ข้ามไปเนื้อหา

อาณานิคมแหลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อาณานิคมเคป)
อาณานิคมแหลม

Cape Colony
Kaapkolonie
ค.ศ. 1806–ค.ศ. 1910
ตราแผ่นดินของอาณานิคมแหลม
ตราแผ่นดิน
อาณานิคมแหลม ประมาณ ค.ศ. 1890
อาณานิคมแหลม ประมาณ ค.ศ. 1890
สถานะอาณานิคมของจักรวรรดิบริติช
เมืองหลวงเคปทาวน์
ภาษาทั่วไปอังกฤษ, ดัตช์ (ภาษาราชการ¹)
โกโกค์, ซคัม ก็มีการพูดเช่นเดียวกัน
ศาสนา
นิกายปฏิรูปดัตช์, แองกลิคัน, ศาสนาพื้นถิ่นแซน
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
พระมหากษัตริย์/พระราชินี 
• ค.ศ. 1795–1820
พระเจ้าจอร์จที่ 3
• ค.ศ. 1820–1830
พระเจ้าจอร์จที่ 4
• ค.ศ. 1830–1837
พระเจ้าวิลเลียมที่ 4
• ค.ศ. 1837–1901
สมเด็จพระราชินีนาถวิกทอเรีย
• ค.ศ. 1901–1910
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7
ข้าหลวง 
• ค.ศ. 1797–1798
จอร์จ มาคาลส์เล่ย์
• ค.ศ. 1901–1910
วอลต์เตอร์ เฮลี-ฮัดชินสัน
นายกรัฐมนตรี 
• ค.ศ. 1872–1878
จอห์น ชาร์ล เมวล์เตโน
• ค.ศ. 1908–1910
จอห์น เมอร์ริแมน
ยุคประวัติศาสตร์จักรวรรดินิยม
• ก่อตั้ง
ค.ศ. 1806
ค.ศ. 1803–1806
ค.ศ. 1814
ค.ศ. 1844
• สิ้นสุด
ค.ศ. 1910
พื้นที่
ค.ศ. 1822[1]331,900 ตารางกิโลเมตร (128,100 ตารางไมล์)
ค.ศ. 1910569,020 ตารางกิโลเมตร (219,700 ตารางไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 1822[1]
110,380
• ค.ศ. 1865 (จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากร)[2]
496,381
• ค.ศ. 1910
2,564,965
สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณานิคมแหลมของดัตช์
เบชวานาแลนด์
สหภาพแอฟริกาใต้
บาซูโตแลนด์
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ นามิเบีย2
 แอฟริกาใต้
 เลโซโท3
¹ ภาษาดัตช์เป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียวจนถึง ค.ศ. 1822 เมื่อจักรวรรดิบริติชแทนที่ภาษาดัตช์ด้วยภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ[3] ภาษาดัตช์จึงถูกรวมอีกครั้งหนึ่ง ในฐานะภาษาราชการที่สอง ใน ค.ศ. 1882
2 ได้นับรวม หมู่เกาะเพนกวิน และอ่าววัลวิส
3 บาซูโตแลนด์ ได้ถูกผนวกรวมกับอาณานิคมแหลมใน ค.ศ. 1871 ก่อนกลายเป็นคราวน์โคโลนีใน ค.ศ. 1884[4]

อาณานิคมแหลม (อังกฤษ: Cape Colony; ดัตช์: Kaapkolonie) หรือที่รู้จักกันดีว่า อาณานิคมแหลมกู๊ดโฮป เป็นอาณานิคมที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิบริติช ในพื้นที่ซึ่งในปัจจุบันคือประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งตั้งชื่อตามแหลมกู๊ดโฮป อาณานิคมของอังกฤษได้สืบทอดจากอาณานิคมบริษัท ซึ่งก่อนหน้านี้ได้กลายเป็นอาณานิคมของดัตช์ที่มีชื่อเดียวกัน (ซึ่งถูกควบคุมโดยฝรั่งเศส) อาณานิคมแหลมของดัตช์ได้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1652 โดยบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (VOC) อาณานิคมแหลมอยู่ภายใต้การปกครองของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ มาตั้งแต่ ค.ศ. 1652 ถึง ค.ศ. 1795 และอยู่ภายใต้การปกครองนโปเลียน ในฐานะสาธารณรัฐบาตาเวีย ระหว่างปี ค.ศ. 1803 ถึง ค.ศ. 1806[5]

บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์สูญเสียอาณานิคม ให้กับบริเตนใหญ่ ภายหลังยุทธการมุยแซ็งบูร์เกร์ก ค.ศ. 1795 แต่ได้ยอมจำนนต่อสาธารณรัฐบาตาเวีย ตามสนธิสัญญาอาเมียงใน ค.ศ. 1802 และถูกยึดครองอีกครั้งโดยบริเตน ภายหลังยุทธการบราแอลบูร์เกร์ก ใน ค.ศ. 1806 และการครอบครองของอังกฤษได้รับการยืนยัน โดยสนธิสัญญาอังกฤษ-ดัตช์ ใน ค.ศ. 1814

อาณานิคมแหลมยังคงอยู่ในจักรวรรดิบริติช และริเริ่มปกครองตนเองใน ค.ศ. 1872 อาณานิคมนี้ได้รวมกับจังหวัดเคปในภายหลัง ซึ่งได้ทอดยาว จากชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกภายในประเทศ และไปทางทิศตะวันออกตามแนวชายฝั่งทางตอนใต้ ซึ่งประกอบด้วยดินแดนโดยประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศแอฟริกาใต้ในปัจจุบัน และพรมแดนสุดท้ายด้านตะวันออก ภายหลังจากทำสงครามกับโกซาอยู่หลายครั้ง จึงได้ใช้จุดยืนอยู่ที่แม่น้ำฟิซ ทางตอนเหนือของแม่น้ำออเรนจ์ หรือที่รู้จักกันในหมู่ชนเผ่าว่า ǂNūǃarib (แม่น้ำดำ) ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่าแม่น้ำการีป (Gariep River) ทำหน้าที่เป็นเขตแดนอยู่ระยะหนึ่ง แม้ว่าบางพื้นที่ระหว่างแม่น้ำกับเขตแดนทางใต้ของบอตสวานา จะถูกเพิ่มเข้าไปในเวลาต่อมาก็ตาม

ตั้งแต่ ค.ศ. 1878 อาณานิคมนี้ได้นับรวมดินแดนเล็กๆ ของอ่าววัลวิส และหมู่เกาะเพนกวิน ซึ่งทั้งสอง เป็นดินแดนในประเทศนามิเบียในปัจจุบัน และรวมกับอาณานิคมอื่นอีกสามแห่ง คือทรานส์วาล, นาทาล และแม่น้ำออเรนจ์ เพื่อก่อตั้งเป็น สหภาพแอฟริกาใต้ ใน ค.ศ. 1910 จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดแหลมกู๊ดโฮป[6] แอฟริกาใต้กลายเป็นรัฐอธิปไตยใน ค.ศ. 1931 โดยบทบัญญัติเวสต์มินสเตอร์ ใน ค.ศ. 1961 จึงกลายเป็น สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และได้รับหน่วยเงินตราที่เรียกว่าแรนด์ ภายหลังจากการก่อตั้งจังหวัดในแอฟริกาใต้ ปัจจุบันใน ค.ศ. 1994 จังหวัดเคปถูกแบ่งออกเป็น อีสเทิร์นเคป, นอร์เทิร์นเคป และเวสเทิร์นเคป โดยมีส่วนเล็ก ๆ ภายในจังหวัดทางตะวันตกเฉียงเหนือ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wilmot, Alexander; Chase, John Centlivres (1869). History of the Colony of the Cape of Good Hope: From Its Discovery to the Year 1819. J. C. Juta. pp. 268–.
  2. Cape of Good Hope 1866, p. 11.
  3. Farlam, Paul (2001). Palmer, Vernon (บ.ก.). Mixed Jurisdictions Worldwide: The Third Legal Family. Cambridge, UK: Cambridge University Press. pp. 87–88. ISBN 0-521-78154-X.
  4. "Lesotho: History". The Commonwealth. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-01. สืบค้นเมื่อ 8 November 2017.
  5. Heese, J. A. (1971). Die Herkoms van die Afrikaner 1657 - 1867 [The Origin of the Afrikaaner 1657 - 1867] (ภาษาแอฟริกานส์). Cape Town: A. A. Balkema. p. 15. ISBN 978-1-920429-13-3.
  6. Keltie & Epstein 1920, p. 222.

ดูเพิ่ม

[แก้]