment Area (MEA) Data". Center for Spatial Information Science, The University of Tokyo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-15. สืบค้นเมื่อ 2016-09-29.
- ↑ Conversion rates - Exchange rates - OECD Data
- ↑ 知っておきたい新潟県の歴史編集委員会 (2010). 知っておきたい新潟県の歴史. 新潟日報事業社. ISBN 978-4861323720.
- ↑ 角川日本地名大辞典 編纂委員会 (1989). 角川日本地名大辞典 15 新潟県. (株)角川書店. ISBN 4-04-001150-3.
- ↑ 平年値(年・月ごとの値)
- ↑ Niigata City 2007 Statistical Data, published 2007
- ↑ 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). Japan Meteorological Agency.
- ↑ 観測史上1~10位の値( 年間を通じての値)). Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 2011-12-02.
- ↑ Map เก็บถาวร กันยายน 27, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Flight Schedule - NIIGATA AIRPORT