ข้ามไปเนื้อหา

การจราจรซ้ายมือและขวามือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Left- and right-hand traffic)
ตำแหน่งมือในการจราจรของแต่ละประเทศในปัจจุบัน
  ⇵ การจราจรขวามือ
  ⇅ การจราจรซ้ายมือ
ประเทศที่เปลี่ยนระบบจราจร
  ขับรถชิดขวา
  ปัจจุบันขับรถชิดขวา, อดีตขับรถชิดซ้าย
  ขับรถชิดซ้าย
  ปัจจุบันขับรถชิดซ้าย, อดีตขับรถชิดขวา
  อดีตขับรถแตกต่างกันทั้งชิดซ้ายและชิดขวา, ปัจจุบันขับรถชิดขวา
ประเทศโดยพวงมาลัยรถ ตามหน่วยระยะทาง/ความเร็ว
  ขับรถชิดซ้าย, กิโลเมตร
  ขับรถชิดซ้าย, ไมล์
  ขับรถชิดขวา, กิโลเมตร
  ขับรถชิดขวา, ไมล์
  ขับรถชิดขวา, ไมล์ และ กิโลเมตร

การจราจรซ้ายมือ (อังกฤษ: left-hand traffic; LHT) และการจราจรขวามือ (อังกฤษ: right-hand traffic; RHT) เป็นกฎระเบียบที่กำหนดสำหรับการจราจรแบบสองทิศทางทุกรูปแบบให้ขับยานพาหนะชิดซ้ายหรือชิดขวาบนถนนยกเว้นในกรณีอื่น ๆ ที่กำหนด[1] การจราจรนี้เป็นพื้นฐานของทิศทางจราจรซึ่งในบางครั้งถูกเรียกว่าเป็นกฎของถนน (อังกฤษ: rule of the road)[2]

มี 163 ประเทศและดินแดนที่ใช้การจราจรขวามือ ในขณะที่ 76 ประเทศที่เหลือใช้การจราจรซ้ายมือ ประเทศที่ใช้การจราจรซ้ายมือคิดเป็น 1 ใน 6 ของพื้นที่และ 1 ใน 4 ของถนนบนโลก [3] ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 บางประเทศรวมถึงแคนาดา สเปน และบราซิลมีกฎของการจราจรที่ต่างกันในแต่ละพื้นที่ของประเทศ และระหว่างทศวรรษที่ 1900 หลายประเทศได้กำหนดมาตรฐานในเขตอำนาจรัฐและเปลี่ยนจากการจราจรซ้ายมือเป็นขวามือเพื่อให้สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมในแต่ละภูมิภาค ใน ค.ศ. 1919 มี 104 ประเทศในโลกที่ใช้การจราจรซ้ายมือและอีกครึ่งเป็นขวามือ ตั้งแต่ ค.ศ. 1919 ถึง 1986 มี 34 ประเทศที่เปลี่ยนการจราจรซ้ายมือเป็นขวามือ[4]

หลายประเทศที่ใช้การจราจรซ้ายมือประกอบด้วยอดีตอาณานิคมของอังกฤษในแคริบเบียน แอฟริกาตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ สำหรับญี่ปุ่น ไทย เนปาล ภูฏาน โมซัมบิก ซูรินาเม ติมอร์ตะวันออก และอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ใช้การจราจรซ้ายมือนอกเหนือจากจักรวรรดิอังกฤษ ในทวีปยุโรปมีเพียงสี่ประเทศยังคงขับยานพาหนะชิดซ้ายประกอบด้วยสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ มอลตา และไซปรัสซึ่งประเทศทั้งหมดนี้ตั้งอยู่บนเกาะที่ไม่มีถนนเชื่อมต่อโดยตรงกับประเทศที่ขับยานพาหนะชิดขวา

เกือบทุกประเทศใช้เพียงการจราจรเดียวสำหรับทุกพื้นที่ในประเทศ ข้อยกเว้นส่วนใหญ่มาจากดุลยพินิจในอดีตและ/หรือเกี่ยวข้องกับการที่หมู่เกาะไม่มีการเชื่อมต่อกับพื้นที่หลักของประเทศ จีนใช้การจราจรขวามือยกเว้นในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า สหรัฐใช้การจราจรขวามือยกเว้นหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ[5] สหราชอาณาจักรใช้การจราจรซ้ายมือแต่ดินแดนโพ้นทะเลยิบรอลตาร์และบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรีใช้การจราจรขวามือ

ตามที่อนุสัญญาว่าด้วยกฎข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับป้องกันเรือโดนกันในทะเล การจราจรทางน้ำจะใช้การจราจรขวามือ สำหรับอากาศยานข้อบังคับว่าด้วยการบินแห่งชาติของสหรัฐกำหนดให้มีการบินผ่านไปทางขวาทั้งในอากาศและทางน้ำ[6]

ในส่วนของทางรถไฟทางคู่ การจราจรบนทางรถไฟโดยทั่วไปวิ่งไปฝั่งใดฝั่งหนึ่งของเส้นทางซึ่งแตกต่างจากถนน ด้วยเหตุนี้ในเบลเยียม จีน ฝรั่งเศส (นอกเหนือจากแคว้นอาลซัสและลอแรนของเยอรมันในอดีต) สวีเดน (นอกเหนือจากเมืองมัลโมและทางตอนใต้) สวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลีเป็นตัวอย่างของการจราจรบนทางรถไฟจะใช้การจราจรซ้ายมือ ในขณะที่ถนนจะใช้การจราจรขวามือ เนื่องจากได้รับอิทธิพลของระบบรถไฟจากอังกฤษในช่วงต้น แต่ในบางประเทศเช่นอินโดนีเซียกลับตรงข้ามกัน (ใช้การจราจรขวามือสำหรับทางรถไฟและการจราจรซ้ายมือสำหรับถนน) รถไฟรางเบาและระบบขนส่งมวลชนเร็วมักใช้ระบบเดียวกับการจราจรบนถนนในประเทศ (ยกเว้นในมาดริด โรม ลิสบอน ลียง สต็อกโฮล์ม ไคโร ลิมา บัวโนสไอเรส เทรนดอลาคอสและสายลิดินโกของสต็อกโฮล์ม

ไม่มีเหตุผลทางเทคนิคว่าการขับชิดฝั่งไหนดีมากกว่ากัน[7] ในกลุ่มประชากรที่มีสุขภาพแข็งแรงความปลอดภัยในการจราจรจะเท่ากันโดยไม่คำนึงถึงความถนัดของมือ แม้ว่านักวิจัยบางคนสันนิษฐานว่าการจราจรซ้ายมืออาจปลอดภัยมากกว่าสำหรับประชากรสูงอายุ[8] เนื่องจากมนุษย์โดยปกติมีความถนัดของตาขวามากกว่าตาซ้าย[9]

ประวัติ

[แก้]
ประวัติในอดีตของตำแหน่งมือในการจราจรของแต่ละประเทศใน ค.ศ. 1900
  ⇵ การจราจรขวามือ
  ⇅ การจราจรซ้ายมือ

ในสมัยโบราณ กองทัพกรีก อียิปต์ และโรมันจัดวางแนวขบวนไว้ทางซ้ายมือ[10] ใน ค.ศ. 1998 นักโบราณคดีค้นพบถนนทางคู่ที่ยังคงสภาพเดิมไว้ซึ่งนำทางสู่เหมืองหินสมัยโรมันใกล้สวินดันทางตอนใต้ของเกาะอังกฤษ ช่องของถนนทางด้านซ้าย (มองจากเส้นทางที่ออกจากเหมืองหิน) มีความลึกที่มากกว่าฝั่งขวาซึ่งน่าจะเป็นการจราจรซ้ายมืออย่างน้อยในสถานที่นี้ เนื่องจากเกวียนจะออกจากเหมืองหินด้วยการบรรทุกหินจำนวนมากก่อนจะเทออกในภายหลัง [11]

การอ้างถึงการจราจรเป็นครั้งแรกเริ่มในกฎหมายอังกฤษซึ่งกำหนดให้ใช้การจราจรซ้ายมือใน ค.ศ. 1756 ซึ่งเกี่ยวข้องกับสะพานลอนดอน [12]

นักประวัติศาสตร์บางคนเช่นซี. นอร์ทโคท พาร์กินสัน เชื่อว่านักเดินทางขี่ม้าหรือเดินเท้าในสมัยโบราณโดยทั่วไปจะชิดซ้ายเนื่องจากคนส่วนใหญ่ถนัดมือขวา ถ้าคนขี่ม้าสองคนจะเริ่มการต่อสู้แต่ละคนจะชิดไปทางซ้าย[10] ใน ค.ศ. 1300 สมเด็จพระสันตะปาปาบอนิเฟซที่ 8กำหนดให้ผู้แสวงบุญเดินชิดซ้ายมือ[10]

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1700 การจราจรในสหรัฐเป็นการจราจรขวามือซึ่งมาจากเกวียนบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ของคนขับรถบรรทุกซึ่งถูกพ่วงด้วยม้าจำนวนมาก เกวียนจะไม่มีที่นั่งคนขับทำให้คนขับรถ (โดยทั่วไปถนัดขวา) ใช้มือขวาถือแส้และนั่งอยู่บนหลังม้าทางซ้าย คนขับรถต้องการให้เกวียนคันอื่น ๆ เดินผ่านไปทางซ้ายเพื่อให้เขาสามารถมั่นใจได้ว่าจะมองเห็นล้อของเกวียนที่กำลังสวนมาได้ชัดเจน[13]

ในฝรั่งเศส การจราจรทางเท้าแบบดั้งเดิมจะเดินชิดขวาขณะที่การจราจรของรถจะชิดซ้าย หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศสการจราจรทั้งหมดถูกกำหนดให้ชิดขวา [12] ตามด้วยสงครามนโปเลียนฝรั่งเศสได้กำหนดให้ใช้การจราจรขวามือในบางส่วนของยุโรป ในช่วงยุคอาณานิคมการจราจรขวามือถูกใช้โดยฝรั่งเศสในฝรั่งเศสใหม่ แอฟริกาตะวันตกของฝรั่งเศส มาเกร็บ อินโดจีนของฝรั่งเศส หมู่เกาะเวสต์อินดีส เฟรนช์เกียนา และเรอูนียง

ในขณะเดียวกันการจราจรซ้ายมือถูกใช้โดยอังกฤษในแอตแลนติกแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัฐในอารักขาแอฟริกาตะวันออก บริติชอินเดีย เซาเทิร์นโรดีเชีย และอาณานิคมเคป (ซิมบับเวและแอฟริกาใต้ในปัจจุบัน) บริติชมาลายา (มาเลเซีย บรูไน และสิงคโปร์ในปัจจุบัน) บริติชเกียนา และบริติชฮ่องกง การจราจรซ้ายมือยังถูกใช้โดยจักรวรรดิโปรตุเกสในมาเก๊าของโปรตุเกส อาณานิคมบราซิล ติมอร์ตะวันออก โมซัมบิกของโปรตุเกส และแองโกลา

กฎหมายแรกที่กำหนดให้การขับขี่ในประเทศสหรัฐชิดขวาเริ่มใน ค.ศ. 1792 และถูกใช้บนทางด่วนฟิลาเดลเฟียและแลงคาสเตอร์[7] รัฐนิวยอร์กใช้การจราจรขวามืออย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1804 รัฐนิวเจอร์ซีย์ใน ค.ศ. 1813 และรัฐแมสซาชูเซตส์ใน ค.ศ. 1821[14]

การเปลี่ยน

[แก้]

ยุโรป

[แก้]
แผนที่การจราจรซ้ายมือและขวามือในทวีปยุโรป
เปลี่ยนการจราจรจากชิดซ้ายเป็นชิดขวาในสต็อกโฮล์ม, สวีเดน ในวันที่ 3 กันยายน 1967
  • สหราชอาณาจักร - ขับรถชิดซ้าย ยกเว้นยิบรอลตาร์และบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรีที่ขับรถชิดขวา
  • ออสเตรีย-ฮังการี - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจักรวรรดิล่มสลาย
  • ออสเตรีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย
  • ฮังการี - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย
  • บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย
  • สโลวีเนีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย
  • โครเอเชีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย
  • เชโกสโลวาเกีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลายและถูกนาซีเยอรมนียึด
  • เช็กเกีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาตามเชโกสโลวาเกีย
  • สโลวาเกีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาตามเชโกสโลวาเกีย
  • สวีเดน - เคยขับรถชิดซ้ายตั้งแต่ ค.ศ. 1734-1967 ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
  • ฟินแลนด์ - เคยขับรถชิดซ้ายจนถึงปี ค.ศ. 1858 ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจากถูกปกครองโดยรัสเซีย
  • โปรตุเกส - เคยขับรถชิดซ้ายจนถึงปี ค.ศ. 1920 ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
  • ไอซ์แลนด์ - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1968
  • เนเธอร์แลนด์ - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1906

เอเชียและแปซิฟิก

[แก้]
แผนที่การจราจรซ้ายมือและขวามือในเอเชียตะวันออก
ป้ายเตือนนักท่องเที่ยวให้ขับรถอยู่ด้านซ้ายในประเทศออสเตรเลีย
  • ญี่ปุ่น - ขับรถชิดซ้าย ส่วนหมู่เกาะรีวกีวเคยขับรถชิดขวาหลังถูกสหรัฐปกครองแต่ก็เปลี่ยนมาขับรถชิดซ้ายหลังสหรัฐคืนดินแดนให้ญี่ปุ่น
  • จีน - ได้เปลี่ยนขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1946 ไต้หวันได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา ฮ่องกงและมาเก๊าขับรถชิดซ้าย
  • เกาหลีใต้ - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1945
  • เกาหลีเหนือ - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1945
  • พม่า - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1970
  • ซามัว - เคยขับรถชิดขวา ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดซ้ายในปี ค.ศ. 2009
  • ฟิลิปปินส์ - เคยขับรถชิดซ้ายในช่วงญี่ปุ่นยึดครอง ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1946
  • อินโดนีเซีย - ขับรถชิดซ้ายมาตั้งแต่ต้น ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา และได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดซ้ายในปี ค.ศ. 1975
  • ติมอร์-เลสเต - ขับรถชิดซ้ายมาตั้งแต่ต้น ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1928 และได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดซ้ายในปี ค.ศ. 1976
  • อิสราเอล - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
  • อิรัก - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
  • คูเวต - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
  • จอร์แดน - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
  • บาห์เรน - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1967
  • กาตาร์ - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
  • อัฟกานิสถาน - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในทศวรรษ 1950

แอฟริกา

[แก้]
ป้ายวงเวียนสำหรับการจราจรด้านซ้าย
ป้ายวงเวียนสำหรับการจราจรด้านขวา
เคนยาขับรถชิดซ้าย
  • เซียร์ราลีโอน - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1971
  • ไนจีเรีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1972
  • กานา - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1974
  • แกมเบีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1965
  • ซูดาน - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1973
  • เซาท์ซูดาน - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1973
  • แองโกลา - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
  • เอธิโอเปีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
  • เอริเทรีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
  • จิบูตี - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
  • โซมาเลีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
  • นามิเบีย - เคยขับรถชิดขวา ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดซ้ายในปี ค.ศ. 1920
  • แทนซาเนีย - เคยขับรถชิดขวา ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดซ้ายในปี ค.ศ. 1918
  • รวันดา - ขับรถชิดขวา ตั้งใจจะเปลี่ยนมาขับรถชิดซ้าย
  • บุรุนดี - ขับรถชิดขวา ตั้งใจจะเปลี่ยนมาขับรถชิดซ้าย

อเมริกาเหนือ

[แก้]
ในแคนาดาใช้การจราจรทางซ้ายก่อนถึงช่วงปี ค.ศ. 1920 (ในภาพนี้ถ่ายขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1898 ที่เซนต์จอห์น, รัฐนิวบรันสวิก)
  • สหรัฐ - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนมาขับรถชิดขวา ยกเว้นหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐที่ยังขับรถชิดซ้าย
  • แคนาดา - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในทศวรรษ 1920
  • เบลีซ - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1961

อเมริกาใต้

[แก้]
ประเทศโคลอมเบียขับรถชิดขวา
  • บราซิล - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1928
  • อาร์เจนตินา - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
  • อุรุกวัย - เคยขับรถชิดซ้ายตั้งแต่ ค.ศ. 1918-1945 ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา

การเปลี่ยนตามเขตแดน

[แก้]
ป้ายสลับการจราจรซ้าย-ขวาในสะพานมิตรภาพไทย–ลาว

ประเทศไทยคือประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศที่ขับรถคนละด้าน คิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดในโลก คือมีพรมแดนติดกับ พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย มีแค่มาเลเซียที่ขับรถด้านเดียวกับไทย ที่เหลือติดกับประเทศที่ขับรถคนละด้านกับไทยทั้งหมด

ฮ่องกงกับจีนแผ่นดินใหญ่เชื่อมและเปลี่ยนเส้นทางกันในปี ค.ศ. 2006

สะพานข้ามแม่น้ำตากุตุเป็นเขตแดนเปลี่ยนเส้นทางระหว่างกายอานากับบราซิล

สหราชอาณาจักรเชื่อมเส้นทางเข้ายุโรปแผ่นดินใหญ่ทางช่องแคบอังกฤษ โดยทางเชื่อมอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ

การจราจรทางราง

[แก้]
การจราจรทางรางซ้ายมือและขวามือทั่วโลก
  รถไฟใช้รางด้านขวา
  รถไฟใช้รางด้านซ้าย

หลายรัฐในยุโรปมีการจราจรขวามือสำหรับถนน แต่มีการจราจรซ้ายมือสำหรับรถไฟ: เบลเยียม, อิตาลี, โมนาโก, โปรตุเกส, สโลวีเนีย, สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนฝรั่งเศสมีรจราจรซ้ายมือสำหรับรถไฟ ยกเว้นอัลซาซ-ลอร์แรนซึ่งเป็นดินแดนฝรั่งเศสตะวันออก ซึ่งเคยเป็นของเยอรมนีในประวัติศาสตร์ ส่วนสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์มีการจราจรซ้ายมือทั้งทางถนนและทางราง

การจราจรทางเรือ

[แก้]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Draper, Geoff (1993). "Harmonized Headlamp Design for Worldwide Application". Motor Vehicle Lighting. Society of Automotive Engineers. pp. 23–36.
  2. Kincaid, Peter (December 1986). The Rule of the Road: An International Guide to History and Practice. Greenwood Press. pp. 50, 86–88, 99–100, 121–122, 198–202. ISBN 0-313-25249-1.
  3. Barta, Patrick. "Shifting the Right of Way to the Left Leaves Some Samoans Feeling Wronged". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 4 December 2016.(ต้องรับบริการ)
  4. Watson, Ian. "The rule of the road, 1919-1986: A case study of standards change" (PDF). สืบค้นเมื่อ 30 November 2016.
  5. "Travel Tips | US Virgin Islands". Usvitourism.vi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012.
  6. FAR Sec. 91.115[ลิงก์เสีย](c): "When aircraft, or an aircraft and a vessel, are approaching head-on, or nearly so, each shall alter its course to the right to keep well clear."
  7. 7.0 7.1 Weingroff, Richard. "On The Right Side of the Road". United States Department of Transportation. สืบค้นเมื่อ 10 January 2014.
  8. Foerch, C; Steinmetz, H (2009). "Left-sided traffic directionality may be the safer "rule of the road" for ageing populations". Med Hypotheses. 73 (1): 20–3. doi:10.1016/j.mehy.2009.01.044. PMID 19327893.
  9. "Your Dominant Eye and Why it Matters". สืบค้นเมื่อ 11 December 2016.
  10. 10.0 10.1 10.2 Anderson, Charles (2003). Puzzles and Essays from the Exchange Essays. Haworth Information Press. pp. 2–3. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  11. Walters, Bryn. "Huge Roman Quarry found in North Wiltshire" (PDF). ARA The Bulletin of The Association for Roman Archaeology. Autumn 1998 (Six): 8–9. ISSN 1363-7967. สืบค้นเมื่อ 7 October 2016.
  12. 12.0 12.1 Hamer, Mike. "Left is right on the road". New Scientist (20 December 1986/1 January 1987): 16–18. สืบค้นเมื่อ 7 October 2016.[ลิงก์เสีย]
  13. Why We Drive on the Right of the Road, ''Popular Science Monthly'', Vol.126, No.1, (January 1935), p.37. Books.google.com.au. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012.
  14. "An Act Establishing the Law of the Road". Massachusetts General Court. สืบค้นเมื่อ 14 February 2014.