ข้ามไปเนื้อหา

นิส

พิกัด: 43°42′10″N 7°16′09″E / 43.70278°N 7.26917°E / 43.70278; 7.26917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Nice)
นิส

Ville de Nice
ทิวทัศน์ของเมืองนิส
ทิวทัศน์ของเมืองนิส
ธงของ{{{official_name}}}
ธง
ตราราชการของ{{{official_name}}}
ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
Nicæa civitas fidelissima
(ละติน: นิส, เมืองที่น่าเชื่อถือที่สุด)
ตำแหน่งของนิสในประเทศฝรั่งเศส
43°42′10″N 7°16′09″E / 43.70278°N 7.26917°E / 43.70278; 7.26917
ประเทศฝรั่งเศส
แคว้นพรอว็องซาลป์-โกตดาซูร์
จังหวัดอาลป์-มารีตีม
เขตนิส
อำเภอนิส-1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 และ 9
สหเทศบาลMétropole Nice Côte d'Azur
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรี (2020–2026) คริสตีย็อง เอสโตรซี
พื้นที่171.92 ตร.กม. (27.77 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล (2007)2,268 ตร.กม. (876 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (ม.ค. 2018)2
341,032 คน
 • อันดับอันดับ 5 ในฝรั่งเศส
 • ความหนาแน่น4,700 คน/ตร.กม. (12,000 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง (2016)1,006,402 คน
 • รวมปริมณฑล (2007)1,197,751 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล530 คน/ตร.กม. (1,400 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสอีนเซ/ไปรษณีย์06088 /
สูงจากระดับน้ำทะเล0–520 m (0–1,706 ft)
เว็บไซต์www.nice.fr
1 ข้อมูลอาณาเขตที่ตามขึ้นทะเบียนไว้โดยไม่รวมทะเลสาบ, หนองน้ำ, ธารน้ำแข็งที่ขนาดใหญ่กว่า 1 ตารางกิโลเมตรตลอดจนปากแม่น้ำ 2 Population without double counting: residents of multiple communes (e.g., students and military personnel) only counted once.

นิส (ฝรั่งเศส: Nice ออกเสียง: [nis]; อุตซิตา (ภาษาถิ่นนิส): Niça หรือ Nissa ออกเสียง: [ˈnisa] ; อิตาลี: Nizza ออกเสียง: [ˈnittsa]) เป็นเขตเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 7 ในฝรั่งเศส และเป็นเมืองหลักของจังหวัดอาลป์-มารีตีม มีพื้นที่ 744 ตร.กม. (287 ตารางไมล์)[1] เขตมหานครของเมืองนิสขยายออกไปนอกเขตบริหารของเมืองโดยมีประชากรเกือบ 1 ล้านคน[2][1] นิสตั้งอยู่ในโกตดาซูร์ (ฝรั่งเศส: Côte d'Azur) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า เฟรนช์ริวีเอรา (อังกฤษ: French Riviera) บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศสริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณเชิงเทือกเขาแอลป์ เมืองนิสเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองในแคว้นพรอว็องซาลป์-โกตดาซูร์ รองจากมาร์แซย์ และเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมืองนิสอยู่ห่างจากอาณาเขตของราชรัฐโมนาโกประมาณ 13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์) และห่างจากชายแดนฝรั่งเศส-อิตาลี 30 กิโลเมตร (19 ไมล์) ท่าอากาศยานนิสโกตดาซูร์ เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางของภูมิภาค

เมืองนี้มีสมญานามว่า Nice la Belle (Nissa La Bella ในภาษาถิ่นอุตซิตา) ซึ่งแปลว่า "นิสที่งดงาม" ซึ่งเป็นชื่อเพลงประจำเมืองนิส (ที่ไม่เป็นทางการ) ประพันธ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1912 โดย แมนิกา รงเดย์ลิ (ฝรั่งเศส: Menica Rondelly) พื้นที่ตั้งของนิสในปัจจุบันมีแหล่งโบราณสถาน เตร์รา อามาตา (อิตาลี: Terra Amata) ซึ่งเป็นสถานที่แสดงหลักฐานการใช้ไฟในยุคแรก ๆ เมื่อ 380,000 ปีก่อน ประมาณ 350 ปีก่อนคริสตกาล ชาวกรีกในเมืองมาร์แซย์ได้ตั้งถิ่นฐานถาวรและเรียกที่นี่ว่า นิไกอา (กรีกโบราณ: Νῑ́καια) ซึ่งตั้งตามชื่อของ นิเก (กรีกโบราณ: Νῑ́κη, ออกเสียง: [nǐː.kɛː]; อังกฤษ: Nike (ไนกี)) ซึ่งเป็นเทพีแห่งชัยชนะ[3] เมืองนี้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ครอบครองหลายครั้ง ด้วยตำแหน่งที่ตั้งและการเป็นท่าเรือซึ่งมีส่วนสำคัญต่อความแข็งแกร่งทางยุทธศาสตร์ทางทะเล เป็นเวลาหลายศตวรรษที่เมืองเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรแห่งซาวอย และตกเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสระหว่างปี พ.ศ. 2335 ถึง พ.ศ. 2358 หลังจากนั้นกลายเป็นเมืองในราชอาณาจักรปีเยมอนเต-ซาร์ดิเนีย จนกระทั่งฝรั่งเศสได้ผนวกเป็นดินแดนส่วนหนึ่งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2403

สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของบริเวณเมืองนิส และภูมิอากาศอบอุ่นแบบเมดิเตอร์เรเนียนได้รับความสนใจจากชนชั้นสูงของอังกฤษในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อมีครอบครัวชนชั้นสูงจำนวนมากใช้เวลาในช่วงฤดูหนาวที่เมืองนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 ทางเดินริมทะเลหลักของเมืองได้รับการปรับปรุงและได้รับการตั้งชื่อว่า Promenade des Anglais ("ทางเดินของอังกฤษ") เพื่อเป็นที่ระลึกถึงผู้เดินทางมาพักผ่อนเหล่านั้น[4] ซึ่งรวมถึง เฮนรี คาเวนดิช (Henry Cavendish) ผู้ค้นพบแก๊สไฮโดรเจน และพระราชินีวิคตอเรีย พร้อมกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่เจ็ด ที่ใช้เวลาในช่วงฤดูหนาวที่เมืองนิส

เมืองมีจำนวนโรงแรมมากเป็นอันดับสองของฝรั่งเศส[5] และเป็นหนึ่งในเมืองที่มีผู้มาเยือนมากที่สุดโดยมีนักท่องเที่ยว 4 ล้านคนทุกปี[6] นอกจากนี้ยังมีสนามบินที่พลุกพล่านที่สุดเป็นอันดับสามในฝรั่งเศส รองจากสนามบินหลักในปารีสสองแห่ง[7] นิสยังเป็นเมืองหลวงของแคว้นในยุคกลาง กงเต เดอ นิส (ฝรั่งเศส: Comté de Nice)[8]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

ฤดูร้อนในเมืองนิสมีอากาศร้อนของภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (เคิพเพิน: Csa) ผสมกับอากาศอบอุ่นของภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (เคิพเพิน: Csb) โดยมีฤดูหนาวที่ไม่รุนแรงและมีฝนตกปานกลาง เป็นหนึ่งในภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่อบอุ่นที่สุดสำหรับเขตละติจูดนี้ ฤดูร้อนมีอากาศอบอุ่นถึงร้อนแห้งและมีแดดจัด ปริมาณน้ำฝนในฤดูนี้จะมีน้อยมากและโดยทั่วไปจะบันทึกปริมาณน้ำฝนในเดือนกรกฎาคมได้เพียงหนึ่งหรือสองวัน โดยทั่วไปอุณหภูมิจะสูงกว่า 26 °C (79 °F) แต่ไม่ค่อยสูงกว่า 32 °C (90 °F) ข้อมูลสภาพภูมิอากาศถูกบันทึกจากสนามบินซึ่งอยู่ติดกับทะเล อุณหภูมิในฤดูร้อนจึงมักจะสูงกว่าในเมือง อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในเดือนที่อากาศอบอุ่นที่สุดในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 27 °C (81 °F) อุณหภูมิสูงสุดที่บันทึกไว้คือ 37.7 °C (99.9 °F) ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยทั่วไปฤดูใบไม้ร่วงจะเริ่มมีแดดจัดในเดือนกันยายน และจะมีเมฆมากและมีฝนตกในช่วงเดือนตุลาคม ในขณะที่อุณหภูมิมักจะสูงกว่า 20 °C (68 °F) จนถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งอากาศจะเริ่มเย็นลงเป็นประมาณ 17 °C (63 °F)

ฤดูหนาวมีสภาพอากาศอบอุ่น (11 ถึง 17 °C (52 ถึง 63 °F)) กลางคืนมีอากาศเย็น (4 ถึง 9 °C (39 ถึง 48 °F)) และสภาพอากาศที่แปรปรวน กลางวันอาจมีแดดจัดและแห้งหรือชื้นและมีฝนตก อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 5 °C (41 °F) น้ำค้างแข็งเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ และไม่ค่อยมีหิมะตกโดยครั้งล่าสุดในนิสคือวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561[9] ฤดูใบไม้ผลิเริ่มต้นด้วยอากาศเย็นและมีฝนตกในช่วงปลายเดือนมีนาคม และจะอบอุ่นและมีแดดจัดขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงเดือนมิถุนายน

ภาพเมืองนิสจากดาวเทียม SPOT
ข้อมูลภูมิอากาศของนิส (ท่าอากาศยานนิสโกตดาซูร์), ความสูง: 4 เมตร, 2524–2553 ปกติ, สุดขั้ว 2485–ปัจจุบัน
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 22.5
(72.5)
25.8
(78.4)
26.1
(79)
26.0
(78.8)
30.3
(86.5)
36.8
(98.2)
37.0
(98.6)
37.7
(99.9)
33.9
(93)
29.9
(85.8)
25.4
(77.7)
22.0
(71.6)
37.7
(99.9)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 13.1
(55.6)
13.4
(56.1)
15.2
(59.4)
17.0
(62.6)
20.7
(69.3)
24.3
(75.7)
27.3
(81.1)
27.7
(81.9)
24.6
(76.3)
21.0
(69.8)
16.6
(61.9)
13.8
(56.8)
19.6
(67.3)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 9.2
(48.6)
9.6
(49.3)
11.6
(52.9)
13.6
(56.5)
17.4
(63.3)
20.9
(69.6)
23.8
(74.8)
24.1
(75.4)
21.0
(69.8)
17.4
(63.3)
12.9
(55.2)
10.0
(50)
16.0
(60.8)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 5.3
(41.5)
5.9
(42.6)
7.9
(46.2)
10.2
(50.4)
14.1
(57.4)
17.5
(63.5)
20.3
(68.5)
20.5
(68.9)
17.3
(63.1)
13.7
(56.7)
9.2
(48.6)
6.3
(43.3)
12.4
(54.3)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -7.2
(19)
-5.8
(21.6)
-5.0
(23)
2.9
(37.2)
3.7
(38.7)
8.1
(46.6)
11.7
(53.1)
11.4
(52.5)
7.6
(45.7)
4.2
(39.6)
0.1
(32.2)
-2.7
(27.1)
−7.2
(19)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 69.0
(2.717)
44.7
(1.76)
38.7
(1.524)
69.3
(2.728)
44.6
(1.756)
34.3
(1.35)
12.1
(0.476)
17.8
(0.701)
73.1
(2.878)
132.8
(5.228)
103.9
(4.091)
92.7
(3.65)
733.0
(28.858)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 5.8 4.7 4.6 7.1 5.2 3.8 1.8 2.4 4.9 7.2 7.2 6.4 61.2
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 0.4 0.6 0.1 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.1 1.2
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 157.7 171.2 217.5 224.0 267.1 306.1 347.5 315.8 242.0 187.0 149.3 139.3 2,724.2
แหล่งที่มา 1: Météo-France[10]
แหล่งที่มา 2: Weather Atlas[11]
ข้อมูลภูมิอากาศของนิส
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำทะเล °C (°F) 13.4
(56.1)
13.0
(55.4)
13.4
(56.1)
14.6
(58.3)
18.0
(64.4)
21.8
(71.2)
23.1
(73.6)
23.6
(74.5)
22.2
(72.0)
19.6
(67.3)
17.4
(63.3)
14.9
(58.8)
17.9
(64.3)
จำนวนชั่วโมงที่มีแดดต่อวัน 9.0 11.0 12.0 13.0 15.0 15.0 15.0 14.0 12.0 11.0 10.0 9.0 12.2
แหล่งที่มา: Weather Atlas[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Comparateur de territoire: Unité urbaine de Nice (06701), INSEE, retrieved 10 September 2020
  2. Demographia: World Urban Areas, Demographia.com, April 2016
  3. Ruggiero, Alain, บ.ก. (2006). Nouvelle histoire de Nice. Toulouse: Privat. pp. 17–18. ISBN 978-2-7089-8335-9.
  4. Alain Ruggiero, op. cit., p. 137
  5. Un savoir-faire et un équipement complet en matière d'accueil, Urban community of Nice Côte d'Azur website เก็บถาวร 24 กุมภาพันธ์ 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. Les chiffres clés du tourisme à Nice, site municipal เก็บถาวร 17 ธันวาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. "Union des aéroports français – Résultats d'activité des aéroports français 2007 – Trafic passagers 2007 classement – page 8" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2011.
  8. Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Nice (France)". สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 19 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 646–647.
  9. "French Riviera hit by snowfall". The Local fr. The Local Europe AB. 26 February 2018.
  10. "Nice (06)" (PDF). Fiche Climatologique: Statistiques 1981–2010 et records (ภาษาฝรั่งเศส). Meteo France. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 March 2018. สืบค้นเมื่อ 6 March 2018.
  11. 11.0 11.1 "Nice, France – Climate data". Weather Atlas. สืบค้นเมื่อ 15 April 2017.
  12. "Nice (07690) - WMO Weather Station". NOAA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-22. สืบค้นเมื่อ July 22, 2019.
  13. "Normes et records 1961–1990: Nice – Côte d'Azur (06) – altitude 4m" (ภาษาฝรั่งเศส). Infoclimat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2016. สืบค้นเมื่อ 10 March 2018.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Sykes, Colonel. "Statistics of Nice Maritime." Journal of the Statistical Society of London 18.1 (1855): 34–73. online

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]